กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำแปล
คำกล่าวปาฐภถาของ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง
"วิถีสู่ ความร่วมมือแห่งเอเชีย"
จัดโดยสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์
ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 17 กรกฎาคม 2544
______________________________
ฯพณฯ ศาสตราจารย์จายากุมาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมาย ดร.แอนดรูร์ ชิว ประธานคณะกรรมการปกครองของสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์ นายแบร์รี เดสเคอร์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์ท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทั้งหลาย
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญจากสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์ให้มากล่าวปาฐกถาต่อหน้าท่านผู้มีเกียรติ กระผมขอชื่นชมสถานบันแห่งนี้ที่ได้ทำงานด้านวิจัยและให้คำแนะนำด้านนโยบายความมั่นคงของภูมิภาคมาโดยตลอด สถาบันแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสภาความร่วมมือด้านความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิกของสิงคโปร์ ประเทศไทยยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับสถาบันฯ ในการส่งเสริมแนวทางการวิเคราะห์อย่างเต็มรูปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป
ความมั่นคงและความมั่งคั่งของชาติต่าง ๆ ในเอเชียย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนและจัดการกับสถาการณ์ที่เกิดขึ้นจริง วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชียได้ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายและความซับซ้อนของกระแสโลกาภิวัตน์ เอเชียกำลังแสวงหาหนทางและวิธีการที่จะปรับปรุงและเพิ่มสมรรถนะทั้งในระดับชาติและภูมิภาคเพื่อปรับโฉมให้ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยแห่งความมั่งคั่งของภูมิภาคและของประชาชนในเอเชีย ด้วยเหตุนี้ โอกาสในวันนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าอย่างมากสำหรับกระผมที่ได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิดกับพวกท่านเกี่ยวกับแนวคิดของกระผมที่จะผลักดันความร่วมมือในเอเชีย
ปีที่แล้ว กระผมได้เป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทยในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยพรรคการเมืองแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 ที่กรุงมะนิลา ที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคการเมือง 28 พรรคในเอเชีย ได้รับรองแถลงการณ์ซึ่งเสนอให้มีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย การสนับสนุนประชาธิปไตรย และธรรมาภิบาล อันที่จริง ความร่วมมือระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอื่น ๆได้ดำเนินไปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นยุโรป แปซิฟิก และละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่เราต้องรวมพลังในลักษณะที่ส่งเสริมกันและกันเองภมยในภูมิภาคด้วย ปัจจุบันมีกรอบความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายในเอเชีย ได้แก่ บิมสเทค ซึ่งเป็นการรวมตัวในเอเชียใต้ ประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย อาเซียน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาเซียนบวกสาม ในเอเชียตะวันออก สิ่งที่ยังขาดหายไป ได้แก่ การเชื่อมโยงที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างกลุ่มอนุภูมิภาคเหล่านี้
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศในเอเชียจะต้องร่วมงานกันเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายของกรอบความร่วมมือใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคพลวัตรของเอเชียปรากฎให้เห็นแล้ว การฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียนกำลังก้าวหน้าไปอย่างมั่นคงทั้งที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ไม่ว่าสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคจะเริ่มถดถอยเพียงไร เราไม่ควรจะหลงลืมบรรยากาศที่สงบสุข และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ กระผมมีความเห็นว่า ปัจจุบันมีโอกาสใหม่ ๆ มากมายที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนความร่วมมือในหลายระดับท่านผู้มีเกียรติ
สิ่งสำคัญที่จะต้องตระหนักในการสร้างโครงร่วงของความร่วมมือในเอเชีย คือ เราจะต้องเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง โดยกระผมเห็นว่า ควรยึดถือวิธีการก่อร่างสร้างตัวโดยการริเริ่มจากประเทศกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเหมือนกัน ประเทศไทยหวังที่จะดำเนินการในส่วนของตนเพื่อช่วยถักทอสายใยแห่งความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียทั้งในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค ประเทศไทยตระหนักดีถึงความจำเป็นในการลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งล้วนตั้งอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทยเชื่อมั่นในหลักการของการสร้างความมั่นคั่งให้ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเจริญรุ่งเรืองต่อไป
