ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.มั่นใจ ธปท.สามารถบริหารสภาพคล่องส่วนเกินในระบบได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะสภาพคล่องขณะนี้ที่มีปริมาณสูงถึง 5.5 แสน ล.บาท เป็นหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 3.2 แสน ล.บาท และเป็นสภาพคล่องส่วนเกินสุทธิในระบบประมาณ 2 แสน ล.บาท ซึ่งเป็นระดับที่ ธปท.สามารถบริหารได้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ต่อปี ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน (ไลบอร์) ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศแคบลง จึงไม่มีแรงกดดันให้เงินทุนไหลออก ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้ากู้ยืมในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์/พี) ประมาณ 3.3 พัน ล.บาท เพื่อปรับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ที่มีจำนวนมากจากการจองซื้อหุ้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์ 26)
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยศึกษาผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปผลการศึกษาผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อสภาพคล่องของระบบธนาคารว่า ผลกระทบที่ค่อนข้างชัดเจนคือการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศที่มีผลในการเพิ่มสภาพคล่องและระดับทุนสำรองทางการให้สูงขึ้น ขณะที่การย้ายเงินลงทุนจากนักลงทุนไปยังรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณสภาพคล่องโดยรวม เนื่องจากจำนวนเงินโดยรวมยังคงอยู่เท่าเดิม อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการแปรรูปฯ ต่อสภาพคล่องในอนาคตจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการแปรรูปฯ ที่ผูกโยงกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และศักยภาพในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจหลังจากการแปรรูปเป็นสำคัญ(กรุงเทพธุรกิจ 26)
3. รัฐบาลเน้นกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง กลยุทธ์การบริหารประเทศไทยปี 2002 ซึ่งจัดโดย สมาคมวิจัยการตลาดไทยและสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนับแต่นี้เป็นต้นไปจะเน้นกลยุทธ์ด้านการตลาดเป็นปัจจัยหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ โดยภาคเอกชนต้องมีบทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนชาวต่างประเทศให้มากขึ้น โดยในปี 45 รัฐบาลจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญใน 3 ด้านคือ การเพิ่มความเข้มข้นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ การเพิ่มความเข้มข้นของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศ ทั้งนี้ ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย(เดลินิวส์ 24)
4. แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 45 ขึ้นอยู่กับนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 45 โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่างจากปี 44 มากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีอัตราการขยายตัวในระดับทรงตัว แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทเกษตรแปรรูปยังมีโอกาสขยายตลาดได้มาก ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันการส่งออกสินค้าให้เพิ่มทั้งปริมาณและมูลค่า โดยควรร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้น และเข้ามาควบคุมภาคอุตสาหกรรมในประเทศให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ. (ข่าวสด 26)
ข่าวต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของไต้หวันเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 23 พ.ย. 44 คณะกรรมาธิการฝ่ายงบประมาณ การบัญชี และสถิติเปิดเผยว่า คนว่างงานในเดือน ต.ค. 44 มีจำนวน 527,000 คน เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดือน ต.ค. 43 ขณะที่ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 5.33 จากร้อยละ 5.26 ในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 เนื่องจากประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค. ลดลงร้อยละ 6.85 จากที่ลดลงร้อยละ 6.20 ในเดือนก่อน นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการฯ ประมาณการว่า อัตราการว่างงานในปี 44 และ 45 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 และ 4.7 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 2.99 ในปี 43(รอยเตอร์23)
2. ภาวะเศรษฐกิจมาเลเซียชะลดตัวลงมากในไตรมาสที่ 2/4 และ 3/44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 23 พ.ย.44 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของทั่วโลกซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของมาเลเซียลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของมาเลเซียชะลอตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยไตรมาสที่ 3/44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.8 หลังจากไตรมาสที่ 2/44 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย (เนการา) เปิดเผยว่า ไตรมาส 4/44 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นไปในทางบวกเนื่องจากแรงสนับสนุนด้านการใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคในประเทศ (รอยเตอร์ 23)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 พ.ย. 44 ก. สถิติ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเเดือน ต.ค. 43 ส่วนใหญ่เนื่องจากราคาอาหาร รวมทั้งค่าเล่าเรียนและสินค้าเบ็ดเตล็ดสูงขึ้น แต่ CPI เมื่อเทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือน ก.ย. 44 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซิน เสื้อผ้า และราคาที่อยู่อาศัยลดลง(รอยเตอร์23)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีในเดือน ต.ค.44 อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้านำเข้าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 รายงานจากเยอรมนีเมื่อ 23 พ.ย.44 สำนักสถิติกลางเยอรมนีรายงานว่า เดือน ต.ค.44 ดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งชี้วัดแนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.42 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่หากเทียบต่อเดือน ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ต.ค.44 โน้มต่ำลง เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงมากถึงร้อยละ 13.6 เทียบต่อปี ซึ่งหากไม่รวมราคาน้ำมัน ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี สำหรับดัชนีราคาสินค้านำเข้าในเดือน ต.ค.44 ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 5.6 เทียบต่อปี ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.1 และ 5.2 ตามลำดับ หากไม่รวมราคาน้ำมัน ดัชนีราคาสินค้านำเข้าในเดือน ต.ค.44 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.1 เทียบต่อปี(รอยเตอร์ 23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23 พ.ย.44 44.336 (44.352)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23พ.ย. 44ซื้อ 44.1507 (44.1567) ขาย 44.4477 (44.4562)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.76 (17.56)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (12.99)
