ตามที่ทางคณะกรรมการธิการยุโรปที่ 1999/652/EC ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของเบลเยี่ยมเกี่ยวกับการประสานงานด้านการป้องกันและจัดการวัสดุหีบห่อและวัสดุที่เหลือใช้ (prevention and management of packaging and packaging waste) ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้คำสั่งสภายุโรปและคณะมนตรียุโรปที่ 94/62/EC มาตรา 6(6) ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การบรรจุหีบห่อและวัสดุหีบห่อที่เหลือจากใช้ ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.1 คำสั่ง 94/62/EC ข้อกำหนดภายใต้คำสั่งฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการประสานกฎเกณฑ์ระดับชาติเกี่ยวกับการจัดการบรรจุสินค้าหีบห่อ (packaging) และวัสดุหีบห่อของที่เหลือจากใช้ (packaing waste)เพื่อป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมในการนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้กำหนดเป้าหมายการสะสมเก็บ (recover) และการนำวัสดุหีบห่อของกลับมาใช้ (recycle) กล่าวคือ มาตรา 6(1) a ได้กำหนดเป้าหมายให้มีการสะสมเก็บวัสดุฯ ในอัตราร้อยละ 50 ถึง 65 ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2001 (พ.ศ.2544) มาตรา 6(1) b ได้กำหนดว่าภายในระยะเวลาเดียวกันจะมีการนำวัสดุหีบห่อของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ในอัตราร้อยละ 25 ถึง 45 หรืออย่างน้อยร้อยละ 15 ของน้ำหนักวัสดุหีบห่อใช้แล้วแต่ละชิ้น (each packaging material) พร้อมกับมีการจัดตั้งระบบการตรวจสอบ (Monitoring system) ขบวนการดังกล่าวเป็นระยะ ๆ
1.2 มาตรการที่ได้แจ้งจากเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 ทางการเบลเยี่ยมได้ยื่นเสนอร่างข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันและจัดการวัสดุหีบห่อของที่ใช้แล้วต่อคณะกรรมการธิการฯ ตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม ได้มอบอำนาจเฉพาะรัฐบาลกลางให้มีหน้าที่ดูแลประเด็นเกี่ยวกับสินค้าภายใต้คำสั่งที่ 94/62/EC ดังนั้นการตั้งเป้าหมายการสะสมหรือนำวัสดุหีบห่อของกลับมาใช้จะตกอยู่ในความดูแลของรัฐบาลท้องถิ่นเท่านั้นในการนี้ รัฐบาลเบลเยี่ยมระดับทั้งถิ่นทั้ง 3 เขต (regions) เห็นควรให้ทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันและจัดการวัสดุหีบห่อของใช้แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการค้า (กล่าวคือ ผู้นำสินค้าลงบรรจุหีบห่อหรือผู้นำเข้าในกรณีที่มีการบรรจุสินค้าลงในหีบห่อในประเทศที่สาม) มีหน้าที่รับผิดชอบการสะสมเก็บวัสดุหีบห่อสินค้าที่ออกวางจำหน่ายด้วย (มาตรา 6) หรือจะว่าจ้างบุคคลที่สามดำเนินการเรียบเก็บหีบห่อดังกล่าว มาตรา 7(1) และตั้งเป้าหมายปริมาณการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อของกลับมาใช้ มาตรา 3(2) โดยที่ผู้ประกอบการค้าดังกล่าวต้องแจ้งวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวต่อ Inter-regional Commission for Packaging ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ จะเป็นผู้ประเมินความสอดคล้องกับมาตรา 6 ของวิธีการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ประกอบการค้า จะได้รับการยกเว้นจากหน้าที่ภาระการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้โดยการทำสัญญากับ agreed body ที่ได้รับกฎหมายและการเงินบางประการ (มาตรา 9 ถึง 15) มาตรา 3(2) ได้กำหนดเป้าหมายการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อมาใช้ใหม่ดังนี้
- ปี 1998 (พ.ศ.24541) : นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 45 - เก็บสะสมร้อยละ 70
- ปี 1999 (พ.ศ.2542) : นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 50 - เก็บสะสมร้อยละ 80
ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจที่ตั้งอยู่ในเขต Flanders Wallonia และ Brussels ต้องบรรลุเป้าหมายนี้โดยการนำระบบการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ มาปฎิบัติใช้กับวัสดุหีบห่อของใช้ภายในครัวเรือนและวัสดุหีบห่อจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ซึ่งภาคผนวกของข้อตกลงฉบับนี้ได้อธิบายถึงมาตรการนำระบบมาปฏิบัติใช้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้มาตรา 6(6) ของคำสั่งที่ 94/62/EC ดังนี้
- การวิเคราะห์อัตราการสะสมเก็บหีบห่อในอนาคต
- มาตรการการหลีกเลี่ยงความบิดเบือนทางการค้า (trade distortions) โดยการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างจริงจัง การวางระบบตรวจสอบเป็นระยะ ๆ อย่างถาวรและการควบคุมเงินงบประมาณของ agreed body
พร้อมกันนี้ เบลเยี่ยมได้ยื่นเสนอการศึกษาวิเคราะห์ ecological standardisation of packaging on Belgium ต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเวียนให้ประเทศสมาชิกฯ ได้รับทราบ
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2538 คณะกรรมการธิการฯ ได้รับทราบการนำมาตรการนี้มาบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสได้ให้ข้อคิดเห็นว่าต้องมีการกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบขบวนการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ของแต่ละประเทศสมาชิกฯ ให้สอดคล้องกับมาตรา 6(6) ก่อนตั้งเป้าหมายสำหรับอนาคต ซี่งเบลเยี่ยมได้แจ้งผลการวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นว่าทุกประเทศสมาชิกฯ ได้มีการปฎิบัติตามข้อกำหนดมาตรา 6(6)แล้ว
คณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบให้บังคับให้ข้อตกลงฉบับนี้ เมื่อวันที่ 16 21 และ 24 มกราคม 2539 ในเขต Walloon Flanders และ Brussels ตามลำดับ
1.3 ข้อคิดเห็นของประเทศสมาชิก
มาตรา 6(6) ได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการฯ หารือกับประเทศสมาชิกฯ ก่อนหน้าการตัดสินออกประกาศคำสั่ง ซึ่งผลปรากฎว่าไม่มีประเทศสมาชิกฯ ใดเห็นว่ามาตรการของเบลเยี่ยมจะเป็นการบิดเบือนการค้า หรือส่งผลมิให้ประเทศสมาชิกอื่นดำเนินการได้ตามคำสั่งคณะกรรมาธิการฯ แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผลการหารือได้ชี้ถึงอุปสรรคในการประเมินผลการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อมาใช้ตามการคาดการณ์ เนื่องจากความสลับซับซ้อนของระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ ในการนี้ ฝรั่งเศสได้เสนอให้คณะกรรมาธิการฯ ให้ความเห็นชอบข้อตกลงนี้เมื่อมีการจัดตั้งฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณเป้าหมายที่ต้องบรรลุ พร้อมกันนี้ สหราชอาณาจักรได้ชี้แนะว่าควรนำข้อมูลเดิมด้านประวัติราคาและสถิติการนำวัสดุกลับมา reprocess สำหรับสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมาใช้ ประกอบการพิจารณาตั้งเป้าหมาย ซึ่งการตั้งเป้าหมายในอนาคต ควรสอดคล้องกับแผนตรวจพิจารณาเป้าหมายมาตรา 6(1) ที่ต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2544
2. การประเมินผล
สืบเนื่องจากความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น ในการรอคอยข้อมูลที่ต้องตรวจหาตามคำสั่งที่ 97/135/EC รวมทั้งไม่มีผลกระทบเกิดขึ้นจากที่กล่าวในมาตรา 6(6) คณะกรรมาธิการฯ จึงไม่เห็นควรให้เลื่อนระยะเวลาการออกประกาศคำสั่งฉบับนี้ ประเทศสมาชิกฯ สามารถสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เกินเป้าหมายได้ต่อเมื่อการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความบิดเบือนทางการค้า หรือขัดขวางต่อระบบการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้โดยประเทศสมาชิกอื่น ๆ
2.1 ความเหมาะสมในปริมาณการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้
