เศรษฐกิจจังหวัดพิจิตร ปี 2542 เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนจากการผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนที่มากเพียงพอ และการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนดีขึ้น ภาคการเงิน เงินฝากกลับขยายตัวจากเงินฝากของส่วนราชการเป็นสำคัญ ขณะที่การให้สินเชื่อยังคงลดลงจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐบาลขยายตัว
ภาคเกษตร ขยายตัวจากปีก่อนจากภาวะฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง โดยพืชผลสำคัญ เช่น ข้าว นาปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 เป็น 617,563 เมตริกตัน อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เป็น 391,717 เมตริกตัน ถั่วเขียว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เป็น 11,054 เมตริกตัน และ ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เป็น 1,394 เมตริกตัน แต่จากราคาพืชผลหลักที่ลดลงจากปีก่อนมาก เช่น ข้าวนาปี ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20.5 เหลือเมตริกตันละ 5,136 บาท ข้าวนาปรัง ลดลงร้อยละ 28.1 เหลือเมตริกตันละ 4,772 บาท ส่งผลให้รายได้โดยรวมของเกษตรกรในปีนี้ลดลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นในปีก่อนแต่ยังสูงกว่าปีก่อนหน้า
นอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ การผลิตแร่ยิปซัมซึ่งเป็นแร่สำคัญของจังหวัดพิจิตร การผลิตลดลง จากปีก่อนร้อยละ 2.0 เหลือ 312,800 เมตริกตัน แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 60.2 ปีก่อน ตามการฟื้นตัวของการก่อสร้าง การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังลดลงแต่เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นจากเครื่องชี้หลายประการ เช่น ยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 8.7 เหลือ 623 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 70.1 ปีก่อน ยอดจด ทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 20.0 เหลือ 4,688 คัน ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 40.6 ปีก่อน แม้ว่ารายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงตามราคาพืชผลเกษตรแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 2,015 ล้านบาท และ 1,566 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.5 และร้อยละ 11.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.3 และร้อยละ 9.9 ปีก่อน เนื่องจากธนาคารเข้มงวดการให้สินเชื่อ แต่มีธุรกิจเช่าซื้อเปิดบริการให้สินเชื่อทดแทน ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.9 เป็น 85 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ปีก่อนจากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.8 ปีก่อน ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2542 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.4 เหลือ 4,385 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกับการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) แล้ว การใช้จ่ายภาครัฐโดยรวมยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็น 4,680 ล้านบาท
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากโรงงานที่ขออนุญาตจดทะเบียนใหม่ 148 ราย เงินลงทุน 1,829 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนซึ่งมีจำนวน 57 ราย เงินลงทุน 195 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็น กิจการขนาดเล็ก เช่น อู่ซ่อมรถ โรงสีข้าว ส่วน การก่อสร้าง เริ่มฟื้นตัวขึ้นจากพื้นที่รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขต เทศบาล แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 9.6 เหลือ 14,899 ตารางเมตร แต่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 32.8 ปีก่อน ส่วนสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 484 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 18.2 ปีก่อน
ภาคการเงิน จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดพิจิตร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 31 แห่ง เท่ากับปีก่อน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดพิจิตร) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 25,677 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ปีก่อน โดยปริมาณเงินนำฝากเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.3 เป็น 14,395 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ปีก่อน และปริมาณเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 11,282 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ปีก่อน ปริมาณเงินนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 18.7 เหลือ 3,112 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.0 ปีก่อน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 12,829 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ปีก่อน เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำมีการนำเงินฝากชำระหนี้ และใช้จ่ายอื่นๆ โดยเงินฝากในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.9 และร้อยละ 1.9 ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ มียอดคงค้าง 6,688 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 8.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.3 ปีก่อน จากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ สินเชื่อในเขตอำเภอเมืองและอำเภอ รอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.6 และร้อยละ 7.3
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 1,206 ราย วงเงิน 1,051.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,175 ราย วงเงิน 750 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 91 ราย วงเงิน 38.7 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,115 ราย เป็นเงิน 1,012.4 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดพิจิตร ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,954 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 3,550 ล้านบาท เนื่องจากรัฐเร่งใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจขณะที่การจัดเก็บ รายได้ลดลงร้อยละ 3.4 เหลือ 432 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,138 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุลเงินสด 816 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 351 ล้านบาทปีก่อน
