แผนพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ภายใต้พื้นที่ 20,810 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกว่า 3 ล้านคน นับเป็นอนุภาคที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาสูงมากแห่งหนึ่งของประเทศ
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงปี 2540-2549 ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการชี้นำและกำหนดทิศทางการพัฒนาของอนุภาคนี้ เพื่อก้าวไปสู่ทศวรรษใหม่อย่างเป็นระบบต่อเนื่องและด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
ศักยภาพการพัฒนา
คนและสังคม
ในชุมชนไทยมุสลิม ภายในครอบครัวแม้ผู้ชายจะมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดู แต่ก็ได้ให้สถานภาพของสตรี โดยเฉพาะผู้เป็นมารดาไว้สูงเช่นกัน นอกจากนี้การโยกย้ายไปต่างถิ่นมีอัตราต่ำ ทำให้ปัญหาครอบครัวแยกกันอยู่มีน้อย
ส่วนในระดับชุมชน ผู้นำศาสนาเป็นผู้มีบทบาทในการชี้นำ กำกับดูแลสมาชิกของชุมชนอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดศักยภาพของชุมชน จากบทบัญญัติทางศาสนาที่กำหนดให้ทุกคนมีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ซึ่งกันและกันที่เรียกว่า “ซากาต”
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความอบอุ่น มั่นคงทางครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เป็นจุดแข็งสำคัญที่จะนำมาเป็นศักยภาพการพัฒนา “คน” และ “ภาวะแวดล้อม” ของคน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมอยู่เกือบทั้งปี ทำให้ปริมาณน้ำมีจำนวนมาก ทั้งน้ำฝน แหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำใต้ดิน จึงมีผลให้บริเวณนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเพื่อสนองความต้องการใช้น้ำที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อการบริโภค อุปโภค สาขาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการในชุมชนเมือง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ป่าไม้ การพัฒนาพื้นที่ป่าบกสามารถทำได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาหินปูน ซึ่งมีความลาดชันสูง ยากต่อการเข้าบุกรุก สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนนั้น ส่วนที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่จังหวัดสตูล แต่พื้นที่อื่น ๆ มีการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ คือ กุ้งกุลาดำ ด้านป่าพรุในเขตนราธิวาสมีศักยภาพของการพัฒนาค่อนข้างสูง
ทรัพยากรธรรมชาติ ศักยภาพของการพัฒนาด้านทรัพยากรธรณี โดยเฉพาะหินอ่อน หินปูน เพื่อการอุตสาหกรรมมีปริมาณมากบริเวณจังหวัดยะลา ดินขาวคุณภาพดีมีมากที่จังหวัดนราธิวาส ถ่านหินมีปริมาณมากที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา นอกจากนี้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่ตั้งของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาร่วม (JDA) ซึ่งนำมาขึ้นฝั่งที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
การใช้ที่ดิน ศักยภาพของการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรและป่าไม้ยังคงมีอยู่มาก ถ้ามีการจัดประเภทการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและตรงตามประเภทของการใช้ยิ่งขึ้น การปรับเปลี่ยนประเภทของพื้นให้มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของตลาดในอนาคต เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ ผลไม้ โดยการปรับปรุงดินจะทำให้ศักยภาพที่ดินสูงขึ้น
สิ่งแวดล้อม ชุมชนท้องถิ่นมีความตื่นตัวที่จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ทางภาครัฐได้ดำเนินการทางสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตชุมชนเมืองต่าง ๆ โดยการอาศัยมาตรการทางกฎหมาย การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของท้องถิ่น ศักยภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาบ้านเมือง สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และผลของการพัฒนาทรัพยากรที่ผ่านมาได้ทำให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีชุมชนเมืองที่ได้รับการพัฒนาบทบาทเป็นศูนย์กลาง ดังนี้
- เมืองศูนย์กลางความเจริญ ได้แก่ สงขลา-หาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเมืองสตูล รวมถึงชุมชนชายแดนในสงขลาและสตูล ส่วนปัตตานีเชื่อมโยงกับจังหวัดยะลาและนราธิวาส รวมถึงชุมชนชายแดนทั้ง 3 จังหวัด
- เมืองท่าที่สำคัญ ได้แก่ สงขลาและสตูล โดยสงขลามีบทบาทในการเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลสู่กรุงเทพฯ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกและพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (มาบตาพุดและแหลมฉบัง) ส่วนสตูลเป็นเมืองชายฝั่งเชื่อมสู่พื้นที่ภาคใต้ตอนบนด้านทะเลอันดามันและพื้นที่เป้าหมายในโครงการ IMT-GT (ปีนัง-เกาะสุมาตราเหนือ) รวมทั้งกลุ่มประเทศเอเชียใต้
- เมืองชายแดน ได้แก่ สะเดา ปาดังเบซาร์ สุไหงโก-ลก และเบตง เป็นเมืองที่มีบทบาทการเป็นศูนย์กลางธุรกิจเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศมาเลเซีย
การคมนาคม ขนส่ง และการสื่อสาร
- การคมนาคมทางบก ถนนสายหลักสามารถติดต่อได้ครอบคลุมพื้นที่และเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งมีขีดความสามารถในการรองรับปัญหาการจราจรได้ ส่วนเครือข่ายเส้นทางรถไฟมี 2 เส้นทางหลัก คือ จากกรุงเทพฯ ถึงชุมทางหาดใหญ่ แยกไปจุดผ่านแดนที่ปาดังเบซาร์ เชื่อมต่อกับทางรถไฟของมาเลเซียที่รัฐเปอร์ลิส ผ่านบัตเตอร์เวอร์ธ กัวลาลัมเปอร์ ไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์ และอีกเส้นทางหนึ่งจากหาดใหญ่ผ่านปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไปยังจุดผ่านแดนที่สุไหงโก-ลก เชื่อมต่อกับทางรถไฟของมาเลเซียที่รัฐกลันตัน ซึ่งมีทางรถไฟบรรจบกับทางรถไฟสายแรกไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์เช่นเดียวกัน
- การคมนาคมทางน้ำ ปัจจุบันมีท่าเรือน้ำลึกที่สงขลา 1 แห่ง ท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือประมงอีก 5 แห่ง คือ ที่ปัตตานี 2 แห่ง สงขลา นราธิวาส และสตูลจังหวัดละ 1 แห่ง ทั้งยังมีท่าเทียบเรือท่องเที่ยวที่สตูลอีก 2 แห่ง ทำให้สามารถรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้