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยได้เดินทางเยือนประเทศเพื่อนบ้านของเราทั้งหมดภายใน 4 เดือนนับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่ง เราได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดในการเปิดพรมแดนต่อกันเพื่อสร้างฐานการผลิตร่วมสำหรับประเทศบนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมประโยชน์ร่วมกันด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์ จริงใจ และอย่างสันติ ปัจจัยพื้นฐาน คือ การยึดมั่นกับวัฒนธรรมแห่งเอเชียที่สร้างความเชื่อใจและความเคารพระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยยืนอยู่บนหลักการของการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ทั้งประเทศไทยและลาวได้ร่วมลงนามในความตกลงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง สะพานแห่งนี้จะเชื่อมจากไทยไปลาวและต่อไปยังถนนสายที่ 9 ซึ่งเชื่อมไปถึงท่าเรือน้ำลึกตานังซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งของเวียดนามด้านทะเลจีนใต้ นอกจากนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองประเทศเห็นด้วยกับข้อเสนอของไทยที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเสรีจัดทำโครงการด้านขนส่ง การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคมและการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการค้าสินค้าและบริการ ญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะสนับสนุนการสร้างสะพานดังกล่าว และตกลงที่จะเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีสี่ฝ่ายเพื่อจัดทำโครงการการใช้ประโยชน์จากถนนสายที่ 9
ในด้านตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าได้ก้าวสู่ยุคใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อใจซึ่งกันและกัน ทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องใช้กลไกการหารือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขความแตกต่างและความเข้าใจผิด ป้องกันการลุกลามของปัญหา และหาวิธีการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมการร่วมชายแดนซึ่งไม่ได้ประชุมมาสองปีแล้ว การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมจะครอบคลุมประเด็นทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจและจะเป็นเวทีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป และเพื่อขยายความร่วมมือระหว่างกัน
ในบรรยากาศแห่งมิตรภาพนี้ เราจะมุ่งเน้นความร่วมมือกับพม่าโดยเฉพาะในสาขาที่มีศักยภาพ ได้แก่ การค้า การลงทุน พลังงาน และเครือข่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งไทยและพม่าจะหารือเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างสองประเทศตามโครงการ "การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันอก" และเพื่อมองหาเส้นทางที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวของการค้าและการลงทุน ในระหว่างที่กระผมเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายจัสวันต์ สิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของอินเดียได้ตกลงร่วมกับกระผมที่จะจัดตั้งกรอบความร่วมมือสามฝ่ายไทย อินเดีย และพม่า เพื่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทั้งสามประเทศ เราทั้งสองจะหารือเรื่องนี้กับฝ่ายพม่าต่อไป
ในส่วนของกัมพูชา เราตกลงที่จะร่วมกันสร้างถนนจากไทยไปถึงจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครวัด เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่จะหลั่งไหลเข้าภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยและกัมพูชายังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบริเวณพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ทางตอนเหนือของไทย เป็นที่ตั้งของประเทศมหาอำนาจ คือ จีน ซึ่งนับเป็นโชคดีที่เป็นมหามิตรของไทยด้วย บทบาทของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของภูมิภาค แม้ว่าไทยไม่ได้มีพรมแดนติดกับจีน แต่เราก็อยู่ห่างกันเพียง 100 กม.โดยมีแม่น้ำโขงกั้นกลาง และผูกพันอย่างมากด้วยสายใยทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
การเยือนไทยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จู หรง จี ของจีนนับเป็นบทพิสูจน์ถึงความสนใจของจีนที่จะเชื่อมโยงเอเชียตะวันออกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านความร่วมมือในสาขาการค้า คมนาคม และการท่องเที่ยวระหว่างภาคเหนือของไทยกับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อไทย แต่จะเป็นผลดีต่อลาวและพม่าในฐานะเป็นประตู่สู่จีนด้วย ในขณะเดียวกัน เรากำลังพัฒนาเครือข่ายการขนส่งตามโครงการ "การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้" ซึ่งจะเชื่อมจากนครคุนหมิงของจีน ผ่าน ลาว ตอนเหนือของไทย และเข้าสู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังในอ่าวไทย สิงคโปร์เองก็กำลังพัฒนา "แกนทางเหนือ" โดยใช้เส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ซึ่งจะเชื่อมสิงคโปร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม และตอนใต้ ของจีน
อันที่จริงแล้ว ความจำเป็นทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ไทยต้องริเริ่มในเรื่องความร่วมมือสามฝ่ายเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันได้ขยายตัวเป็นความร่วมมือสี่ฝ่าย อันประกอบด้วยจีน ลาว พม่าและไทย จีนได้ดำเนินการเพื่อจัดประชุมสุดยอดสี่ฝ่าย ที่นครคุนหมิงในช่วงปลายปี การครั้งประวัติศาสตร์นี้จะเป็นแรงกระตุ้นทางการเมืองที่จะเร่งเร้าให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหายาเสพติด การเตรียมการประชุมดังกล่าวกำลังดำเนินการไป โดยกำหนดจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในเร็ว ๆ นี้ที่พม่าท่านผู้มีเกียรติ
สำหรับเอเชีย อาเซียนยังคงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่ง สัปดาห์หน้า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีกำหนดจะเข้าร่วมประชุมประจำปีที่กรุงฮานอยโดยทุกประเทศจะย้ำถึงพันธกรณีทางการเมืองต่อกระบวนการจัดทำเขตการค้าเสรี และส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงในฐานะเป็นกุญแจสำคัญที่จะลดช่องว่างระหว่างสมาชิกเก่ากับสมาชิกใหม่ของอาเซียน
ในปีนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีในกรอบความร่วมมืออาเซียน-แม่น้ำโขง ที่จังหวัดเชียงรายในเดือนตุลาคม เพื่อเร่งให้มีการดำเนินการของโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบดังกล่าวในระหว่างการเยือนกัมพูชาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เห็นด้วยกับข้อเสนอของ ฯพณฯ สมเด็จฮุน เซน ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทสอาเซียนที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อร่วมกันจัดทำโครงการสำหรับการพัฒนาอนุภูมิภาคดังกล่าว
ความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกกำลังคืบหน้าด้วยดี กระบวนการอาเซียนบวกสาม อันประกอบด้วยจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น มุ่งเน้นกิจกรรมที่จะมีผลต่อการลดช่องว่างภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับเอเชียตะวันออก ความร่วมมืออาเซียนบวกสามจะเป็นกรอบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออกเพื่อหาลู่ทางในการขยายความร่วมมือและสร้างความเชื่อมโยงใหม่ ๆ ในทุกสาขากับอาเซียน โดยเฉพาะในสาขาการค้าและการเงิน ทั้งนี้ การสร้างความแข็งแกร่งต่อการเชื่อมโยงทางการเงินและตลาดทุนจะเป็นการเพิ่มศักยภาพต่อการเจริญเติบโตในภูมิภาค
หากมองไกลออกไปจากบ้านใกล้เรือนเคียงของไทย ยังมีกรอบความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ กลุ่มอนุภูมิภาคบิมสเท็ค ซึ่งประกอบด้วยบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย สมาชิกของกลุ่มให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อการพัฒนาเส้นทางขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางรถไฟแห่งเอเชีย และเครือข่ายถนนแห่งเอเชีย เส้นทางเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ในระดับประชาชนกับประชาชนระหว่างเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในบิมสเท็คยังได้หารือกันในสาขาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เทคโนโลยีและพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ซึ่งมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสองภูมิภาคท่านผู้มีเกียรติ
ประเทศไทยได้เสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือในกรอบเอเชียกับประเทศอาเซียน จีน เกาหลี ประเทศในเอเชียตะวันตก ประเทศในเอเซียใต้บางประเทศ และล่าสุดกับอินเดียซึ่งจากการหารือกับเหล่ามิตรประเทศในเอเชีย ข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับในทางบวกและเป็นกำลังใจแก่เราอย่างยิ่ง กระผมชื่นชมต่อคำแนะนำของรัฐมนตรีฯ สิงห์ ซึ่งกล่าวต่อกระผมในระหว่างการเยือนอินเดียให้จัดตั้งกลุ่มประเทศทั้งเจ็ด หรือ กลุ่ม จี7 แห่งเอเชียเพื่อเตรียมการประชุมประเทศที่เกี่ยวข้อง การตอบรับข้อเสนอดังกล่าวของอินเดียในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ย่อมส่งผลให้แนวคิดนี้เป็นจริงได้อย่างชัดเจน หากทุกฝ่ายเห็นพ้อง ประเทศไทยพร้อมจะเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียครั้งแรกเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในลักษณะไม่เป็นทางการในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
พัฒนาการทางบวกและความพยายามที่จะร่วมมืออย่างมีพลวัตรในภูมิภาคเอเชียตามที่กระผมได้บรรยายต่อท่านทั้งหลายเป็นเสมือนจุดกำเนิดที่จะนำไปสู่การสรรสร้างแนวทางเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เอเชียควรใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษเพื่อส่งเสริมซึ่งกันและกันในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาเครือข่ายการขนส่ง และเพิ่มพูนการประสานงานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ณ ที่นี้ กระผมขอชี้แจงถึงสาขาต่าง ๆ ที่ล้วนแต่มีศักยภาพที่ประเทศในเอเชียสามารถศึกษา และหาทางร่วมมือกันได้ ความร่วมมือในสาขาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เสมือนอิฐแต่ละก้อนที่นำมาวางต่อกันในระดับต่าง ๆ แต่ยังเป็นเสมือนใบพัดที่ช่วยขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียให้ก้าวไปข้างหน้าได้ด้วย
ประการแรก เอเชียสามารถเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกันโดยขยายกรอบความร่วมมือไปสู่ระดับสามฝ่าย อนุภูมิภาค และภูมิภาคเพื่อครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมด อาทิ อินเดีย ไทย และญี่ปุ่นสามารถพัฒนาโครงการความร่วมมือสามฝ่ายด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวจากทั้งสามประเทศ รูปแบบนี้สามารถนำไปพัฒนาสำหรับการนำเที่ยวในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคในเอเชีย ทั้งนี้ อาจจัดให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเอเชีย
ประการที่สอง การพัฒนาเครือข่ายด้านขนส่งและคมนาคมจะช่วยให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียเข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงเครือข่ายการขนส่งทั่วเอเชียให้เต็มรูปแบบทั้งทางรถยนต์และรถไฟ เพื่อเชื่อมโยงเมืองสำคัญ ๆ ของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก โดยประเทศในเอเชียควรร่วมกำหนดระยะเวลาที่จะแล้วเสร็จให้ได้ และเร่งรัดการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ที่ได้ตกลงไว้แล้ว เช่น เส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ถนนสายแม่สอด-เมียวดี และโครงการสาธารณูปโภคอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
เครือข่ายการขนส่งระหว่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกอาจเริ่มโดยการเชื่อมถนนจากเมืองมุมไบในอินเดียกับกรุงย่างกุ้งในพม่า และต่อไปถึงนครเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน นอกจากนี้ เราสามารถขยายเส้นทางถนนที่มีอยู่แล้วระหว่างอินเดียกับชายแดนพม่าเพื่อไปบรรจบกับโครงการถนนระหว่างภาคเหนือของไทยกับพม่า ด้วยเหตุนี้ การเชื่อมโยงระหว่างเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะเป็นจริงในอนาคตอันใกล้
ประการที่สาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเอเชีย คือ การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ทั้งในภาคการผลิตที่ทำรายได้สูง และในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เอเชียจำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการ การตลาด รวมทั้งการสร้าง "ยี่ห้อ" ของสินค้าที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ เพื่อจุดมุ่งหมายในการก้าวขึ้นไปสู่ "สายโซ่แห่งการพัฒนาคุณค่า" การร่วมทุนกันและกันมีส่วนสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของเราดังในกรณีของไทยและมาเลเซียที่ได้ตกลงกันที่จะร่วมเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้ายางพาราโดยการร่วมทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปและส่งออกไปตลาดที่สามนอกอาเซียน
