แท็ก
สุกร
สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์โดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงตามความต้องการบริโภคที่มีไม่มาก ขณะที่ผลผลิตก็ยังเข้าสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ และจากปริมาณพ่อ-แม่พันธุ์สุกรที่ยังไม่ลดปริมาณลง ทำให้มีแนวโน้มว่าผลผลิตสุกรขุนจะเพิ่มขึ้นและราคามีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.24 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.10 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.04 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 550 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภค ทำให้ตลาดในประเทศช่วงนี้ค่อนข้างคล่องตัว แม้ว่าตลาดต่างประเทศจะซบเซา แต่จากผลผลิตที่มีปริมาณน้อยในขณะนี้ จะส่งผลให้ราคาไก่เนื้อปรับสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.60 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 26.93 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.05 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.06 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ในแหล่งเลี้ยงภาคกลางร่วมมือกันปรับราคาไข่ไก่ขึ้น หลังจากที่ตกต่ำมาเป็นเวลานาน ทำให้ราคาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามผลผลิตในตลาดก็ยังมีเป็นจำนวนมากและการส่งออกก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งการปรับราคาขึ้นนี้ก็ไม่ได้เป็นไปตามกลไกของตลาด ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาไข่ไก่จะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 137 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 132 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 133 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 147 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 133 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 147 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 150 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 166 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 164 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 169 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 158 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 193 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 36.12 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.36 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.27
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์โดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงตามความต้องการบริโภคที่มีไม่มาก ขณะที่ผลผลิตก็ยังเข้าสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ และจากปริมาณพ่อ-แม่พันธุ์สุกรที่ยังไม่ลดปริมาณลง ทำให้มีแนวโน้มว่าผลผลิตสุกรขุนจะเพิ่มขึ้นและราคามีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.24 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.10 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.04 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 550 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภค ทำให้ตลาดในประเทศช่วงนี้ค่อนข้างคล่องตัว แม้ว่าตลาดต่างประเทศจะซบเซา แต่จากผลผลิตที่มีปริมาณน้อยในขณะนี้ จะส่งผลให้ราคาไก่เนื้อปรับสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.60 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 26.93 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.05 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.06 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ในแหล่งเลี้ยงภาคกลางร่วมมือกันปรับราคาไข่ไก่ขึ้น หลังจากที่ตกต่ำมาเป็นเวลานาน ทำให้ราคาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามผลผลิตในตลาดก็ยังมีเป็นจำนวนมากและการส่งออกก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งการปรับราคาขึ้นนี้ก็ไม่ได้เป็นไปตามกลไกของตลาด ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาไข่ไก่จะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 137 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 132 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 133 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 147 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 133 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 147 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 150 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 166 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 164 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 169 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 158 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 193 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 36.12 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.36 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.27
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 2543--
-สส-