นอกจากสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของอาหาร organic แล้ว สหรัฐฯและญี่ปุ่นก็เป็นอีกสองตลาดหลักที่มีศักยภาพในการรองรับอาหาร organic มาก เนื่องจากประชากรมีกำลังซื้อสูง จึงเป็นตลาดเป้าหมายของบรรดาประเทศผู้ส่งออกอาหาร organic ทั้งหลาย ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาหาร organic ในตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีดังนี้
มูลค่าตลาด
สหรัฐฯ มีการผลิตและบริโภคอาหาร organic มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในปี 2543 มีมูลค่าตลาดประมาณ 7,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ญี่ปุ่น มีแนวโน้มนำเข้ามากขึ้นตามการบริโภคอาหาร organic ที่ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องในอัตราประมาณร้อยละ 20 ต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2543 ตลาดอาหาร organic ในญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การผลิต
สหรัฐฯ สามารถผลิตอาหาร organic เพียงพอสำหรับบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออก โดยมีการขยายพื้นที่ ทำเกษตรอินทรีย์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2535 ทำให้อาหาร organic ที่สหรัฐฯผลิตได้ขยายตัวในอัตราสูงเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี อาหาร organic ที่สหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตสูง ได้แก่ เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไก่ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น
ญี่ปุ่น มีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งมีภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น อาหาร organic ที่ ผลิตได้จึงมีราคาค่อนข้างสูง สำหรับแหล่งผลิตอาหาร organic ที่สำคัญของญี่ปุ่นอยู่ทางเหนือของประเทศ
การนำเข้า
สหรัฐฯ มูลค่านำเข้าอาหาร organic ของสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของมูลค่าตลาดอาหาร organic ทั้งหมด อาหาร organic สำคัญที่สหรัฐฯนำเข้า ได้แก่ ผัก-ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เนื้อแปรรูป ธัญพืช และอาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น
ญี่ปุ่น มูลค่านำเข้าอาหาร organic ของญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่าตลาดอาหาร organic ทั้งหมดในญี่ปุ่น อาหาร organic นำเข้าที่มีแนวโน้มขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ผัก-ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักกระป๋องและแปรรูป ผลไม้อบแห้ง พืชตระกูลถั่ว ข้าวปลอดสารพิษ เป็นต้น
อาหารที่นิยม
สหรัฐฯ ผู้บริโภคนิยมผักและผลไม้สด เช่น มะเขือเทศ ผักกาดหอม แครอท แอปเปิ้ล ส้ม และลูกแพร์ ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 40 ของอาหาร organic ที่บริโภคทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 10 เป็นสินค้าประเภทนมและผลิตภัณฑ์นม ขณะที่อาหารแช่แข็งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นสินค้าประเภทถั่ว เครื่องดื่มและอาหารว่าง เป็นต้น
ญี่ปุ่น ผู้บริโภคนิยมผักและผลไม้สดกว่าร้อยละ 60 ของอาหาร organic ที่บริโภคทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูป เช่น ผักแช่แข็ง เนื้อไก่แช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม ทั้งนี้ อาหาร organic ในตลาดญี่ปุ่นมักมีราคาสูงกว่าอาหารทั่วไปประมาณร้อยละ 20
ช่องทางการจำหน่าย
สหรัฐฯ นิยมจำหน่ายอาหาร organic ในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีก (49%) ร้านขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ (48%) ที่เหลือเป็นการขายตรงจากแหล่งผลิต เช่น ร้านค้าของฟาร์ม ตลาดกลางการเกษตร รวมทั้งการจำหน่ายผ่านทางไปรษณีย์และอินเตอร์เน็ต ญี่ปุ่น นิยมจำหน่ายอาหาร organic ผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมการขายอาหาร organic เพิ่มขึ้น โดยมีการโฆษณาเป็นพิเศษและมีการจัดวางอาหาร organic แยกออกจากอาหารทั่วไป นอกจากนี้ยังมีบริการส่งถึงบ้าน และจำหน่ายผ่านโรงงานแปรรูปอาหารหรือโรงงานผลิตเครื่องดื่ม
มาตรการและกฎระเบียบที่สำคัญ
สหรัฐฯ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯจัดทำมาตรฐานสินค้า organic แห่งชาติ (National Organic Program: NOP)ภายใต้กฎหมายผลิตภัณฑ์อาหาร organic (Organic Food Production Act: OFPA) โดยกำหนดให้อาหาร organic ต้องมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และยังเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการผลิตอาหาร organic ในเรื่องการตัดต่อพันธุกรรม (Genetic Engineering) การฉายรังสีอาหาร (Ionizing Radiation) และข้อกำหนดเกี่ยวกับกากของเสีย (Sewage Sludge) เป็นต้น สำหรับการส่งออกอาหาร organic ไปจำหน่าย ยังสหรัฐฯ ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน NOP เช่นเดียวกับผู้ผลิตในสหรัฐฯ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและการแปรรูป รวมทั้งการปิดฉลากอาหาร organic ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานในสหรัฐฯ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจัดทำระเบียบมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับใหม่ (Japanese Agricultural Standard: JAS) โดยกำหนดคำจำกัดความของอาหาร organic รวมทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และการปิดฉลากอาหาร organic ให้มีความชัดเจนและเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงความแตกต่างระหว่างอาหาร organic กับอาหารทั่วไปและเลือกบริโภคได้ตามต้องการ ทั้งนี้ผู้ส่งออกอาหาร organic เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องขอใบรับรองการผลิตและปิดฉลากสินค้าตามมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 เป็นต้นมา
