ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำเดือนมิถุนายน 2543 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 118 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 43 ลดลงจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.7 ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับ 48.8 เนื่องจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านอำนาจซื้อของประชาชน การลงทุน การจ้างงาน และการส่งออกลดลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้น โดยจะปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 46.2 ในเดือนหน้า และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.5 ในช่วง ส.ค.-ต.ค. แต่ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือน มิ.ย. 43 วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอยู่ที่ระดับร้อยละ 54.4 และร้อยละ 53.4 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงสต็อกสินค้าโดยรวมลดลงจากเดือนก่อน ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ ด้านการตลาดและราคาภายในประเทศเดือน มิ.ย. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.4 เท่ากับเดือนก่อน แสดงให้เห็นถึงภาวะการแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะผลจากความต้องการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกมีการแข่งขันสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.8
2.3 ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 43 มีสภาพคล่องทางการเงินลดลง ส่งผลให้การให้เครดิตแก่ลูกค้าลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงจากเดือนก่อน อย่างต่อเนื่อง
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. 43 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และสภาพคล่องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ส่งผลต่อการลงทุนและการส่งออกเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเร่งแสวงหาตลาดใหม่ ๆ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรแปรรูป และออกมาตรการเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
3.2 รัฐบาลควรสนับสนุนเอกชนให้ลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
3.3 รัฐควรปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจที่เป็นจริง
3.4 รัฐควรมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้าและบริการที่จำเป็น
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 16.9 50 32.2 0.8
2. อำนาจซื้อของประชาชน 11.9 44.1 41.5 2.5
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 21.2 60.2 17.8 0.8
4. การจ้างงานในธุรกิจ 11.9 77.1 9.3 1.7
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 42.4 49.2 5.1 3.4
6. แนวโน้มการส่งออก 26.1 26.1 47.8 11
ตัวแปรอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 11.0 36.4 24.6 28.0
- สินค้าสำเร็จรูป 17.8 46.6 29.7 5.9
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 51.7 36.4 3.4 8.5
- ต่างประเทศ 52.9 41.2 5.9 5.9
3. ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 21.2 58.5 5.9 14.4
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 8.5 55.1 20.3 16.1
- สภาพคล่อง 5.9 50.0 28.8 15.3
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ส.ค.- ต.ค. 43
เทียบกับเดือน มิ.ย. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 22.0 55.1 7.6 15.3
- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ 33.9 34.7 13.6 17.8
- สภาพคล่อง 16.1 43.2 23.7 16.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 43 ลดลงจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.7 ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับ 48.8 เนื่องจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านอำนาจซื้อของประชาชน การลงทุน การจ้างงาน และการส่งออกลดลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้น โดยจะปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 46.2 ในเดือนหน้า และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.5 ในช่วง ส.ค.-ต.ค. แต่ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือน มิ.ย. 43 วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอยู่ที่ระดับร้อยละ 54.4 และร้อยละ 53.4 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงสต็อกสินค้าโดยรวมลดลงจากเดือนก่อน ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ ด้านการตลาดและราคาภายในประเทศเดือน มิ.ย. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.4 เท่ากับเดือนก่อน แสดงให้เห็นถึงภาวะการแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะผลจากความต้องการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกมีการแข่งขันสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.8
2.3 ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 43 มีสภาพคล่องทางการเงินลดลง ส่งผลให้การให้เครดิตแก่ลูกค้าลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงจากเดือนก่อน อย่างต่อเนื่อง
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. 43 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และสภาพคล่องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ส่งผลต่อการลงทุนและการส่งออกเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเร่งแสวงหาตลาดใหม่ ๆ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรแปรรูป และออกมาตรการเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
3.2 รัฐบาลควรสนับสนุนเอกชนให้ลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
3.3 รัฐควรปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจที่เป็นจริง
3.4 รัฐควรมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้าและบริการที่จำเป็น
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 16.9 50 32.2 0.8
2. อำนาจซื้อของประชาชน 11.9 44.1 41.5 2.5
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 21.2 60.2 17.8 0.8
4. การจ้างงานในธุรกิจ 11.9 77.1 9.3 1.7
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 42.4 49.2 5.1 3.4
6. แนวโน้มการส่งออก 26.1 26.1 47.8 11
ตัวแปรอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 11.0 36.4 24.6 28.0
- สินค้าสำเร็จรูป 17.8 46.6 29.7 5.9
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 51.7 36.4 3.4 8.5
- ต่างประเทศ 52.9 41.2 5.9 5.9
3. ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 21.2 58.5 5.9 14.4
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 8.5 55.1 20.3 16.1
- สภาพคล่อง 5.9 50.0 28.8 15.3
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ส.ค.- ต.ค. 43
เทียบกับเดือน มิ.ย. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 22.0 55.1 7.6 15.3
- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ 33.9 34.7 13.6 17.8
- สภาพคล่อง 16.1 43.2 23.7 16.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-