นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) ว่า ไต้หวันได้ยุติการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าลวดเกลียวจากไทยแล้ว หลังจากที่ได้ไต่สวนแล้วพบว่าการนำเข้าจากไทยไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายในของไต้หวัน
จากการที่กระทรวงการคลังไต้หวัน ได้เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าลวดเกลียวที่นำเข้าจากไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2543 ตามคำร้องเรียนของสมาคมลวดเหล็กไต้หวัน โดยฝ่ายผู้ร้องเรียนอ้างเหตุผลว่าสินค้าลวดเกลียวจากไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ทุ่มตลาดด้วยราคาต่ำ แย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมภายในได้รับความเสียหาย ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) และผู้ส่งออกได้จัดหาข้อมูลและมีหนังสือโต้แย้งการไต่สวนดังกล่าว รวมทั้งผู้นำเข้าก็ได้พยายามคัดค้านการเปิดไต่สวนและชี้แจงว่า การนำเข้าไม่ได้มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น และราคาขายของลวดเกลียวไม่ได้ต่ำมากตามที่ฝ่ายร้องเรียนกล่าวหา แต่เพื่อความอยู่รอดของบริษัทจำเป็นต้องหนีการผูกขาดตลาดลวดเกลียวของผู้ผลิตไต้หวัน
นอกจากนี้ ในการประชุม APEC ครั้งที่ 9 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นการไต่สวนในเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือกับทางการไต้หวันด้วย และในที่สุดเมื่อไต้หวันได้เปิดการรับฟังสาธารณะด้านความเสียหายเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้แสดงความคิดเห็นพร้อมข้อมูลต่าง ๆ แล้วพบว่า สินค้าลวดเกลียวที่นำเข้าจากไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายใน จึงยุติการไต่สวน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้นำเข้าไต้หวันสั่งซื้อลวดเกลียวจากไทยเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ไทยส่งออกลวดเกลียวไปไต้หวันมีมูลค่า 249 ล้านบาท และในปีที่ผ่านมาส่งออก 127 ล้านบาท
นายธรรมนูญฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การโต้แย้งแก้ข้อกล่าวหาสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า ในการจัดหาหลักฐานที่จะแสดงให้ประเทศที่เปิดไต่สวนเห็นว่าการนำเข้าจากประเทศไทยไม่ได้ทุ่มตลาด และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่กล่าวหา
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤศจิกายน 2544--
-อน-
จากการที่กระทรวงการคลังไต้หวัน ได้เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าลวดเกลียวที่นำเข้าจากไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2543 ตามคำร้องเรียนของสมาคมลวดเหล็กไต้หวัน โดยฝ่ายผู้ร้องเรียนอ้างเหตุผลว่าสินค้าลวดเกลียวจากไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ทุ่มตลาดด้วยราคาต่ำ แย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมภายในได้รับความเสียหาย ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) และผู้ส่งออกได้จัดหาข้อมูลและมีหนังสือโต้แย้งการไต่สวนดังกล่าว รวมทั้งผู้นำเข้าก็ได้พยายามคัดค้านการเปิดไต่สวนและชี้แจงว่า การนำเข้าไม่ได้มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น และราคาขายของลวดเกลียวไม่ได้ต่ำมากตามที่ฝ่ายร้องเรียนกล่าวหา แต่เพื่อความอยู่รอดของบริษัทจำเป็นต้องหนีการผูกขาดตลาดลวดเกลียวของผู้ผลิตไต้หวัน
นอกจากนี้ ในการประชุม APEC ครั้งที่ 9 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นการไต่สวนในเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือกับทางการไต้หวันด้วย และในที่สุดเมื่อไต้หวันได้เปิดการรับฟังสาธารณะด้านความเสียหายเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้แสดงความคิดเห็นพร้อมข้อมูลต่าง ๆ แล้วพบว่า สินค้าลวดเกลียวที่นำเข้าจากไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายใน จึงยุติการไต่สวน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้นำเข้าไต้หวันสั่งซื้อลวดเกลียวจากไทยเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ไทยส่งออกลวดเกลียวไปไต้หวันมีมูลค่า 249 ล้านบาท และในปีที่ผ่านมาส่งออก 127 ล้านบาท
นายธรรมนูญฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การโต้แย้งแก้ข้อกล่าวหาสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า ในการจัดหาหลักฐานที่จะแสดงให้ประเทศที่เปิดไต่สวนเห็นว่าการนำเข้าจากประเทศไทยไม่ได้ทุ่มตลาด และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่กล่าวหา
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤศจิกายน 2544--
-อน-