1. นาย Mohammad Negini ผู้เชี่ยวชาญอัญมณีของอิหร่านได้แสดงข้อคิดเห็นผ่านสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในแต่ละปีอิหร่านส่งออกอัญมณีที่ยังมิได้เจียรนัยเป็นจำนวนมาก แต่รายได้จากการส่งออกไม่มากนัก ต่างจากประเทศอินเดีย ไทย และจีน ซึ่งนำเข้าอัญมณีที่มิได้เจียรนัยจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง อิหร่าน แล้วส่งออกอัญมณีเจียรนัยแล้ว ทำให้ได้ราคาสูงและเป็นการช่วยสร้างงานอีกส่วนหนึ่งด้วย ดังตัวอย่างเช่นในกรณีที่อิหร่านส่งออกหินโมรา (Agate) ที่ยังมิได้เจียรนัยราคา 700,000 - 800,000 เรียลต่อตัน ในขณะที่หินชนิดนี้เมื่อเจียรนัยแล้วจะมีราคา 50,000 เรียลต่อ 2-3 กรัม
นาย Negini ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ปัจจุบันผลผลิตทางด้านอัญมณีของไทย อินเดีย เยอรมนี สวิตเซอร์-แลนด์ เบลเยี่ยม และออสเตรีย เข้าไปวางขายในตลาดอิหร่านเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ผลิตผลในด้านนี้ของอิหร่านมีวางจำหน่ายในตลาดของประเทศเหล่านั้นน้อยมาก นาย Negini ได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลืออบรมบุคคลากรทางด้านนี้เป็นการด่วน เนื่องจากเห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีจะนำมาซึ่งการสร้างงานและเป็นแหล่งรายได้เงินตราจากต่างประเทศ
เกี่ยวกับข่าวดังกล่าวสถานเอกอัครราชทูตฯ ประเมินและเสนอแนะดังนี้.-
1). อิหร่านยังมีความล้าหลังในเรื่องอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีอยู่อีกมาก เนื่องจากในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลมิได้ให้ความสนใจเรื่องนี้มากเท่าอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพรม และภายหลังจากที่อิหร่านได้รับบทเรียนจากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำลงเป็นประวัติการณ์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และจากข้อเท็จจริงที่ว่าปริมาณน้ำมันของโลกและอิหร่านจะลดลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้น รัฐบาลอิหร่านจึงได้หันมาให้ความสนใจต่ออุตสาหกรรมที่มิใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น แต่อิหร่านยังต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตอัญมณีจากต่างชาติหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐจึงได้พยายามส่งผู้เชี่ยวชาญไปดูงานและขอรับความช่วยเหลือเทคโนโลยีในด้านนี้จากต่างประเทศอยู่เป็นประจำ การที่อิหร่านจะสามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้ทัดเทียมประเทศต่าง ๆ ด้วยตนเองคงจะต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกยาวนาน
2). ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอุตสาหกรรมอัญมณีอิหร่านในขณะนี้ภาครัฐและเอกชนของไทยน่าจะประสานความร่วมมือในการเชิญชวนให้ฝ่ายอิหร่านร่วมลงทุนกับฝ่ายไทยเพื่อนำวัตถุดิบทางด้านอัญมณีของอิหร่านที่มีอยู่อย่างมากมายทำการผลิตเพื่อการส่งออกและหากเป็นไปได้ควรจะให้มีการตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องบุคลากรและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่แล้ว
ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-
นาย Negini ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ปัจจุบันผลผลิตทางด้านอัญมณีของไทย อินเดีย เยอรมนี สวิตเซอร์-แลนด์ เบลเยี่ยม และออสเตรีย เข้าไปวางขายในตลาดอิหร่านเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ผลิตผลในด้านนี้ของอิหร่านมีวางจำหน่ายในตลาดของประเทศเหล่านั้นน้อยมาก นาย Negini ได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลืออบรมบุคคลากรทางด้านนี้เป็นการด่วน เนื่องจากเห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีจะนำมาซึ่งการสร้างงานและเป็นแหล่งรายได้เงินตราจากต่างประเทศ
เกี่ยวกับข่าวดังกล่าวสถานเอกอัครราชทูตฯ ประเมินและเสนอแนะดังนี้.-
1). อิหร่านยังมีความล้าหลังในเรื่องอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีอยู่อีกมาก เนื่องจากในระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลมิได้ให้ความสนใจเรื่องนี้มากเท่าอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพรม และภายหลังจากที่อิหร่านได้รับบทเรียนจากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำลงเป็นประวัติการณ์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และจากข้อเท็จจริงที่ว่าปริมาณน้ำมันของโลกและอิหร่านจะลดลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้น รัฐบาลอิหร่านจึงได้หันมาให้ความสนใจต่ออุตสาหกรรมที่มิใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากขึ้น แต่อิหร่านยังต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตอัญมณีจากต่างชาติหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐจึงได้พยายามส่งผู้เชี่ยวชาญไปดูงานและขอรับความช่วยเหลือเทคโนโลยีในด้านนี้จากต่างประเทศอยู่เป็นประจำ การที่อิหร่านจะสามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้ทัดเทียมประเทศต่าง ๆ ด้วยตนเองคงจะต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกยาวนาน
2). ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอุตสาหกรรมอัญมณีอิหร่านในขณะนี้ภาครัฐและเอกชนของไทยน่าจะประสานความร่วมมือในการเชิญชวนให้ฝ่ายอิหร่านร่วมลงทุนกับฝ่ายไทยเพื่อนำวัตถุดิบทางด้านอัญมณีของอิหร่านที่มีอยู่อย่างมากมายทำการผลิตเพื่อการส่งออกและหากเป็นไปได้ควรจะให้มีการตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องบุคลากรและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่แล้ว
ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-