ควรคำนึงถึงอุปสรรค ในการประเมินผลการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เพื่อให้เป็นไปตามการคาดการณ์ เนื่องจากความสลับซับซ้อนของระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศและเบลเยี่ยมได้แสดงข้อมูลสนับสนุนว่าการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เกินเป้าหมาย จะไม่ส่งผลเสียต่อขั้นตอนการดำเนินการของประเทศสมาชิกฯ อื่น กล่าวคือ ในปี 2540 มีการนำวัสดุหีบห่อที่เป็นแก้วกลับมาใช้ในอัตราร้อยละ 55 โดยไม่เกิดอุปสรรคต่อการ absorb วัสดุหีบห่อที่เป็นแก้วสีน้ำตาลหรือสีเขียวแต่อย่างใด เบลเยี่ยมมีโรงงานที่นำแก้วปริมาณ 160,000 ตัน (ต่อปี) กลับมาใช้ในขณะที่มีโรงงานนำแก้วไปใช้เป็นวัสดุลำดับรอง (second material) อีก 5 แห่ง
สำหรับกรณีหีบห่อของที่เป็นโลหะก็ไม่เป็นอุปสรรคเช่นกัน เนื่องจากอุตสาหกรรมเบลเยี่ยมมีความต้องการใช้โลหะเหล็ก (ferrous metal) ประมาณ 3.5 ล้านตัน/ปี และยังต้องนำเข้า 1.27 ล้านตัน สำหรับโลหะที่มิใช่เหล็กนั้นมีการนำกลับมาใช้มากกว่า 500,000 ตัน/ปี
สำหรับวัสดุสังเคราะห์นั้น ประเทศเบลเยี่ยมมีโรงงานหลายแห่งที่สามารถนำวัสดุกลับมาใช้ 50,000 ตัน/ปี ในขณะเดียวกันก็สามารถนำวัสดุพลาสติก 10,000 ตันกลับมาใช้ในปี 2540 โดยนำไปเผาในเตาอบซีเมนต์ ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานอีกด้วย และได้คาดการณ์ว่าปริมาณดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 60,000 ถึง 80,000 ตันต่อปี
ในปี 2540 มีกานำวัสดุกระดาษและไม้กระดานกลับมาใช้ปริมาณ 1 ล้านตัน อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมกระดาษและไม้กระดาน ยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าที่ผ่านขบวนการนำกลับมาใช้แล้วอยู่มาก
2.2 แนวโน้มในการบิดเบือนการค้าในตลาดสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการฯ ได้ประเมินอัตราการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ ซึ่งผลปรากฏว่าระบบการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้จะไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า เนื่องจากตลาดเบลเยี่ยมมีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อตรวจสอบระบบดังกล่าวเป็นระยะ ๆ
2.3 อุปสรรคต่อระบบการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อมาใช้ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ
ประเทศสมาชิกบางประเทศฯ โดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีการจัดตั้งระบบสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้อาจเผชิญกับปัญหา จากการที่เบลเยี่ยมนำระบบมาบังคับใช้หรือมีการดำเนินการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เกินเป้าหมาย
2.4 ขอบเขตการเลือกสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ มาตรการนี้จะครอบคลุมถึงวัสดุจากของใช้ในครัวเรือนจนถึงสินค้านำเข้า
2.5 ข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก คำนึงถึงการกีดกันการค้าที่อาจเกิดจากการปกป้องในทางตรงหรือทางอ้อมของอุตสาหกรรมการผลิตของใช้แล้ว (ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าประเภทหนึ่งภายใต้มาตรา 28 ถึง 30 ของสนธิสัญญาการจัดตั้งประชาคมในประเทศสมาชิกฯ ใดประเทศหนึ่ง
3. บทสรุป
ึคณะกรรมาธิการฯ เห็นควรให้เบลเยี่ยมนำมาตรการการสะสมเก็บแนะวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ตามมาตรา 6(6) ของคำสั่ง 94/62/EC โดยได้นำประเด็นดังต่อไปนี้มาประกอบการใช้พิจารณา
- เบลเยี่ยมมีความสามารถที่เพียงพอในการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ มาตรการจะไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้าตลาดภายในอียู
- มาตรการจะไม่เป็นอุปสรรคต่อระบบสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ
- มาตรการนี้จะครอบคลุมถึงวัสดุหีบห่อของใช้แล้วจากทุกแหล่ง
- มาตรการนี้จะไม่เป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
ทั้งนี้ คำสั่งฉบับนี้เป็นการรับรองการปฏิบัติของประเทศเบลเยี่ยม
4. ผลกระทบต่อประเทศไทย