- การคมนาคมทางอากาศ มีสนามบินนานาชาติที่หาดใหญ่ สนามบินพาณิชย์ภายในประเทศที่นราธิวาสและปัตตานี มีขีดความสามารถในการรองรับและขยายปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
- ระบบสื่อสารโทรคมนาคม มีการขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และประชาชน นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีดาวเทียมเป็นของตนเอง และพร้อมที่จะพัฒนาให้เชื่อมโยงทั้งระดับพื้นที่และระหว่างประเทศ
- ระบบไฟฟ้าและน้ำประปา มีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า 3 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติ จังหวัดยะลา และโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซที่หาดใหญ่ ส่วนระบบประปามีการพัฒนาขยายกำลังการผลิตอยู่เสมอ ทั้งยังมีแหล่งน้ำใต้ดินอย่างพอเพียง
- นิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง) ที่อำเภอหาดใหญ่ พื้นที่ 2,382 ไร่ และเขตอุตสาหกรรมปัตตานี พื้นที่ 939 ไร่ นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงเขตอุตสาหกรรมยะลา จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมนราธิวาสและเขตนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลาด้วย
การพัฒนาเศรษฐกิจ
เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดภาคใต้ของไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ รวมทั้งกลุ่มประเทศด้านเอเชียใต้ ดังนั้นจึงมีศักยภาพในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
ส่วนผลผลิตสินค้าหลักของพื้นที่ ได้แก่ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ประมงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของพื้นที่และของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ประมงจากทะเล นับว่าเป็นแหล่งใหญ่ มีปริมาณมากที่สุดของประเทศ ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรประเภทอาหารทะเลกระป๋อง
สำหรับด้านการท่องเที่ยวมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติมากมาย จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในทุกจังหวัดอีกด้วย
การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรการผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมสูง อาทิ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน แร่ธาตุ ฯลฯ มีแรงงานราคาถูก และมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมาก นอกจากนี้ทั้ง 3 ประเทศ ยังมีภูมิศาสตร์เศรษฐกิจที่อยู่ในฐานะที่เกื้อกูลกันและกันในการที่จะร่วมมือกัน และมีลัษณะวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และภาษาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเอื้อต่อการสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ดียิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนของทั้ง 3 ประเทศ อย่างเต็มที่
การเป็นพื้นที่พิเศษ
จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐบาลทุกสมัยให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งในแง่การกำหนดนโยบายและแผนงานเฉพาะพื้นที่ การจัดองค์กรอำนวยการบริหารและประสานแผนเป็นการเฉพาะ การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติม การกำหนดมาตรการในการเลือกสรรและพัฒนาข้าราชการ รวมทั้งการส่งเสริมบทบาทของผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
โอกาสการพัฒนา
จากศักยภาพการพัฒนาโดยรวมได้ก่อให้เกิดโอกาสในการพัฒนาอนุภาคนี้ ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับมหภาคของอนุภาคและระดับจุลภาค ในแง่ของกลุ่มสาขาการพัฒนาคือ
โอกาสในการพัฒนาระดับมหภาค
ได้แก่ โอกาสการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการ IMT-GT โอกาสที่จะเป็นเครือข่ายของการเชื่อมโยงการพัฒนากับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะกับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (ตอนบน) และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก อันจะนำไปสู่การเปิดประตูการค้ากับกลุ่มประเทศอินโดจีนในอนาคต
นอกจากนี้เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ติดทะเลอันดามัน ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงกับมหาสมุทรอินเดีย จึงสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกลุ่มประเทศชมพูทวีปหรือเอเชียใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิรูปเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
โอกาสในการพัฒนารายสาขา
- ด้านคนและสังคม ปัจจุบันเยาวชนทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมมีความกระตือรือร้นในการศึกษาทั้งสายสามัญ สายอาชีพ และสายศาสนา จึงควรสนับสนุนและพัฒนาด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่ดีในการร่วมมือแลกเปลี่ยนแรงงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานที่เป็นระบบทันสมัย รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานฝีมือทั้งภายในและนอกประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งหินอ่อนและหินแกรนิตที่จังหวัดยะลามีลวดลายเฉพาะและสวยงามกว่าแหล่งแร่อื่น ๆ ในประเทศ ดังนั้นจึงมีโอกาสในการนำมาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมแข่งขันกับตลาดอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้ที่สำคัญคือแหล่งแร่ดินขาวที่อำเภอระแงะและสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่มีปริมาณมากและมีคุณภาพดี สามารถนำมาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมเซรามิค และยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นเกรดฟิลเตอร์ (FILLTER) ในอุตสาหกรรมกระดาษ สีทาบ้าน และยางรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ส่วนแร่เชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่ ถ่านหินและแหล่งก๊าซธรรมชาติ ก็มีปริมาณมากพอที่จะพัฒนาให้เป็นเชื้อเพลิง และนำไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนด้วย
