ภาพรวมการค้า
โครงสร้างการค้าระหว่างประเทศของฮังการี
การค้าระหว่างประเทศของฮังการีขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการเข้าไปลงทุนของบริษัทต่างชาติ ทำให้จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการผลิตจำนวนมาก สัดส่วนของสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและอิเลคทรอนิกในมูลค่าการค้ารวมจึงสูงขึ้นทุกปี
โครงสร้างการนำเข้าสินค้าของฮังการีเปลี่ยนแปลงโดยลำดับ สินค้าสำเร็จรูปซึ่งเคยมีความสำคัญสูงสุดในมูลค่านำเข้าในช่วงปี 2537 - 2539 (ฮังการีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปร้อยละ 48 และสินค้าทุนร้อยละ 30.7 ของมูลค่านำเข้าในปี 2538) ได้เปลี่ยนมาสู่การนำเข้าสินค้าทุนและอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องจักรเป็นหลัก ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ส่วนประกอบเครื่องบันทึกเสียงและวิดีโอ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ หลอดภาพสำหรับโทรทัศน์สี อุปกรณ์โทรคมนาคม เป็นต้นมีสัดส่วนรวมร้อยละ 50.2 ของมูลค่านำเข้าปี 2542 ขณะที่สัดส่วนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปได้ลดลงเหลือร้อยละ 38.4 ของมูลค่านำเข้าในปี 2542
ด้านการส่งออกพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในทิศทางเดียวกับสินค้านำเข้า กล่าวคือ สัดส่วนของสินค้าสำเร็จรูปได้ลดลงจากร้อยละ 45.5 ในปี 2538 เหลือร้อยละ 30.7 ในปี 2542 ขณะที่การส่งออกสินค้ากลุ่มส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.6 เป็นร้อยละ 57.2 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ฮังการีขาดดุลการค้าระหว่างประเทศปีละประมาณ 2.5 - 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งชดเชยโดยเงินลงทุนจากต่างประเทศปีละ 1.5 - 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และรายได้จากการท่องเที่ยว
ด้วยเหตุที่ฮังการีเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป อาหารจึงเป็นกลุ่มสินค้าเดียวที่ฮังการีทำการค้าเกินดุลมาโดยตลอด แต่ความสำคัญของการส่งออกสินค้าอาหารเริ่มลดลง เมื่อการลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปมีบทบาทความสำคัญต่อเศรษฐกิจของฮังการีเพิ่มขึ้น สัดส่วนของการส่งออกสินค้าอาหารลดลงจากร้อยละ 20 ในปี 2538 เหลือร้อยละ 7.9 ในปี 2542 ด้านนำเข้าสัดส่วนได้ลดลงจากร้อยละ 5.3 เหลือร้อยละ 3.0 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ประเทศคู่ค้า
มากกว่าร้อยละ 85 ของมูลค่าส่งออก และร้อยละ 73 ของมูลค่านำเข้าเป็นการค้ากับประเทศในยุโรป โดยมีเยอรมัน ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรกตามลำดับ ประเทศในเอเซียที่เป็นคู่ค้าสำคัญในกลุ่ม 30 ประเทศแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซียการค้ากับประเทศไทย
แนวโน้มการค้า
การค้าระหว่างไทย-ฮังการีขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าของบริษัทต่างชาติในฮังการี มูลค่าการค้าสองฝ่ายเพิ่มขึ้นจาก 45.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2533 เป็น 174.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2542 โดยการส่งออกของไทยไปฮังการีเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2533 เป็น 162.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2542 ขณะที่การส่งออกของฮังการีมายังไทยลดลงจาก 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 11.92 ล้านเหรียญฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน
ประเทศไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าต่อฮังการีมาตั้งแต่ปี 2536 และมูลค่าเกินดุลสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 29 มีสัดส่วน 0.58 ของการนำเข้าทั้งหมด และเป็นตลาดลำดับที่ 61 มีสัดส่วน 0.047 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของฮังการีในปี 2542
ในปี 2542 ฮังการีนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 162.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 10.3% ร้อยละ 80.7 ของมูลค่าเป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักร ร้อยละ 14.3 เป็นสินค้าอุปโภคสำเร็จรูป และร้อยละ 3.9 เป็นกลุ่มสินค้าอาหารโดยสินค้าประเภทส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรและอิเลคทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญในมูลค่าส่งออกของไทยไปยังฮังการี ขณะที่สัดส่วนของมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารมีแนวโน้มลดลงทุกปี
ฮังการีส่งออกมายังไทยมูลค่า 11.925 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 48.4% ร้อยละ 57 เป็นสินค้าสำเร็จรูป และ 41.2% เป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักร และอิเลคทรอนิกส์
สินค้าส่งออกที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นการนำเข้าของโรงงานของต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในฮังการี เช่น มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถยนต์สำหรับบรรทุกสินค้าขนาดเล็ก เครื่องคอมพิเตอร์ แผง วงจรไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า อุปกรณ์สำหรับเครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ สายเคเบิล เครื่องปรับอากาศ ยางธรรมชาติ แผ่นฟิล์มพลาสติก อุปกรณ์สำหรับเครื่องอัดวิดีโอ
สินค้าอุปโภคดั่งเดิม ที่การส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางธรรมชาติ รองเท้า ชุดชั้นใน ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องประดับ เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮังการี
โครงสร้างและลักษณะสินค้าที่ฮังการีส่งออกมายังไทยมีลักษณะเดียวกับการส่งออกของไทย คือ มีความผันแปรในมูลค่าและชนิดสินค้า มีการส่งออกสินค้าใหม่ ๆ ขณะเดียวกัน สินค้าที่ส่งออกก็ผันแปรไปทุกปี
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮังการีในปี 2542 ได้แก่ สารฆ่าแมลง หลอดไฟฟ้า เลือดมนุษย์และสัตว์ที่ใช้ทางการแพทย์ เครื่องรับวิทยุ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ยา แม่เหล็กทำด้วยโลหะ จานแม่เหล็ก เครื่องคอมพิวเตอร์ แผ่นฟิล์มและกระดาษสำหรับถ่ายรูป
แนวโน้มเศรษฐกิจและการนำเข้าของฮังการีในปี 2543 - 2544
กระทรวงการคลังและหน่วยงานวิจัยเอกชนของหลายสถาบันคาดการณ์ว่า ในปี 2543 เศรษฐกิจของฮังการีจะขยายตัวอัตรา 4.5 - 5% รายได้และอำนาจซื้อของประชากรจะสูงขึ้น การว่างงานมีแนวโน้มลดลง นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้จ่าย การอุดหนุนของรัฐที่ให้แก่ครัวเรือนเพื่อขยายและซื้อที่อยู่อาศัยและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเรื่อย ๆ เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยเร่งการใช้จ่าย การบริโภคของประชาชนคาดว่าจะเพิ่ม 1.5 - 3.0% ในปีนี้ และน่าจะขยายระหว่าง 3.0 - 3.5% ในช่วงปี 2544 - 2546 การส่งออกและนำเข้าของประเทศจะขยายตัวในทิศทางเดียวกัน ประมาณ 12 - 14% ในปี 2543
สาขาอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวสูง คือ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ได้แก่ อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์และโรงแรม และเส้นทางคมนาคม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัวและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศเช่นที่ผ่านมา การลงทุนและการขยายการผลิตของบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนใน Duty-free Industrial Regions เพื่อการ ส่งออกและปัจจุบันมีการส่งออกเป็นสัดส่วนถึง 43% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดของฮังการี น่าจะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและการนำเข้ามากขึ้น ความต้องการสินค้าประเภทส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกยังเป็นสินค้าที่มีความต้องการซื้อสูง ขณะเดียวกันฮังการีเองก็มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้เข้าไปลงทุนหันมาใช้ส่วนประกอบและอุปกรณ์ผลิตภายในประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้น การแข่งขันกันเองในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกที่จัดส่งสินค้ากึ่งสำเร็จรูปไปยังโรงงานในฮังการีจึงสูงขึ้นด้วย
