บทสรุปสำหรับนักลงทุน
เครื่องปรุงชนิดผงเป็นพัฒนาการจากเครื่องปรุงชนิดเครื่องแกงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตลาดมาเป็นเวลานานแล้ว โดยผ่านกรรมวิธีทำให้เป็นผงเพื่อให้สามารถคงรสชาดและเก็บรักษาไว้ได้นาน และง่ายในการขนส่งและเก็บรักษามากขึ้น อีกทั้งได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ชนิดผงทั้งเครื่องแกงและเครื่องปรุงรสอื่น ๆ เข้ามาเสริมผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้อีกจำนวนมาก เช่น เครื่องปรุงผงส้มตำ ผงน้ำพริกชนิดต่าง ๆ ผงยำชนิดต่าง ๆ ผงปรุงผัดไทย ซึ่งเครื่องปรุงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย รวมทั้งคนต่างชาติที่ชื่นชอบอาหารไทยด้วย ดังนั้นการมีเครื่องปรุงชนิดผงสำหรับอาหารกลุ่มดังกล่าว จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายในการปรุงอาหาร รวมทั้งสามารถพกพาไปใช้ในระหว่างการเดินทางได้ ส่วนตลาดสำหรับการส่งออกก็มีศักยภาพสูง เนื่องจากอาหารไทยในต่างประเทศได้รับความนิยมไปทั่วโลก การใช้เครื่องปรุงชนิดผงสำหรับคนต่างชาติจึงเป็นเรื่องที่สะดวกง่ายดายในการประกอบอาหารด้วยตนเอง
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องปรุงอาหารทั้งชนิดเครื่องแกงเปียกและผงปรุงรสรวมกันอยู่ค่อนข้างมากถึง 45 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กมีเงินทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท ถึง 21 ราย และเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง 2 ราย อย่างไรก็ตามเครื่องปรุงชนิดผงยังมีผู้ผลิตเพียง 3 ราย เท่านั้น เนื่องจากยังเป็นการดัดแปลงเครื่องปรุงรสจากแบบเปียกให้เป็นผง ซึ่งเหมาะสมสำหรับอาหารบางประเภท เช่น ผงส้มตำ ผงยำต่าง ๆ ผงน้ำพริก ผงทำผัดไทย ฯลฯ ในอนาคตอาจมีผู้ประกอบการหันมาผลิตเครื่องปรุงชนิดผงเพิ่มขึ้น
ด้านการลงทุนนั้นกิจการผลิตเครื่องปรุงชนิดผงสามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนประมาณ 7-8 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าเครื่องจักรที่ค่อนข้างราคาสูง ได้แก่ เครื่องอบแห้งชนิดใช้ความร้อน (Cabinet Dryer) เครื่องบด เครื่องผสม และเครื่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนนี้คิดเป็นประมาณ 60% ของเงินลงทุน ส่วนเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 40% ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าประมาณ 85% ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ แรงงานและหีบห่อซึ่งต้องการบรรจุด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเก็บรักษากลิ่นรสของผงปรุงรสไว้ได้นานทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านการผลิตค่อนข้างสูง และคาดการณ์ค่าการตลาดประมาณ 15%
กรณีที่ทำการผลิตและจำหน่ายเครื่องปรุงรสชนิดผงได้ 240 ตัน/ปี ณ ระดับราคา 172 บาท/กิโลกรัม โดยตลอดอายุโครงการ 5 ปี ผลตอบแทนในการจำหน่ายเครื่องปรุงรสชนิดผงประมาณ 13% ของยอดขาย จะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 61% คืนทุนได้ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี การผลิตเครื่องปรุงชนิดผงต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น มอก. 1176-2536 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำพริก ฯลฯ และต้องดำเนินการเรื่องการขึ้นทะเบียนอาหารกับคณะกรรมการอาหารและยา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เครื่องปรุงชนิดผงเป็นพัฒนาการจากเครื่องปรุงชนิดเครื่องแกงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตลาดมาเป็นเวลานานแล้ว โดยผ่านกรรมวิธีทำให้เป็นผงเพื่อให้สามารถคงรสชาดและเก็บรักษาไว้ได้นาน และง่ายในการขนส่งและเก็บรักษามากขึ้น อีกทั้งได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ชนิดผงทั้งเครื่องแกงและเครื่องปรุงรสอื่น ๆ เข้ามาเสริมผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้อีกจำนวนมาก เช่น เครื่องปรุงผงส้มตำ ผงน้ำพริกชนิดต่าง ๆ ผงยำชนิดต่าง ๆ ผงปรุงผัดไทย ซึ่งเครื่องปรุงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย รวมทั้งคนต่างชาติที่ชื่นชอบอาหารไทยด้วย ดังนั้นการมีเครื่องปรุงชนิดผงสำหรับอาหารกลุ่มดังกล่าว จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายในการปรุงอาหาร รวมทั้งสามารถพกพาไปใช้ในระหว่างการเดินทางได้ ส่วนตลาดสำหรับการส่งออกก็มีศักยภาพสูง เนื่องจากอาหารไทยในต่างประเทศได้รับความนิยมไปทั่วโลก การใช้เครื่องปรุงชนิดผงสำหรับคนต่างชาติจึงเป็นเรื่องที่สะดวกง่ายดายในการประกอบอาหารด้วยตนเอง
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องปรุงอาหารทั้งชนิดเครื่องแกงเปียกและผงปรุงรสรวมกันอยู่ค่อนข้างมากถึง 45 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กมีเงินทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท ถึง 21 ราย และเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง 2 ราย อย่างไรก็ตามเครื่องปรุงชนิดผงยังมีผู้ผลิตเพียง 3 ราย เท่านั้น เนื่องจากยังเป็นการดัดแปลงเครื่องปรุงรสจากแบบเปียกให้เป็นผง ซึ่งเหมาะสมสำหรับอาหารบางประเภท เช่น ผงส้มตำ ผงยำต่าง ๆ ผงน้ำพริก ผงทำผัดไทย ฯลฯ ในอนาคตอาจมีผู้ประกอบการหันมาผลิตเครื่องปรุงชนิดผงเพิ่มขึ้น
ด้านการลงทุนนั้นกิจการผลิตเครื่องปรุงชนิดผงสามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนประมาณ 7-8 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าเครื่องจักรที่ค่อนข้างราคาสูง ได้แก่ เครื่องอบแห้งชนิดใช้ความร้อน (Cabinet Dryer) เครื่องบด เครื่องผสม และเครื่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนนี้คิดเป็นประมาณ 60% ของเงินลงทุน ส่วนเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 40% ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าประมาณ 85% ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ แรงงานและหีบห่อซึ่งต้องการบรรจุด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเก็บรักษากลิ่นรสของผงปรุงรสไว้ได้นานทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านการผลิตค่อนข้างสูง และคาดการณ์ค่าการตลาดประมาณ 15%
กรณีที่ทำการผลิตและจำหน่ายเครื่องปรุงรสชนิดผงได้ 240 ตัน/ปี ณ ระดับราคา 172 บาท/กิโลกรัม โดยตลอดอายุโครงการ 5 ปี ผลตอบแทนในการจำหน่ายเครื่องปรุงรสชนิดผงประมาณ 13% ของยอดขาย จะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 61% คืนทุนได้ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี การผลิตเครื่องปรุงชนิดผงต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น มอก. 1176-2536 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำพริก ฯลฯ และต้องดำเนินการเรื่องการขึ้นทะเบียนอาหารกับคณะกรรมการอาหารและยา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--