การส่งสินค้าออกไปยังรัสเซียได้ประสบปัญหาความน่าเชื่อถือของระบบการเงินการธนาคารของรัสเซีย ตลอดจนความมั่นใจในการจะได้รับชำระค่าสินค้าของผู้ส่งออกไปรัสเซีย ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและ การเงินในปี 2541 ซึ่งทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์ของรัสเซียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและเป็นปัญหามาจนปัจจุบัน
องค์กรหลักของรัสเซียที่มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของรัสเซีย คือ ธนาคารกลาง (Russian Central Bank) ได้พยายามปรับปรุง ฟื้นฟูสถาบันการเงิน ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งสถาบันฟื้นฟูกิจการธนาคาร (Agency on Restructuring Credit Institution — ARKO)ขึ้น และได้มีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารที่ไม่อาจดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ในปี 2543 ธุรกิจธนาคารพาณิชย์รัสเซียเริ่มฟื้นตัวจากผลของภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีส่วนเอื้ออำนวย เช่น ภาวะน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งการมีการผ่อนปรนในการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศของรัสเซีย นอกจากนั้น ได้มีการดำเนินการที่เหมาะสมของธนาคารกลาง และธนาคารพาณิชย์เอง ซึ่งต่างมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องเป็นผลให้สถาบันการเงินเริ่มฟื้นตัวในทางธุรกิจ
ในการนี้ หากผู้ส่งออกไทยยังไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการเงินการธนาคารของรัสเซีย ผู้ส่งออกไทยอาจพิจารณาการใช้บริการของ EXIM Bank (ธสน.)"บริการการประกันการส่งออก" ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถใช้คุ้มครองการส่งออกไปรัสเซีย บริการดังกล่าวนี้ให้ความคุ้มครองการชำระเงินหลายประเภท อาทิ Letter of Credit (L/C), Document Against Payment (D/P), Document Against Acceptance (D/A) และ Open Account (O/A) รวมทั้งการประกันการส่งออกแบบ Small Export Bill Insurance (SEBI)
การใช้บริการการประกันการส่งออกนี้ ผู้ส่งออกจะได้รับการคุ้มครองจากความเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ จากการที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ชำระเงินหรือล้มละลาย ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้า รวมทั้ง คุ้มครองความเสี่ยงจากเหตุการณ์สงครามหรือความไม่สงบทางการเมืองด้วย สำหรับมูลค่าการคุ้มครองในการประกันการส่งออกนั้น ธสน. จะให้ความคุ้มครองมีมูลค่าถึงร้อยละ70-90 ของความเสียหาย ซึ่งหากเกิดมีความเสียหายขึ้นทาง ธสน. จะชดใช้ค่าสินค้าให้ในอัตราดังกล่าว ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในด้านค่าธรรมเนียมและค่าเบี้ยประกันก็เป็นจำนวนไม่มาก กล่าวคือ อัตราประมาณเพียงร้อยละ 0.16-0.95 ของมูลค่าแอลซีหรือมูลค่าที่รับแจ้ง เป็นต้น
บริการการประกันการส่งออกนี้ จะเป็นมาตรการเสริมที่จะช่วยผู้ประกอบการไทยให้มั่นใจ และเป็นการประกันความเสี่ยงในการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย และเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งในการขยายการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย
ในปี 2543 การค้าระหว่างไทยกับรัสเซียมีมูลค่า 450.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารัสเซียเป็นมูลค่า 298.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2544 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยเสียเปรียบดุลการค้ารัสเซียเป็นมูลค่า 89.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากรัสเซีย คือ สินค้าเหล็กและเหล็กกล้าซึ่งมีมูลค่ามากกว่า ร้อยละ 50 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดที่ไทยนำเข้าจากรัสเซีย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
องค์กรหลักของรัสเซียที่มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของรัสเซีย คือ ธนาคารกลาง (Russian Central Bank) ได้พยายามปรับปรุง ฟื้นฟูสถาบันการเงิน ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งสถาบันฟื้นฟูกิจการธนาคาร (Agency on Restructuring Credit Institution — ARKO)ขึ้น และได้มีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารที่ไม่อาจดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ในปี 2543 ธุรกิจธนาคารพาณิชย์รัสเซียเริ่มฟื้นตัวจากผลของภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีส่วนเอื้ออำนวย เช่น ภาวะน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งการมีการผ่อนปรนในการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศของรัสเซีย นอกจากนั้น ได้มีการดำเนินการที่เหมาะสมของธนาคารกลาง และธนาคารพาณิชย์เอง ซึ่งต่างมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องเป็นผลให้สถาบันการเงินเริ่มฟื้นตัวในทางธุรกิจ
ในการนี้ หากผู้ส่งออกไทยยังไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการเงินการธนาคารของรัสเซีย ผู้ส่งออกไทยอาจพิจารณาการใช้บริการของ EXIM Bank (ธสน.)"บริการการประกันการส่งออก" ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถใช้คุ้มครองการส่งออกไปรัสเซีย บริการดังกล่าวนี้ให้ความคุ้มครองการชำระเงินหลายประเภท อาทิ Letter of Credit (L/C), Document Against Payment (D/P), Document Against Acceptance (D/A) และ Open Account (O/A) รวมทั้งการประกันการส่งออกแบบ Small Export Bill Insurance (SEBI)
การใช้บริการการประกันการส่งออกนี้ ผู้ส่งออกจะได้รับการคุ้มครองจากความเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ จากการที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ชำระเงินหรือล้มละลาย ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้า รวมทั้ง คุ้มครองความเสี่ยงจากเหตุการณ์สงครามหรือความไม่สงบทางการเมืองด้วย สำหรับมูลค่าการคุ้มครองในการประกันการส่งออกนั้น ธสน. จะให้ความคุ้มครองมีมูลค่าถึงร้อยละ70-90 ของความเสียหาย ซึ่งหากเกิดมีความเสียหายขึ้นทาง ธสน. จะชดใช้ค่าสินค้าให้ในอัตราดังกล่าว ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในด้านค่าธรรมเนียมและค่าเบี้ยประกันก็เป็นจำนวนไม่มาก กล่าวคือ อัตราประมาณเพียงร้อยละ 0.16-0.95 ของมูลค่าแอลซีหรือมูลค่าที่รับแจ้ง เป็นต้น
บริการการประกันการส่งออกนี้ จะเป็นมาตรการเสริมที่จะช่วยผู้ประกอบการไทยให้มั่นใจ และเป็นการประกันความเสี่ยงในการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย และเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งในการขยายการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย
ในปี 2543 การค้าระหว่างไทยกับรัสเซียมีมูลค่า 450.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารัสเซียเป็นมูลค่า 298.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2544 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยเสียเปรียบดุลการค้ารัสเซียเป็นมูลค่า 89.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากรัสเซีย คือ สินค้าเหล็กและเหล็กกล้าซึ่งมีมูลค่ามากกว่า ร้อยละ 50 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดที่ไทยนำเข้าจากรัสเซีย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-