ที่สำคัญเท่าเทียมกัน คือ เอเชียจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมเพื่อพัฒนาไปสู่สังคมแห่งความรู้ โดยอาจอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เราสามารถร่วมระดมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญพิเศษของเอเชียในสาขาเทคโนโลยีข่าวสารทั้งในแง่ความรู้ทางเทคโนโลยีขั้นสูง และศิลปะการใช้เทคโนโลยีข่าวสาร โดยให้สอดรับกัน ทั้งนี้โดยเริ่มที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในกรอบสาฝ่าย สี่ฝ่าย และหลายฝ่าย ยกตัวอย่าง โครงการ อี-อาเซียน สามารถร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จากอินเดียและญี่ปุ่น สถาบันการศึกษาจากจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นสามารถดำเนินงานร่วมกับอาเซียนเพื่อพัฒนาซอฟท์แวร์ด้านการแปลสำหรับภาษาต่าง ๆ ในเอเชีย ความร่วมมือที่เปรียบเสมือนชั้นต่าง ๆ ที่วางเรียงกันนี้จะช่วยลดช่องว่างทางเทคโนโลยีระหว่างขาติต่าง ๆ และช่วยเสริมสร้างสังคมแห่งความรู้ในเอเชีย
ยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างสังคมแห่งความรู้ คือ การลดช่องว่างระหว่างชนบทกับเมือง พวกเราในเอเชียไม่สามารถปฏิเสธผลพวงของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อเศรษฐกิจรากหญ้าได้ ชุมชนท้องถิ่นและระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมจำต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อสามารถสร้างเกราะที่จะปกป้องผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ ชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับความสนับสนุนให้ยืนบนขาตัวเองได้ และสามารถเอาประโยชน์จากพลวัตรของโลกาภิวัตน์ได้ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันจะช่วยกระตุ้นให้ประชาคมท้องถิ่นในเอเชียสามารถพัฒนา เพิ่มคุณค่าของสินค้า และทำการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์การเกษตรและหัตถกรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและความชำนาญดั้งเดิม
ประการที่สี่ เป็นที่ชัดเจนว่า ประเทศในเอเชียมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายด้านอาหารและสินค้าเกษตร เรามีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าอาหารสำคัญของโลก อาทิ ข้าว ผลไม้ และอาหารทะเล เพื่อที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ ตลอดจนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับภูมิภาค ประเทศในเอเชียควรริเริ่มที่จะวางแผนการผลิตอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงประชาชนในเอเชียและในโลก โดยการแบ่งการผลิตและส่งเสริมการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าเราลองเริ่มจากประเทศผู้ผลิตข้าวก่อน อินเดียมีชื่อเสียงจากข้าวบาสมาติ ไทยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ และญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตข้าวเมล็ดสั้น ประเทศเหล่านี้ล้วนมีตลาดสำหรับสินค้าของตนโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องแย่งตลาดกัน ดังนั้น เราสามารถร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เพื่อผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด ที่สำคัญเช่นเดียวกัน คือ การดำเนินการด้านการตลาดร่วมกันสำหรับประเทศผู้ผลิตข้าว เมื่อเดือนที่ผ่านมา ไทยและเวียดนามได้ร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งออกข้าวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการแย่งตลาดและการแข่งขันด้านราคา ต่อมาปากีสถานได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในความร่วมมือดังกล่าว สัปดาห์ที่แล้ว กระผมได้เชิญชวนอินเดียให้เข้าร่วม และรัฐมนตรีฯ สิงห์ ได้แสดงความสนใจเป็นอย่างยิ่งและพร้อมจะส่งผู้แทนมาร่วมหารือในเรื่องนี้ในรายละเอียด
ภูมิภาคเอเชียมีสมรรถนะที่จะเลี้ยงประชากรกว่าครึ่งโลก แต่เราต้องไม่ลืมว่ายังคงมีภัยคุกคามจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและการใช้ททรัพยากรจนสูญสิ้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้เราต้องบริหารจัดการคุณภพและปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนของเราจะสามารถดำรง "สิทธิในการได้รับอาหาร" การแบ่งการผลิตอาหารจะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีสถานะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกท่านผู้มีเกียรติ
ความร่วมมือเพื่อเพิ่มพลวัตรและเกื้อหนุนศักยภาพในภูมิภาคเอเชียตามที่กระผมได้กล่าวมาแล้วเป็นโอกาสใหม่สำหรับการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่มีความหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายในเอเชีย เอเชียได้สร้างความก้าวหน้าไปแล้วในความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับยุโรป แปซิฟิก และลาตินอเมริกา แต่สำหรับเอเชียด้วยกันแล้วนี่ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมหรือที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างพวกเรากันเอง นี่ไม่ใช่เวลาสำหรับเราที่จะก้าวเข้าสู่วิถีความร่วมมือแห่งอาเชียหรือ
การเคลื่อนตัวสู่วิถีความร่วมมือแห่งเอเชียสามารถเริ่มจากการสร้างพื้นฐานจากกรอบความร่วมมือทวิภาคี อนุภูมิภาค และระดับภูมิภาค กระบวนการนี้พร้อมที่จะเปิดกว้างและวิวัฒนาการต่อไป ภูมิภาคเอเชียที่พร้อมจะก้าวไปข้างหน้าจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ภายใน และช่วยให้เราเป็นหุ้นส่วนที่น่าสนใจต่อภูมิภาคอื่น เราสามารถร่วมกันกำหนดจังหวะของความก้าวหน้าและทำให้ความร่วมมือนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ แต่ละประเทศในเอเชียมีบทบาทสำคัญที่ต้องร่วมในการพลิกบทใหม่แห่งความร่วมมือเพื่อความเจริญเติบโตและความมั่นคั่งร่วมกันทั้งภายในเอเชีย และกับโลกภายนอก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