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สามารถพิจารณาโอกาสในการพัฒนาเป็น 3 ประเด็น คือ การพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองและเมืองชายแดน ตามบทบาทของแต่ละเมือง การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น ท่าเทียบเรือประมง ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว การพัฒนาโครงข่ายการเดินเรือชายฝั่ง การขยายเส้นทางการบิน และการลงทุนในโครงการพัฒนาโดยภาคเอกชน ได้แก่ การจัดหาแหล่งพลังงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการให้บริการพื้นฐาน เช่น โทรศัพท์ ท่าเรือ ประปา นิคมอุตสาหกรรม และการขนส่งทางบก
- ด้านเศรษฐกิจ มีโอกาสที่จะพัฒนาทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร การเป็นฐานอุตสาหกรรมใหม่ ศูนย์กลางการผลิตอาหารมุสลิม ศูนย์กลางยางพาราระดับโลก และศูนย์กลางการประมงอาเซียน
ภาพลักษณ์การพัฒนา
จากการพิจารณาสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขการพัฒนา ทำให้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์เชิงภาพลักษณ์ของการพัฒนา (DEVELOPMENT IMAGE OBJECTIVE) สำหรับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2549 ได้ 4 ด้าน คือ
ดุลยภาพ (BALANCE) พื้นที่แห่งนี้มีการพัฒนาในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจและสังคมอย่างมีดุลยภาพ โดยที่ประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและชนบทได้รับผลการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและเหมาะสม ทั้งระหว่างภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการ และระหว่างกลุ่มอาชีพต่าง ๆ อันจะนำมาสู่การลดช่องว่างในผลประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนา อาทิ การกระจายของรายได้ ความเท่าเทียมของโอกาสในการได้รับบริการจากรัฐ และความเท่าเทียมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร นอกจากนี้ยังรวมถึงดุลยภาพของการใช้ การดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เสถียรภาพ (STABILITY) พื้นที่แห่งนี้มีการพัฒนาทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจและสังคมอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงผันแปรตามเวลาและปัจจัยกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกโดยง่าย อาทิ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน มีอัตราเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่คงเส้นคงวา มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีภาวะความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยปลอดจากสิ่งเสพติดและความเสื่อมทางสังคม ตลอดจนมีการจัดการและฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ให้กลับคืนสภาพที่ไม่เกิดผลกระทบด้านลบกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว
ศักยภาพ (POTENTIALITY) ประชาชนในพื้นที่แห่งนี้ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างเต็มศักยภาพของตนเอง ด้วยการยกระดับการศึกษา ฝีมือแรงงาน ระดับของสุขภาพกายและจิตให้สมบูรณ์ ตลอดจนใช้ศักยภาพของตนเองเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและชุมชนอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาและรักษาสภาพแวดล้อมของคน เช่น ครอบครัวและสถาบันทางสังคม เป็นต้น ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคน ส่วนด้านทรัพยากรธรรมชาติและการลงทุนทางเศรษฐกิจก็เน้นการใช้ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด
สัมพันธภาพ (RELATIONSHIP) พื้นที่แห่งนี้ต้องมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลและกลุ่ม อาทิ สัมพันธภาพหรือความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มคนต่างวัฒนธรรมหรือต่างถิ่น มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกันระหว่างคนในชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท และรวมไปถึงระหว่างนายจ้างกับผู้ใช้แรงงาน อีกทั้งการมีความสัมพันธ์อันดีในการร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ในการที่จะพัฒนาอนุภูมิภาคนี้ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของนานาชาติต่อไป
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพของคน
เน้นการแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านศักยภาพของคนในอนุภาคนี้ตามปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพให้มีคุณภาพที่สมบูรณ์ สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจปัจจุบันและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ในอนาคต ตลอดจนเตรียมความพร้อมสำหรับการร่วมมือ/แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการขยายโอกาสทางการศึกษา การฝึกอบรม การพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ ตลอดจนบริการสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
เน้นความสำคัญของศักยภาพพื้นที่ด้านการเกษตร ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอนุภาคนี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยใช้ฐานการผลิตการเกษตรที่สำคัญที่มีอยู่เดิมแล้วมาพัฒนาประสิทธิภาพ ปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น เช่น ยางพาราและประมง พร้อมทั้งสร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ด้านปศุสัตว์ พืชผล ผลไม้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรต่อเนื่อง เช่น การแปรรูปอาหารและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา การพัฒนาพื้นที่อนุภาคนี้ให้เป็นศูนย์การผลิตและตลาดยางพาราระหว่างประเทศ ศูนย์การผลิตอาหารมุสลิม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การขยายฐานเศรษฐกิจของอนุภาค
