กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้จัดการเสวนาเรื่อง "เกษตรกรไทยได้ประโยชน์อะไรจาก WTO" ขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 เวลา 09.00 -12.30 น. ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประมาณ 170 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และอื่นๆ ได้แก่ สมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนกรรมาธิการการเกษตร เกษตรกร (เลี้ยงวัวนม) องค์กรอิสระ สื่อมวลชน และนิสิต/นักศึกษา จากแบบประเมินผลที่ผู้ร่วมเสวนาตอบกลับ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเปิดตลาดสินค้าเกษตรจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในหลายๆ ด้าน และต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนมากเห็นว่า การเปิดตลาดจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว แต่ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน และต้องเปิดตลาดด้วยความรอบคอบ และการเปิดตลาดจะมีผลดี ทำให้ราคาสินค้าบริการถูกลง ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ สำหรับผลเสียของการเปิดตลาดอาจจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการของไทยไม่สามารถสู้กับต่างชาติได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 80 มีความเห็นว่า การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ทำให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกมีการค้าระหว่างกันที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 48 เห็นว่าสาเหตุที่ประเทศไทยเจริญขึ้นมากในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีการขยายการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยมีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้อาจเกิดจาก
ค่านิยมและกระแสวัฒนธรรมตะวันตกขยายเข้ามาในประเทศอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
มีแรงผลักดันจากภาคเอกชนมากและภาครัฐได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
3. การแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทยประสบในเรื่องการกีดกันการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมีข้ออ้างเรื่องมาตรฐานของสินค้า สุขอนามัย เช่น สารตกค้างในอาหาร โรคพืชและแมลง และสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 57 เห็นว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ทั้งด้านการเจรจา และปรับปรุงคุณภาพสินค้า รวมทั้งไทยควรจะออกกฎระเบียบต่างๆ เช่นเดียวกัน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ โดยร้อยละ 20 เห็นว่าภาคเอกชนต้องพัฒนาขั้นตอนการผลิต และปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และร้อยละ 15 เห็นว่า ภาครัฐต้องเจรจาแก้ไขปัญหา และควรมีการเตือนให้เอกชนทราบล่วงหน้าด้วย
4. ร้อยละ 87 ของผู้เข้าร่วมเสวนาเห็นว่า ประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสโลกาภิวัตน์ได้ แต่ภาคเกษตรกรไทยจะตามกระแสโลกาภิวัตน์ทันหรือไม่ และถือว่าเป็นการท้าทายความสามารถของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องรีบเร่งในการวางแผนและมาตรการต่างๆ ให้ทันเวลา
5. เพื่อให้ไทยดำรงอยู่ได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเช่นในปัจจุบัน ร้อยละ 60 เห็นว่าควรกระตุ้นให้เอกชน และเกษตรกรทราบข้อมูล ข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการปรับตัว และเตรียมพร้อมสู้กับการแข่งขัน และร้อยละ 34 ให้รัฐบาลเจรจาเปิดตลาดให้ไทย ในขณะเดียวกันก็เจรจาผ่อนผันให้ไทยเปิดทีหลัง เพื่อให้เอกชน และเกษตรกรไทยมีเวลาปรับตัวก่อนที่จะเปิดตลาด นอกจากนี้ ร้อยละ 2 ขอให้ภาครัฐมีนโยบายกีดกันการค้า โดยไม่ต้องเกรงว่าประเทศอื่นจะกีดกันเราด้วย
6. ความเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์การเจรจาการค้าสินค้าเกษตร
หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจะมีการระดมความคิดจากผู้ประกอบการหรือเกษตรกรเพื่อกำหนดแนวทางการเจรจา ศึกษาผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูล
ผู้มีส่วนร่วมในการเจรจา ควรคำนึงถึงผลประโยชน์เกษตรกรให้มากที่สุด มีการตรวจสอบ ข้อมูลให้ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของเกษตรกร และให้เกษตรกรได้มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นบ้าง
ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ดำเนินการและเตรียมพร้อมในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจัง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ ตลอดจนการแจ้งข้อเสนอแนะและปัญหาที่ควรจะนำไปปรับใช้ในการเจรจา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสินค้าเกษตรของไทย
7. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของ NGO ในการเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือการเจรจาสินค้าเกษตรของไทย
NGO และกลุ่มเกษตรกร คือ กลุ่มบุคคลหลัก ที่จะได้ผลประโยชน์โดยตรงจากเวทีการเจรจาระหว่างประเทศเรื่องสินค้าเกษตร จึงควรที่จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้
ควรเข้ามาร่วมพิจารณาเสนอปัญหาและผลกระทบที่เกษตรกรไทยจะได้รับ
NGO ควรมีบทบาทในทิศทางเดียวกับภาครัฐ แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และ NGO ควรมีจุดยืนที่จริงใจ และช่วยเหลือการเจรจาอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ให้ NGO มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเจรจา เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ประกอบการ โดยอาจให้ NGO เป็นผู้แทนในคณะกรรมการต่าง ๆ มากกว่าที่จะไปประท้วง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับทุกฝ่าย และยังเป็นการขัดขวางในการเจรจา
