ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
การผลิตพืชผล เดือนสิงหาคมผลผลิตพืชผลออกสู่ตลาด มากกว่าเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ข้าวโพด และ
มันสำปะหลังฤดูใหม่ แต่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีก่อน ตามราคามันสำปะหลัง ข้าวโพด ผักและผลไม้ แม้ราคาข้าวหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้านาปีชั้น 1 ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 5,174
และ 4,801 บาท ต่อตัน จะลดลงมากถึงร้อยละ 37.1 และ 11.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ผลผลิตลดลงร้อยละ 0.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน ได้แก่ อ้อย และ มันสำปะหลัง ขณะที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต และ
ราคาพืชผลร้อยละ 1.6 และ 3.6 ตามลำดับ โดยรวมในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.4 จากการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนกรกฎาคมและในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง
ร้อยละ 7.5 และ 9.2 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล ที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เรือเล็กจำนวน
มากหยุดทำการประมง กอปรกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของไทย ยังคงเข้มงวดในการอนุญาตให้เรือไทยเข้าไปทำ
ประมง ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนสิงหาคม 2544 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน ตามราคาพืชผลและปศุสัตว์เกือบทุกชนิด ยกเว้นข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากมีการ
แข่งขันตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกไทย กอปรกับ มีข้าวหอมปทุมธานี 1 ซึ่งมีคุณภาพคล้ายข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม
ราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ กลับอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสินค้าที่มีการส่งออก ได้แก่ ไก่เนื้อ และมันสำปะหลัง ตามภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
ยกเว้นกุ้งกุลาดำ ซึ่งราคาในเดือนนี้ยังคงลดลงถึงร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นผลจากภาวะตลาดโลกที่อุปสงค์ลดลง
ขณะที่อุปทานทั้งในเอเชียและ ละตินอเมริกากำลังเพิ่มขึ้น จากแรงจูงใจด้านราคาในปีที่ผ่านมาทำให้มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นมาก
ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ราคาสินค้าเกษตร ที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วง เดียวกันปีก่อน
เนื่องจากการส่งออกไก่เนื้อและมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7 จาก
ภาวะอุปทานส่วนเกิน
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะสินค้า 12 ชนิดที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียว
กันปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิด ปรับตัวดีขึ้น เพราะอุปทานในตลาดโลกลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 ก.ค. ส.ค. ม.ค.-ส.ค.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 109 113.1 113 110
(2538 =100)
D % -15.4 -7.5 0.6 -3.5 2.4 6 3 2.9
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 100.2 105.6 104.8 101.4
D % -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 1.4 9 3.6 2.6
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,992 5,559 5,174 5,835
D % -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.3 -31.3 -37.2 -20.6
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,447 4,815 4,801 4,537
D % -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.2 -5.5 -11.2 -7.6
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,400 22,600 21,300 22,290
D % -22.6 19.8 19.9 19.8 6.6 9.9 -2.2 5.9
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,912 3,890 3,980 3,917
D % -7.8 14.6 -11.8 1.2 -17.5 0 10.9 -12.8
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 750 1,060 1,030 830
D % -44.5 -24.6 -12.2 -19 18 60.6 77.6 30.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 110.2 120.3 119.8 112.7
D % 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 7.4 14.3 13.5 9