เน้นการเพิ่มความมั่นคง ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และการขยายฐานการผลิตเข้าสู่สาขาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพพัฒนาเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซีย พร้อมทั้งพัฒนาสถาบันการเงินภายใต้ระบบศาสนาอิสลามสำหรับเป็นกลไกในการขยายการค้าและการลงทุน การพัฒนาเมืองท่าสำคัญและเมืองอุตสาหกรรม พร้อมทั้งกำหนดให้เมืองหาดใหญ่-สงขลา เป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการนำทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ได้พัฒนามาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมตามความจำเป็น เช่น ถ่านหิน ดินขาว หินปูน ก๊าซธรรมชาติ ขณะเดียวกันพัฒนาทะเลสาบสงขลาพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มีศักยภาพดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ (ECO-TOURISM) และการพัฒนาการเกษตรในระยะยาว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน
ส่งเสริมการใช้โอกาสและศักยภาพของพื้นที่ชายแดนในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพเมืองชายแดน เพื่อสร้างบรรยากาศการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมตามแนวชายแดน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ความร่วมมือพัฒนาพลังงานโครงการ JDA การร่วมลงทุนด้านการค้า การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแรงงาน
พื้นที่การพัฒนา
แบ่งเป็น 6 กลุ่มพื้นที่ ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ แนวโน้มการพัฒนาของชุมชน โอกาส และศักยภาพการพัฒนา ดังนี้
กลุ่มพื้นที่ศูนย์กลาง ประกอบด้วยพื้นที่ในกลุ่มอำเภอเมืองสงขลา หาดใหญ่ สะเดา และพื้นที่ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องในอำเภอใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ศูนย์กลางพัฒนาอุตสาหกรรมและพาณิชยบริการของอนุภาคอยู่แล้ว จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเงิน การค้า และบริการที่ทันสมัย
กลุ่มพื้นที่ตอนใน ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา ไปจนถึงชายแดนเบตงและพื้นที่ตอนในของจังหวัดนราธิวาส มีลักษณะเป็นพื้นที่ค่อนข้างกว้างใหญ่ ครอบคลุมถึง 4 จังหวัด จาก 5 จังหวัด ซึ่งพื้นที่กลุ่มนี้ที่มีศักยภาพด้านการเกษตรอยู่แล้ว และประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม จึงควรเน้นการพัฒนาด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อให้สามารถสร้างอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตอนล่างของจังหวัดสงขลาต่อเนื่องไปยังจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส รวมถึงพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง เป็นพื้นที่ติดต่อกับแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยโดยตลอด ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งสัตว์น้ำ แร่ธาตุ และเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงเน้นการพัฒนาเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้มีสภาพที่สมบูรณ์อย่างถาวร
กลุ่มพื้นที่แม่น้ำโก-ลก ประกอบด้วยพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสต่อเนื่องระหว่างอำเภอตากใบ สุไหงโก-ลก และแว้ง เป็นพื้นที่ที่มีเขตแดนติดต่อกับรัฐกลันตันตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ทำให้ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาการค้าการลงทุนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยกรธรรมชาติที่มีคุณภาพในพื้นที่นี้เพื่อการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแหล่งแร่ดินขาวที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
กลุ่มพื้นที่ทะเลอันดามัน ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดสตูลทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตอนในจังหวัด หมู่เกาะต่าง ๆ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน พื้นที่กลุ่มนี้มีสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่สวยงามและติดต่อกับแหล่งท่องเที่ยว เกาะลังกาวีของมาเลเซียจึงเหมาะสมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ (ECO-TOURISM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทยานแห่งชาติที่จะพัฒนาเป็นโครงข่ายการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบนด้านอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่
กลุ่มพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณตอนบนของจังหวัดสงขลาต่อเนื่องไปจนถึงเขตติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง ซึ่งครอบคลุมบริเวณพื้นที่ทะเลสาบสงขลาด้วย ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้กลุ่มพื้นที่นี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกลุ่มพื้นที่อื่น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีทั้งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสวยงาม เหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
การแปรแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
จากแผนแม่บทฯ ข้างต้น รัฐบาลได้จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ โดยกำหนดระยะเวลาเป็น 2 ช่วง ด้วยกันคือ
ช่วงแรก ระหว่างปีงบประมาณ 2542-2544 เน้นให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาและสาธารณสุข การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายฐานการผลิตในระยะยาว โดยเฉพาะโครงข่ายเชื่อมโยงเขตอุตสาหกรรมและการพาณิชย์กับประเทศมาเลเซีย ภายใต้โครงการ IMT-GT และเตรียมพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจปีนัง-สงขลา เพื่อการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA รวมทั้งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจตามแนวชายแดน
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาปศุสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารมุสลิม อีกทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
ช่วงที่สอง ระหว่างปีงบประมาณ 2544-2549 ซึ่งเป็นช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะแปรแผนแม่บทฯ ไปสู่แผนปฏิบัติในปี 2544 ภายหลังจากได้ประเมินผลการพัฒนาในช่วงแรกแล้ว เพื่อปรับทิศทางการพัฒนาสู่ทศวรรษใหม่ชายแดนใต้ให้ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ภายใต้พื้นที่ 20,810 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกว่า 3 ล้านคน นับเป็นอนุภาคที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาสูงมากแห่งหนึ่งของประเทศ