กิจการห้างขนาดใหญ่ที่เปิดขึ้นใหม่เรื่อย ๆ และการแข่งขันกันโฆษณาประชาสัมพันธ์ ช่วยสร้างแรงจูงใจในการซื้อ ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคจึงยังขยายได้อีกมาก เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย สินค้าอาหาร ของใช้สำหรับครัวเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้ผู้ค้าจะมุ่งเน้นสินค้าใหม่ ๆ ทั้งรูปแบบ การใช้งาน และประโยชน์ใช้สอย ซึ่งการแข่งขันของ ผู้ค้าจะมีความรุนแรงขึ้น สินค้าคุณภาพและราคาปานกลางจะได้รับความนิยมและมีความต้องการสูง
นโยบายการนำเข้าและภาษี
ฮังการีเปิดเสรีทางการค้ารวดเร็วหลังปี 2532 ประมาณร้อยละ 96 ของมูลค่านำเข้าในปี 2542 เป็นสินค้าที่นำเข้าได้เสรีโดยไม่ต้องขอใบอนุญาต (License) จากรัฐบาล สินค้าที่ยังจำเป็นต้องขออนุญาตก่อนนำเข้าเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ โลหะมีค่า ยุทธปัจจัย และผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด
เมื่อ 1 มกราคม 2540 ฮังการีได้ประกาศยกเลิกโควต้านำเข้าสินค้าอุปโภคบางชนิดจากประเทศสมาชิก WTO (แต่ให้คงโควต้าไว้สำหรับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO) สินค้าเหล่านี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติกบางชนิด (HS: 3915, 3921, 3926) เศษยาง (HS: 4004, 4017, 4100, 4302, 4707, 5003, 5103) เครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียม (HS: 7107, 7117) ของชำร่วย (HS: 8306) และส่วนประกอบสายโทรศัพท์ (HS: 8517)
ฮังการีได้ประกาศยกเลิกรายการสินค้าควบคุมที่นำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO เพิ่มเติมอีก 4 รายการ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว ด้าย เชือกและพรม รถยนต์ที่มีขนาดเกินกว่า 1500 ซีซี ผลิตภัณฑ์และเครื่องรับวิทยุที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศ (แต่ให้คงโควต้าไว้สำหรับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO)
สินค้าที่ยังอยู่ในรายการควบคุมนำเข้า (Global Import Quota) ในปี 2543 มีจำนวน 7 รายการ สำหรับประเทศสมาชิก WTO ได้แก่ เคมีภัณฑ์สำหรับครัวเรือน รองเท้า รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่น ๆ ที่ทำด้วยไม้ เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า รถยนต์ใหม่ รถยนต์เก่า และปลากระป๋อง กำหนดมูลค่าไว้รวม 322.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2542 ที่ผ่านมาโควต้าถูกใช้ไปเพียงร้อยละ 60 - 70 ของมูลค่าที่กำหนด และไม่มีรายการใดเลยที่ถูกใช้โควต้าจนหมด
อัตราภาษีนำเข้าจากประเทศคู่ค้าที่มีฐานะ MFN (Most Favored Nation) ได้ลดลงจากระดับเฉลี่ย 13.6% เมื่อปี 2534 เหลือ 8% ในปี 2541 เป็นไปตามพันธะผูกพันต่อการเจรจารอบอุรุกวัย นอกจากนี้ ได้ดำเนินการยกเลิกค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการนำเข้าสินค้าที่เริ่มนำมาใช้เมื่อปี 2538 สำหรับการนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO เช่น ยกเลิกการเก็บ Import Surcharge เมื่อ 1 กรกฎาคม 2540 ต่อมา ยกเลิก Statistic Fee อัตรา 2% และ Customs Clearance Fee เมื่อ 1 มกราคม 2540
ฮังการียังคงให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (Generalized System of Preference : GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยในลักษณะการให้ฝ่ายเดียว สินค้าส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสการแข่งขันของไทยในตลาด อัตราภาษีภายใต้ GSP สินค้าหลายชนิดมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2542 ฮังการีได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าภายใต้ GSP ลงหลายรายการที่สำคัญ เช่น ข้าวสาร (จาก 45% เหลือ 37.6%) ผลไม้เมืองร้อน (จาก 0 - 13.0% เหลือ 0 - 12.8%) ผ้าผืนทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์ (จาก 0 - 9.5% เหลือ 0 - 8.8%) เคหะสิ่งทอบางชนิด เช่น ผ้าห่ม ผ้าที่นอน ฯลฯ (ลดจาก 0 - 13% เหลือ 0 - 11.6%) เครื่องคิดเลขไฟฟ้า (จาก 0 - 10.0% เหลือ 0 - 5.1%) ผู้ส่งออกไทยจึงควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางภาษีนี้ให้มากขึ้นข้อกำหนดในการนำเข้าและการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
- การประเมินเพื่อจัดเก็บภาษี (Customs Valuation) ประกอบด้วย
- ภาษีนำเข้า (Duty) ฮังการีได้ตัดทอนภาษีนำเข้าลงจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 50 เมื่อปี 2536 เหลือประมาณร้อยละ 8 ในปี 2542 ได้ยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าที่ริเริ่มในปี 2538 จนหมดสิ้นตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2540 รวมทั้งลดอัตราภาษีนำเข้าลงโดยลำดับ อัตราภาษีเฉลี่ยที่จัดเก็บปี 2542 เฉลี่ยประมาณ 7% สำหรับสินค้า อุตสาหกรรม และประมาณ 11% สำหรับสินค้าเกษตร ภาษีที่จัดเก็บประเมินจากฐาน CIF บวก ค่าประกันภัย (Insurance) และค่าขนส่ง (Freight)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เก็บในอัตราทั่วไปร้อยละ 25 ในการซื้อขายสินค้าทุกชนิด
- ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และน้ำมัน หรือภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Tax) จัดเก็บในการค้ารถยนต์ เครื่องประดับ และสินค้าประเภท High-end Products
- เอกสารการนำเข้า (Import Documents) ผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าต้องจัดทำเอกสาร VAM 91 เพื่อสำแดงชนิดและประเภทของสินค้า โดยขอรับเอกสารและระหัสสินค้า (Product Code Number) ได้จาก Hungarian Central Statistical Office ซึ่งโดยทั่วไปก็สามารถขอข้อมูลได้จากผู้นำเข้า
- การควบคุมนำเข้า ฮังการีคงควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคภายใต้โควต้า (Global Import Quotas) มีรายการสินค้าควบคุมสำหรับแหล่งส่งออกที่เป็นสมาชิก WTO ในปี 2543 จำนวน 7 ชนิดสินค้า ได้แก่ เคมีภัณฑ์สำหรับครัวเรือน รองเท้า รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่นที่ทำด้วยไม้ เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า รถยนต์ใหม่ รถยนต์เก่า และปลากระป๋อง กำหนดมูลค่านำเข้าไว้สูงสุดไม่กิน 322.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2542 ที่ผ่านมาโควต้าที่กำหนดถูกใช้ไปเพียงร้อยละ 60 - 70 เท่านั้น
- การห้ามนำเข้า (Prohibited Imports) Hungarian Gazette Section 186/a ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าว่าเป็นไปโดยเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิด เช่น การนำเข้าพืชและสัตว์ที่อยู่ในรายการที่คุ้มครอง (Endangered Spicies) สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ยาบางชนิด กฎหมายกำหนดให้กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ GMOs เช่น การจัดทำห้องวิจัย การตัดแต่งพันธุ์ การค้า การนำเข้า-ส่งออก ต้องได้รับอนุญาตจาก Biotechnology Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเศรษฐกิจ
- การตรวจสอบคุณภาพสินค้า สินค้าอุปโภค-บริโภคที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในฮังการีต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น Commercial Quality Control Institute (KERMI) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าอุตสาหกรรม Institute for Drugs ดูแลการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานยา และ The Quality Control Office of the Building Industry รับผิดชอบสินค้าอุปกรณ์การก่อสร้าง เป็นต้น
