นายสุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์* ครั้งที่ 22 ณ นครปุนตา เดล เอสเต ประเทศ อุรุกวัย ในระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2544 องค์ประกอบผู้แทนไทย นอกจากจะมีนางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ แล้ว ยังมีผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงบัวเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าวในฐานะ ผู้แทนไทยและในฐานะประธานคณะกรรมการเกษตรของ WTO ด้วย
วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ในครั้งนี้ เพื่อวางกลยุทธ์และท่าทีของกลุ่มต่อการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้น ณ กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา ในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ เนื่องจากในการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ครั้งนี้ เป็นที่คาดกันว่า WTO จะสามารถประกาศเปิดรอบการเจรจา รอบใหม่ได้ หลังจากที่ได้ประสบความล้มเหลวในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 3 ที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐฯ เมื่อปลายปี 2542
การเปิดรอบเจรจารอบใหม่นี้ สมาชิกต่างๆ ได้พยายามผลักดันให้มีการพิจารณาเพื่อจัดทำความตกลงเรื่องการค้ากับการลงทุน การค้ากับนโยบายการแข่งขัน และการค้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังได้ผลักดันให้ WTO ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและการให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันในเวที การค้าโลกได้
กลุ่มเคร์นส์จึงกังวลว่า การเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่จะถูกลดความสำคัญลง นอกจากนี้ กลุ่มเคร์นส์ยังเห็นว่า หากจะมีการเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ ก็จะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ให้กับการเจรจาสินค้าเกษตรเป็นการตอบแทน
กลุ่มเคร์นส์เห็นว่า กรอบการเจรจาเกษตรภายใต้การเปิดเจรจารอบการเจรจารอบใหม่ จะต้องมากกว่ามาตรา 20 ของความตกลงเกษตรในรอบอุรุกวัยที่ระบุแต่เพียงให้เริ่มเจรจารอบใหม่ต่อเนื่องจากรอบอุรุกวัยเท่านั้น และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จะได้จากการเปิดรอบการเจรจาารอบใหม่ สิ่งที่กลุ่มเคร์นส์ต้องการในการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุงโดฮา คือ ในปฏิญญารัฐมนตรี จะต้องให้ความสำคัญกับการเจรจาเกษตร 5 เรื่อง คือ (1) การสิ้นสุดไม่เลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตร (2) ระบุวัตถุประสงค์ของการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน (3) ให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก (การเปิดตลาด การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนส่งออก) (4) การให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนา (S&D treatment) (5) มีกรอบเวลาการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน โดยระบุการ สิ้นสุดการเจรจา (timeframe and benchmark) ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้เสนอให้มีเรื่องการให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนาในปฏิญญาดังกล่าว
กลุ่มเคร์นส์จะออกแถลงการณ์ของกลุ่มที่เรียกว่า "Communique" เพื่อให้มีผลผลักดันทางการเมืองและเป็นการส่งสัญญาณให้ประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นได้รับทราบและเข้าใจความต้องการของกลุ่มเคร์นส์ในการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ต่อเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่
นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ยังได้เชิญแขกพิเศษเข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับเรื่องข้างต้น เพื่อหาแนวร่วมในการผลักดันให้มีน้ำหนักและมีผลทางการเมืองมากยิ่งขึ้น แขกพิเศษดังกล่าว ได้แก่ นาย Robert Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) นาง Ann Veneman รัฐมนตรีเกษตรของสหรัฐฯ นาย Nicholas Biwott รัฐมนตรีการค้าของประเทศเคนยา และปลัดกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการผลิตของประเทศปากีสถานที่มาแทนรัฐมนตรีว่าการฯ เนื่องจากป่วยไม่สามารถมาร่วมประชุมได้
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก่อนการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะหารือสองฝ่ายกับนิวซีแลนด์ และกับสหรัฐฯ ภายใต้อาเซียนด้วย ประเด็นหารือหลัก จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องการประชุมรัฐมนตรีของ WTO กับการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่เป็นสำคัญ