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงปี 2540-2549 ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการชี้นำและกำหนดทิศทางการพัฒนาของอนุภาคนี้ เพื่อก้าวไปสู่ทศวรรษใหม่อย่างเป็นระบบต่อเนื่องและด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
ศักยภาพการพัฒนา
คนและสังคม
ในชุมชนไทยมุสลิม ภายในครอบครัวแม้ผู้ชายจะมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดู แต่ก็ได้ให้สถานภาพของสตรี โดยเฉพาะผู้เป็นมารดาไว้สูงเช่นกัน นอกจากนี้การโยกย้ายไปต่างถิ่นมีอัตราต่ำ ทำให้ปัญหาครอบครัวแยกกันอยู่มีน้อย
ส่วนในระดับชุมชน ผู้นำศาสนาเป็นผู้มีบทบาทในการชี้นำ กำกับดูแลสมาชิกของชุมชนอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดศักยภาพของชุมชน จากบทบัญญัติทางศาสนาที่กำหนดให้ทุกคนมีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ซึ่งกันและกันที่เรียกว่า “ซากาต”
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความอบอุ่น มั่นคงทางครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เป็นจุดแข็งสำคัญที่จะนำมาเป็นศักยภาพการพัฒนา “คน” และ “ภาวะแวดล้อม” ของคน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมอยู่เกือบทั้งปี ทำให้ปริมาณน้ำมีจำนวนมาก ทั้งน้ำฝน แหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำใต้ดิน จึงมีผลให้บริเวณนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเพื่อสนองความต้องการใช้น้ำที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อการบริโภค อุปโภค สาขาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการในชุมชนเมือง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ป่าไม้ การพัฒนาพื้นที่ป่าบกสามารถทำได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาหินปูน ซึ่งมีความลาดชันสูง ยากต่อการเข้าบุกรุก สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนนั้น ส่วนที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่จังหวัดสตูล แต่พื้นที่อื่น ๆ มีการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ คือ กุ้งกุลาดำ ด้านป่าพรุในเขตนราธิวาสมีศักยภาพของการพัฒนาค่อนข้างสูง
ทรัพยากรธรรมชาติ ศักยภาพของการพัฒนาด้านทรัพยากรธรณี โดยเฉพาะหินอ่อน หินปูน เพื่อการอุตสาหกรรมมีปริมาณมากบริเวณจังหวัดยะลา ดินขาวคุณภาพดีมีมากที่จังหวัดนราธิวาส ถ่านหินมีปริมาณมากที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา นอกจากนี้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่ตั้งของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาร่วม (JDA) ซึ่งนำมาขึ้นฝั่งที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
การใช้ที่ดิน ศักยภาพของการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรและป่าไม้ยังคงมีอยู่มาก ถ้ามีการจัดประเภทการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและตรงตามประเภทของการใช้ยิ่งขึ้น การปรับเปลี่ยนประเภทของพื้นให้มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของตลาดในอนาคต เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ ผลไม้ โดยการปรับปรุงดินจะทำให้ศักยภาพที่ดินสูงขึ้น
สิ่งแวดล้อม ชุมชนท้องถิ่นมีความตื่นตัวที่จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ทางภาครัฐได้ดำเนินการทางสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตชุมชนเมืองต่าง ๆ โดยการอาศัยมาตรการทางกฎหมาย การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของท้องถิ่น ศักยภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาบ้านเมือง สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และผลของการพัฒนาทรัพยากรที่ผ่านมาได้ทำให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีชุมชนเมืองที่ได้รับการพัฒนาบทบาทเป็นศูนย์กลาง ดังนี้
- เมืองศูนย์กลางความเจริญ ได้แก่ สงขลา-หาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเมืองสตูล รวมถึงชุมชนชายแดนในสงขลาและสตูล ส่วนปัตตานีเชื่อมโยงกับจังหวัดยะลาและนราธิวาส รวมถึงชุมชนชายแดนทั้ง 3 จังหวัด
- เมืองท่าที่สำคัญ ได้แก่ สงขลาและสตูล โดยสงขลามีบทบาทในการเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลสู่กรุงเทพฯ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกและพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (มาบตาพุดและแหลมฉบัง) ส่วนสตูลเป็นเมืองชายฝั่งเชื่อมสู่พื้นที่ภาคใต้ตอนบนด้านทะเลอันดามันและพื้นที่เป้าหมายในโครงการ IMT-GT (ปีนัง-เกาะสุมาตราเหนือ) รวมทั้งกลุ่มประเทศเอเชียใต้
- เมืองชายแดน ได้แก่ สะเดา ปาดังเบซาร์ สุไหงโก-ลก และเบตง เป็นเมืองที่มีบทบาทการเป็นศูนย์กลางธุรกิจเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศมาเลเซีย
การคมนาคม ขนส่ง และการสื่อสาร
- การคมนาคมทางบก ถนนสายหลักสามารถติดต่อได้ครอบคลุมพื้นที่และเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งมีขีดความสามารถในการรองรับปัญหาการจราจรได้ ส่วนเครือข่ายเส้นทางรถไฟมี 2 เส้นทางหลัก คือ จากกรุงเทพฯ ถึงชุมทางหาดใหญ่ แยกไปจุดผ่านแดนที่ปาดังเบซาร์ เชื่อมต่อกับทางรถไฟของมาเลเซียที่รัฐเปอร์ลิส ผ่านบัตเตอร์เวอร์ธ กัวลาลัมเปอร์ ไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์ และอีกเส้นทางหนึ่งจากหาดใหญ่ผ่านปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไปยังจุดผ่านแดนที่สุไหงโก-ลก เชื่อมต่อกับทางรถไฟของมาเลเซียที่รัฐกลันตัน ซึ่งมีทางรถไฟบรรจบกับทางรถไฟสายแรกไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์เช่นเดียวกัน
- การคมนาคมทางน้ำ ปัจจุบันมีท่าเรือน้ำลึกที่สงขลา 1 แห่ง ท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือประมงอีก 5 แห่ง คือ ที่ปัตตานี 2 แห่ง สงขลา นราธิวาส และสตูลจังหวัดละ 1 แห่ง ทั้งยังมีท่าเทียบเรือท่องเที่ยวที่สตูลอีก 2 แห่ง ทำให้สามารถรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้
