ผลิตภัณฑ์แปรรูป : อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวและแป้งและผลกระทบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมข้าวเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากข้าว ซึ่ง เป็นพืชหลักที่สำคัญของไทย สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร จึงได้ทำการศึกษาถึงสถานะภาพในปัจจุบันของอุตสาหกรรมแปรรูป จากข้าวและศักยภาพในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวและส่งเสริมให้เป็นสินค้าส่งออกตลอดพัฒนาเป็นสินค้าทดแทนการนำเข้าในอนาคตแทนการส่งออกข้าวในรูปของผลิตผลเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว
นอกจากการศึกษาสถานะภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมแปรรูปจากข้าว แล้วยังทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการส่งออกข้าว เทียบกับผลกระทบที่มีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ทำให้ต้องมีการปรับระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราจากระบบอัตราที่ ( Fix-exchange rate System ) เป็นระบบ ลอยตัว (managed flotation ) จากอัตราแลกเปลี่ยน ที่ 25-26 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ เปลี่ยนไปเป็น 30.46 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ และถึงจุดต่ำสุดในเดือนมกราคม 2541 ที่อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 54.07 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ในการวิเคราะห์จะใช้วิธีวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์และ การถดถอย ( Correlation และ Regression) แสดงความสัมพันธ์ ของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวดดยใช้ปริมาณการส่งออกของ 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังกรอบและแป้งแผ่น และ การส่งออกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเหรียญฮ่องกงต่อเงินบาทของไทยที่เปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลงๆ ตามระบบ อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในช่วงเดือนมกราคม 2540-ธันวาคม 2541 ผลของการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการถดถอยของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวและปริมาณการส่งออกข้าว แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราน้อยมาก ในขณะที่ปริมาณการส่งออกข้าวมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างสูง คือ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนก็จะทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไทยผันผวนไปด้วย สูงกว่าความผันผวนที่เกิดกับปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว
อย่างไรก็ดีจากการวิเคราะห์ การถดถอยแสดงให้เห็นว่า ผลกระทบที่มีต่อปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว ยังไม่มีนัยสำคัญที่จะสามารถนำมาพยากรณ์ปริมาณการแปรตามของตัวแปรตามถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว ที่มีต่อตัวแปรรูปข้าวที่มีต่อตัวแปรอิสระคืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการส่งออกของ ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวยังมีปริมาณน้อยมากในตลาดที่นำเข้าจากไทย ซึ่งเป็นตลาด หลักๆ ที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณการนำเข้าจนไม่ส่งผลพฤติกรรมการบริโภคในประเทศผู้นำเข้า เพราะมิได้บริโภคเป็นอาหารหลัก ดังนั้น เมื่อผลิตภัณฑ์บริโภคมีราคาเปลี่ยนแปลงไปก็ยังบริโภคและนำเข้าในปริมาณใกล้เคียงกับที่เคยนำเข้าเดิม
จากผลการวิเคราะห์ Regression ของการส่งออกข้าว กับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเหรียญอ่องกง จะได้ค่า R Square ตามสำคัญคือ 0.439605,0.481857 และ 0.438585322 และค่าทดสอบตัวสถิติ t ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จะได้ตัวสถิติ t 4.154274, 4,523199 และ 4,145687 แสดงว่า ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์มีนัยสำคัญสหสัมพันธ์ต่อกันสามารถใช้พยากรณ์ตัวแปรตามได้อย่างมีคุณภาพ
จากผลของการศึกษา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย ของการส่งออกข้าวที่กำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเหรียญฮ่องกงเป็นตัวแปรอิสระและปริมาณการส่งออกข้าวเป็นตัวแปรตามนั้น ผลการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตรา 3 สกุลนั้นมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อปริมาณการส่งออกข้าว เนื่องจากไทยส่งออกข้าวเป็นจำนวนมากในตลาดโลก จากข้อมูลตลอดเวลา 24 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ถึงเดือน ธันวาคม 2541 เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวิกฤติ ตั้งแต่มีการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในการส่งออกข้าวที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าเมื่อค่าเงินบาทลดลงการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจะมีสูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อค่าเงินบาทสูงขึ้น ปริมาณการส่งออกข้าวก็จะลดลงค่อนข้างจะแน่นอน ซึ่งต่างกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่แม้ค่าเงินบาทจะเปลี่ยนไป ปริมาณการส่งออกเกือบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อเสนอแนะ
จากผลของการศึกษาทำให้ได้ข้อคิดเห็นว่าการให้ความสำคัญ ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขยายกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวให้มีมากขึ้นและเมื่อผู้บริโภคคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์หันมาบริโภคมากขึ้นก็จะทำให้ตลาดข้าวไทยส่วนหนึ่งเข้าไปเป็นปัจจัยในการผลิต สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปรูปข้าวจะช่วยลดความผันผวนของปริมาณการส่งออกข้าว ที่มีอยู่สูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนให้ลดน้อยลง
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์ที่กำหนดให้ปัจจัยกระทบอื่นๆ คงที่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะตัว ที่กำหนดไว้คืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การศึกษานี้จึงเป็นเพียงแนวทางที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเป็นไปได้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 14-13 พ.ค. 2544--
