ญี่ปุ่น ตัดสิทธิการให้ GSP รวม 19 ประเทศ ภายใต้มาตรการตัดสิทธิรายประเทศ แต่ไทยไม่โดน ส่วนคู่แข่งสำคัญอย่าง เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ถูกตัดสิทธิด้วย มีผลบังคับใช้ 1 เมษายน ศกนี้ เป็นต้นไป
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ว่า สภาภาษีศุลกากร(The Customs Tariff Council) ของญี่ปุ่น ได้มีการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) เพิ่มเติม โดยได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้ GSP เช่น วัตถุประสงค์ของการให้ GSP ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในของประเทศผู้ได้รับสิทธิ เป็นต้นไป และผลการพิจารณาทบทวนการตัด GSP ดังกล่าว ญี่ปุ่นได้กำหนดมาตรการในการตัด GSP ประเทศผู้รับสิทธิไว้ 2 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการตัดสิทธิเป็นรายสินค้า (Partial Graduation) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2541 โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ประเทศผู้รับสิทธิที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัว(GNP Percapita) โดยอ้างอิงจากสถิติของธนาคารโลก ในปี 2538 คือถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีสูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ให้ถือว่าเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และ
- รายการสินค้านั้นจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นมากกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของรายการสินค้านั้น ๆ และสินค้านั้นจะต้องมีมูลค่านำเข้าญี่ปุ่นรวมมากกว่า 1 พันล้านเยน ก็จะถูกตัดสิทธิในสินค้านั้น
ภายใต้มาตรการตัดสิทธิรายสินค้านี้ มีประเทศที่ถูกตัด GSP รวม 5 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และนิวคาลิโดเนีย
2. มาตรการตัดสิทธิเป็นรายประเทศ (Country Graduation) จะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ประเทศผู้รับสิทธิที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัว สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ติดต่อกัน 3 ปี (2538 - 2540) ถือว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดี จะถูกเพิกถอนสิทธิ GSP ทั้งประเทศ
- แต่หากมี รายได้ประชาติต่อหัวต่อปี สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ไม่ต่อเนื่องกัน จะได้รับการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิ GSP ใหม่
ภายใต้มาตรการตัดสิทธิรายประเทศนี้ มีประเทศที่จะถูกตัด GSP รวม 19 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ-อาหรับอิมิเรตส์ อิสราเอล กาตาร์ คูเวต เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ บรูไน เกาะกวม เกาะกรีนแลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมู่เกาะเวอร์จิน เกาะบาฮามาส เกาะเคย์แมน เกาะไซปรัส เนเธอร์แลนแอนทิเลส และนิวคาลิโดเนีย
อย่างไรก็ดี การใช้มาตรการนี้ ญี่ปุ่นจะทบทวนเปลี่ยนแปลง และกำหนดมาตรการภาษีเป็นการชั่วคราว โดยจะประกาศในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2543 นี้ สำหรับประเทศไทยนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากทั้งสองมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด ยังคงได้รับสิทธิ GSP ภายใต้เงื่อนไขเดิมทุกประการ
-กรมการค้าต่างประเทศ กุมภาพันธ์ 2543--
-อน-
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ว่า สภาภาษีศุลกากร(The Customs Tariff Council) ของญี่ปุ่น ได้มีการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) เพิ่มเติม โดยได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้ GSP เช่น วัตถุประสงค์ของการให้ GSP ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในของประเทศผู้ได้รับสิทธิ เป็นต้นไป และผลการพิจารณาทบทวนการตัด GSP ดังกล่าว ญี่ปุ่นได้กำหนดมาตรการในการตัด GSP ประเทศผู้รับสิทธิไว้ 2 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการตัดสิทธิเป็นรายสินค้า (Partial Graduation) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2541 โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ประเทศผู้รับสิทธิที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัว(GNP Percapita) โดยอ้างอิงจากสถิติของธนาคารโลก ในปี 2538 คือถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีสูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ให้ถือว่าเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และ
- รายการสินค้านั้นจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นมากกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของรายการสินค้านั้น ๆ และสินค้านั้นจะต้องมีมูลค่านำเข้าญี่ปุ่นรวมมากกว่า 1 พันล้านเยน ก็จะถูกตัดสิทธิในสินค้านั้น
ภายใต้มาตรการตัดสิทธิรายสินค้านี้ มีประเทศที่ถูกตัด GSP รวม 5 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และนิวคาลิโดเนีย
2. มาตรการตัดสิทธิเป็นรายประเทศ (Country Graduation) จะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ประเทศผู้รับสิทธิที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัว สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ติดต่อกัน 3 ปี (2538 - 2540) ถือว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดี จะถูกเพิกถอนสิทธิ GSP ทั้งประเทศ
- แต่หากมี รายได้ประชาติต่อหัวต่อปี สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ไม่ต่อเนื่องกัน จะได้รับการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิ GSP ใหม่
ภายใต้มาตรการตัดสิทธิรายประเทศนี้ มีประเทศที่จะถูกตัด GSP รวม 19 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ-อาหรับอิมิเรตส์ อิสราเอล กาตาร์ คูเวต เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ บรูไน เกาะกวม เกาะกรีนแลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมู่เกาะเวอร์จิน เกาะบาฮามาส เกาะเคย์แมน เกาะไซปรัส เนเธอร์แลนแอนทิเลส และนิวคาลิโดเนีย
อย่างไรก็ดี การใช้มาตรการนี้ ญี่ปุ่นจะทบทวนเปลี่ยนแปลง และกำหนดมาตรการภาษีเป็นการชั่วคราว โดยจะประกาศในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2543 นี้ สำหรับประเทศไทยนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากทั้งสองมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด ยังคงได้รับสิทธิ GSP ภายใต้เงื่อนไขเดิมทุกประการ
-กรมการค้าต่างประเทศ กุมภาพันธ์ 2543--
-อน-