กรณีสินค้าอาหารภายใต้ Food Law ฮังการีกำหนดระบบการตรวจสอบค่อนข้างรัดกุม สินค้าที่เข้าไปวางจำหน่ายต้องผ่านการตรวจสอบ และได้รับเอกสารรับรองคุณภาพจาก 2 หน่วยงาน คือ
- หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ หรือ Commercial Quality Control Institute (KERMI) รับผิดชอบการตรวจสอบรูปลักษณ์ของสินค้า การปิดป้าย และสลาก และการบรรจุภัณฑ์
- หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพสารอาหารและการทดสอบทางชีวภาพ หรือ National Institute of Food
Hygiene and Nutrition (OETI) ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบคุณภาพของสารอาหารที่เหมาะสมกับการบริโภค สารตกค้าง และสิ่งเจือปนอื่น ๆ
การส่งสินค้าเข้าตรวจสอบต้องมีผู้นำเข้าเป็นผู้ดำเนินการ โดยจัดส่งตัวอย่างสินค้าไม่น้อยกว่า 8 ชุด ใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 1 เดือน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อสินค้า หากสินค้าผ่านการตรวจสอบ KERMI และ OETI จะออกเอกสารและให้หมายเลขอ้างอิงเพื่อใช้กำกับสินค้าที่นำเข้า เอกสารดังกล่าวมีอายุใช้งาน 3 ปี เมื่อครบกำหนดต้องนำสินค้าเข้ารับการตรวจสอบใหม่ ในช่วงที่สินค้าวางตลาด กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขดำเนินการสุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีมาตรฐานตามกฎหมาย
- การปิดสลากสินค้า (Labeling, Marking Requirements) ฮังการีมีระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการปิดสลากสินค้าอาหาร เครื่องสำอาง และของใช้ในครัวเรือน ซึ่งบังคับใช้ทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้า โดยสลากดังกล่าวต้องเป็นภาษาฮังกาเรียน ให้ข้อมูลที่จำเป็น เช่น
- สินค้าอาหารต้องระบุปริมาณสุทธิ ชื่อ และที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า วันที่สินค้าหมดอายุ วิธีการเก็บรักษา รายละเอียดเครื่องปรุงที่ใช้ รวมทั้งสารปรุงแต่ง และปริมาณพลังงานที่จะได้รับจากการบริโภค นอกจากนี้ ต้องระบุหมายเลขระหัสสินค้าที่ออกให้โดยหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน คือ สถาบันอนามัยและโภชนาการแห่งชาติ (National Institute of Food Hygiene and Nutrition : OETI) และ/หรือสถาบันตรวจสอบคุณภาพ (Commercial Quality Testing Institute : KERMI)
- สินค้าเครื่องสำอาง (ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ OETI ต้องมีสลากให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสินค้า การใช้งาน ข้อควรระวังในการใช้ ข้อแนะนำ วันที่ผลิต และวันที่หมดอายุ ปริมาณสินค้า และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า
- มาตรฐานสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานแห่งชาติ (National Standard) และมาตรฐานเฉพาะสาขา (Sectoral Standard)
- มาตรฐานแห่งชาติ อยู่ในความรับผิดชอบของ Hungarian Standard Office ซึ่งมีหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติตาม มาตรฐานสากล ฮังการีเป็นสมาชิกของ GATT Agreement on Technical Barriers to Trade (Standard Code) เข้าร่วมใน International Standardization Organization (ISO) และ International Electro-technical Commission (IEC) ในการค้าสินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิด ผู้นำเข้าให้ความสำคัญต่อมาตรฐาน ISO และมักถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการพิจารณาซื้อสินค้า
- มาตรฐานเฉพาะสาขา อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง และองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น สินค้าอุปโภค (Consumer Goods) อยู่ภายใต้การตรวจสอบของ KERMI และ/หรือ Hungarian Electro-technical Control Institute (MEEI) ซึ่งรับผิดชอบการตรวจสอบเครื่องไฟฟ้าและเครื่องมือทางเทคนิกต่าง ๆ การนำเข้าไปจำหน่ายจึงต้องส่งตัวอย่างและขอรับเอกสารรับรองการตรวจสอบจาก MEEI จึงจะสามารถชำระภาษีและนำเข้าสินค้าออกจากศุลกากรได้
- กรณีสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ มีหน่วยงาน Traffic Inspectorate Office รับผิดชอบการตรวจสอบมาตรฐานโดยแบ่งมาตรฐานที่กำหนดออกเป็น 2 ส่วน คือ มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย (Traffic Safety) และมาตรฐานการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเพื่อประหยัดพลังงาน (Environment Protection and Energy Saving) นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์บางชนิดต้องมีใบอนุญาต (License) มาตรฐานและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าที่กำหนดไว้ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้นำเข้ามักสนใจซื้อสินค้าเฉพาะจากบริษัทส่งออกที่ได้เอกสารรับรอง เช่น ISO Certificate และ E-Mark เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าของตน ผู้ผลิตสินค้าไทยที่ได้รับเอกสารรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับระหว่างประเทศจะได้เปรียบและเป็นจุดขายที่ดีในการค้า
ปัจจุบันยังไม่มีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนในฮังการี แต่หากผู้ประกอบการของไทยมีความพร้อมและสนใจก็น่าจะพิจารณาเข้าไปวางรากฐาน และเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในระยะเวลาอันใกล้ สาขาธุรกิจที่ประเทศไทยน่าจะมีความพร้อม ได้แก่ การจัดตั้งคลังเก็บสำรองและกระจายสินค้าเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ธุรกิจค้าส่ง การบริหารโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว และกิจการภัตตาคารอาหารไทย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และผลประโยชน์ของไทย
ไทยและฮังการีมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับรัฐบาลและเอกชน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ การค้าไม่มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ นอกจากนี้ สินค้าหลายชนิดที่ส่งออกจากไทยไปยังฮังการีได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีในอัตราต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์สองฝ่ายยังจำกัดเฉพาะการนำเข้า-ส่งออก ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนนักลงทุนระหว่างกัน และความสนใจของเอกชนแต่ละฝ่ายที่จะใช้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์เพื่อเชื่อมต่อกับตลาดในแต่ละภูมิภาคยังมีน้อย
รัฐบาลและองค์กรเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้จัดให้มีการลงนามความตกลงร่วมกันหลายฉบับเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังทั้งสองฝ่ายที่สำคัญ ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย-ฮังการี (Trade Agreement เมื่อปี ค.ศ. 1979) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน (Treaty on the Elimination of Double Taxation ปี ค.ศ. 1989) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศไทย-ฮังการี (ปี ค.ศ. 1993) และล่าสุดได้มีการลงนามความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปี ค.ศ. 1999)
ในส่วนของภาคเอกชนได้มีการลงนามพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าฮังการีกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปี ค.ศ. 1981 และการลงนามความร่วมมือระหว่างธนาคารศรีอยุธยา จำกัด และสำนักงานทรัพย์สินของรัฐบาลฮังการี (Stae Property Agency) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น State Privatization and Holding Company หรือเรียกย่อว่า APV Rt.)