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2544--
-อน-
มูลค่าตลาด
สหรัฐฯ มีการผลิตและบริโภคอาหาร organic มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในปี 2543 มีมูลค่าตลาดประมาณ 7,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ญี่ปุ่น มีแนวโน้มนำเข้ามากขึ้นตามการบริโภคอาหาร organic ที่ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องในอัตราประมาณร้อยละ 20 ต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2543 ตลาดอาหาร organic ในญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การผลิต
สหรัฐฯ สามารถผลิตอาหาร organic เพียงพอสำหรับบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออก โดยมีการขยายพื้นที่ ทำเกษตรอินทรีย์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2535 ทำให้อาหาร organic ที่สหรัฐฯผลิตได้ขยายตัวในอัตราสูงเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี อาหาร organic ที่สหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตสูง ได้แก่ เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไก่ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น
ญี่ปุ่น มีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งมีภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น อาหาร organic ที่ ผลิตได้จึงมีราคาค่อนข้างสูง สำหรับแหล่งผลิตอาหาร organic ที่สำคัญของญี่ปุ่นอยู่ทางเหนือของประเทศ
การนำเข้า
สหรัฐฯ มูลค่านำเข้าอาหาร organic ของสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของมูลค่าตลาดอาหาร organic ทั้งหมด อาหาร organic สำคัญที่สหรัฐฯนำเข้า ได้แก่ ผัก-ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เนื้อแปรรูป ธัญพืช และอาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น
ญี่ปุ่น มูลค่านำเข้าอาหาร organic ของญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่าตลาดอาหาร organic ทั้งหมดในญี่ปุ่น อาหาร organic นำเข้าที่มีแนวโน้มขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ผัก-ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักกระป๋องและแปรรูป ผลไม้อบแห้ง พืชตระกูลถั่ว ข้าวปลอดสารพิษ เป็นต้น
อาหารที่นิยม
สหรัฐฯ ผู้บริโภคนิยมผักและผลไม้สด เช่น มะเขือเทศ ผักกาดหอม แครอท แอปเปิ้ล ส้ม และลูกแพร์ ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 40 ของอาหาร organic ที่บริโภคทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 10 เป็นสินค้าประเภทนมและผลิตภัณฑ์นม ขณะที่อาหารแช่แข็งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นสินค้าประเภทถั่ว เครื่องดื่มและอาหารว่าง เป็นต้น
ญี่ปุ่น ผู้บริโภคนิยมผักและผลไม้สดกว่าร้อยละ 60 ของอาหาร organic ที่บริโภคทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูป เช่น ผักแช่แข็ง เนื้อไก่แช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม ทั้งนี้ อาหาร organic ในตลาดญี่ปุ่นมักมีราคาสูงกว่าอาหารทั่วไปประมาณร้อยละ 20
ช่องทางการจำหน่าย
สหรัฐฯ นิยมจำหน่ายอาหาร organic ในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีก (49%) ร้านขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ (48%) ที่เหลือเป็นการขายตรงจากแหล่งผลิต เช่น ร้านค้าของฟาร์ม ตลาดกลางการเกษตร รวมทั้งการจำหน่ายผ่านทางไปรษณีย์และอินเตอร์เน็ต ญี่ปุ่น นิยมจำหน่ายอาหาร organic ผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมการขายอาหาร organic เพิ่มขึ้น โดยมีการโฆษณาเป็นพิเศษและมีการจัดวางอาหาร organic แยกออกจากอาหารทั่วไป นอกจากนี้ยังมีบริการส่งถึงบ้าน และจำหน่ายผ่านโรงงานแปรรูปอาหารหรือโรงงานผลิตเครื่องดื่ม
มาตรการและกฎระเบียบที่สำคัญ
สหรัฐฯ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯจัดทำมาตรฐานสินค้า organic แห่งชาติ (National Organic Program: NOP)ภายใต้กฎหมายผลิตภัณฑ์อาหาร organic (Organic Food Production Act: OFPA) โดยกำหนดให้อาหาร organic ต้องมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และยังเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการผลิตอาหาร organic ในเรื่องการตัดต่อพันธุกรรม (Genetic Engineering) การฉายรังสีอาหาร (Ionizing Radiation) และข้อกำหนดเกี่ยวกับกากของเสีย (Sewage Sludge) เป็นต้น สำหรับการส่งออกอาหาร organic ไปจำหน่าย ยังสหรัฐฯ ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน NOP เช่นเดียวกับผู้ผลิตในสหรัฐฯ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและการแปรรูป รวมทั้งการปิดฉลากอาหาร organic ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานในสหรัฐฯ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจัดทำระเบียบมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับใหม่ (Japanese Agricultural Standard: JAS) โดยกำหนดคำจำกัดความของอาหาร organic รวมทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และการปิดฉลากอาหาร organic ให้มีความชัดเจนและเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงความแตกต่างระหว่างอาหาร organic กับอาหารทั่วไปและเลือกบริโภคได้ตามต้องการ ทั้งนี้ผู้ส่งออกอาหาร organic เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องขอใบรับรองการผลิตและปิดฉลากสินค้าตามมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 เป็นต้นมา
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2544--
-อน-