สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ และ Persistent Organic Pollutants (POPs) โดยสรุปได้ดังนี้.-
1. เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ศกนี้ สมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะมนตรีแล้ว
2. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2001 สหภาพยุโรปได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาสต็อคโฮม (Stockholm Convention) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาชั้นต้น (Protocol) ว่าด้วย Persistent Organic Pollu-tants (POPs) โดย POPs หมายถึง สารเคมี (Chemical Substances) หรือ By-product ของสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการสะสมของสารดังกล่าวในร่างกายหรือในห่วงโซ่อาหารอาจก่อให้เกิดมะเร็งหรือความผิดปกติของทารก รวมไปถึงความผิดปกติของระบบการสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ด้วย ทั้งนี้อนุสัญญาฯ ดังกล่าวเป็นการวางกรอบกำหนดเกี่ยวกับการใช้สารเคมีประเภทดังกล่าว โดยให้ยกเลิกการใช้ทันที หรือค่อย ๆ ลดการใช้ไปจนกระทั่งยกเลิกการใช้ในที่สุด ปัจจุบันมีสารเคมี 12 รายการ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแรกที่จะต้องดำเนินการตามกรอบดังกล่าว ได้แก่ Aldrin, Chlordane, DDT, Dieldrin, Endrin, Heptachlor, Mirex, Toxaphene, Polychlorineated Biphenyls (PCBs), Hexachlorobenzene, Dioxins และ Furans โดยจะมีคณะกรรมการทบทวนพิจารณาสารตัวอื่น ๆ ที่จัดเป็นประเภท POPs เพื่อดำเนินการตามแนวทางของอนุสัญญาฯ ต่อไป อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อประเทศต่าง ๆ 50 ประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุนี้คาดว่าในช่วงรอการให้สัตยาบันของประเทศต่างๆ สหภาพยุโรปอาจใช้ระบบควบคุมเคมีภัณฑ์ตามที่เสนอในสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ในการควบคุมสารเคมีประเภท POPs ไปพลางก่อน กล่าวคือ POPs จะถือเป็นสารเคมีที่อยู่ในข่ายที่ต้องได้รับอนุญาตสำหรับการผลิตหรือจำหน่ายภายใต้ระบบการควบคุมที่เรียกว่า REACH
อนึ่ง ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ไทยมีการควบคุมสารเคมีดังกล่าวแล้ว 9 ชนิด ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยเป็นชนิดที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือครอบครองรวม 7 ชนิด คือ Aldrin, DDT, Dieldrin, Endrin, Heptachlor, Mirex และ Toxaphene และชนิดที่ต้องมีใบอนุญาตในการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือครอบครอง รวม 2 ชนิด คือ Chlordane และ PCBs
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 12/2544 วันที่ 30 มิถุนายน 2544--
-อน-
1. เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ศกนี้ สมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะมนตรีแล้ว
2. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2001 สหภาพยุโรปได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาสต็อคโฮม (Stockholm Convention) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาชั้นต้น (Protocol) ว่าด้วย Persistent Organic Pollu-tants (POPs) โดย POPs หมายถึง สารเคมี (Chemical Substances) หรือ By-product ของสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการสะสมของสารดังกล่าวในร่างกายหรือในห่วงโซ่อาหารอาจก่อให้เกิดมะเร็งหรือความผิดปกติของทารก รวมไปถึงความผิดปกติของระบบการสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ด้วย ทั้งนี้อนุสัญญาฯ ดังกล่าวเป็นการวางกรอบกำหนดเกี่ยวกับการใช้สารเคมีประเภทดังกล่าว โดยให้ยกเลิกการใช้ทันที หรือค่อย ๆ ลดการใช้ไปจนกระทั่งยกเลิกการใช้ในที่สุด ปัจจุบันมีสารเคมี 12 รายการ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแรกที่จะต้องดำเนินการตามกรอบดังกล่าว ได้แก่ Aldrin, Chlordane, DDT, Dieldrin, Endrin, Heptachlor, Mirex, Toxaphene, Polychlorineated Biphenyls (PCBs), Hexachlorobenzene, Dioxins และ Furans โดยจะมีคณะกรรมการทบทวนพิจารณาสารตัวอื่น ๆ ที่จัดเป็นประเภท POPs เพื่อดำเนินการตามแนวทางของอนุสัญญาฯ ต่อไป อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อประเทศต่าง ๆ 50 ประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันเรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุนี้คาดว่าในช่วงรอการให้สัตยาบันของประเทศต่างๆ สหภาพยุโรปอาจใช้ระบบควบคุมเคมีภัณฑ์ตามที่เสนอในสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ในการควบคุมสารเคมีประเภท POPs ไปพลางก่อน กล่าวคือ POPs จะถือเป็นสารเคมีที่อยู่ในข่ายที่ต้องได้รับอนุญาตสำหรับการผลิตหรือจำหน่ายภายใต้ระบบการควบคุมที่เรียกว่า REACH
อนึ่ง ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ไทยมีการควบคุมสารเคมีดังกล่าวแล้ว 9 ชนิด ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยเป็นชนิดที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือครอบครองรวม 7 ชนิด คือ Aldrin, DDT, Dieldrin, Endrin, Heptachlor, Mirex และ Toxaphene และชนิดที่ต้องมีใบอนุญาตในการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือครอบครอง รวม 2 ชนิด คือ Chlordane และ PCBs
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 12/2544 วันที่ 30 มิถุนายน 2544--
-อน-