ในฮังการีมีกลุ่มนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สนใจต่อประเทศในเอเซีย ร่วมกันจัดตั้ง Hungarian Far Eastern Business Association ตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Hungarian Asia-Pacific Business Association เพื่อให้ขยายขอบข่ายความร่วมมือให้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักธุรกิจฮังกาเรียนที่มีความสนใจต่อประเทศไทยจัดตั้ง Thai - Hungarian Friendship Society ขึ้นเมื่อปี 2539 และเพื่อประโยชน์ทางการสร้างเครือข่ายการค้าในฮังการี สถานเอกอัครราชทูตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้า ณ กรุงบูดาเปสต์ได้ประกาศจัดตั้ง Thai Hungarian Business Club เมื่อปี 2542 โดยรวบรวมนักธุรกิจที่นำเข้าสินค้าจากไทยและที่มีศักยภาพที่จะเป็นคู่ค้า จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันในการแนะนำและส่งเสริมการค้าของไทยในฮังการีอย่างต่อเนื่องปัญหา อุปสรรค และโอกาสของสินค้าไทย
ฮังการียังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง (Middle-income Country) เป็นตลาดใหม่ที่พร้อมจะเปิดรับสินค้าจากทุกประเทศ ผู้บริโภคให้ความสนใจต่อราคาเป็นอันดับแรก การแข่งขันในกลุ่มผู้ค้าจึงสูง และตลาดเองก็ยังมีข้อจำกัดที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ผู้ส่งออกไทยมองข้าม ที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการสั่งซื้อที่มีจำนวนคราวละไม่มาก การหลีกเลี่ยงเปิด L/C การขอเครดิตระยะสั้น 30 - 120 วัน นอกจากนี้พื้นฐานความสัมพันธ์และวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ผู้นำเข้ายังเป็นรายย่อย ๆ นิยมซื้อสินค้าไทยผ่านประเทศในยุโรป เพราะสะดวกในการสั่งซื้อ การส่งมอบและการจ่ายเงิน การเข้าไปเจาะขยายตลาด ผู้ประกอบการไทยต้องยอมรับและปรับกลยุทธให้เข้ากับสภาพตลาดที่เป็นอยู่ การช่วยเหลือของภาครัฐด้านเครดิตและการค้ำประกันเพื่อการส่งออก และการให้แรงจูงใจอื่น ๆ น่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการไทยมากขึ้น
ด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจ ทำเลที่ตั้ง และนโยบายของฮังการีที่ต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงมุ่งทำการค้ากับประเทศในยุโรปด้วยกันเป็นหลัก ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จึงพบว่าการส่งออกของฮังการีมายัง เอเซียลดน้อยลง ขณะที่การนำเข้าสูงขึ้น เป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ รายได้และอำนาจซื้อของประชาชนสูงขึ้น ความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคจึงเพิ่มขึ้น และการเข้าไปลงทุนของบริษัทต่างชาติ ประเภท Multinational Company ซึ่งมีเครือข่ายการซื้อวัตถุดิบ และตลาดกว้างขวาง ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการผลิตจากประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปใช้ประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก สินค้าไทยจึงได้รับประโยชน์อย่างมากจากแนวโน้มดังกล่าว การส่งออกของไทยไปฮังการีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จึงเน้นหนักไปที่สินค้าเพื่อการผลิตสำหรับป้อนโรงงานต่างชาติที่เข้าไปตั้งฐานในฮังการี สินค้าเหล่านี้ยิ่งต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรง เพราะแต่ละประเทศกำลังพัฒนาต่างมีเทคโนโลยีการผลิตและมาตรฐานสินค้าคล้ายคลึงกัน การสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดในลักษณะเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและการเข้าไปแนะนำสินค้าอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็น
สินค้าไทยที่มีลู่ทางขยายการส่งออกไปฮังการีแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ สินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกดั่งเดิมของไทย แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น แต่การส่งออกก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น สินค้าอาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ รองเท้า และผลิตภัณฑ์หนัง ของขวัญและของชำร่วย ยางธรรม- ชาติ เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ เตาอบไฟฟ้าขนาดเล็ก พัดลม และไมโครเวฟ เป็นต้น
สินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อมูลค่าส่งออกของไทยสูงขึ้นโดยลำดับ ได้แก่ สินค้าเพื่อการผลิต ซึ่งนำเข้าโดยบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุน สาขาอุตสาหกรรมที่กำลังขยาย ได้แก่ เครื่องจักรอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม สินค้าที่ฮังการีจำเป็นต้องนำเข้าสูง และไทยมีศักยภาพส่งออก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า แผ่นเทปและ ซีดีสำหรับบันทึกข้อมูล อุปกรณ์สำหรับวิทยุ โทรศัพท์
ในส่วนของการลงทุน ฮังการีเปิดกว้างในทุกสาขาธุรกิจ ทั้งการค้าส่ง-ค้าปลีก ธุรกิจบริการ เช่น บริการท่องเที่ยว กิจการโรงแรม และการเปิดร้านอาหารไทยซึ่งกำลังได้รับความนิยม และไทยมีความชำนาญสูง นอกจากนี้ ไทยยังอาจพิจารณาใช้ฮังการีเป็นฐานผลิตและกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น การ่วมมือกับผู้ประกอบการในฮังการีจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทย เพื่อให้มีสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง และวางจำหน่ายในตลาดอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าปัจจุบันสินค้าไทยจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่การแข่งขันของตลาด โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนาที่ผลิตและส่งออกสินค้าคล้ายคลึงกัน หลายประเทศมีความได้เปรียบกว่าไทยด้านค่าจ้างแรงงาน สินค้าไทยหลายชนิดเริ่มเสียเปรียบผู้ผลิตจากแหล่งอื่น เช่น จีน เวียตนาม มาเลเซีย เม็กซิโก บราซิล ตุรกี เป็นต้น ขณะเดียวกันการแข่งขันของตลาด ทำให้ผู้นำเข้าและค้าส่งให้ความสำคัญกับราคา คุณภาพ การออกแบบสินค้าที่เป็นแฟชั่น และการบรรจุภัณฑ์ การโฆษณาเข้าไปมีบทบาทต่อการนำเสนอสินค้าต่อผู้ซื้อ จึงจำเป็นต้องยกระดับสินค้าไทยออกจากสินค้าราคาถูก สร้างภาพลักษณ์ เรื่องคุณภาพ มาตรฐาน ความน่าเชื่อถือ เน้นการสร้างความแตกต่างของสินค้าไทยจากสินค้าที่ผลิตจากแหล่งอื่น ในภาวะตลาดที่เป็นอยู่นี้ การประชาสัมพันธ์และจัดแนะนำสินค้าไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง ทั้งโดยร่วมมือกับผู้นำเข้า และการจัดคณะเดินทางออกไปแนะนำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและพบปะผู้นำเข้า
การที่ฮังการีเป็นฐานผลิตสินค้าให้แก่บริษัทขนาดใหญ่จากทั่วโลก ทำให้ฮังการีสามารถและอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเป็นคู่แข่งขันของสินค้าไทย โดยเฉพาะสำหรับการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป ประเทศในยุโรปกลางและ ยุโรปตะวันออก ผู้ผลิตและส่งออกของไทยต้องพร้อมที่จะเข้าแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเหล่านี้
ฮังการีได้เริ่มขบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้วตั้งแต่มีนาคม 2541 มีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการค้า ทำให้เชื่อว่าในระยะอันใกล้นี้ฮังการีคงต้องรับเอามาตรฐานและกฎระเบียบการค้าของสหภาพยุโรปมาเริ่มบังคับใช้ ซึ่งก็จะเข้มงวด และมีขั้นตอนตรวจสอบรัดกุมยิ่งขึ้น ผู้ต้องการเข้าไปเจาะตลาดรายใหม่ ๆ จึงควรเร่งเข้าไปวางรากฐานตั้งแต่ขณะนี้ สินค้าที่เข้าสู่ตลาดก่อนและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคก็จะมีความได้เปรียบสูงขึ้น
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมกาค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 17/2543 วันที่ 17 กันยายน 2543--
-อน-
โครงสร้างการค้าระหว่างประเทศของฮังการี