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 135.7 129.8 132.5 134.5
D % -16.2 6.4 9.8 8.1 1.1 -6.7 -6.2 -0.9
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.8 103.4 103.4 103.7
D % -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 2.9 -2.4 -2.4 1.5
D % อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ และองค์การสะพานปลา
เครื่องชี้ภาวะสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเมตริกตัน
2539/40 2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 %การเปลี่ยนแปลง
2544/2543
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 22.07 23.34 23.24 24.17 25.29 4.6
นาปี 17.78 18.79 18.45 19.02 19.55 2.9
นาปรัง 4.29 4.55 4.79 5.16 5.74 11.2
ยางพารา 2.03 2.07 2.16 2.35 2.42 3
ข้าวโพด 3.97 3.83 4.77 4.29 4.4 2.6
มันสำปะหลัง 18.08 15.59 16.51 18.75 18.28 -2.5
อ้อย 58.98 45.85 52.84 53.49 48.65 -9.1
ถั่วเขียว 0.24 0.2 0.23 0.25 0.25-
ถั่วเหลือง 0.36 0.34 0.32 0.32 0.33 3.1
ปาล์มน้ำมัน 2.69 2.68 2.46 3.51 3.25 -7.4
กาแฟ 0.08 0.08 0.05 0.08 0.09 12.5
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,871.30 1,881.10 1,872.20 1,872.60 1,831.60 -2.2
การค้า 217.2 217 224.1 239.4 225.8 -5.7
ข้าว
ผลผลิต 380.4 386.6 394 408.4 395.5 -3.1
การค้า 18.8 27.3 25.1 22.9 22.3 -2.6
ข้าวโพด
ผลผลิต 592.2 576.1 605.5 607 586.5 -3.4
การค้า 66.4 62.9 68.4 73.1 72.7 -0.5
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 132.2 158.1 159.8 159.9 172.1 7.6
การค้า 37.1 40.5 38.7 46.7 53.2 13.9
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.5 6.8 6.8 6.9 7.2 4.3
การค้า 6.5 6.5 6.7 7.3 7.3 0
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมิถุนายน 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนกรกฎาคม 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2543/44 คือยางปี 2544 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2544 — ธันวาคม 2544
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, July 2001
Rubber Statistical Bulletin, July 2001
การบริการท่องเที่ยว เดือนสิงหาคม ปี 2544 จำนวน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 8.9
ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 62 (เทียบกับร้อยละ 56 ในช่วงเดียวกันปีก่อน) เป็นผลจาก มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว
อย่างต่อเนื่อง
ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 การท่องเที่ยวทั่วไปขยายตัว ในเกณฑ์ดี ยกเว้นนักท่องเที่ยวในแถบเอเชีย คาดว่าทั้งปี อัตรา
การขยายตัวจะต่ำกว่าเป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น กระแสการ
ท่องเที่ยวที่นิยมเที่ยวระยะใกล้มากขึ้น ตลอดจนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอลง
2543 2544
ภาคบริการ H1 H2 ทั้งปี Q1 Q2 H1 ก.ค. P ส.ค. P ม.ค.-ส.ค.
1. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วราชอาณาจักร (พันคน) 4,639 4,870 9,509 2,686 2,318 5,004 838 847 6,689
อัตราเพิ่มเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 11.2 10.5 10.8 8 7.7 7.9 6 8.9 7.8
2. อัตราการเข้าพักโรงแรม (ร้อยละ) 60.4 60 60.2 69.4 57.3 63.4 59 62 62.7
ที่มา :
1. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วราชอาณาจักร จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. อัตราการเข้าพัก จากการสำรวจจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ประมาณ 165 แห่ง (เขตกรุงเทพฯ 45 แห่ง ต่างจังหวัด 120 แห่ง)
ภาคเหมืองแร่: การผลิตเพิ่มขึ้นตามปริมาณก๊าซธรรมชาติ
ภาคเหมืองแร่ เดือนสิงหาคม 2544 ปริมาณการผลิตแร่เพิ่มขึ้น เล็กน้อย ตามการขยายตัวของก๊าซธรรมชาติเป็นสำคัญ เนื่องจากมี
การรับซื้อก๊าซฯ จากแหล่งบงกชเกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญารับซื้อก๊าซฯ
สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และแนวโน้มในช่วง 4 เดือนหลัง คาดว่าจะยังคง
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะมีการหันมาใช้ก๊าซฯ จากอ่าวไทยมากขึ้น
การผลิต 2543 2544
H1 H2 ทั้งปี Q1 Q2 H1 ก.ค. ส.ค. E ม.ค.-ส.ค.
