จากมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ห้ามประเทศสมาชิกสหประชาชาตินำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนจากเชียร์ราลีโอน เนื่องจากกลุ่มกบฎ Revolution United Front (RUF) ได้นำรายได้จากการค้าเพชรมาใช้ซื้ออาวุธทำให้เกิดความขัดแย้งภายในเซียร์ราลีโอนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการขนส่งเพชรที่ยังไม่เจียระไนดังกล่าวผ่าน ไลบีเลีย และรัฐบาลไลบีเลียให้การสนับสนุนกลุ่มกบฎ RUF อีกด้วย
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติจึงได้ประกาศคว่ำบาตรไลบีเลียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 โดยเฉพาะการห้ามประเทศสมาชิกสหประชาชาตินำเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนทุกชนิดจากไลบีเลีย ไม่ว่าเพชรนั้นจะมีแหล่งกำเนิดจากไลบีเลียหรือไม่ก็ตามเป็นเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นไป รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไลบีเลียและประเทศในแอฟริกาตะวันตกที่ส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียรไน จัดตั้งกลไกการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (certificate of origin) โดยกลไกดังกล่าวต้องมีความโปร่งใสและมีระบบการตรวจสอบระหว่างประเทศ
สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนมติสหประชาชาติดังกล่าว โดยนาย Tony P. Hall สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเดโมแครต มลรัฐโอไฮโอได้เสนอร่างกฎหมายกำหนดให้สหรัฐฯ นำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนจากประเทศที่มีระบบการควบคุม (System of Controls) เท่านั้น
ระบบการควบคุมเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่ร่างกฎหมายนี้จะบังคับใช้กับผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐโดยผู้นำเข้าจะต้องนำเข้าเพชรจากประเทศที่มีระบบการควบคุมสอดคล้องกับร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดคือ
1)เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนจากประเทศที่เป็นแหล่งขุดจะต้องบรรจุในภาชนะหรือถุงใสที่มองเห็นได้และผนึกโดยเจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายของประเทศนั้นๆ
2)ภายในภาชนะหรือถุงจะต้องมีเอกสารแสดงประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดเพชร เลขทะเบียนส่งออก น้ำหนักเป็นกะรัต และจำนวนเพชรในภาชนะหรือถุงนั้น รวมทั้งมีเครื่องหมาย รับรองว่าเอกสารนั้นออกโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดเพชร
3)ประเทศผู้ส่งออกเพชรจะต้องจัดทำแฟ้มข้อมูล (database) เพื่อเก็บข้อมูลที่กล่าวไว้ในข้อ 2
4)ผู้นำเข้าจะได้รับอนุญาตนำเข้าเพชรจากประเทศที่มีการนำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่บรรจุอยู่ในภาชนะหรือถุงตามที่กำหนดในข้อ 1 และ 2 เท่านั้น และจะต้องสามารถตรวจสอบเอกสารที่บรรจุไว้ในภาชนะหรือถุงโดยสอบทานกับแฟ้มข้อมูล (database) ของประเทศผู้ส่งออก
ผู้ใดที่ละเมิดร่างกฎหมายนี้จะมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา ผู้ละเมิดจะถูกห้ามการโอนหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในสหรัฐฯ ซึ่งผู้ละเมิดเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิ
ดังนั้นถ้าร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ผู้นำเข้าสินค้าประเภทเพชร และเครื่องประดับที่มีเพชรเป็นส่วนประกอบจะต้องแสดงใบรับรองแหล่งกำเนิดของเหมืองเพชรที่นำมาใช้ประกอบเครื่องประดับดังกล่าว จึงจะนำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯได้
ผลกระทบต่อการค้าของไทย
1. ราคาเพชรนำเข้าสูงขึ้น กฎหมายสหรัฐฯ มีข้อกำหนดที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มต้นทุนต่อประเทศแหล่งกำเนิดเพชร ในด้านการบรรจุเพชรในภาชนะพิเศษ ผู้ส่งออกต้องได้รับเครื่องหมายรับรองว่าเอกสาร (การแสดงแหล่งกำเนิดสินค้า แสดงเลขทะเบียน น้ำหนักเป็นกะรัต จำนวนในภาชนะ) ออกโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดเพชร โดยค่าใช้จ่ายเหล่านั้นอาจทำให้ราคาเพชรดิบที่จะนำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งไทยในฐานะเป็นผู้นำเข้าเพชรดิบ นำมาผลิตเพื่อการ ส่งออก อาจต้องนำเข้าเพชรในราคาที่สูงขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีที่สำคัญของไทย การส่งออกเครื่องประดับที่ประกอบด้วยเพชรของไทยจึงจะต้องดำเนินการตามกฎหมายของสหรัฐฯ ด้วย
2. ทำให้เกิดอุปสรรคทางการค้า กฎหมายฉบับดังกล่าวของสหรัฐฯ อาจเป็นอุปสรรคในการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย หากมีระเบียบในทางปฏิบัติที่เข้มงวด