การค้าระหว่างประเทศของฮังการีขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการเข้าไปลงทุนของบริษัทต่างชาติ ทำให้จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการผลิตจำนวนมาก สัดส่วนของสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและอิเลคทรอนิกในมูลค่าการค้ารวมจึงสูงขึ้นทุกปี
โครงสร้างการนำเข้าสินค้าของฮังการีเปลี่ยนแปลงโดยลำดับ สินค้าสำเร็จรูปซึ่งเคยมีความสำคัญสูงสุดในมูลค่านำเข้าในช่วงปี 2537 - 2539 (ฮังการีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปร้อยละ 48 และสินค้าทุนร้อยละ 30.7 ของมูลค่านำเข้าในปี 2538) ได้เปลี่ยนมาสู่การนำเข้าสินค้าทุนและอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องจักรเป็นหลัก ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ส่วนประกอบเครื่องบันทึกเสียงและวิดีโอ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ หลอดภาพสำหรับโทรทัศน์สี อุปกรณ์โทรคมนาคม เป็นต้นมีสัดส่วนรวมร้อยละ 50.2 ของมูลค่านำเข้าปี 2542 ขณะที่สัดส่วนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปได้ลดลงเหลือร้อยละ 38.4 ของมูลค่านำเข้าในปี 2542
ด้านการส่งออกพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในทิศทางเดียวกับสินค้านำเข้า กล่าวคือ สัดส่วนของสินค้าสำเร็จรูปได้ลดลงจากร้อยละ 45.5 ในปี 2538 เหลือร้อยละ 30.7 ในปี 2542 ขณะที่การส่งออกสินค้ากลุ่มส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.6 เป็นร้อยละ 57.2 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ฮังการีขาดดุลการค้าระหว่างประเทศปีละประมาณ 2.5 - 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งชดเชยโดยเงินลงทุนจากต่างประเทศปีละ 1.5 - 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และรายได้จากการท่องเที่ยว
ด้วยเหตุที่ฮังการีเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป อาหารจึงเป็นกลุ่มสินค้าเดียวที่ฮังการีทำการค้าเกินดุลมาโดยตลอด แต่ความสำคัญของการส่งออกสินค้าอาหารเริ่มลดลง เมื่อการลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปมีบทบาทความสำคัญต่อเศรษฐกิจของฮังการีเพิ่มขึ้น สัดส่วนของการส่งออกสินค้าอาหารลดลงจากร้อยละ 20 ในปี 2538 เหลือร้อยละ 7.9 ในปี 2542 ด้านนำเข้าสัดส่วนได้ลดลงจากร้อยละ 5.3 เหลือร้อยละ 3.0 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ประเทศคู่ค้า
มากกว่าร้อยละ 85 ของมูลค่าส่งออก และร้อยละ 73 ของมูลค่านำเข้าเป็นการค้ากับประเทศในยุโรป โดยมีเยอรมัน ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรกตามลำดับ ประเทศในเอเซียที่เป็นคู่ค้าสำคัญในกลุ่ม 30 ประเทศแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซียการค้ากับประเทศไทย
แนวโน้มการค้า
การค้าระหว่างไทย-ฮังการีขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าของบริษัทต่างชาติในฮังการี มูลค่าการค้าสองฝ่ายเพิ่มขึ้นจาก 45.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2533 เป็น 174.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2542 โดยการส่งออกของไทยไปฮังการีเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2533 เป็น 162.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2542 ขณะที่การส่งออกของฮังการีมายังไทยลดลงจาก 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 11.92 ล้านเหรียญฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน
ประเทศไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าต่อฮังการีมาตั้งแต่ปี 2536 และมูลค่าเกินดุลสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 29 มีสัดส่วน 0.58 ของการนำเข้าทั้งหมด และเป็นตลาดลำดับที่ 61 มีสัดส่วน 0.047 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของฮังการีในปี 2542
ในปี 2542 ฮังการีนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 162.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 10.3% ร้อยละ 80.7 ของมูลค่าเป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักร ร้อยละ 14.3 เป็นสินค้าอุปโภคสำเร็จรูป และร้อยละ 3.9 เป็นกลุ่มสินค้าอาหารโดยสินค้าประเภทส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรและอิเลคทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญในมูลค่าส่งออกของไทยไปยังฮังการี ขณะที่สัดส่วนของมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารมีแนวโน้มลดลงทุกปี
ฮังการีส่งออกมายังไทยมูลค่า 11.925 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 48.4% ร้อยละ 57 เป็นสินค้าสำเร็จรูป และ 41.2% เป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักร และอิเลคทรอนิกส์
สินค้าส่งออกที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นการนำเข้าของโรงงานของต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในฮังการี เช่น มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถยนต์สำหรับบรรทุกสินค้าขนาดเล็ก เครื่องคอมพิเตอร์ แผง วงจรไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า อุปกรณ์สำหรับเครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ สายเคเบิล เครื่องปรับอากาศ ยางธรรมชาติ แผ่นฟิล์มพลาสติก อุปกรณ์สำหรับเครื่องอัดวิดีโอ
สินค้าอุปโภคดั่งเดิม ที่การส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางธรรมชาติ รองเท้า ชุดชั้นใน ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องประดับ เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮังการี
โครงสร้างและลักษณะสินค้าที่ฮังการีส่งออกมายังไทยมีลักษณะเดียวกับการส่งออกของไทย คือ มีความผันแปรในมูลค่าและชนิดสินค้า มีการส่งออกสินค้าใหม่ ๆ ขณะเดียวกัน สินค้าที่ส่งออกก็ผันแปรไปทุกปี
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮังการีในปี 2542 ได้แก่ สารฆ่าแมลง หลอดไฟฟ้า เลือดมนุษย์และสัตว์ที่ใช้ทางการแพทย์ เครื่องรับวิทยุ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ยา แม่เหล็กทำด้วยโลหะ จานแม่เหล็ก เครื่องคอมพิวเตอร์ แผ่นฟิล์มและกระดาษสำหรับถ่ายรูป
แนวโน้มเศรษฐกิจและการนำเข้าของฮังการีในปี 2543 - 2544
กระทรวงการคลังและหน่วยงานวิจัยเอกชนของหลายสถาบันคาดการณ์ว่า ในปี 2543 เศรษฐกิจของฮังการีจะขยายตัวอัตรา 4.5 - 5% รายได้และอำนาจซื้อของประชากรจะสูงขึ้น การว่างงานมีแนวโน้มลดลง นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้จ่าย การอุดหนุนของรัฐที่ให้แก่ครัวเรือนเพื่อขยายและซื้อที่อยู่อาศัยและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเรื่อย ๆ เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยเร่งการใช้จ่าย การบริโภคของประชาชนคาดว่าจะเพิ่ม 1.5 - 3.0% ในปีนี้ และน่าจะขยายระหว่าง 3.0 - 3.5% ในช่วงปี 2544 - 2546 การส่งออกและนำเข้าของประเทศจะขยายตัวในทิศทางเดียวกัน ประมาณ 12 - 14% ในปี 2543
สาขาอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวสูง คือ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ได้แก่ อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์และโรงแรม และเส้นทางคมนาคม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัวและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศเช่นที่ผ่านมา การลงทุนและการขยายการผลิตของบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนใน Duty-free Industrial Regions เพื่อการ ส่งออกและปัจจุบันมีการส่งออกเป็นสัดส่วนถึง 43% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดของฮังการี น่าจะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและการนำเข้ามากขึ้น ความต้องการสินค้าประเภทส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกยังเป็นสินค้าที่มีความต้องการซื้อสูง ขณะเดียวกันฮังการีเองก็มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้เข้าไปลงทุนหันมาใช้ส่วนประกอบและอุปกรณ์ผลิตภายในประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้น การแข่งขันกันเองในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกที่จัดส่งสินค้ากึ่งสำเร็จรูปไปยังโรงงานในฮังการีจึงสูงขึ้นด้วย