- การคมนาคมทางอากาศ มีสนามบินนานาชาติที่หาดใหญ่ สนามบินพาณิชย์ภายในประเทศที่นราธิวาสและปัตตานี มีขีดความสามารถในการรองรับและขยายปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
- ระบบสื่อสารโทรคมนาคม มีการขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และประชาชน นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีดาวเทียมเป็นของตนเอง และพร้อมที่จะพัฒนาให้เชื่อมโยงทั้งระดับพื้นที่และระหว่างประเทศ
- ระบบไฟฟ้าและน้ำประปา มีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า 3 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติ จังหวัดยะลา และโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซที่หาดใหญ่ ส่วนระบบประปามีการพัฒนาขยายกำลังการผลิตอยู่เสมอ ทั้งยังมีแหล่งน้ำใต้ดินอย่างพอเพียง
- นิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง) ที่อำเภอหาดใหญ่ พื้นที่ 2,382 ไร่ และเขตอุตสาหกรรมปัตตานี พื้นที่ 939 ไร่ นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงเขตอุตสาหกรรมยะลา จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมนราธิวาสและเขตนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลาด้วย
การพัฒนาเศรษฐกิจ
เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดภาคใต้ของไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ รวมทั้งกลุ่มประเทศด้านเอเชียใต้ ดังนั้นจึงมีศักยภาพในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
ส่วนผลผลิตสินค้าหลักของพื้นที่ ได้แก่ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ประมงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของพื้นที่และของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ประมงจากทะเล นับว่าเป็นแหล่งใหญ่ มีปริมาณมากที่สุดของประเทศ ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรประเภทอาหารทะเลกระป๋อง
สำหรับด้านการท่องเที่ยวมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติมากมาย จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในทุกจังหวัดอีกด้วย
การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรการผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมสูง อาทิ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน แร่ธาตุ ฯลฯ มีแรงงานราคาถูก และมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมาก นอกจากนี้ทั้ง 3 ประเทศ ยังมีภูมิศาสตร์เศรษฐกิจที่อยู่ในฐานะที่เกื้อกูลกันและกันในการที่จะร่วมมือกัน และมีลัษณะวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และภาษาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเอื้อต่อการสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ดียิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนของทั้ง 3 ประเทศ อย่างเต็มที่
การเป็นพื้นที่พิเศษ
จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐบาลทุกสมัยให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งในแง่การกำหนดนโยบายและแผนงานเฉพาะพื้นที่ การจัดองค์กรอำนวยการบริหารและประสานแผนเป็นการเฉพาะ การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติม การกำหนดมาตรการในการเลือกสรรและพัฒนาข้าราชการ รวมทั้งการส่งเสริมบทบาทของผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
โอกาสการพัฒนา
จากศักยภาพการพัฒนาโดยรวมได้ก่อให้เกิดโอกาสในการพัฒนาอนุภาคนี้ ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับมหภาคของอนุภาคและระดับจุลภาค ในแง่ของกลุ่มสาขาการพัฒนาคือ
โอกาสในการพัฒนาระดับมหภาค
ได้แก่ โอกาสการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการ IMT-GT โอกาสที่จะเป็นเครือข่ายของการเชื่อมโยงการพัฒนากับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะกับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (ตอนบน) และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก อันจะนำไปสู่การเปิดประตูการค้ากับกลุ่มประเทศอินโดจีนในอนาคต
นอกจากนี้เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ติดทะเลอันดามัน ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงกับมหาสมุทรอินเดีย จึงสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกลุ่มประเทศชมพูทวีปหรือเอเชียใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิรูปเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
โอกาสในการพัฒนารายสาขา
- ด้านคนและสังคม ปัจจุบันเยาวชนทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมมีความกระตือรือร้นในการศึกษาทั้งสายสามัญ สายอาชีพ และสายศาสนา จึงควรสนับสนุนและพัฒนาด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่ดีในการร่วมมือแลกเปลี่ยนแรงงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานที่เป็นระบบทันสมัย รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานฝีมือทั้งภายในและนอกประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งหินอ่อนและหินแกรนิตที่จังหวัดยะลามีลวดลายเฉพาะและสวยงามกว่าแหล่งแร่อื่น ๆ ในประเทศ ดังนั้นจึงมีโอกาสในการนำมาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมแข่งขันกับตลาดอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้ที่สำคัญคือแหล่งแร่ดินขาวที่อำเภอระแงะและสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่มีปริมาณมากและมีคุณภาพดี สามารถนำมาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมเซรามิค และยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นเกรดฟิลเตอร์ (FILLTER) ในอุตสาหกรรมกระดาษ สีทาบ้าน และยางรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ส่วนแร่เชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่ ถ่านหินและแหล่งก๊าซธรรมชาติ ก็มีปริมาณมากพอที่จะพัฒนาให้เป็นเชื้อเพลิง และนำไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนด้วย