คำแปล
คำกล่าวปาฐภถาของ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง
"วิถีสู่ ความร่วมมือแห่งเอเชีย"
จัดโดยสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์
ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 17 กรกฎาคม 2544
______________________________
ฯพณฯ ศาสตราจารย์จายากุมาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมาย ดร.แอนดรูร์ ชิว ประธานคณะกรรมการปกครองของสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์ นายแบร์รี เดสเคอร์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์ท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทั้งหลาย
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญจากสถาบันศึกษาความมั่นคงและยุทธศาสตร์ให้มากล่าวปาฐกถาต่อหน้าท่านผู้มีเกียรติ กระผมขอชื่นชมสถานบันแห่งนี้ที่ได้ทำงานด้านวิจัยและให้คำแนะนำด้านนโยบายความมั่นคงของภูมิภาคมาโดยตลอด สถาบันแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสภาความร่วมมือด้านความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิกของสิงคโปร์ ประเทศไทยยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับสถาบันฯ ในการส่งเสริมแนวทางการวิเคราะห์อย่างเต็มรูปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป
ความมั่นคงและความมั่งคั่งของชาติต่าง ๆ ในเอเชียย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนและจัดการกับสถาการณ์ที่เกิดขึ้นจริง วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชียได้ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายและความซับซ้อนของกระแสโลกาภิวัตน์ เอเชียกำลังแสวงหาหนทางและวิธีการที่จะปรับปรุงและเพิ่มสมรรถนะทั้งในระดับชาติและภูมิภาคเพื่อปรับโฉมให้ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยแห่งความมั่งคั่งของภูมิภาคและของประชาชนในเอเชีย ด้วยเหตุนี้ โอกาสในวันนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าอย่างมากสำหรับกระผมที่ได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิดกับพวกท่านเกี่ยวกับแนวคิดของกระผมที่จะผลักดันความร่วมมือในเอเชีย
ปีที่แล้ว กระผมได้เป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทยในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยพรรคการเมืองแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 ที่กรุงมะนิลา ที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคการเมือง 28 พรรคในเอเชีย ได้รับรองแถลงการณ์ซึ่งเสนอให้มีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย การสนับสนุนประชาธิปไตรย และธรรมาภิบาล อันที่จริง ความร่วมมือระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอื่น ๆได้ดำเนินไปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นยุโรป แปซิฟิก และละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่เราต้องรวมพลังในลักษณะที่ส่งเสริมกันและกันเองภมยในภูมิภาคด้วย ปัจจุบันมีกรอบความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายในเอเชีย ได้แก่ บิมสเทค ซึ่งเป็นการรวมตัวในเอเชียใต้ ประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย อาเซียน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาเซียนบวกสาม ในเอเชียตะวันออก สิ่งที่ยังขาดหายไป ได้แก่ การเชื่อมโยงที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างกลุ่มอนุภูมิภาคเหล่านี้
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศในเอเชียจะต้องร่วมงานกันเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายของกรอบความร่วมมือใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคพลวัตรของเอเชียปรากฎให้เห็นแล้ว การฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียนกำลังก้าวหน้าไปอย่างมั่นคงทั้งที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ไม่ว่าสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคจะเริ่มถดถอยเพียงไร เราไม่ควรจะหลงลืมบรรยากาศที่สงบสุข และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ กระผมมีความเห็นว่า ปัจจุบันมีโอกาสใหม่ ๆ มากมายที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนความร่วมมือในหลายระดับท่านผู้มีเกียรติ
สิ่งสำคัญที่จะต้องตระหนักในการสร้างโครงร่วงของความร่วมมือในเอเชีย คือ เราจะต้องเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง โดยกระผมเห็นว่า ควรยึดถือวิธีการก่อร่างสร้างตัวโดยการริเริ่มจากประเทศกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเหมือนกัน ประเทศไทยหวังที่จะดำเนินการในส่วนของตนเพื่อช่วยถักทอสายใยแห่งความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียทั้งในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค ประเทศไทยตระหนักดีถึงความจำเป็นในการลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งล้วนตั้งอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทยเชื่อมั่นในหลักการของการสร้างความมั่นคั่งให้ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเจริญรุ่งเรืองต่อไป