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่ 161.2 164.3 162.7 154.7 170.5 162.6 176.5 180.4 166.6
D % 10.7 4.3 7.4 -5.7 7.7 0.9 9.3 2.3 2.1
ก๊าซธรรมชาติ 11.9 -1.7 4.8 -8.8 1.7 -3.5 0.6 4.7 -2
ลิกไนต์ -8.7 3.4 -2.9 -2.1 8.6 3.3 22.2 2.5 5.5
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ -10.4 -11.4 -10.4 -9.1 16.6 4.2 -9.8 3.5 1.8
น้ำมันดิบ 87.1 63.1 73.3 15.5 5.2 10.2 -2.7 -3.1 6.5
ดีบุก -31.3 -29.8 -30.5 38.5 45.6 41.7 -16.9 -10.9 17.1
ที่มา : ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่คำนวณจากข้อมูลผลผลิตเหมืองแร่ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การผลิตพืชผล เดือนสิงหาคมผลผลิตพืชผลออกสู่ตลาด มากกว่าเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ข้าวโพด และ
มันสำปะหลังฤดูใหม่ แต่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีก่อน ตามราคามันสำปะหลัง ข้าวโพด ผักและผลไม้ แม้ราคาข้าวหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้านาปีชั้น 1 ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 5,174
และ 4,801 บาท ต่อตัน จะลดลงมากถึงร้อยละ 37.1 และ 11.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ผลผลิตลดลงร้อยละ 0.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน ได้แก่ อ้อย และ มันสำปะหลัง ขณะที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต และ
ราคาพืชผลร้อยละ 1.6 และ 3.6 ตามลำดับ โดยรวมในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.4 จากการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนกรกฎาคมและในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง
ร้อยละ 7.5 และ 9.2 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล ที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เรือเล็กจำนวน
มากหยุดทำการประมง กอปรกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของไทย ยังคงเข้มงวดในการอนุญาตให้เรือไทยเข้าไปทำ
ประมง ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนสิงหาคม 2544 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน ตามราคาพืชผลและปศุสัตว์เกือบทุกชนิด ยกเว้นข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งราคาตกต่ำมากที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากมีการ
แข่งขันตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกไทย กอปรกับ มีข้าวหอมปทุมธานี 1 ซึ่งมีคุณภาพคล้ายข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม
ราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ กลับอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสินค้าที่มีการส่งออก ได้แก่ ไก่เนื้อ และมันสำปะหลัง ตามภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
ยกเว้นกุ้งกุลาดำ ซึ่งราคาในเดือนนี้ยังคงลดลงถึงร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นผลจากภาวะตลาดโลกที่อุปสงค์ลดลง
ขณะที่อุปทานทั้งในเอเชียและ ละตินอเมริกากำลังเพิ่มขึ้น จากแรงจูงใจด้านราคาในปีที่ผ่านมาทำให้มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นมาก
ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ราคาสินค้าเกษตร ที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วง เดียวกันปีก่อน
เนื่องจากการส่งออกไก่เนื้อและมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7 จาก
ภาวะอุปทานส่วนเกิน
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะสินค้า 12 ชนิดที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียว
กันปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิด ปรับตัวดีขึ้น เพราะอุปทานในตลาดโลกลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 ก.ค. ส.ค. ม.ค.-ส.ค.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 109 113.1 113 110
(2538 =100)
D % -15.4 -7.5 0.6 -3.5 2.4 6 3 2.9
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 100.2 105.6 104.8 101.4
D % -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 1.4 9 3.6 2.6
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,992 5,559 5,174 5,835
D % -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.3 -31.3 -37.2 -20.6
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,447 4,815 4,801 4,537
D % -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.2 -5.5 -11.2 -7.6
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,400 22,600 21,300 22,290
D % -22.6 19.8 19.9 19.8 6.6 9.9 -2.2 5.9
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,912 3,890 3,980 3,917
D % -7.8 14.6 -11.8 1.2 -17.5 0 10.9 -12.8
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 750 1,060 1,030 830
D % -44.5 -24.6 -12.2 -19 18 60.6 77.6 30.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 110.2 120.3 119.8 112.7