กิจการห้างขนาดใหญ่ที่เปิดขึ้นใหม่เรื่อย ๆ และการแข่งขันกันโฆษณาประชาสัมพันธ์ ช่วยสร้างแรงจูงใจในการซื้อ ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคจึงยังขยายได้อีกมาก เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย สินค้าอาหาร ของใช้สำหรับครัวเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้ผู้ค้าจะมุ่งเน้นสินค้าใหม่ ๆ ทั้งรูปแบบ การใช้งาน และประโยชน์ใช้สอย ซึ่งการแข่งขันของ ผู้ค้าจะมีความรุนแรงขึ้น สินค้าคุณภาพและราคาปานกลางจะได้รับความนิยมและมีความต้องการสูง
นโยบายการนำเข้าและภาษี
ฮังการีเปิดเสรีทางการค้ารวดเร็วหลังปี 2532 ประมาณร้อยละ 96 ของมูลค่านำเข้าในปี 2542 เป็นสินค้าที่นำเข้าได้เสรีโดยไม่ต้องขอใบอนุญาต (License) จากรัฐบาล สินค้าที่ยังจำเป็นต้องขออนุญาตก่อนนำเข้าเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ โลหะมีค่า ยุทธปัจจัย และผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด
เมื่อ 1 มกราคม 2540 ฮังการีได้ประกาศยกเลิกโควต้านำเข้าสินค้าอุปโภคบางชนิดจากประเทศสมาชิก WTO (แต่ให้คงโควต้าไว้สำหรับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO) สินค้าเหล่านี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติกบางชนิด (HS: 3915, 3921, 3926) เศษยาง (HS: 4004, 4017, 4100, 4302, 4707, 5003, 5103) เครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียม (HS: 7107, 7117) ของชำร่วย (HS: 8306) และส่วนประกอบสายโทรศัพท์ (HS: 8517)
ฮังการีได้ประกาศยกเลิกรายการสินค้าควบคุมที่นำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO เพิ่มเติมอีก 4 รายการ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว ด้าย เชือกและพรม รถยนต์ที่มีขนาดเกินกว่า 1500 ซีซี ผลิตภัณฑ์และเครื่องรับวิทยุที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศ (แต่ให้คงโควต้าไว้สำหรับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO)
สินค้าที่ยังอยู่ในรายการควบคุมนำเข้า (Global Import Quota) ในปี 2543 มีจำนวน 7 รายการ สำหรับประเทศสมาชิก WTO ได้แก่ เคมีภัณฑ์สำหรับครัวเรือน รองเท้า รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่น ๆ ที่ทำด้วยไม้ เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า รถยนต์ใหม่ รถยนต์เก่า และปลากระป๋อง กำหนดมูลค่าไว้รวม 322.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2542 ที่ผ่านมาโควต้าถูกใช้ไปเพียงร้อยละ 60 - 70 ของมูลค่าที่กำหนด และไม่มีรายการใดเลยที่ถูกใช้โควต้าจนหมด
อัตราภาษีนำเข้าจากประเทศคู่ค้าที่มีฐานะ MFN (Most Favored Nation) ได้ลดลงจากระดับเฉลี่ย 13.6% เมื่อปี 2534 เหลือ 8% ในปี 2541 เป็นไปตามพันธะผูกพันต่อการเจรจารอบอุรุกวัย นอกจากนี้ ได้ดำเนินการยกเลิกค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการนำเข้าสินค้าที่เริ่มนำมาใช้เมื่อปี 2538 สำหรับการนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO เช่น ยกเลิกการเก็บ Import Surcharge เมื่อ 1 กรกฎาคม 2540 ต่อมา ยกเลิก Statistic Fee อัตรา 2% และ Customs Clearance Fee เมื่อ 1 มกราคม 2540
ฮังการียังคงให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (Generalized System of Preference : GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยในลักษณะการให้ฝ่ายเดียว สินค้าส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสการแข่งขันของไทยในตลาด อัตราภาษีภายใต้ GSP สินค้าหลายชนิดมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2542 ฮังการีได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าภายใต้ GSP ลงหลายรายการที่สำคัญ เช่น ข้าวสาร (จาก 45% เหลือ 37.6%) ผลไม้เมืองร้อน (จาก 0 - 13.0% เหลือ 0 - 12.8%) ผ้าผืนทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์ (จาก 0 - 9.5% เหลือ 0 - 8.8%) เคหะสิ่งทอบางชนิด เช่น ผ้าห่ม ผ้าที่นอน ฯลฯ (ลดจาก 0 - 13% เหลือ 0 - 11.6%) เครื่องคิดเลขไฟฟ้า (จาก 0 - 10.0% เหลือ 0 - 5.1%) ผู้ส่งออกไทยจึงควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางภาษีนี้ให้มากขึ้นข้อกำหนดในการนำเข้าและการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
- การประเมินเพื่อจัดเก็บภาษี (Customs Valuation) ประกอบด้วย
- ภาษีนำเข้า (Duty) ฮังการีได้ตัดทอนภาษีนำเข้าลงจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 50 เมื่อปี 2536 เหลือประมาณร้อยละ 8 ในปี 2542 ได้ยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าที่ริเริ่มในปี 2538 จนหมดสิ้นตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2540 รวมทั้งลดอัตราภาษีนำเข้าลงโดยลำดับ อัตราภาษีเฉลี่ยที่จัดเก็บปี 2542 เฉลี่ยประมาณ 7% สำหรับสินค้า อุตสาหกรรม และประมาณ 11% สำหรับสินค้าเกษตร ภาษีที่จัดเก็บประเมินจากฐาน CIF บวก ค่าประกันภัย (Insurance) และค่าขนส่ง (Freight)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เก็บในอัตราทั่วไปร้อยละ 25 ในการซื้อขายสินค้าทุกชนิด
- ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และน้ำมัน หรือภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Tax) จัดเก็บในการค้ารถยนต์ เครื่องประดับ และสินค้าประเภท High-end Products
- เอกสารการนำเข้า (Import Documents) ผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าต้องจัดทำเอกสาร VAM 91 เพื่อสำแดงชนิดและประเภทของสินค้า โดยขอรับเอกสารและระหัสสินค้า (Product Code Number) ได้จาก Hungarian Central Statistical Office ซึ่งโดยทั่วไปก็สามารถขอข้อมูลได้จากผู้นำเข้า
- การควบคุมนำเข้า ฮังการีคงควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคภายใต้โควต้า (Global Import Quotas) มีรายการสินค้าควบคุมสำหรับแหล่งส่งออกที่เป็นสมาชิก WTO ในปี 2543 จำนวน 7 ชนิดสินค้า ได้แก่ เคมีภัณฑ์สำหรับครัวเรือน รองเท้า รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่นที่ทำด้วยไม้ เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า รถยนต์ใหม่ รถยนต์เก่า และปลากระป๋อง กำหนดมูลค่านำเข้าไว้สูงสุดไม่กิน 322.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2542 ที่ผ่านมาโควต้าที่กำหนดถูกใช้ไปเพียงร้อยละ 60 - 70 เท่านั้น
- การห้ามนำเข้า (Prohibited Imports) Hungarian Gazette Section 186/a ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าว่าเป็นไปโดยเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิด เช่น การนำเข้าพืชและสัตว์ที่อยู่ในรายการที่คุ้มครอง (Endangered Spicies) สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ยาบางชนิด กฎหมายกำหนดให้กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ GMOs เช่น การจัดทำห้องวิจัย การตัดแต่งพันธุ์ การค้า การนำเข้า-ส่งออก ต้องได้รับอนุญาตจาก Biotechnology Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเศรษฐกิจ
- การตรวจสอบคุณภาพสินค้า สินค้าอุปโภค-บริโภคที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในฮังการีต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น Commercial Quality Control Institute (KERMI) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าอุตสาหกรรม Institute for Drugs ดูแลการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานยา และ The Quality Control Office of the Building Industry รับผิดชอบสินค้าอุปกรณ์การก่อสร้าง เป็นต้น
