1. การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 รับทราบมติของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่อง การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้
1.1 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน เพิ่มขึ้นอีก 3 บาทจากวันละ 130 เป็น 133 บาท
1.2 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกวันละ 3 บาท ดังนี้
1) ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และภูเก็ต ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 162 เป็น 165 บาท
2) ในท้องที่จังหวัดชลบุรี สระบุรี พังงา ระนอง เชียงใหม่ และนครราชสีมา ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 140 เป็น 143 บาท
3) ในท้องที่ 63 จังหวัดที่เหลือ ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 130 เป็น 133 บาท
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 อนุมัติเรื่อง การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อยฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามขั้นตอน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีความเห็นเพิ่มเติมต่อการดำเนินมาตรการดังกล่าวไว้ ดังนี้
2.1 ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดำเนินการรับซื้อลดเช็ค เพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 โรงงาน เพียงสถาบันเดียวต่อไป
2.2 ให้ ธ.ก.ส. คิดอัตรารับซื้อลดเช็คเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MLR) ของ ธ.ก.ส. (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 9 ต่อปี) และในกรณีที่ ธ.ก.ส. ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ธ.ก.ส. จะต้องลดอัตรารับซื้อลดเช็คลงตามต้นทุนที่ลดลง
2.3 การให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ให้ถือปฏิบัติโดยใช้หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับ ฤดูการผลิตปี 2543/2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 รับทราบมติของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่อง การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้
1.1 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน เพิ่มขึ้นอีก 3 บาทจากวันละ 130 เป็น 133 บาท
1.2 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกวันละ 3 บาท ดังนี้
1) ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และภูเก็ต ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 162 เป็น 165 บาท
2) ในท้องที่จังหวัดชลบุรี สระบุรี พังงา ระนอง เชียงใหม่ และนครราชสีมา ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 140 เป็น 143 บาท
3) ในท้องที่ 63 จังหวัดที่เหลือ ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 130 เป็น 133 บาท
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 อนุมัติเรื่อง การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อยฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามขั้นตอน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีความเห็นเพิ่มเติมต่อการดำเนินมาตรการดังกล่าวไว้ ดังนี้
2.1 ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดำเนินการรับซื้อลดเช็ค เพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 โรงงาน เพียงสถาบันเดียวต่อไป
2.2 ให้ ธ.ก.ส. คิดอัตรารับซื้อลดเช็คเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MLR) ของ ธ.ก.ส. (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 9 ต่อปี) และในกรณีที่ ธ.ก.ส. ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ธ.ก.ส. จะต้องลดอัตรารับซื้อลดเช็คลงตามต้นทุนที่ลดลง
2.3 การให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ให้ถือปฏิบัติโดยใช้หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับ ฤดูการผลิตปี 2543/2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-