การส่งออกสินค้า จากไทยสู่อียูต่างก็บรรจุหีบห่อเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารแช่แข็ง (เช่น สินค้าประมง ไก่ และอาหารพร้อมรับประทาน เป็นต้น) การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อไปในเบื้องต้นโดยสรุปคือ
4.1 การที่คณะกรรมาธิการฯ ให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอของเบลเยี่ยม นับเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่ง ในการนำประเด็นเหตุผลด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาเชื่อมโยงกับประเด็นการค้า
4.2 เป็นการเพิ่มภาระการลงทุนของผู้ประกอบการ ในการจัดเก็บวัสดุฯ หรืออาจมีการเรียกร้องให้ผู้ส่งออกมีการปรับเปลี่ยนใช้วัสดุฯ ให้เหมาะสมกับมาตรการนี้ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งตัวแทนในการจัดเก็บวัสดุฯ ซึ่งคาดว่าผู้นำเข้าอาจผลักภาระส่วนหนึ่งให้ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก
4.3 ราคาสินค้าไทยและประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ส่งสินค้เข้าอียูจะมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่ต้องคงรักษาคุณภาพและมาตรฐานให้ตรงกับกฎระเบียบของอียู รวมทั้ง ระดับราคา เพื่อให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ต่อไป
5. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
5.1 การที่คณะกรรมาธิการฯ ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของเบลเยี่ยมถือเป็นจุดเริ่มต้นในการที่จำไปใช้เป็นการทั่วไปภายในอียู ซึ่งประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะกำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว
5.2 แม้ว่าคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าวจะเน้นว่าการดำเนินการนี้ต้องไม่บิดเบือนทางการค้า อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลเบื้องต้น มาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และถือเป็นการนำมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barrier) วิธีหนึ่งมาใช้
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลล์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/30 พฤศจิกายน 2542--
1. ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.1 คำสั่ง 94/62/EC ข้อกำหนดภายใต้คำสั่งฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการประสานกฎเกณฑ์ระดับชาติเกี่ยวกับการจัดการบรรจุสินค้าหีบห่อ (packaging) และวัสดุหีบห่อของที่เหลือจากใช้ (packaing waste)เพื่อป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมในการนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้กำหนดเป้าหมายการสะสมเก็บ (recover) และการนำวัสดุหีบห่อของกลับมาใช้ (recycle) กล่าวคือ มาตรา 6(1) a ได้กำหนดเป้าหมายให้มีการสะสมเก็บวัสดุฯ ในอัตราร้อยละ 50 ถึง 65 ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2001 (พ.ศ.2544) มาตรา 6(1) b ได้กำหนดว่าภายในระยะเวลาเดียวกันจะมีการนำวัสดุหีบห่อของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ในอัตราร้อยละ 25 ถึง 45 หรืออย่างน้อยร้อยละ 15 ของน้ำหนักวัสดุหีบห่อใช้แล้วแต่ละชิ้น (each packaging material) พร้อมกับมีการจัดตั้งระบบการตรวจสอบ (Monitoring system) ขบวนการดังกล่าวเป็นระยะ ๆ
1.2 มาตรการที่ได้แจ้งจากเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 ทางการเบลเยี่ยมได้ยื่นเสนอร่างข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันและจัดการวัสดุหีบห่อของที่ใช้แล้วต่อคณะกรรมการธิการฯ ตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม ได้มอบอำนาจเฉพาะรัฐบาลกลางให้มีหน้าที่ดูแลประเด็นเกี่ยวกับสินค้าภายใต้คำสั่งที่ 94/62/EC ดังนั้นการตั้งเป้าหมายการสะสมหรือนำวัสดุหีบห่อของกลับมาใช้จะตกอยู่ในความดูแลของรัฐบาลท้องถิ่นเท่านั้นในการนี้ รัฐบาลเบลเยี่ยมระดับทั้งถิ่นทั้ง 3 เขต (regions) เห็นควรให้ทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันและจัดการวัสดุหีบห่อของใช้แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการค้า (กล่าวคือ ผู้นำสินค้าลงบรรจุหีบห่อหรือผู้นำเข้าในกรณีที่มีการบรรจุสินค้าลงในหีบห่อในประเทศที่สาม) มีหน้าที่รับผิดชอบการสะสมเก็บวัสดุหีบห่อสินค้าที่ออกวางจำหน่ายด้วย (มาตรา 6) หรือจะว่าจ้างบุคคลที่สามดำเนินการเรียบเก็บหีบห่อดังกล่าว มาตรา 7(1) และตั้งเป้าหมายปริมาณการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อของกลับมาใช้ มาตรา 3(2) โดยที่ผู้ประกอบการค้าดังกล่าวต้องแจ้งวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวต่อ Inter-regional Commission for Packaging ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ จะเป็นผู้ประเมินความสอดคล้องกับมาตรา 6 ของวิธีการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ประกอบการค้า จะได้รับการยกเว้นจากหน้าที่ภาระการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้โดยการทำสัญญากับ agreed body ที่ได้รับกฎหมายและการเงินบางประการ (มาตรา 9 ถึง 15) มาตรา 3(2) ได้กำหนดเป้าหมายการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อมาใช้ใหม่ดังนี้
- ปี 1998 (พ.ศ.24541) : นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 45 - เก็บสะสมร้อยละ 70
- ปี 1999 (พ.ศ.2542) : นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 50 - เก็บสะสมร้อยละ 80
ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจที่ตั้งอยู่ในเขต Flanders Wallonia และ Brussels ต้องบรรลุเป้าหมายนี้โดยการนำระบบการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ มาปฎิบัติใช้กับวัสดุหีบห่อของใช้ภายในครัวเรือนและวัสดุหีบห่อจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ซึ่งภาคผนวกของข้อตกลงฉบับนี้ได้อธิบายถึงมาตรการนำระบบมาปฏิบัติใช้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้มาตรา 6(6) ของคำสั่งที่ 94/62/EC ดังนี้
- การวิเคราะห์อัตราการสะสมเก็บหีบห่อในอนาคต
- มาตรการการหลีกเลี่ยงความบิดเบือนทางการค้า (trade distortions) โดยการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างจริงจัง การวางระบบตรวจสอบเป็นระยะ ๆ อย่างถาวรและการควบคุมเงินงบประมาณของ agreed body
พร้อมกันนี้ เบลเยี่ยมได้ยื่นเสนอการศึกษาวิเคราะห์ ecological standardisation of packaging on Belgium ต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเวียนให้ประเทศสมาชิกฯ ได้รับทราบ
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2538 คณะกรรมการธิการฯ ได้รับทราบการนำมาตรการนี้มาบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสได้ให้ข้อคิดเห็นว่าต้องมีการกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบขบวนการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ของแต่ละประเทศสมาชิกฯ ให้สอดคล้องกับมาตรา 6(6) ก่อนตั้งเป้าหมายสำหรับอนาคต ซี่งเบลเยี่ยมได้แจ้งผลการวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นว่าทุกประเทศสมาชิกฯ ได้มีการปฎิบัติตามข้อกำหนดมาตรา 6(6)แล้ว
คณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบให้บังคับให้ข้อตกลงฉบับนี้ เมื่อวันที่ 16 21 และ 24 มกราคม 2539 ในเขต Walloon Flanders และ Brussels ตามลำดับ
1.3 ข้อคิดเห็นของประเทศสมาชิก