ดีเซลหมุนเร็ว 11.79 (11.79)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผู้ว่าการ ธปท.มั่นใจ ธปท.สามารถบริหารสภาพคล่องส่วนเกินในระบบได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะสภาพคล่องขณะนี้ที่มีปริมาณสูงถึง 5.5 แสน ล.บาท เป็นหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 3.2 แสน ล.บาท และเป็นสภาพคล่องส่วนเกินสุทธิในระบบประมาณ 2 แสน ล.บาท ซึ่งเป็นระดับที่ ธปท.สามารถบริหารได้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ต่อปี ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน (ไลบอร์) ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศแคบลง จึงไม่มีแรงกดดันให้เงินทุนไหลออก ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้ากู้ยืมในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์/พี) ประมาณ 3.3 พัน ล.บาท เพื่อปรับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ที่มีจำนวนมากจากการจองซื้อหุ้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์ 26)
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยศึกษาผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปผลการศึกษาผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อสภาพคล่องของระบบธนาคารว่า ผลกระทบที่ค่อนข้างชัดเจนคือการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศที่มีผลในการเพิ่มสภาพคล่องและระดับทุนสำรองทางการให้สูงขึ้น ขณะที่การย้ายเงินลงทุนจากนักลงทุนไปยังรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณสภาพคล่องโดยรวม เนื่องจากจำนวนเงินโดยรวมยังคงอยู่เท่าเดิม อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการแปรรูปฯ ต่อสภาพคล่องในอนาคตจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการแปรรูปฯ ที่ผูกโยงกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และศักยภาพในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจหลังจากการแปรรูปเป็นสำคัญ(กรุงเทพธุรกิจ 26)
3. รัฐบาลเน้นกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง กลยุทธ์การบริหารประเทศไทยปี 2002 ซึ่งจัดโดย สมาคมวิจัยการตลาดไทยและสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนับแต่นี้เป็นต้นไปจะเน้นกลยุทธ์ด้านการตลาดเป็นปัจจัยหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ โดยภาคเอกชนต้องมีบทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนชาวต่างประเทศให้มากขึ้น โดยในปี 45 รัฐบาลจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญใน 3 ด้านคือ การเพิ่มความเข้มข้นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ การเพิ่มความเข้มข้นของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศ ทั้งนี้ ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย(เดลินิวส์ 24)
4. แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 45 ขึ้นอยู่กับนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 45 โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่างจากปี 44 มากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีอัตราการขยายตัวในระดับทรงตัว แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทเกษตรแปรรูปยังมีโอกาสขยายตลาดได้มาก ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันการส่งออกสินค้าให้เพิ่มทั้งปริมาณและมูลค่า โดยควรร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้น และเข้ามาควบคุมภาคอุตสาหกรรมในประเทศให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ. (ข่าวสด 26)
ข่าวต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของไต้หวันเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 23 พ.ย. 44 คณะกรรมาธิการฝ่ายงบประมาณ การบัญชี และสถิติเปิดเผยว่า คนว่างงานในเดือน ต.ค. 44 มีจำนวน 527,000 คน เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดือน ต.ค. 43 ขณะที่ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 5.33 จากร้อยละ 5.26 ในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 เนื่องจากประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค. ลดลงร้อยละ 6.85 จากที่ลดลงร้อยละ 6.20 ในเดือนก่อน นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการฯ ประมาณการว่า อัตราการว่างงานในปี 44 และ 45 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 และ 4.7 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 2.99 ในปี 43(รอยเตอร์23)
2. ภาวะเศรษฐกิจมาเลเซียชะลดตัวลงมากในไตรมาสที่ 2/4 และ 3/44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 23 พ.ย.44 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของทั่วโลกซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของมาเลเซียลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของมาเลเซียชะลอตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยไตรมาสที่ 3/44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.8 หลังจากไตรมาสที่ 2/44 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย (เนการา) เปิดเผยว่า ไตรมาส 4/44 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นไปในทางบวกเนื่องจากแรงสนับสนุนด้านการใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคในประเทศ (รอยเตอร์ 23)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 พ.ย. 44 ก. สถิติ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเเดือน ต.ค. 43 ส่วนใหญ่เนื่องจากราคาอาหาร รวมทั้งค่าเล่าเรียนและสินค้าเบ็ดเตล็ดสูงขึ้น แต่ CPI เมื่อเทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือน ก.ย. 44 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซิน เสื้อผ้า และราคาที่อยู่อาศัยลดลง(รอยเตอร์23)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีในเดือน ต.ค.44 อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้านำเข้าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 รายงานจากเยอรมนีเมื่อ 23 พ.ย.44 สำนักสถิติกลางเยอรมนีรายงานว่า เดือน ต.ค.44 ดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งชี้วัดแนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.42 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่หากเทียบต่อเดือน ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ต.ค.44 โน้มต่ำลง เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงมากถึงร้อยละ 13.6 เทียบต่อปี ซึ่งหากไม่รวมราคาน้ำมัน ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี สำหรับดัชนีราคาสินค้านำเข้าในเดือน ต.ค.44 ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 5.6 เทียบต่อปี ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.1 และ 5.2 ตามลำดับ หากไม่รวมราคาน้ำมัน ดัชนีราคาสินค้านำเข้าในเดือน ต.ค.44 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.1 เทียบต่อปี(รอยเตอร์ 23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23 พ.ย.44 44.336 (44.352)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23พ.ย. 44ซื้อ 44.1507 (44.1567) ขาย 44.4477 (44.4562)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.76 (17.56)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (12.99)
ดีเซลหมุนเร็ว 11.79 (11.79)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-