กรณีสินค้าอาหารภายใต้ Food Law ฮังการีกำหนดระบบการตรวจสอบค่อนข้างรัดกุม สินค้าที่เข้าไปวางจำหน่ายต้องผ่านการตรวจสอบ และได้รับเอกสารรับรองคุณภาพจาก 2 หน่วยงาน คือ
- หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ หรือ Commercial Quality Control Institute (KERMI) รับผิดชอบการตรวจสอบรูปลักษณ์ของสินค้า การปิดป้าย และสลาก และการบรรจุภัณฑ์
- หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพสารอาหารและการทดสอบทางชีวภาพ หรือ National Institute of Food
Hygiene and Nutrition (OETI) ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบคุณภาพของสารอาหารที่เหมาะสมกับการบริโภค สารตกค้าง และสิ่งเจือปนอื่น ๆ
การส่งสินค้าเข้าตรวจสอบต้องมีผู้นำเข้าเป็นผู้ดำเนินการ โดยจัดส่งตัวอย่างสินค้าไม่น้อยกว่า 8 ชุด ใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 1 เดือน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อสินค้า หากสินค้าผ่านการตรวจสอบ KERMI และ OETI จะออกเอกสารและให้หมายเลขอ้างอิงเพื่อใช้กำกับสินค้าที่นำเข้า เอกสารดังกล่าวมีอายุใช้งาน 3 ปี เมื่อครบกำหนดต้องนำสินค้าเข้ารับการตรวจสอบใหม่ ในช่วงที่สินค้าวางตลาด กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขดำเนินการสุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีมาตรฐานตามกฎหมาย
- การปิดสลากสินค้า (Labeling, Marking Requirements) ฮังการีมีระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการปิดสลากสินค้าอาหาร เครื่องสำอาง และของใช้ในครัวเรือน ซึ่งบังคับใช้ทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้า โดยสลากดังกล่าวต้องเป็นภาษาฮังกาเรียน ให้ข้อมูลที่จำเป็น เช่น
- สินค้าอาหารต้องระบุปริมาณสุทธิ ชื่อ และที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า วันที่สินค้าหมดอายุ วิธีการเก็บรักษา รายละเอียดเครื่องปรุงที่ใช้ รวมทั้งสารปรุงแต่ง และปริมาณพลังงานที่จะได้รับจากการบริโภค นอกจากนี้ ต้องระบุหมายเลขระหัสสินค้าที่ออกให้โดยหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน คือ สถาบันอนามัยและโภชนาการแห่งชาติ (National Institute of Food Hygiene and Nutrition : OETI) และ/หรือสถาบันตรวจสอบคุณภาพ (Commercial Quality Testing Institute : KERMI)
- สินค้าเครื่องสำอาง (ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ OETI ต้องมีสลากให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสินค้า การใช้งาน ข้อควรระวังในการใช้ ข้อแนะนำ วันที่ผลิต และวันที่หมดอายุ ปริมาณสินค้า และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า
- มาตรฐานสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานแห่งชาติ (National Standard) และมาตรฐานเฉพาะสาขา (Sectoral Standard)
- มาตรฐานแห่งชาติ อยู่ในความรับผิดชอบของ Hungarian Standard Office ซึ่งมีหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติตาม มาตรฐานสากล ฮังการีเป็นสมาชิกของ GATT Agreement on Technical Barriers to Trade (Standard Code) เข้าร่วมใน International Standardization Organization (ISO) และ International Electro-technical Commission (IEC) ในการค้าสินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิด ผู้นำเข้าให้ความสำคัญต่อมาตรฐาน ISO และมักถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการพิจารณาซื้อสินค้า
- มาตรฐานเฉพาะสาขา อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวง และองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น สินค้าอุปโภค (Consumer Goods) อยู่ภายใต้การตรวจสอบของ KERMI และ/หรือ Hungarian Electro-technical Control Institute (MEEI) ซึ่งรับผิดชอบการตรวจสอบเครื่องไฟฟ้าและเครื่องมือทางเทคนิกต่าง ๆ การนำเข้าไปจำหน่ายจึงต้องส่งตัวอย่างและขอรับเอกสารรับรองการตรวจสอบจาก MEEI จึงจะสามารถชำระภาษีและนำเข้าสินค้าออกจากศุลกากรได้
- กรณีสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ มีหน่วยงาน Traffic Inspectorate Office รับผิดชอบการตรวจสอบมาตรฐานโดยแบ่งมาตรฐานที่กำหนดออกเป็น 2 ส่วน คือ มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย (Traffic Safety) และมาตรฐานการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเพื่อประหยัดพลังงาน (Environment Protection and Energy Saving) นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์บางชนิดต้องมีใบอนุญาต (License) มาตรฐานและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าที่กำหนดไว้ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้นำเข้ามักสนใจซื้อสินค้าเฉพาะจากบริษัทส่งออกที่ได้เอกสารรับรอง เช่น ISO Certificate และ E-Mark เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าของตน ผู้ผลิตสินค้าไทยที่ได้รับเอกสารรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับระหว่างประเทศจะได้เปรียบและเป็นจุดขายที่ดีในการค้า
ปัจจุบันยังไม่มีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนในฮังการี แต่หากผู้ประกอบการของไทยมีความพร้อมและสนใจก็น่าจะพิจารณาเข้าไปวางรากฐาน และเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในระยะเวลาอันใกล้ สาขาธุรกิจที่ประเทศไทยน่าจะมีความพร้อม ได้แก่ การจัดตั้งคลังเก็บสำรองและกระจายสินค้าเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ธุรกิจค้าส่ง การบริหารโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว และกิจการภัตตาคารอาหารไทย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และผลประโยชน์ของไทย
ไทยและฮังการีมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับรัฐบาลและเอกชน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ การค้าไม่มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ นอกจากนี้ สินค้าหลายชนิดที่ส่งออกจากไทยไปยังฮังการีได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีในอัตราต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์สองฝ่ายยังจำกัดเฉพาะการนำเข้า-ส่งออก ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนนักลงทุนระหว่างกัน และความสนใจของเอกชนแต่ละฝ่ายที่จะใช้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์เพื่อเชื่อมต่อกับตลาดในแต่ละภูมิภาคยังมีน้อย
รัฐบาลและองค์กรเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้จัดให้มีการลงนามความตกลงร่วมกันหลายฉบับเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังทั้งสองฝ่ายที่สำคัญ ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย-ฮังการี (Trade Agreement เมื่อปี ค.ศ. 1979) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน (Treaty on the Elimination of Double Taxation ปี ค.ศ. 1989) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศไทย-ฮังการี (ปี ค.ศ. 1993) และล่าสุดได้มีการลงนามความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปี ค.ศ. 1999)
ในส่วนของภาคเอกชนได้มีการลงนามพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าฮังการีกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปี ค.ศ. 1981 และการลงนามความร่วมมือระหว่างธนาคารศรีอยุธยา จำกัด และสำนักงานทรัพย์สินของรัฐบาลฮังการี (Stae Property Agency) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น State Privatization and Holding Company หรือเรียกย่อว่า APV Rt.)