มาตรา 6(6) ได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการฯ หารือกับประเทศสมาชิกฯ ก่อนหน้าการตัดสินออกประกาศคำสั่ง ซึ่งผลปรากฎว่าไม่มีประเทศสมาชิกฯ ใดเห็นว่ามาตรการของเบลเยี่ยมจะเป็นการบิดเบือนการค้า หรือส่งผลมิให้ประเทศสมาชิกอื่นดำเนินการได้ตามคำสั่งคณะกรรมาธิการฯ แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผลการหารือได้ชี้ถึงอุปสรรคในการประเมินผลการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อมาใช้ตามการคาดการณ์ เนื่องจากความสลับซับซ้อนของระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ ในการนี้ ฝรั่งเศสได้เสนอให้คณะกรรมาธิการฯ ให้ความเห็นชอบข้อตกลงนี้เมื่อมีการจัดตั้งฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณเป้าหมายที่ต้องบรรลุ พร้อมกันนี้ สหราชอาณาจักรได้ชี้แนะว่าควรนำข้อมูลเดิมด้านประวัติราคาและสถิติการนำวัสดุกลับมา reprocess สำหรับสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมาใช้ ประกอบการพิจารณาตั้งเป้าหมาย ซึ่งการตั้งเป้าหมายในอนาคต ควรสอดคล้องกับแผนตรวจพิจารณาเป้าหมายมาตรา 6(1) ที่ต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2544
2. การประเมินผล
สืบเนื่องจากความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น ในการรอคอยข้อมูลที่ต้องตรวจหาตามคำสั่งที่ 97/135/EC รวมทั้งไม่มีผลกระทบเกิดขึ้นจากที่กล่าวในมาตรา 6(6) คณะกรรมาธิการฯ จึงไม่เห็นควรให้เลื่อนระยะเวลาการออกประกาศคำสั่งฉบับนี้ ประเทศสมาชิกฯ สามารถสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เกินเป้าหมายได้ต่อเมื่อการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความบิดเบือนทางการค้า หรือขัดขวางต่อระบบการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้โดยประเทศสมาชิกอื่น ๆ
2.1 ความเหมาะสมในปริมาณการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้
ควรคำนึงถึงอุปสรรค ในการประเมินผลการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เพื่อให้เป็นไปตามการคาดการณ์ เนื่องจากความสลับซับซ้อนของระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศและเบลเยี่ยมได้แสดงข้อมูลสนับสนุนว่าการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เกินเป้าหมาย จะไม่ส่งผลเสียต่อขั้นตอนการดำเนินการของประเทศสมาชิกฯ อื่น กล่าวคือ ในปี 2540 มีการนำวัสดุหีบห่อที่เป็นแก้วกลับมาใช้ในอัตราร้อยละ 55 โดยไม่เกิดอุปสรรคต่อการ absorb วัสดุหีบห่อที่เป็นแก้วสีน้ำตาลหรือสีเขียวแต่อย่างใด เบลเยี่ยมมีโรงงานที่นำแก้วปริมาณ 160,000 ตัน (ต่อปี) กลับมาใช้ในขณะที่มีโรงงานนำแก้วไปใช้เป็นวัสดุลำดับรอง (second material) อีก 5 แห่ง
สำหรับกรณีหีบห่อของที่เป็นโลหะก็ไม่เป็นอุปสรรคเช่นกัน เนื่องจากอุตสาหกรรมเบลเยี่ยมมีความต้องการใช้โลหะเหล็ก (ferrous metal) ประมาณ 3.5 ล้านตัน/ปี และยังต้องนำเข้า 1.27 ล้านตัน สำหรับโลหะที่มิใช่เหล็กนั้นมีการนำกลับมาใช้มากกว่า 500,000 ตัน/ปี
สำหรับวัสดุสังเคราะห์นั้น ประเทศเบลเยี่ยมมีโรงงานหลายแห่งที่สามารถนำวัสดุกลับมาใช้ 50,000 ตัน/ปี ในขณะเดียวกันก็สามารถนำวัสดุพลาสติก 10,000 ตันกลับมาใช้ในปี 2540 โดยนำไปเผาในเตาอบซีเมนต์ ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานอีกด้วย และได้คาดการณ์ว่าปริมาณดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 60,000 ถึง 80,000 ตันต่อปี
ในปี 2540 มีกานำวัสดุกระดาษและไม้กระดานกลับมาใช้ปริมาณ 1 ล้านตัน อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมกระดาษและไม้กระดาน ยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าที่ผ่านขบวนการนำกลับมาใช้แล้วอยู่มาก
2.2 แนวโน้มในการบิดเบือนการค้าในตลาดสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการฯ ได้ประเมินอัตราการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ ซึ่งผลปรากฏว่าระบบการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้จะไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า เนื่องจากตลาดเบลเยี่ยมมีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อตรวจสอบระบบดังกล่าวเป็นระยะ ๆ
2.3 อุปสรรคต่อระบบการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อมาใช้ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ