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรมีกฎหมายหรือประกาศควบคุมการนำเข้าเพชรดิบ ซึ่งสอดคล้องกับกับมติสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยมีการค้าเพชรอย่างถูกต้อง เปิดเผย และไม่สนับสนุนการค้าจากกลุ่มกบฏในแอฟริกา อันจะเป็นผลดีต่อการส่งออกอัญมณีของไทยในตลาดสหรัฐฯ และตลาดอื่นๆ (หากประเทศผู้นำเข้ามีกฎหมายที่ใช้บังคับในลักษณะเดี่ยวกัน) ทั้งนี้ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ ได้ประสานงานและติดตามอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง ได้แจ้งกรมศุลกากร สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชรแล้ว หากกฎหมายของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้ กรมฯ จะแจ้งเตือนล่วงหน้า เพื่อให้ภาคเอกชนไทยเตรียมความพร้อมต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติจึงได้ประกาศคว่ำบาตรไลบีเลียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 โดยเฉพาะการห้ามประเทศสมาชิกสหประชาชาตินำเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนทุกชนิดจากไลบีเลีย ไม่ว่าเพชรนั้นจะมีแหล่งกำเนิดจากไลบีเลียหรือไม่ก็ตามเป็นเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นไป รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไลบีเลียและประเทศในแอฟริกาตะวันตกที่ส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียรไน จัดตั้งกลไกการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (certificate of origin) โดยกลไกดังกล่าวต้องมีความโปร่งใสและมีระบบการตรวจสอบระหว่างประเทศ
สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนมติสหประชาชาติดังกล่าว โดยนาย Tony P. Hall สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเดโมแครต มลรัฐโอไฮโอได้เสนอร่างกฎหมายกำหนดให้สหรัฐฯ นำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนจากประเทศที่มีระบบการควบคุม (System of Controls) เท่านั้น
ระบบการควบคุมเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่ร่างกฎหมายนี้จะบังคับใช้กับผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐโดยผู้นำเข้าจะต้องนำเข้าเพชรจากประเทศที่มีระบบการควบคุมสอดคล้องกับร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดคือ
1)เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนจากประเทศที่เป็นแหล่งขุดจะต้องบรรจุในภาชนะหรือถุงใสที่มองเห็นได้และผนึกโดยเจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายของประเทศนั้นๆ
2)ภายในภาชนะหรือถุงจะต้องมีเอกสารแสดงประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดเพชร เลขทะเบียนส่งออก น้ำหนักเป็นกะรัต และจำนวนเพชรในภาชนะหรือถุงนั้น รวมทั้งมีเครื่องหมาย รับรองว่าเอกสารนั้นออกโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดเพชร
3)ประเทศผู้ส่งออกเพชรจะต้องจัดทำแฟ้มข้อมูล (database) เพื่อเก็บข้อมูลที่กล่าวไว้ในข้อ 2
4)ผู้นำเข้าจะได้รับอนุญาตนำเข้าเพชรจากประเทศที่มีการนำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่บรรจุอยู่ในภาชนะหรือถุงตามที่กำหนดในข้อ 1 และ 2 เท่านั้น และจะต้องสามารถตรวจสอบเอกสารที่บรรจุไว้ในภาชนะหรือถุงโดยสอบทานกับแฟ้มข้อมูล (database) ของประเทศผู้ส่งออก
ผู้ใดที่ละเมิดร่างกฎหมายนี้จะมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา ผู้ละเมิดจะถูกห้ามการโอนหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในสหรัฐฯ ซึ่งผู้ละเมิดเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิ
ดังนั้นถ้าร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ผู้นำเข้าสินค้าประเภทเพชร และเครื่องประดับที่มีเพชรเป็นส่วนประกอบจะต้องแสดงใบรับรองแหล่งกำเนิดของเหมืองเพชรที่นำมาใช้ประกอบเครื่องประดับดังกล่าว จึงจะนำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯได้
ผลกระทบต่อการค้าของไทย
1. ราคาเพชรนำเข้าสูงขึ้น กฎหมายสหรัฐฯ มีข้อกำหนดที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มต้นทุนต่อประเทศแหล่งกำเนิดเพชร ในด้านการบรรจุเพชรในภาชนะพิเศษ ผู้ส่งออกต้องได้รับเครื่องหมายรับรองว่าเอกสาร (การแสดงแหล่งกำเนิดสินค้า แสดงเลขทะเบียน น้ำหนักเป็นกะรัต จำนวนในภาชนะ) ออกโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดเพชร โดยค่าใช้จ่ายเหล่านั้นอาจทำให้ราคาเพชรดิบที่จะนำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งไทยในฐานะเป็นผู้นำเข้าเพชรดิบ นำมาผลิตเพื่อการ ส่งออก อาจต้องนำเข้าเพชรในราคาที่สูงขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีที่สำคัญของไทย การส่งออกเครื่องประดับที่ประกอบด้วยเพชรของไทยจึงจะต้องดำเนินการตามกฎหมายของสหรัฐฯ ด้วย
2. ทำให้เกิดอุปสรรคทางการค้า กฎหมายฉบับดังกล่าวของสหรัฐฯ อาจเป็นอุปสรรคในการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย หากมีระเบียบในทางปฏิบัติที่เข้มงวด
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรมีกฎหมายหรือประกาศควบคุมการนำเข้าเพชรดิบ ซึ่งสอดคล้องกับกับมติสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยมีการค้าเพชรอย่างถูกต้อง เปิดเผย และไม่สนับสนุนการค้าจากกลุ่มกบฏในแอฟริกา อันจะเป็นผลดีต่อการส่งออกอัญมณีของไทยในตลาดสหรัฐฯ และตลาดอื่นๆ (หากประเทศผู้นำเข้ามีกฎหมายที่ใช้บังคับในลักษณะเดี่ยวกัน) ทั้งนี้ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ ได้ประสานงานและติดตามอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง ได้แจ้งกรมศุลกากร สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชรแล้ว หากกฎหมายของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้ กรมฯ จะแจ้งเตือนล่วงหน้า เพื่อให้ภาคเอกชนไทยเตรียมความพร้อมต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-