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สามารถพิจารณาโอกาสในการพัฒนาเป็น 3 ประเด็น คือ การพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองและเมืองชายแดน ตามบทบาทของแต่ละเมือง การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น ท่าเทียบเรือประมง ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว การพัฒนาโครงข่ายการเดินเรือชายฝั่ง การขยายเส้นทางการบิน และการลงทุนในโครงการพัฒนาโดยภาคเอกชน ได้แก่ การจัดหาแหล่งพลังงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการให้บริการพื้นฐาน เช่น โทรศัพท์ ท่าเรือ ประปา นิคมอุตสาหกรรม และการขนส่งทางบก
- ด้านเศรษฐกิจ มีโอกาสที่จะพัฒนาทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร การเป็นฐานอุตสาหกรรมใหม่ ศูนย์กลางการผลิตอาหารมุสลิม ศูนย์กลางยางพาราระดับโลก และศูนย์กลางการประมงอาเซียน
ภาพลักษณ์การพัฒนา
จากการพิจารณาสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขการพัฒนา ทำให้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์เชิงภาพลักษณ์ของการพัฒนา (DEVELOPMENT IMAGE OBJECTIVE) สำหรับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2549 ได้ 4 ด้าน คือ
ดุลยภาพ (BALANCE) พื้นที่แห่งนี้มีการพัฒนาในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจและสังคมอย่างมีดุลยภาพ โดยที่ประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและชนบทได้รับผลการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและเหมาะสม ทั้งระหว่างภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการ และระหว่างกลุ่มอาชีพต่าง ๆ อันจะนำมาสู่การลดช่องว่างในผลประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนา อาทิ การกระจายของรายได้ ความเท่าเทียมของโอกาสในการได้รับบริการจากรัฐ และความเท่าเทียมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร นอกจากนี้ยังรวมถึงดุลยภาพของการใช้ การดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เสถียรภาพ (STABILITY) พื้นที่แห่งนี้มีการพัฒนาทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจและสังคมอย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงผันแปรตามเวลาและปัจจัยกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกโดยง่าย อาทิ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน มีอัตราเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่คงเส้นคงวา มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีภาวะความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยปลอดจากสิ่งเสพติดและความเสื่อมทางสังคม ตลอดจนมีการจัดการและฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ให้กลับคืนสภาพที่ไม่เกิดผลกระทบด้านลบกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว
ศักยภาพ (POTENTIALITY) ประชาชนในพื้นที่แห่งนี้ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างเต็มศักยภาพของตนเอง ด้วยการยกระดับการศึกษา ฝีมือแรงงาน ระดับของสุขภาพกายและจิตให้สมบูรณ์ ตลอดจนใช้ศักยภาพของตนเองเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและชุมชนอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาและรักษาสภาพแวดล้อมของคน เช่น ครอบครัวและสถาบันทางสังคม เป็นต้น ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคน ส่วนด้านทรัพยากรธรรมชาติและการลงทุนทางเศรษฐกิจก็เน้นการใช้ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด
สัมพันธภาพ (RELATIONSHIP) พื้นที่แห่งนี้ต้องมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลและกลุ่ม อาทิ สัมพันธภาพหรือความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มคนต่างวัฒนธรรมหรือต่างถิ่น มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกันระหว่างคนในชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท และรวมไปถึงระหว่างนายจ้างกับผู้ใช้แรงงาน อีกทั้งการมีความสัมพันธ์อันดีในการร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ในการที่จะพัฒนาอนุภูมิภาคนี้ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของนานาชาติต่อไป
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพของคน
เน้นการแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านศักยภาพของคนในอนุภาคนี้ตามปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพให้มีคุณภาพที่สมบูรณ์ สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจปัจจุบันและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ในอนาคต ตลอดจนเตรียมความพร้อมสำหรับการร่วมมือ/แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการขยายโอกาสทางการศึกษา การฝึกอบรม การพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ ตลอดจนบริการสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
เน้นความสำคัญของศักยภาพพื้นที่ด้านการเกษตร ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอนุภาคนี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยใช้ฐานการผลิตการเกษตรที่สำคัญที่มีอยู่เดิมแล้วมาพัฒนาประสิทธิภาพ ปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น เช่น ยางพาราและประมง พร้อมทั้งสร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ด้านปศุสัตว์ พืชผล ผลไม้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรต่อเนื่อง เช่น การแปรรูปอาหารและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา การพัฒนาพื้นที่อนุภาคนี้ให้เป็นศูนย์การผลิตและตลาดยางพาราระหว่างประเทศ ศูนย์การผลิตอาหารมุสลิม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การขยายฐานเศรษฐกิจของอนุภาค