-สส-
อุตสาหกรรมข้าวเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากข้าว ซึ่ง เป็นพืชหลักที่สำคัญของไทย สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร จึงได้ทำการศึกษาถึงสถานะภาพในปัจจุบันของอุตสาหกรรมแปรรูป จากข้าวและศักยภาพในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวและส่งเสริมให้เป็นสินค้าส่งออกตลอดพัฒนาเป็นสินค้าทดแทนการนำเข้าในอนาคตแทนการส่งออกข้าวในรูปของผลิตผลเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว
นอกจากการศึกษาสถานะภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมแปรรูปจากข้าว แล้วยังทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการส่งออกข้าว เทียบกับผลกระทบที่มีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ทำให้ต้องมีการปรับระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราจากระบบอัตราที่ ( Fix-exchange rate System ) เป็นระบบ ลอยตัว (managed flotation ) จากอัตราแลกเปลี่ยน ที่ 25-26 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ เปลี่ยนไปเป็น 30.46 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ และถึงจุดต่ำสุดในเดือนมกราคม 2541 ที่อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 54.07 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ในการวิเคราะห์จะใช้วิธีวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์และ การถดถอย ( Correlation และ Regression) แสดงความสัมพันธ์ ของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวดดยใช้ปริมาณการส่งออกของ 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังกรอบและแป้งแผ่น และ การส่งออกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเหรียญฮ่องกงต่อเงินบาทของไทยที่เปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลงๆ ตามระบบ อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในช่วงเดือนมกราคม 2540-ธันวาคม 2541 ผลของการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการถดถอยของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวและปริมาณการส่งออกข้าว แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราน้อยมาก ในขณะที่ปริมาณการส่งออกข้าวมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างสูง คือ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนก็จะทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไทยผันผวนไปด้วย สูงกว่าความผันผวนที่เกิดกับปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว
อย่างไรก็ดีจากการวิเคราะห์ การถดถอยแสดงให้เห็นว่า ผลกระทบที่มีต่อปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว ยังไม่มีนัยสำคัญที่จะสามารถนำมาพยากรณ์ปริมาณการแปรตามของตัวแปรตามถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว ที่มีต่อตัวแปรรูปข้าวที่มีต่อตัวแปรอิสระคืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการส่งออกของ ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวยังมีปริมาณน้อยมากในตลาดที่นำเข้าจากไทย ซึ่งเป็นตลาด หลักๆ ที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณการนำเข้าจนไม่ส่งผลพฤติกรรมการบริโภคในประเทศผู้นำเข้า เพราะมิได้บริโภคเป็นอาหารหลัก ดังนั้น เมื่อผลิตภัณฑ์บริโภคมีราคาเปลี่ยนแปลงไปก็ยังบริโภคและนำเข้าในปริมาณใกล้เคียงกับที่เคยนำเข้าเดิม
จากผลการวิเคราะห์ Regression ของการส่งออกข้าว กับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเหรียญอ่องกง จะได้ค่า R Square ตามสำคัญคือ 0.439605,0.481857 และ 0.438585322 และค่าทดสอบตัวสถิติ t ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จะได้ตัวสถิติ t 4.154274, 4,523199 และ 4,145687 แสดงว่า ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์มีนัยสำคัญสหสัมพันธ์ต่อกันสามารถใช้พยากรณ์ตัวแปรตามได้อย่างมีคุณภาพ
จากผลของการศึกษา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย ของการส่งออกข้าวที่กำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเหรียญฮ่องกงเป็นตัวแปรอิสระและปริมาณการส่งออกข้าวเป็นตัวแปรตามนั้น ผลการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตรา 3 สกุลนั้นมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อปริมาณการส่งออกข้าว เนื่องจากไทยส่งออกข้าวเป็นจำนวนมากในตลาดโลก จากข้อมูลตลอดเวลา 24 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ถึงเดือน ธันวาคม 2541 เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวิกฤติ ตั้งแต่มีการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในการส่งออกข้าวที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าเมื่อค่าเงินบาทลดลงการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจะมีสูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อค่าเงินบาทสูงขึ้น ปริมาณการส่งออกข้าวก็จะลดลงค่อนข้างจะแน่นอน ซึ่งต่างกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่แม้ค่าเงินบาทจะเปลี่ยนไป ปริมาณการส่งออกเกือบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อเสนอแนะ
จากผลของการศึกษาทำให้ได้ข้อคิดเห็นว่าการให้ความสำคัญ ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขยายกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวให้มีมากขึ้นและเมื่อผู้บริโภคคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์หันมาบริโภคมากขึ้นก็จะทำให้ตลาดข้าวไทยส่วนหนึ่งเข้าไปเป็นปัจจัยในการผลิต สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปรูปข้าวจะช่วยลดความผันผวนของปริมาณการส่งออกข้าว ที่มีอยู่สูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนให้ลดน้อยลง
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์ที่กำหนดให้ปัจจัยกระทบอื่นๆ คงที่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะตัว ที่กำหนดไว้คืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การศึกษานี้จึงเป็นเพียงแนวทางที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเป็นไปได้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 14-13 พ.ค. 2544--
-สส-