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยได้เดินทางเยือนประเทศเพื่อนบ้านของเราทั้งหมดภายใน 4 เดือนนับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่ง เราได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดในการเปิดพรมแดนต่อกันเพื่อสร้างฐานการผลิตร่วมสำหรับประเทศบนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมประโยชน์ร่วมกันด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์ จริงใจ และอย่างสันติ ปัจจัยพื้นฐาน คือ การยึดมั่นกับวัฒนธรรมแห่งเอเชียที่สร้างความเชื่อใจและความเคารพระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยยืนอยู่บนหลักการของการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ทั้งประเทศไทยและลาวได้ร่วมลงนามในความตกลงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง สะพานแห่งนี้จะเชื่อมจากไทยไปลาวและต่อไปยังถนนสายที่ 9 ซึ่งเชื่อมไปถึงท่าเรือน้ำลึกตานังซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งของเวียดนามด้านทะเลจีนใต้ นอกจากนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองประเทศเห็นด้วยกับข้อเสนอของไทยที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเสรีจัดทำโครงการด้านขนส่ง การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคมและการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการค้าสินค้าและบริการ ญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะสนับสนุนการสร้างสะพานดังกล่าว และตกลงที่จะเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีสี่ฝ่ายเพื่อจัดทำโครงการการใช้ประโยชน์จากถนนสายที่ 9
ในด้านตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าได้ก้าวสู่ยุคใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อใจซึ่งกันและกัน ทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องใช้กลไกการหารือที่มีอยู่เพื่อแก้ไขความแตกต่างและความเข้าใจผิด ป้องกันการลุกลามของปัญหา และหาวิธีการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมการร่วมชายแดนซึ่งไม่ได้ประชุมมาสองปีแล้ว การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมจะครอบคลุมประเด็นทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจและจะเป็นเวทีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป และเพื่อขยายความร่วมมือระหว่างกัน
ในบรรยากาศแห่งมิตรภาพนี้ เราจะมุ่งเน้นความร่วมมือกับพม่าโดยเฉพาะในสาขาที่มีศักยภาพ ได้แก่ การค้า การลงทุน พลังงาน และเครือข่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งไทยและพม่าจะหารือเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างสองประเทศตามโครงการ "การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันอก" และเพื่อมองหาเส้นทางที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวของการค้าและการลงทุน ในระหว่างที่กระผมเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายจัสวันต์ สิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของอินเดียได้ตกลงร่วมกับกระผมที่จะจัดตั้งกรอบความร่วมมือสามฝ่ายไทย อินเดีย และพม่า เพื่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทั้งสามประเทศ เราทั้งสองจะหารือเรื่องนี้กับฝ่ายพม่าต่อไป
ในส่วนของกัมพูชา เราตกลงที่จะร่วมกันสร้างถนนจากไทยไปถึงจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครวัด เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่จะหลั่งไหลเข้าภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยและกัมพูชายังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบริเวณพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ทางตอนเหนือของไทย เป็นที่ตั้งของประเทศมหาอำนาจ คือ จีน ซึ่งนับเป็นโชคดีที่เป็นมหามิตรของไทยด้วย บทบาทของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของภูมิภาค แม้ว่าไทยไม่ได้มีพรมแดนติดกับจีน แต่เราก็อยู่ห่างกันเพียง 100 กม.โดยมีแม่น้ำโขงกั้นกลาง และผูกพันอย่างมากด้วยสายใยทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
การเยือนไทยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จู หรง จี ของจีนนับเป็นบทพิสูจน์ถึงความสนใจของจีนที่จะเชื่อมโยงเอเชียตะวันออกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านความร่วมมือในสาขาการค้า คมนาคม และการท่องเที่ยวระหว่างภาคเหนือของไทยกับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อไทย แต่จะเป็นผลดีต่อลาวและพม่าในฐานะเป็นประตู่สู่จีนด้วย ในขณะเดียวกัน เรากำลังพัฒนาเครือข่ายการขนส่งตามโครงการ "การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้" ซึ่งจะเชื่อมจากนครคุนหมิงของจีน ผ่าน ลาว ตอนเหนือของไทย และเข้าสู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังในอ่าวไทย สิงคโปร์เองก็กำลังพัฒนา "แกนทางเหนือ" โดยใช้เส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ซึ่งจะเชื่อมสิงคโปร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม และตอนใต้ ของจีน
อันที่จริงแล้ว ความจำเป็นทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ไทยต้องริเริ่มในเรื่องความร่วมมือสามฝ่ายเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันได้ขยายตัวเป็นความร่วมมือสี่ฝ่าย อันประกอบด้วยจีน ลาว พม่าและไทย จีนได้ดำเนินการเพื่อจัดประชุมสุดยอดสี่ฝ่าย ที่นครคุนหมิงในช่วงปลายปี การครั้งประวัติศาสตร์นี้จะเป็นแรงกระตุ้นทางการเมืองที่จะเร่งเร้าให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหายาเสพติด การเตรียมการประชุมดังกล่าวกำลังดำเนินการไป โดยกำหนดจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในเร็ว ๆ นี้ที่พม่าท่านผู้มีเกียรติ
สำหรับเอเชีย อาเซียนยังคงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่ง สัปดาห์หน้า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีกำหนดจะเข้าร่วมประชุมประจำปีที่กรุงฮานอยโดยทุกประเทศจะย้ำถึงพันธกรณีทางการเมืองต่อกระบวนการจัดทำเขตการค้าเสรี และส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงในฐานะเป็นกุญแจสำคัญที่จะลดช่องว่างระหว่างสมาชิกเก่ากับสมาชิกใหม่ของอาเซียน
ในปีนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีในกรอบความร่วมมืออาเซียน-แม่น้ำโขง ที่จังหวัดเชียงรายในเดือนตุลาคม เพื่อเร่งให้มีการดำเนินการของโครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบดังกล่าวในระหว่างการเยือนกัมพูชาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เห็นด้วยกับข้อเสนอของ ฯพณฯ สมเด็จฮุน เซน ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทสอาเซียนที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อร่วมกันจัดทำโครงการสำหรับการพัฒนาอนุภูมิภาคดังกล่าว
ความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกกำลังคืบหน้าด้วยดี กระบวนการอาเซียนบวกสาม อันประกอบด้วยจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น มุ่งเน้นกิจกรรมที่จะมีผลต่อการลดช่องว่างภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับเอเชียตะวันออก ความร่วมมืออาเซียนบวกสามจะเป็นกรอบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออกเพื่อหาลู่ทางในการขยายความร่วมมือและสร้างความเชื่อมโยงใหม่ ๆ ในทุกสาขากับอาเซียน โดยเฉพาะในสาขาการค้าและการเงิน ทั้งนี้ การสร้างความแข็งแกร่งต่อการเชื่อมโยงทางการเงินและตลาดทุนจะเป็นการเพิ่มศักยภาพต่อการเจริญเติบโตในภูมิภาค
หากมองไกลออกไปจากบ้านใกล้เรือนเคียงของไทย ยังมีกรอบความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ กลุ่มอนุภูมิภาคบิมสเท็ค ซึ่งประกอบด้วยบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย สมาชิกของกลุ่มให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อการพัฒนาเส้นทางขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางรถไฟแห่งเอเชีย และเครือข่ายถนนแห่งเอเชีย เส้นทางเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ในระดับประชาชนกับประชาชนระหว่างเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในบิมสเท็คยังได้หารือกันในสาขาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เทคโนโลยีและพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ซึ่งมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสองภูมิภาคท่านผู้มีเกียรติ
ประเทศไทยได้เสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือในกรอบเอเชียกับประเทศอาเซียน จีน เกาหลี ประเทศในเอเชียตะวันตก ประเทศในเอเซียใต้บางประเทศ และล่าสุดกับอินเดียซึ่งจากการหารือกับเหล่ามิตรประเทศในเอเชีย ข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับในทางบวกและเป็นกำลังใจแก่เราอย่างยิ่ง กระผมชื่นชมต่อคำแนะนำของรัฐมนตรีฯ สิงห์ ซึ่งกล่าวต่อกระผมในระหว่างการเยือนอินเดียให้จัดตั้งกลุ่มประเทศทั้งเจ็ด หรือ กลุ่ม จี7 แห่งเอเชียเพื่อเตรียมการประชุมประเทศที่เกี่ยวข้อง การตอบรับข้อเสนอดังกล่าวของอินเดียในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ย่อมส่งผลให้แนวคิดนี้เป็นจริงได้อย่างชัดเจน หากทุกฝ่ายเห็นพ้อง ประเทศไทยพร้อมจะเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียครั้งแรกเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในลักษณะไม่เป็นทางการในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
พัฒนาการทางบวกและความพยายามที่จะร่วมมืออย่างมีพลวัตรในภูมิภาคเอเชียตามที่กระผมได้บรรยายต่อท่านทั้งหลายเป็นเสมือนจุดกำเนิดที่จะนำไปสู่การสรรสร้างแนวทางเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เอเชียควรใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษเพื่อส่งเสริมซึ่งกันและกันในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาเครือข่ายการขนส่ง และเพิ่มพูนการประสานงานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ณ ที่นี้ กระผมขอชี้แจงถึงสาขาต่าง ๆ ที่ล้วนแต่มีศักยภาพที่ประเทศในเอเชียสามารถศึกษา และหาทางร่วมมือกันได้ ความร่วมมือในสาขาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เสมือนอิฐแต่ละก้อนที่นำมาวางต่อกันในระดับต่าง ๆ แต่ยังเป็นเสมือนใบพัดที่ช่วยขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียให้ก้าวไปข้างหน้าได้ด้วย
ประการแรก เอเชียสามารถเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกันโดยขยายกรอบความร่วมมือไปสู่ระดับสามฝ่าย อนุภูมิภาค และภูมิภาคเพื่อครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมด อาทิ อินเดีย ไทย และญี่ปุ่นสามารถพัฒนาโครงการความร่วมมือสามฝ่ายด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวจากทั้งสามประเทศ รูปแบบนี้สามารถนำไปพัฒนาสำหรับการนำเที่ยวในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคในเอเชีย ทั้งนี้ อาจจัดให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเอเชีย
ประการที่สอง การพัฒนาเครือข่ายด้านขนส่งและคมนาคมจะช่วยให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียเข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงเครือข่ายการขนส่งทั่วเอเชียให้เต็มรูปแบบทั้งทางรถยนต์และรถไฟ เพื่อเชื่อมโยงเมืองสำคัญ ๆ ของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก โดยประเทศในเอเชียควรร่วมกำหนดระยะเวลาที่จะแล้วเสร็จให้ได้ และเร่งรัดการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ที่ได้ตกลงไว้แล้ว เช่น เส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ถนนสายแม่สอด-เมียวดี และโครงการสาธารณูปโภคอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
เครือข่ายการขนส่งระหว่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกอาจเริ่มโดยการเชื่อมถนนจากเมืองมุมไบในอินเดียกับกรุงย่างกุ้งในพม่า และต่อไปถึงนครเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน นอกจากนี้ เราสามารถขยายเส้นทางถนนที่มีอยู่แล้วระหว่างอินเดียกับชายแดนพม่าเพื่อไปบรรจบกับโครงการถนนระหว่างภาคเหนือของไทยกับพม่า ด้วยเหตุนี้ การเชื่อมโยงระหว่างเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะเป็นจริงในอนาคตอันใกล้
ประการที่สาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเอเชีย คือ การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ทั้งในภาคการผลิตที่ทำรายได้สูง และในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เอเชียจำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการ การตลาด รวมทั้งการสร้าง "ยี่ห้อ" ของสินค้าที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ เพื่อจุดมุ่งหมายในการก้าวขึ้นไปสู่ "สายโซ่แห่งการพัฒนาคุณค่า" การร่วมทุนกันและกันมีส่วนสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของเราดังในกรณีของไทยและมาเลเซียที่ได้ตกลงกันที่จะร่วมเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้ายางพาราโดยการร่วมทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปและส่งออกไปตลาดที่สามนอกอาเซียน
