แท็ก
ผลไม้
สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย เพราะผลผลิตยังมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับความต้องการ แต่ภาวะโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการซื้อขายค่อนข้างซบเซา เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีผลไม้ตามฤดูกาลออกมามาก ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.75 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.20 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 37.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเริ่มอ่อนตัวลงตามความต้องการบริโภคที่มีไม่มาก แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งภาวะการซื้อขายคาดว่าจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียน ที่การบริโภคลดน้อยลง ประกอบกับตลาดต่างประเทศที่ค่อนข้างเงียบ ทำให้ราคามีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 28.41 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 29.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 32.18 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์โดยรวมของตลาดไข่ไก่กระเตื้องขึ้นอีกเล็กน้อย โดยราคาปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลจากการผลักดันให้ส่งออกผลผลิตส่วนเกินไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตามก็ยังมีผลผลิตเหลืออยู่ในตลาดอีกมาก โดยเฉพาะไข่ไก่ขนาดเล็ก คือเบอร์ 2 และเบอร์ 3 ส่งผลให้ราคาตกต่ำมาก แนวโน้มคาดว่าราคามีโอกาสปรับลดลงอีก เพราะความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงโรงเรียนปิดเทอม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 145 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 143 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 130บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 139 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 143 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาทลดลงจากตัวละ 17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 152 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 178 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 183บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 182 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.62 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.60 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 21-27 ก.พ. 2543--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย เพราะผลผลิตยังมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับความต้องการ แต่ภาวะโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการซื้อขายค่อนข้างซบเซา เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีผลไม้ตามฤดูกาลออกมามาก ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.75 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.20 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 37.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเริ่มอ่อนตัวลงตามความต้องการบริโภคที่มีไม่มาก แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งภาวะการซื้อขายคาดว่าจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียน ที่การบริโภคลดน้อยลง ประกอบกับตลาดต่างประเทศที่ค่อนข้างเงียบ ทำให้ราคามีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 28.41 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 29.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 32.18 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์โดยรวมของตลาดไข่ไก่กระเตื้องขึ้นอีกเล็กน้อย โดยราคาปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลจากการผลักดันให้ส่งออกผลผลิตส่วนเกินไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตามก็ยังมีผลผลิตเหลืออยู่ในตลาดอีกมาก โดยเฉพาะไข่ไก่ขนาดเล็ก คือเบอร์ 2 และเบอร์ 3 ส่งผลให้ราคาตกต่ำมาก แนวโน้มคาดว่าราคามีโอกาสปรับลดลงอีก เพราะความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงโรงเรียนปิดเทอม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 145 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 143 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 130บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 139 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 143 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาทลดลงจากตัวละ 17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 152 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 178 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 183บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 182 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.62 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.60 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 21-27 ก.พ. 2543--