ประเทศสมาชิกบางประเทศฯ โดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีการจัดตั้งระบบสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้อาจเผชิญกับปัญหา จากการที่เบลเยี่ยมนำระบบมาบังคับใช้หรือมีการดำเนินการสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้เกินเป้าหมาย
2.4 ขอบเขตการเลือกสะสมเก็บหรือนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ มาตรการนี้จะครอบคลุมถึงวัสดุจากของใช้ในครัวเรือนจนถึงสินค้านำเข้า
2.5 ข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก คำนึงถึงการกีดกันการค้าที่อาจเกิดจากการปกป้องในทางตรงหรือทางอ้อมของอุตสาหกรรมการผลิตของใช้แล้ว (ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าประเภทหนึ่งภายใต้มาตรา 28 ถึง 30 ของสนธิสัญญาการจัดตั้งประชาคมในประเทศสมาชิกฯ ใดประเทศหนึ่ง
3. บทสรุป
ึคณะกรรมาธิการฯ เห็นควรให้เบลเยี่ยมนำมาตรการการสะสมเก็บแนะวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ตามมาตรา 6(6) ของคำสั่ง 94/62/EC โดยได้นำประเด็นดังต่อไปนี้มาประกอบการใช้พิจารณา
- เบลเยี่ยมมีความสามารถที่เพียงพอในการสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ มาตรการจะไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้าตลาดภายในอียู
- มาตรการจะไม่เป็นอุปสรรคต่อระบบสะสมเก็บและนำวัสดุหีบห่อกลับมาใช้ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ
- มาตรการนี้จะครอบคลุมถึงวัสดุหีบห่อของใช้แล้วจากทุกแหล่ง
- มาตรการนี้จะไม่เป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
ทั้งนี้ คำสั่งฉบับนี้เป็นการรับรองการปฏิบัติของประเทศเบลเยี่ยม
4. ผลกระทบต่อประเทศไทย
การส่งออกสินค้า จากไทยสู่อียูต่างก็บรรจุหีบห่อเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารแช่แข็ง (เช่น สินค้าประมง ไก่ และอาหารพร้อมรับประทาน เป็นต้น) การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อไปในเบื้องต้นโดยสรุปคือ
4.1 การที่คณะกรรมาธิการฯ ให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอของเบลเยี่ยม นับเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่ง ในการนำประเด็นเหตุผลด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาเชื่อมโยงกับประเด็นการค้า
4.2 เป็นการเพิ่มภาระการลงทุนของผู้ประกอบการ ในการจัดเก็บวัสดุฯ หรืออาจมีการเรียกร้องให้ผู้ส่งออกมีการปรับเปลี่ยนใช้วัสดุฯ ให้เหมาะสมกับมาตรการนี้ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งตัวแทนในการจัดเก็บวัสดุฯ ซึ่งคาดว่าผู้นำเข้าอาจผลักภาระส่วนหนึ่งให้ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก
4.3 ราคาสินค้าไทยและประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ส่งสินค้เข้าอียูจะมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่ต้องคงรักษาคุณภาพและมาตรฐานให้ตรงกับกฎระเบียบของอียู รวมทั้ง ระดับราคา เพื่อให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ต่อไป
5. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
5.1 การที่คณะกรรมาธิการฯ ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของเบลเยี่ยมถือเป็นจุดเริ่มต้นในการที่จำไปใช้เป็นการทั่วไปภายในอียู ซึ่งประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะกำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว
5.2 แม้ว่าคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าวจะเน้นว่าการดำเนินการนี้ต้องไม่บิดเบือนทางการค้า อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลเบื้องต้น มาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และถือเป็นการนำมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barrier) วิธีหนึ่งมาใช้
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลล์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/30 พฤศจิกายน 2542--