ในฮังการีมีกลุ่มนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สนใจต่อประเทศในเอเซีย ร่วมกันจัดตั้ง Hungarian Far Eastern Business Association ตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Hungarian Asia-Pacific Business Association เพื่อให้ขยายขอบข่ายความร่วมมือให้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักธุรกิจฮังกาเรียนที่มีความสนใจต่อประเทศไทยจัดตั้ง Thai - Hungarian Friendship Society ขึ้นเมื่อปี 2539 และเพื่อประโยชน์ทางการสร้างเครือข่ายการค้าในฮังการี สถานเอกอัครราชทูตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้า ณ กรุงบูดาเปสต์ได้ประกาศจัดตั้ง Thai Hungarian Business Club เมื่อปี 2542 โดยรวบรวมนักธุรกิจที่นำเข้าสินค้าจากไทยและที่มีศักยภาพที่จะเป็นคู่ค้า จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันในการแนะนำและส่งเสริมการค้าของไทยในฮังการีอย่างต่อเนื่องปัญหา อุปสรรค และโอกาสของสินค้าไทย
ฮังการียังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง (Middle-income Country) เป็นตลาดใหม่ที่พร้อมจะเปิดรับสินค้าจากทุกประเทศ ผู้บริโภคให้ความสนใจต่อราคาเป็นอันดับแรก การแข่งขันในกลุ่มผู้ค้าจึงสูง และตลาดเองก็ยังมีข้อจำกัดที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ผู้ส่งออกไทยมองข้าม ที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการสั่งซื้อที่มีจำนวนคราวละไม่มาก การหลีกเลี่ยงเปิด L/C การขอเครดิตระยะสั้น 30 - 120 วัน นอกจากนี้พื้นฐานความสัมพันธ์และวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ผู้นำเข้ายังเป็นรายย่อย ๆ นิยมซื้อสินค้าไทยผ่านประเทศในยุโรป เพราะสะดวกในการสั่งซื้อ การส่งมอบและการจ่ายเงิน การเข้าไปเจาะขยายตลาด ผู้ประกอบการไทยต้องยอมรับและปรับกลยุทธให้เข้ากับสภาพตลาดที่เป็นอยู่ การช่วยเหลือของภาครัฐด้านเครดิตและการค้ำประกันเพื่อการส่งออก และการให้แรงจูงใจอื่น ๆ น่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการไทยมากขึ้น
ด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจ ทำเลที่ตั้ง และนโยบายของฮังการีที่ต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงมุ่งทำการค้ากับประเทศในยุโรปด้วยกันเป็นหลัก ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จึงพบว่าการส่งออกของฮังการีมายัง เอเซียลดน้อยลง ขณะที่การนำเข้าสูงขึ้น เป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ รายได้และอำนาจซื้อของประชาชนสูงขึ้น ความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคจึงเพิ่มขึ้น และการเข้าไปลงทุนของบริษัทต่างชาติ ประเภท Multinational Company ซึ่งมีเครือข่ายการซื้อวัตถุดิบ และตลาดกว้างขวาง ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการผลิตจากประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปใช้ประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก สินค้าไทยจึงได้รับประโยชน์อย่างมากจากแนวโน้มดังกล่าว การส่งออกของไทยไปฮังการีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จึงเน้นหนักไปที่สินค้าเพื่อการผลิตสำหรับป้อนโรงงานต่างชาติที่เข้าไปตั้งฐานในฮังการี สินค้าเหล่านี้ยิ่งต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรง เพราะแต่ละประเทศกำลังพัฒนาต่างมีเทคโนโลยีการผลิตและมาตรฐานสินค้าคล้ายคลึงกัน การสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดในลักษณะเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและการเข้าไปแนะนำสินค้าอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็น
สินค้าไทยที่มีลู่ทางขยายการส่งออกไปฮังการีแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ สินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกดั่งเดิมของไทย แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น แต่การส่งออกก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น สินค้าอาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ รองเท้า และผลิตภัณฑ์หนัง ของขวัญและของชำร่วย ยางธรรม- ชาติ เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ เตาอบไฟฟ้าขนาดเล็ก พัดลม และไมโครเวฟ เป็นต้น
สินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อมูลค่าส่งออกของไทยสูงขึ้นโดยลำดับ ได้แก่ สินค้าเพื่อการผลิต ซึ่งนำเข้าโดยบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุน สาขาอุตสาหกรรมที่กำลังขยาย ได้แก่ เครื่องจักรอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม สินค้าที่ฮังการีจำเป็นต้องนำเข้าสูง และไทยมีศักยภาพส่งออก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า แผ่นเทปและ ซีดีสำหรับบันทึกข้อมูล อุปกรณ์สำหรับวิทยุ โทรศัพท์
ในส่วนของการลงทุน ฮังการีเปิดกว้างในทุกสาขาธุรกิจ ทั้งการค้าส่ง-ค้าปลีก ธุรกิจบริการ เช่น บริการท่องเที่ยว กิจการโรงแรม และการเปิดร้านอาหารไทยซึ่งกำลังได้รับความนิยม และไทยมีความชำนาญสูง นอกจากนี้ ไทยยังอาจพิจารณาใช้ฮังการีเป็นฐานผลิตและกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น การ่วมมือกับผู้ประกอบการในฮังการีจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทย เพื่อให้มีสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง และวางจำหน่ายในตลาดอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าปัจจุบันสินค้าไทยจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่การแข่งขันของตลาด โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนาที่ผลิตและส่งออกสินค้าคล้ายคลึงกัน หลายประเทศมีความได้เปรียบกว่าไทยด้านค่าจ้างแรงงาน สินค้าไทยหลายชนิดเริ่มเสียเปรียบผู้ผลิตจากแหล่งอื่น เช่น จีน เวียตนาม มาเลเซีย เม็กซิโก บราซิล ตุรกี เป็นต้น ขณะเดียวกันการแข่งขันของตลาด ทำให้ผู้นำเข้าและค้าส่งให้ความสำคัญกับราคา คุณภาพ การออกแบบสินค้าที่เป็นแฟชั่น และการบรรจุภัณฑ์ การโฆษณาเข้าไปมีบทบาทต่อการนำเสนอสินค้าต่อผู้ซื้อ จึงจำเป็นต้องยกระดับสินค้าไทยออกจากสินค้าราคาถูก สร้างภาพลักษณ์ เรื่องคุณภาพ มาตรฐาน ความน่าเชื่อถือ เน้นการสร้างความแตกต่างของสินค้าไทยจากสินค้าที่ผลิตจากแหล่งอื่น ในภาวะตลาดที่เป็นอยู่นี้ การประชาสัมพันธ์และจัดแนะนำสินค้าไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง ทั้งโดยร่วมมือกับผู้นำเข้า และการจัดคณะเดินทางออกไปแนะนำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและพบปะผู้นำเข้า
การที่ฮังการีเป็นฐานผลิตสินค้าให้แก่บริษัทขนาดใหญ่จากทั่วโลก ทำให้ฮังการีสามารถและอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเป็นคู่แข่งขันของสินค้าไทย โดยเฉพาะสำหรับการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป ประเทศในยุโรปกลางและ ยุโรปตะวันออก ผู้ผลิตและส่งออกของไทยต้องพร้อมที่จะเข้าแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเหล่านี้
ฮังการีได้เริ่มขบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้วตั้งแต่มีนาคม 2541 มีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการค้า ทำให้เชื่อว่าในระยะอันใกล้นี้ฮังการีคงต้องรับเอามาตรฐานและกฎระเบียบการค้าของสหภาพยุโรปมาเริ่มบังคับใช้ ซึ่งก็จะเข้มงวด และมีขั้นตอนตรวจสอบรัดกุมยิ่งขึ้น ผู้ต้องการเข้าไปเจาะตลาดรายใหม่ ๆ จึงควรเร่งเข้าไปวางรากฐานตั้งแต่ขณะนี้ สินค้าที่เข้าสู่ตลาดก่อนและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคก็จะมีความได้เปรียบสูงขึ้น
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมกาค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 17/2543 วันที่ 17 กันยายน 2543--
-อน-