เน้นการเพิ่มความมั่นคง ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และการขยายฐานการผลิตเข้าสู่สาขาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพพัฒนาเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซีย พร้อมทั้งพัฒนาสถาบันการเงินภายใต้ระบบศาสนาอิสลามสำหรับเป็นกลไกในการขยายการค้าและการลงทุน การพัฒนาเมืองท่าสำคัญและเมืองอุตสาหกรรม พร้อมทั้งกำหนดให้เมืองหาดใหญ่-สงขลา เป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการนำทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ได้พัฒนามาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมตามความจำเป็น เช่น ถ่านหิน ดินขาว หินปูน ก๊าซธรรมชาติ ขณะเดียวกันพัฒนาทะเลสาบสงขลาพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มีศักยภาพดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ (ECO-TOURISM) และการพัฒนาการเกษตรในระยะยาว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน
ส่งเสริมการใช้โอกาสและศักยภาพของพื้นที่ชายแดนในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพเมืองชายแดน เพื่อสร้างบรรยากาศการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมตามแนวชายแดน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ความร่วมมือพัฒนาพลังงานโครงการ JDA การร่วมลงทุนด้านการค้า การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแรงงาน
พื้นที่การพัฒนา
แบ่งเป็น 6 กลุ่มพื้นที่ ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ แนวโน้มการพัฒนาของชุมชน โอกาส และศักยภาพการพัฒนา ดังนี้
กลุ่มพื้นที่ศูนย์กลาง ประกอบด้วยพื้นที่ในกลุ่มอำเภอเมืองสงขลา หาดใหญ่ สะเดา และพื้นที่ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องในอำเภอใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ศูนย์กลางพัฒนาอุตสาหกรรมและพาณิชยบริการของอนุภาคอยู่แล้ว จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเงิน การค้า และบริการที่ทันสมัย
กลุ่มพื้นที่ตอนใน ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา ไปจนถึงชายแดนเบตงและพื้นที่ตอนในของจังหวัดนราธิวาส มีลักษณะเป็นพื้นที่ค่อนข้างกว้างใหญ่ ครอบคลุมถึง 4 จังหวัด จาก 5 จังหวัด ซึ่งพื้นที่กลุ่มนี้ที่มีศักยภาพด้านการเกษตรอยู่แล้ว และประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม จึงควรเน้นการพัฒนาด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อให้สามารถสร้างอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตอนล่างของจังหวัดสงขลาต่อเนื่องไปยังจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส รวมถึงพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง เป็นพื้นที่ติดต่อกับแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยโดยตลอด ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งสัตว์น้ำ แร่ธาตุ และเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงเน้นการพัฒนาเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้มีสภาพที่สมบูรณ์อย่างถาวร
กลุ่มพื้นที่แม่น้ำโก-ลก ประกอบด้วยพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสต่อเนื่องระหว่างอำเภอตากใบ สุไหงโก-ลก และแว้ง เป็นพื้นที่ที่มีเขตแดนติดต่อกับรัฐกลันตันตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ทำให้ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาการค้าการลงทุนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยกรธรรมชาติที่มีคุณภาพในพื้นที่นี้เพื่อการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแหล่งแร่ดินขาวที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
กลุ่มพื้นที่ทะเลอันดามัน ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดสตูลทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตอนในจังหวัด หมู่เกาะต่าง ๆ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน พื้นที่กลุ่มนี้มีสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่สวยงามและติดต่อกับแหล่งท่องเที่ยว เกาะลังกาวีของมาเลเซียจึงเหมาะสมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ (ECO-TOURISM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทยานแห่งชาติที่จะพัฒนาเป็นโครงข่ายการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบนด้านอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่
กลุ่มพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณตอนบนของจังหวัดสงขลาต่อเนื่องไปจนถึงเขตติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง ซึ่งครอบคลุมบริเวณพื้นที่ทะเลสาบสงขลาด้วย ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้กลุ่มพื้นที่นี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกลุ่มพื้นที่อื่น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีทั้งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสวยงาม เหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
การแปรแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
จากแผนแม่บทฯ ข้างต้น รัฐบาลได้จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ โดยกำหนดระยะเวลาเป็น 2 ช่วง ด้วยกันคือ
ช่วงแรก ระหว่างปีงบประมาณ 2542-2544 เน้นให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาและสาธารณสุข การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายฐานการผลิตในระยะยาว โดยเฉพาะโครงข่ายเชื่อมโยงเขตอุตสาหกรรมและการพาณิชย์กับประเทศมาเลเซีย ภายใต้โครงการ IMT-GT และเตรียมพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจปีนัง-สงขลา เพื่อการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA รวมทั้งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจตามแนวชายแดน
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาปศุสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารมุสลิม อีกทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
ช่วงที่สอง ระหว่างปีงบประมาณ 2544-2549 ซึ่งเป็นช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะแปรแผนแม่บทฯ ไปสู่แผนปฏิบัติในปี 2544 ภายหลังจากได้ประเมินผลการพัฒนาในช่วงแรกแล้ว เพื่อปรับทิศทางการพัฒนาสู่ทศวรรษใหม่ชายแดนใต้ให้ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-