อนึ่ง การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 425 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 295 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.4 ของวงเงินอนุมัติซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยร้อยละ 82.1 ของวงเงินอนุมัติทั้งภาคเหนือ เนื่องจากมี การปรับปรุงโครงการซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณทำให้การดำเนินงานล่าช้า โดยประมาณร้อยละ 50 ของการเบิกจ่ายใช้ในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงาน ส่วนวงเงินที่เหลือเป็นโครงการก่อสร้างที่ดำเนินงาน ล่าช้ากว่ากำหนดคาดว่าจะดำเนินงานแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ขยายตัวจากปีก่อนจากภาวะฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง โดยพืชผลสำคัญ เช่น ข้าว นาปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 เป็น 617,563 เมตริกตัน อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เป็น 391,717 เมตริกตัน ถั่วเขียว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เป็น 11,054 เมตริกตัน และ ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เป็น 1,394 เมตริกตัน แต่จากราคาพืชผลหลักที่ลดลงจากปีก่อนมาก เช่น ข้าวนาปี ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20.5 เหลือเมตริกตันละ 5,136 บาท ข้าวนาปรัง ลดลงร้อยละ 28.1 เหลือเมตริกตันละ 4,772 บาท ส่งผลให้รายได้โดยรวมของเกษตรกรในปีนี้ลดลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นในปีก่อนแต่ยังสูงกว่าปีก่อนหน้า
นอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ การผลิตแร่ยิปซัมซึ่งเป็นแร่สำคัญของจังหวัดพิจิตร การผลิตลดลง จากปีก่อนร้อยละ 2.0 เหลือ 312,800 เมตริกตัน แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 60.2 ปีก่อน ตามการฟื้นตัวของการก่อสร้าง การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังลดลงแต่เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นจากเครื่องชี้หลายประการ เช่น ยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 8.7 เหลือ 623 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 70.1 ปีก่อน ยอดจด ทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 20.0 เหลือ 4,688 คัน ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 40.6 ปีก่อน แม้ว่ารายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงตามราคาพืชผลเกษตรแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 2,015 ล้านบาท และ 1,566 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.5 และร้อยละ 11.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.3 และร้อยละ 9.9 ปีก่อน เนื่องจากธนาคารเข้มงวดการให้สินเชื่อ แต่มีธุรกิจเช่าซื้อเปิดบริการให้สินเชื่อทดแทน ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.9 เป็น 85 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ปีก่อนจากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.8 ปีก่อน ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2542 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.4 เหลือ 4,385 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกับการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) แล้ว การใช้จ่ายภาครัฐโดยรวมยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็น 4,680 ล้านบาท
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากโรงงานที่ขออนุญาตจดทะเบียนใหม่ 148 ราย เงินลงทุน 1,829 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนซึ่งมีจำนวน 57 ราย เงินลงทุน 195 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็น กิจการขนาดเล็ก เช่น อู่ซ่อมรถ โรงสีข้าว ส่วน การก่อสร้าง เริ่มฟื้นตัวขึ้นจากพื้นที่รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขต เทศบาล แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 9.6 เหลือ 14,899 ตารางเมตร แต่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 32.8 ปีก่อน ส่วนสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 484 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 18.2 ปีก่อน
ภาคการเงิน จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดพิจิตร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 31 แห่ง เท่ากับปีก่อน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดพิจิตร) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 25,677 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ปีก่อน โดยปริมาณเงินนำฝากเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.3 เป็น 14,395 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ปีก่อน และปริมาณเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 11,282 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ปีก่อน ปริมาณเงินนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 18.7 เหลือ 3,112 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.0 ปีก่อน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 12,829 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ปีก่อน เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำมีการนำเงินฝากชำระหนี้ และใช้จ่ายอื่นๆ โดยเงินฝากในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.9 และร้อยละ 1.9 ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ มียอดคงค้าง 6,688 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 8.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.3 ปีก่อน จากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ สินเชื่อในเขตอำเภอเมืองและอำเภอ รอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.6 และร้อยละ 7.3
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 1,206 ราย วงเงิน 1,051.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,175 ราย วงเงิน 750 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 91 ราย วงเงิน 38.7 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,115 ราย เป็นเงิน 1,012.4 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดพิจิตร ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,954 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 3,550 ล้านบาท เนื่องจากรัฐเร่งใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจขณะที่การจัดเก็บ รายได้ลดลงร้อยละ 3.4 เหลือ 432 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,138 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุลเงินสด 816 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 351 ล้านบาทปีก่อน
อนึ่ง การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 425 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 295 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.4 ของวงเงินอนุมัติซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยร้อยละ 82.1 ของวงเงินอนุมัติทั้งภาคเหนือ เนื่องจากมี การปรับปรุงโครงการซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณทำให้การดำเนินงานล่าช้า โดยประมาณร้อยละ 50 ของการเบิกจ่ายใช้ในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงาน ส่วนวงเงินที่เหลือเป็นโครงการก่อสร้างที่ดำเนินงาน ล่าช้ากว่ากำหนดคาดว่าจะดำเนินงานแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-