ที่สำคัญเท่าเทียมกัน คือ เอเชียจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมเพื่อพัฒนาไปสู่สังคมแห่งความรู้ โดยอาจอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เราสามารถร่วมระดมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญพิเศษของเอเชียในสาขาเทคโนโลยีข่าวสารทั้งในแง่ความรู้ทางเทคโนโลยีขั้นสูง และศิลปะการใช้เทคโนโลยีข่าวสาร โดยให้สอดรับกัน ทั้งนี้โดยเริ่มที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในกรอบสาฝ่าย สี่ฝ่าย และหลายฝ่าย ยกตัวอย่าง โครงการ อี-อาเซียน สามารถร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จากอินเดียและญี่ปุ่น สถาบันการศึกษาจากจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นสามารถดำเนินงานร่วมกับอาเซียนเพื่อพัฒนาซอฟท์แวร์ด้านการแปลสำหรับภาษาต่าง ๆ ในเอเชีย ความร่วมมือที่เปรียบเสมือนชั้นต่าง ๆ ที่วางเรียงกันนี้จะช่วยลดช่องว่างทางเทคโนโลยีระหว่างขาติต่าง ๆ และช่วยเสริมสร้างสังคมแห่งความรู้ในเอเชีย
ยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างสังคมแห่งความรู้ คือ การลดช่องว่างระหว่างชนบทกับเมือง พวกเราในเอเชียไม่สามารถปฏิเสธผลพวงของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อเศรษฐกิจรากหญ้าได้ ชุมชนท้องถิ่นและระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมจำต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อสามารถสร้างเกราะที่จะปกป้องผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ ชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับความสนับสนุนให้ยืนบนขาตัวเองได้ และสามารถเอาประโยชน์จากพลวัตรของโลกาภิวัตน์ได้ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันจะช่วยกระตุ้นให้ประชาคมท้องถิ่นในเอเชียสามารถพัฒนา เพิ่มคุณค่าของสินค้า และทำการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์การเกษตรและหัตถกรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและความชำนาญดั้งเดิม
ประการที่สี่ เป็นที่ชัดเจนว่า ประเทศในเอเชียมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายด้านอาหารและสินค้าเกษตร เรามีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าอาหารสำคัญของโลก อาทิ ข้าว ผลไม้ และอาหารทะเล เพื่อที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ ตลอดจนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับภูมิภาค ประเทศในเอเชียควรริเริ่มที่จะวางแผนการผลิตอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงประชาชนในเอเชียและในโลก โดยการแบ่งการผลิตและส่งเสริมการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าเราลองเริ่มจากประเทศผู้ผลิตข้าวก่อน อินเดียมีชื่อเสียงจากข้าวบาสมาติ ไทยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ และญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตข้าวเมล็ดสั้น ประเทศเหล่านี้ล้วนมีตลาดสำหรับสินค้าของตนโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องแย่งตลาดกัน ดังนั้น เราสามารถร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เพื่อผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด ที่สำคัญเช่นเดียวกัน คือ การดำเนินการด้านการตลาดร่วมกันสำหรับประเทศผู้ผลิตข้าว เมื่อเดือนที่ผ่านมา ไทยและเวียดนามได้ร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งออกข้าวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการแย่งตลาดและการแข่งขันด้านราคา ต่อมาปากีสถานได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในความร่วมมือดังกล่าว สัปดาห์ที่แล้ว กระผมได้เชิญชวนอินเดียให้เข้าร่วม และรัฐมนตรีฯ สิงห์ ได้แสดงความสนใจเป็นอย่างยิ่งและพร้อมจะส่งผู้แทนมาร่วมหารือในเรื่องนี้ในรายละเอียด
ภูมิภาคเอเชียมีสมรรถนะที่จะเลี้ยงประชากรกว่าครึ่งโลก แต่เราต้องไม่ลืมว่ายังคงมีภัยคุกคามจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและการใช้ททรัพยากรจนสูญสิ้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้เราต้องบริหารจัดการคุณภพและปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนของเราจะสามารถดำรง "สิทธิในการได้รับอาหาร" การแบ่งการผลิตอาหารจะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีสถานะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกท่านผู้มีเกียรติ
ความร่วมมือเพื่อเพิ่มพลวัตรและเกื้อหนุนศักยภาพในภูมิภาคเอเชียตามที่กระผมได้กล่าวมาแล้วเป็นโอกาสใหม่สำหรับการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่มีความหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายในเอเชีย เอเชียได้สร้างความก้าวหน้าไปแล้วในความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับยุโรป แปซิฟิก และลาตินอเมริกา แต่สำหรับเอเชียด้วยกันแล้วนี่ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมหรือที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างพวกเรากันเอง นี่ไม่ใช่เวลาสำหรับเราที่จะก้าวเข้าสู่วิถีความร่วมมือแห่งอาเชียหรือ
การเคลื่อนตัวสู่วิถีความร่วมมือแห่งเอเชียสามารถเริ่มจากการสร้างพื้นฐานจากกรอบความร่วมมือทวิภาคี อนุภูมิภาค และระดับภูมิภาค กระบวนการนี้พร้อมที่จะเปิดกว้างและวิวัฒนาการต่อไป ภูมิภาคเอเชียที่พร้อมจะก้าวไปข้างหน้าจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ภายใน และช่วยให้เราเป็นหุ้นส่วนที่น่าสนใจต่อภูมิภาคอื่น เราสามารถร่วมกันกำหนดจังหวะของความก้าวหน้าและทำให้ความร่วมมือนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ แต่ละประเทศในเอเชียมีบทบาทสำคัญที่ต้องร่วมในการพลิกบทใหม่แห่งความร่วมมือเพื่อความเจริญเติบโตและความมั่นคั่งร่วมกันทั้งภายในเอเชีย และกับโลกภายนอก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-