1. การดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรมระยะที่ 2
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 ให้ความเห็นชอบ โครงการ และสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรมระยะที่ 2 (พ.ศ. 2543 | 2547) จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.41 ล้านบาท ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ รวมทั้งเห็นชอบสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2543 อีกเป็นวงเงิน 8,100 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็นวงเงินสินเชื่อจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) จำนวน 5,000 ล้านบาท บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) จำนวน 2,400 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จำนวน 1,100 ล้านบาท
สำหรับการดำเนินการโครงการตามแผนปรับ โครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.41 ล้านบาทนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) โดยความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ มีอำนาจอนุมัติ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการตามแผนฯ ระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ ภายใต้เงื่อนไขในวงเงินเดิม และระยะเวลาดำเนินโครงการตามกรอบเวลาเดิม (ไม่เกินปี 2547) ส่วนการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการนั้น กอช. จะต้องมอบหมายให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดและอนุมัติเป็นรายโครงการ
2. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม
2.1 แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน และจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยร่วมกับ ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หรือเสนอต่อคณะกรรมการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะจัดตั้งขึ้นเมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีผลบังคับใช้
2.2 การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ปี 2543
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 อนุมัติแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปี 2543 ตามที่กระทรวงการคลังและกระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1) ให้ความเห็นชอบวงเงินสินเชื่อและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสนับสนุนแก่ SMEs ในปี 2543 จำนวน 29,700 ราย ในวงเงินรวม 50,300 ล้านบาท ดังนี้
สถาบันการเงิน วงเงินสินเชื่อ (ล้านบาท) วงเงินค้ำประกัน (ล้านบาท)
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 13,000
2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม 6,000
3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15,000
4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7,000
5. ธนาคารออมสิน 1,300
6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 4,000
7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 4,000
รวม 46,300 4,000
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านี้ได้จัดทำ แผนงานและกลยุทธ์การดำเนินงานที่จะสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ไว้เรียบร้อยแล้ว
2) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ให้บรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทประกันสินเชื่อ
อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพิ่มทุนช่วงแรกในวงเงิน 2,500 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพิ่มทุน ช่วงแรกให้ บอย. แล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 และจะเพิ่มทุนให้ บอย. อีกจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการใช้เงินของ บอย.
3. การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2543 อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
- ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสร้างสาย การผลิตต้นแบบระดับ 0.5 ไมครอน ด้วยเครื่องจักรใหม่
- ให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับดำเนินโครงการ โดยประกอบด้วยเงินลงทุนที่กู้จาก ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 36.723 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1,395.50 ล้านบาท (ที่อัตรา แลกเปลี่ยน 38 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.) และค่า ดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินปีละ 150 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2544 - 2548) รวม 750 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังเมื่อศูนย์ฯ เปิดดำเนินการและ มีรายได้แล้ว เห็นควรให้นำรายได้สมทบเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน เพื่อลดภาระงบประมาณแผ่นดิน
4. การปรับลดอัตราอากรขาเข้าสินค้า ภาคอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 อนุมัติให้ปรับลดอัตราอากรขาเข้าวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง และสินค้าทุนเพื่อเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขัน การปรับลดอากรขาเข้าสินค้าครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมด 542 รายการที่สำคัญได้แก่ กระดาษ อลูมิเนียมฟอล์ย โพลีเอทิลีน แผ่นอลูมิเนียม เหล็กแผ่นรีดร้อนที่นำมาผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ เยื่อใยยาว ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ โดยลดอัตราอากรขาเข้าสินค้าเหล่านี้จากร้อยละ 5, 10, 20 และ 30 เหลือร้อยละ 1, 3, 5, 10 และ 15 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและผลิตภัณฑ์ (รายละเอียดตามประกาศของทางราชการ) อนึ่ง การปรับลดอัตราอากรขาเข้าครั้งนี้ แม้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ปีละประมาณ 3,300 ล้านบาท แต่จะสามารถชดเชยได้ จากการเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคจะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ต่ำลง
5. นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543 เห็นชอบกรอบนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
- กรอบนโยบาย ให้รัฐกำหนดแนวทาง การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และ 10 โดยกำหนดให้มีแผนระดับชาติรองรับ และจัดทำแผน รายสาขา รวมทั้งดำเนินการในมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก และให้ความสำคัญโครงสร้างทางกฎหมาย แก้ไข กฎระเบียบราชการ และกฎเกณฑ์ที่กีดขวางต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- กลยุทธ์การพัฒนา กำหนดให้มีกลยุทธ์การพัฒนาด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การศึกษาระบบการชำระเงินในปัจจุบัน แนวโน้มระบบการค้าของโลก การปรับปรุงกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผลักดันกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และให้มีการดำเนินการตามแผน แม่บทว่าด้วยกิจการด้านโทรคมนาคม
6. การกำหนดราคาอ้อยและน้ำตาลทราย
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 และ 26 ธันวาคม 2543 อนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้อยฤดูการผลิตปี 2542/43 และ 2543/44 ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรมเสนอดังนี้
1) กำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2542/43 เป็นรายเขต 5 ราคา โดยที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส ราคาอ้อยเขต 1,2,3,4,5 กำหนดไว้ตันละ
464.63 บาท 483.86 บาท 486.23 บาท 490.80 บาท และ 482.28 บาท ตามลำดับ โดยมีอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยในเขต 1 | 5 อยู่ระหว่างตันละ 27.878 บาท 29.032 บาท 29.174 บาท 29.448 บาท และ 28.937 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส ตามลำดับ
2) กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2543/44 ในอัตราตันละ 600 บาท ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส อัตราการขึ้น/ลง ของราคาอ้อยตันละ 36.00 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส และผลตอบแทน การผลิตและจำหน่ายน้ำตาลขั้นต้นในอัตรากระสอบละ 305.44 บาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 ให้ความเห็นชอบ โครงการ และสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรมระยะที่ 2 (พ.ศ. 2543 | 2547) จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.41 ล้านบาท ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ รวมทั้งเห็นชอบสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2543 อีกเป็นวงเงิน 8,100 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็นวงเงินสินเชื่อจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) จำนวน 5,000 ล้านบาท บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) จำนวน 2,400 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จำนวน 1,100 ล้านบาท
สำหรับการดำเนินการโครงการตามแผนปรับ โครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.41 ล้านบาทนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) โดยความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ มีอำนาจอนุมัติ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการตามแผนฯ ระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ ภายใต้เงื่อนไขในวงเงินเดิม และระยะเวลาดำเนินโครงการตามกรอบเวลาเดิม (ไม่เกินปี 2547) ส่วนการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการนั้น กอช. จะต้องมอบหมายให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดและอนุมัติเป็นรายโครงการ
2. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม
2.1 แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน และจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยร่วมกับ ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หรือเสนอต่อคณะกรรมการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะจัดตั้งขึ้นเมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีผลบังคับใช้
2.2 การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ปี 2543
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 อนุมัติแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปี 2543 ตามที่กระทรวงการคลังและกระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1) ให้ความเห็นชอบวงเงินสินเชื่อและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสนับสนุนแก่ SMEs ในปี 2543 จำนวน 29,700 ราย ในวงเงินรวม 50,300 ล้านบาท ดังนี้
สถาบันการเงิน วงเงินสินเชื่อ (ล้านบาท) วงเงินค้ำประกัน (ล้านบาท)
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 13,000
2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม 6,000
3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15,000
4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7,000
5. ธนาคารออมสิน 1,300
6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 4,000
7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 4,000
รวม 46,300 4,000
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านี้ได้จัดทำ แผนงานและกลยุทธ์การดำเนินงานที่จะสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ไว้เรียบร้อยแล้ว
2) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ให้บรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทประกันสินเชื่อ
อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพิ่มทุนช่วงแรกในวงเงิน 2,500 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพิ่มทุน ช่วงแรกให้ บอย. แล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 และจะเพิ่มทุนให้ บอย. อีกจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการใช้เงินของ บอย.
3. การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2543 อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
- ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสร้างสาย การผลิตต้นแบบระดับ 0.5 ไมครอน ด้วยเครื่องจักรใหม่
- ให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับดำเนินโครงการ โดยประกอบด้วยเงินลงทุนที่กู้จาก ต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 36.723 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1,395.50 ล้านบาท (ที่อัตรา แลกเปลี่ยน 38 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.) และค่า ดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินปีละ 150 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2544 - 2548) รวม 750 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังเมื่อศูนย์ฯ เปิดดำเนินการและ มีรายได้แล้ว เห็นควรให้นำรายได้สมทบเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน เพื่อลดภาระงบประมาณแผ่นดิน
4. การปรับลดอัตราอากรขาเข้าสินค้า ภาคอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 อนุมัติให้ปรับลดอัตราอากรขาเข้าวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง และสินค้าทุนเพื่อเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขัน การปรับลดอากรขาเข้าสินค้าครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมด 542 รายการที่สำคัญได้แก่ กระดาษ อลูมิเนียมฟอล์ย โพลีเอทิลีน แผ่นอลูมิเนียม เหล็กแผ่นรีดร้อนที่นำมาผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ เยื่อใยยาว ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ โดยลดอัตราอากรขาเข้าสินค้าเหล่านี้จากร้อยละ 5, 10, 20 และ 30 เหลือร้อยละ 1, 3, 5, 10 และ 15 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและผลิตภัณฑ์ (รายละเอียดตามประกาศของทางราชการ) อนึ่ง การปรับลดอัตราอากรขาเข้าครั้งนี้ แม้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ปีละประมาณ 3,300 ล้านบาท แต่จะสามารถชดเชยได้ จากการเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคจะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ต่ำลง
5. นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543 เห็นชอบกรอบนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
- กรอบนโยบาย ให้รัฐกำหนดแนวทาง การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และ 10 โดยกำหนดให้มีแผนระดับชาติรองรับ และจัดทำแผน รายสาขา รวมทั้งดำเนินการในมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก และให้ความสำคัญโครงสร้างทางกฎหมาย แก้ไข กฎระเบียบราชการ และกฎเกณฑ์ที่กีดขวางต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- กลยุทธ์การพัฒนา กำหนดให้มีกลยุทธ์การพัฒนาด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การศึกษาระบบการชำระเงินในปัจจุบัน แนวโน้มระบบการค้าของโลก การปรับปรุงกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผลักดันกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และให้มีการดำเนินการตามแผน แม่บทว่าด้วยกิจการด้านโทรคมนาคม
6. การกำหนดราคาอ้อยและน้ำตาลทราย
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 และ 26 ธันวาคม 2543 อนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดราคาอ้อยฤดูการผลิตปี 2542/43 และ 2543/44 ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรมเสนอดังนี้
1) กำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2542/43 เป็นรายเขต 5 ราคา โดยที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส ราคาอ้อยเขต 1,2,3,4,5 กำหนดไว้ตันละ
464.63 บาท 483.86 บาท 486.23 บาท 490.80 บาท และ 482.28 บาท ตามลำดับ โดยมีอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยในเขต 1 | 5 อยู่ระหว่างตันละ 27.878 บาท 29.032 บาท 29.174 บาท 29.448 บาท และ 28.937 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส ตามลำดับ
2) กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2543/44 ในอัตราตันละ 600 บาท ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส อัตราการขึ้น/ลง ของราคาอ้อยตันละ 36.00 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส และผลตอบแทน การผลิตและจำหน่ายน้ำตาลขั้นต้นในอัตรากระสอบละ 305.44 บาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-