D % 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 7.4 14.3 13.5 9
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 135.7 129.8 132.5 134.5
D % -16.2 6.4 9.8 8.1 1.1 -6.7 -6.2 -0.9
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.8 103.4 103.4 103.7
D % -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 2.9 -2.4 -2.4 1.5
D % อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ และองค์การสะพานปลา
เครื่องชี้ภาวะสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเมตริกตัน
2539/40 2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 %การเปลี่ยนแปลง
2544/2543
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 22.07 23.34 23.24 24.17 25.29 4.6
นาปี 17.78 18.79 18.45 19.02 19.55 2.9
นาปรัง 4.29 4.55 4.79 5.16 5.74 11.2
ยางพารา 2.03 2.07 2.16 2.35 2.42 3
ข้าวโพด 3.97 3.83 4.77 4.29 4.4 2.6
มันสำปะหลัง 18.08 15.59 16.51 18.75 18.28 -2.5
อ้อย 58.98 45.85 52.84 53.49 48.65 -9.1
ถั่วเขียว 0.24 0.2 0.23 0.25 0.25-
ถั่วเหลือง 0.36 0.34 0.32 0.32 0.33 3.1
ปาล์มน้ำมัน 2.69 2.68 2.46 3.51 3.25 -7.4
กาแฟ 0.08 0.08 0.05 0.08 0.09 12.5
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,871.30 1,881.10 1,872.20 1,872.60 1,831.60 -2.2
การค้า 217.2 217 224.1 239.4 225.8 -5.7
ข้าว
ผลผลิต 380.4 386.6 394 408.4 395.5 -3.1
การค้า 18.8 27.3 25.1 22.9 22.3 -2.6
ข้าวโพด
ผลผลิต 592.2 576.1 605.5 607 586.5 -3.4
การค้า 66.4 62.9 68.4 73.1 72.7 -0.5
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 132.2 158.1 159.8 159.9 172.1 7.6
การค้า 37.1 40.5 38.7 46.7 53.2 13.9
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.5 6.8 6.8 6.9 7.2 4.3
การค้า 6.5 6.5 6.7 7.3 7.3 0
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมิถุนายน 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนกรกฎาคม 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2543/44 คือยางปี 2544 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2544 — ธันวาคม 2544
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, July 2001
Rubber Statistical Bulletin, July 2001
การบริการท่องเที่ยว เดือนสิงหาคม ปี 2544 จำนวน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 8.9
ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 62 (เทียบกับร้อยละ 56 ในช่วงเดียวกันปีก่อน) เป็นผลจาก มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว
อย่างต่อเนื่อง
ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 การท่องเที่ยวทั่วไปขยายตัว ในเกณฑ์ดี ยกเว้นนักท่องเที่ยวในแถบเอเชีย คาดว่าทั้งปี อัตรา
การขยายตัวจะต่ำกว่าเป้าหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น กระแสการ
ท่องเที่ยวที่นิยมเที่ยวระยะใกล้มากขึ้น ตลอดจนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอลง
2543 2544
ภาคบริการ H1 H2 ทั้งปี Q1 Q2 H1 ก.ค. P ส.ค. P ม.ค.-ส.ค.
1. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วราชอาณาจักร (พันคน) 4,639 4,870 9,509 2,686 2,318 5,004 838 847 6,689
อัตราเพิ่มเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 11.2 10.5 10.8 8 7.7 7.9 6 8.9 7.8
2. อัตราการเข้าพักโรงแรม (ร้อยละ) 60.4 60 60.2 69.4 57.3 63.4 59 62 62.7
ที่มา :
1. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วราชอาณาจักร จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. อัตราการเข้าพัก จากการสำรวจจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ประมาณ 165 แห่ง (เขตกรุงเทพฯ 45 แห่ง ต่างจังหวัด 120 แห่ง)
ภาคเหมืองแร่: การผลิตเพิ่มขึ้นตามปริมาณก๊าซธรรมชาติ
ภาคเหมืองแร่ เดือนสิงหาคม 2544 ปริมาณการผลิตแร่เพิ่มขึ้น เล็กน้อย ตามการขยายตัวของก๊าซธรรมชาติเป็นสำคัญ เนื่องจากมี
การรับซื้อก๊าซฯ จากแหล่งบงกชเกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญารับซื้อก๊าซฯ
สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และแนวโน้มในช่วง 4 เดือนหลัง คาดว่าจะยังคง
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะมีการหันมาใช้ก๊าซฯ จากอ่าวไทยมากขึ้น
การผลิต 2543 2544
H1 H2 ทั้งปี Q1 Q2 H1 ก.ค. ส.ค. E ม.ค.-ส.ค.
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่ 161.2 164.3 162.7 154.7 170.5 162.6 176.5 180.4 166.6
D % 10.7 4.3 7.4 -5.7 7.7 0.9 9.3 2.3 2.1
ก๊าซธรรมชาติ 11.9 -1.7 4.8 -8.8 1.7 -3.5 0.6 4.7 -2
ลิกไนต์ -8.7 3.4 -2.9 -2.1 8.6 3.3 22.2 2.5 5.5
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ -10.4 -11.4 -10.4 -9.1 16.6 4.2 -9.8 3.5 1.8
น้ำมันดิบ 87.1 63.1 73.3 15.5 5.2 10.2 -2.7 -3.1 6.5
ดีบุก -31.3 -29.8 -30.5 38.5 45.6 41.7 -16.9 -10.9 17.1
ที่มา : ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่คำนวณจากข้อมูลผลผลิตเหมืองแร่ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-