จากการที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดสัมมนาเรื่องศักยภาพของประเทศไทยในการผลิตเอทานอล เพื่อทดแทนการนำเข้าในวันที่ 26 ตุลาคม 2544 ที่ผ่านมา ได้มีการเสนอผลการวิจัยการศึกษาสถานภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแก๊ซโซฮอล์ โดย รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอด คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนี้
จากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาโดยเฉลี่ยที่ US$ 16-18 ต่อบาร์เรล ไปที่ระดับราคาสูงกว่า US$ 30 ต่อบาร์เรลในปัจจุบันการแสวงหาเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเป็นหนทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการลดปริมาณนำเข้าเชื้อเพลิง ประเภทน้ำมันดิบ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับ “ เอทานอล” และได้เชิญชวนนักลงทุนมาผลิตโดยใช้วัตถุดิบการเกษตร เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง เพื่อทดแทนน้ำมันเบนซิลบางส่วน ซึ่งยังช่วยแก้ปัญหาราคาหัวมันสดตกต่ำได้อีกด้วย
ผลงานการวิจัยของมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ได้แจ้งผลการวิจัยว่าพื้นที่การเพาะปลูกหัวมันสดจะอยู่ที่ระดับ 6.8 ล้านไร่ ของผลผลิต 18.35 ล้านตัน/ปี ในปี 2545 เป็น 6.5 ล้านไร่ ของผลผลิต 20.23 ล้านตัน/ปี ในปี 2549 ซึ่งไม่สามารถลดพื้นที่การปลูกให้เหลือน้อยกว่า 6.5 ล้านไร่ได้ และมันสำปะหลังก็เป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเอทานอลมาก ทั้งนี้จากการประมาณการของผลผลิตในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะมีปริมาณ 20.23 ล้านตัน/ปี และมีต้นทุนการผลิตประมาณ 0.64 บาท/กก. ซึ่งเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิตเอทานอล 1 ลิตรจากอ้อยในราคาแตกต่างกันจาก 550-750 บาท/ตัน จะมีต้นทุนวัตถุดิบสูงประมาณ 12.9-15.7 บาท ต่อการใช้อ้อย 14 กิโลกรัม จะได้เอทานอล 1 ลิตร จากผลงานการวิจัยที่มีผลผลิตระดับ 20.23 ล้านตัน/ปี ทำให้เกิดส่วนเกินของหัวมันสด เพราะตลาดต้องการหัวมันสดไปผลิตแป้ง 8 ล้านตัน และผลิตมันเส้น มันอัดเม็ดอีก 8 ล้านตัน จะทำให้หัวมันสดเกินความต้องการ 4 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับผลิตเอทานอล 2 ล้านลิตร/วัน ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าการใช้มันสำปะหลังผลิตเอทานอล จะไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องพลังงานได้มากก็ตาม แต่มีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาหัวมันสด โดยรัฐบาลอาจไม่ต้องใช้งบประมาณเข้าแทรกแซงราคาเหมือนทุกปีก็ได้
ทั้งนี้การใช้มันสำปะหลังนั้นจะต้องใช้ในรูปของมันเส้น เพราะสามารถแปรรูปในช่วงที่หัวมันสดราคาตกต่ำที่สุดและเก็บสต๊อกไว้ใช้ได้ตลอดปี ทำให้เกิดงานใหม่ขึ้นในหมู่บ้าน นอกจากนี้การขนส่งมันเส้นจะมีประสิทธิภาพดีกว่า จากการคำนวณโดยระบบปัจจุบันพบว่าถ้ามันเส้นราคา 2,500 บาท/ตัน จะผลิตเอทานอลได้ในราคาต้นทุนการผลิต 11.55 บาท/ลิตร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 0.94 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 0.93 บาท ในกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 1.81 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ดังนี้
ราคาขายส่งมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งมันอัดเม็ด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลัง ชนิดดี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.92 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ดังนี้
ราคามันอัดเม็ด เฉลี่ยตันละ 62.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 2,787.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาท 3.00 บาท
ราคาแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ยตันละ 175.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,803.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 8.00 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 29 ต.ค.- 4 พ.ย. 2544--
-สส-
จากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาโดยเฉลี่ยที่ US$ 16-18 ต่อบาร์เรล ไปที่ระดับราคาสูงกว่า US$ 30 ต่อบาร์เรลในปัจจุบันการแสวงหาเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเป็นหนทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการลดปริมาณนำเข้าเชื้อเพลิง ประเภทน้ำมันดิบ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับ “ เอทานอล” และได้เชิญชวนนักลงทุนมาผลิตโดยใช้วัตถุดิบการเกษตร เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง เพื่อทดแทนน้ำมันเบนซิลบางส่วน ซึ่งยังช่วยแก้ปัญหาราคาหัวมันสดตกต่ำได้อีกด้วย
ผลงานการวิจัยของมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ได้แจ้งผลการวิจัยว่าพื้นที่การเพาะปลูกหัวมันสดจะอยู่ที่ระดับ 6.8 ล้านไร่ ของผลผลิต 18.35 ล้านตัน/ปี ในปี 2545 เป็น 6.5 ล้านไร่ ของผลผลิต 20.23 ล้านตัน/ปี ในปี 2549 ซึ่งไม่สามารถลดพื้นที่การปลูกให้เหลือน้อยกว่า 6.5 ล้านไร่ได้ และมันสำปะหลังก็เป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเอทานอลมาก ทั้งนี้จากการประมาณการของผลผลิตในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะมีปริมาณ 20.23 ล้านตัน/ปี และมีต้นทุนการผลิตประมาณ 0.64 บาท/กก. ซึ่งเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิตเอทานอล 1 ลิตรจากอ้อยในราคาแตกต่างกันจาก 550-750 บาท/ตัน จะมีต้นทุนวัตถุดิบสูงประมาณ 12.9-15.7 บาท ต่อการใช้อ้อย 14 กิโลกรัม จะได้เอทานอล 1 ลิตร จากผลงานการวิจัยที่มีผลผลิตระดับ 20.23 ล้านตัน/ปี ทำให้เกิดส่วนเกินของหัวมันสด เพราะตลาดต้องการหัวมันสดไปผลิตแป้ง 8 ล้านตัน และผลิตมันเส้น มันอัดเม็ดอีก 8 ล้านตัน จะทำให้หัวมันสดเกินความต้องการ 4 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับผลิตเอทานอล 2 ล้านลิตร/วัน ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าการใช้มันสำปะหลังผลิตเอทานอล จะไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องพลังงานได้มากก็ตาม แต่มีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาหัวมันสด โดยรัฐบาลอาจไม่ต้องใช้งบประมาณเข้าแทรกแซงราคาเหมือนทุกปีก็ได้
ทั้งนี้การใช้มันสำปะหลังนั้นจะต้องใช้ในรูปของมันเส้น เพราะสามารถแปรรูปในช่วงที่หัวมันสดราคาตกต่ำที่สุดและเก็บสต๊อกไว้ใช้ได้ตลอดปี ทำให้เกิดงานใหม่ขึ้นในหมู่บ้าน นอกจากนี้การขนส่งมันเส้นจะมีประสิทธิภาพดีกว่า จากการคำนวณโดยระบบปัจจุบันพบว่าถ้ามันเส้นราคา 2,500 บาท/ตัน จะผลิตเอทานอลได้ในราคาต้นทุนการผลิต 11.55 บาท/ลิตร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 0.94 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 0.93 บาท ในกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 1.81 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ดังนี้
ราคาขายส่งมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งมันอัดเม็ด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลัง ชนิดดี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.92 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ดังนี้
ราคามันอัดเม็ด เฉลี่ยตันละ 62.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 2,787.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาท 3.00 บาท
ราคาแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ยตันละ 175.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,803.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 8.00 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 29 ต.ค.- 4 พ.ย. 2544--
-สส-