8. หลังจากที่ได้ฟังการเสวนาแล้ว ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 80 มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีสินค้าเกษตรได้อย่างกระจ่างชัดมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอแนะให้มีการจัดสัมมนาในลักษณะนี้ ต่อไป และเพิ่มเติมเอกสารประกอบการสัมมนาให้มากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
1. การเปิดตลาดสินค้าเกษตรจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในหลายๆ ด้าน และต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนมากเห็นว่า การเปิดตลาดจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว แต่ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน และต้องเปิดตลาดด้วยความรอบคอบ และการเปิดตลาดจะมีผลดี ทำให้ราคาสินค้าบริการถูกลง ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ สำหรับผลเสียของการเปิดตลาดอาจจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการของไทยไม่สามารถสู้กับต่างชาติได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 80 มีความเห็นว่า การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ทำให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกมีการค้าระหว่างกันที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 48 เห็นว่าสาเหตุที่ประเทศไทยเจริญขึ้นมากในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีการขยายการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยมีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้อาจเกิดจาก
ค่านิยมและกระแสวัฒนธรรมตะวันตกขยายเข้ามาในประเทศอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
มีแรงผลักดันจากภาคเอกชนมากและภาครัฐได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
3. การแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทยประสบในเรื่องการกีดกันการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมีข้ออ้างเรื่องมาตรฐานของสินค้า สุขอนามัย เช่น สารตกค้างในอาหาร โรคพืชและแมลง และสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 57 เห็นว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ทั้งด้านการเจรจา และปรับปรุงคุณภาพสินค้า รวมทั้งไทยควรจะออกกฎระเบียบต่างๆ เช่นเดียวกัน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ โดยร้อยละ 20 เห็นว่าภาคเอกชนต้องพัฒนาขั้นตอนการผลิต และปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และร้อยละ 15 เห็นว่า ภาครัฐต้องเจรจาแก้ไขปัญหา และควรมีการเตือนให้เอกชนทราบล่วงหน้าด้วย
4. ร้อยละ 87 ของผู้เข้าร่วมเสวนาเห็นว่า ประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสโลกาภิวัตน์ได้ แต่ภาคเกษตรกรไทยจะตามกระแสโลกาภิวัตน์ทันหรือไม่ และถือว่าเป็นการท้าทายความสามารถของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องรีบเร่งในการวางแผนและมาตรการต่างๆ ให้ทันเวลา
5. เพื่อให้ไทยดำรงอยู่ได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเช่นในปัจจุบัน ร้อยละ 60 เห็นว่าควรกระตุ้นให้เอกชน และเกษตรกรทราบข้อมูล ข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการปรับตัว และเตรียมพร้อมสู้กับการแข่งขัน และร้อยละ 34 ให้รัฐบาลเจรจาเปิดตลาดให้ไทย ในขณะเดียวกันก็เจรจาผ่อนผันให้ไทยเปิดทีหลัง เพื่อให้เอกชน และเกษตรกรไทยมีเวลาปรับตัวก่อนที่จะเปิดตลาด นอกจากนี้ ร้อยละ 2 ขอให้ภาครัฐมีนโยบายกีดกันการค้า โดยไม่ต้องเกรงว่าประเทศอื่นจะกีดกันเราด้วย
6. ความเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์การเจรจาการค้าสินค้าเกษตร
หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจะมีการระดมความคิดจากผู้ประกอบการหรือเกษตรกรเพื่อกำหนดแนวทางการเจรจา ศึกษาผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูล
ผู้มีส่วนร่วมในการเจรจา ควรคำนึงถึงผลประโยชน์เกษตรกรให้มากที่สุด มีการตรวจสอบ ข้อมูลให้ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของเกษตรกร และให้เกษตรกรได้มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นบ้าง
ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ดำเนินการและเตรียมพร้อมในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจัง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ ตลอดจนการแจ้งข้อเสนอแนะและปัญหาที่ควรจะนำไปปรับใช้ในการเจรจา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสินค้าเกษตรของไทย
7. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของ NGO ในการเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือการเจรจาสินค้าเกษตรของไทย
NGO และกลุ่มเกษตรกร คือ กลุ่มบุคคลหลัก ที่จะได้ผลประโยชน์โดยตรงจากเวทีการเจรจาระหว่างประเทศเรื่องสินค้าเกษตร จึงควรที่จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้
ควรเข้ามาร่วมพิจารณาเสนอปัญหาและผลกระทบที่เกษตรกรไทยจะได้รับ
NGO ควรมีบทบาทในทิศทางเดียวกับภาครัฐ แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และ NGO ควรมีจุดยืนที่จริงใจ และช่วยเหลือการเจรจาอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ให้ NGO มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการเจรจา เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ประกอบการ โดยอาจให้ NGO เป็นผู้แทนในคณะกรรมการต่าง ๆ มากกว่าที่จะไปประท้วง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับทุกฝ่าย และยังเป็นการขัดขวางในการเจรจา
8. หลังจากที่ได้ฟังการเสวนาแล้ว ผู้เข้าร่วมเสวนาร้อยละ 80 มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีสินค้าเกษตรได้อย่างกระจ่างชัดมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอแนะให้มีการจัดสัมมนาในลักษณะนี้ ต่อไป และเพิ่มเติมเอกสารประกอบการสัมมนาให้มากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-