--------------------------------------------------------------------------------
*กลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา ฟิจิ กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปารากวัย ฟิลิปปินส์ อุรุกวัย แอฟริกาใต้ และไทย ซึ่งสนับสนุนการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ในครั้งนี้ เพื่อวางกลยุทธ์และท่าทีของกลุ่มต่อการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้น ณ กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา ในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ เนื่องจากในการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ครั้งนี้ เป็นที่คาดกันว่า WTO จะสามารถประกาศเปิดรอบการเจรจา รอบใหม่ได้ หลังจากที่ได้ประสบความล้มเหลวในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 3 ที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐฯ เมื่อปลายปี 2542
การเปิดรอบเจรจารอบใหม่นี้ สมาชิกต่างๆ ได้พยายามผลักดันให้มีการพิจารณาเพื่อจัดทำความตกลงเรื่องการค้ากับการลงทุน การค้ากับนโยบายการแข่งขัน และการค้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังได้ผลักดันให้ WTO ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและการให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันในเวที การค้าโลกได้
กลุ่มเคร์นส์จึงกังวลว่า การเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่จะถูกลดความสำคัญลง นอกจากนี้ กลุ่มเคร์นส์ยังเห็นว่า หากจะมีการเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ ก็จะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ให้กับการเจรจาสินค้าเกษตรเป็นการตอบแทน
กลุ่มเคร์นส์เห็นว่า กรอบการเจรจาเกษตรภายใต้การเปิดเจรจารอบการเจรจารอบใหม่ จะต้องมากกว่ามาตรา 20 ของความตกลงเกษตรในรอบอุรุกวัยที่ระบุแต่เพียงให้เริ่มเจรจารอบใหม่ต่อเนื่องจากรอบอุรุกวัยเท่านั้น และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จะได้จากการเปิดรอบการเจรจาารอบใหม่ สิ่งที่กลุ่มเคร์นส์ต้องการในการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุงโดฮา คือ ในปฏิญญารัฐมนตรี จะต้องให้ความสำคัญกับการเจรจาเกษตร 5 เรื่อง คือ (1) การสิ้นสุดไม่เลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตร (2) ระบุวัตถุประสงค์ของการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน (3) ให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก (การเปิดตลาด การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนส่งออก) (4) การให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนา (S&D treatment) (5) มีกรอบเวลาการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน โดยระบุการ สิ้นสุดการเจรจา (timeframe and benchmark) ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้เสนอให้มีเรื่องการให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนาในปฏิญญาดังกล่าว
กลุ่มเคร์นส์จะออกแถลงการณ์ของกลุ่มที่เรียกว่า "Communique" เพื่อให้มีผลผลักดันทางการเมืองและเป็นการส่งสัญญาณให้ประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นได้รับทราบและเข้าใจความต้องการของกลุ่มเคร์นส์ในการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ต่อเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่
นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ยังได้เชิญแขกพิเศษเข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับเรื่องข้างต้น เพื่อหาแนวร่วมในการผลักดันให้มีน้ำหนักและมีผลทางการเมืองมากยิ่งขึ้น แขกพิเศษดังกล่าว ได้แก่ นาย Robert Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) นาง Ann Veneman รัฐมนตรีเกษตรของสหรัฐฯ นาย Nicholas Biwott รัฐมนตรีการค้าของประเทศเคนยา และปลัดกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการผลิตของประเทศปากีสถานที่มาแทนรัฐมนตรีว่าการฯ เนื่องจากป่วยไม่สามารถมาร่วมประชุมได้
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก่อนการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะหารือสองฝ่ายกับนิวซีแลนด์ และกับสหรัฐฯ ภายใต้อาเซียนด้วย ประเด็นหารือหลัก จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องการประชุมรัฐมนตรีของ WTO กับการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่เป็นสำคัญ
--------------------------------------------------------------------------------
*กลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา ฟิจิ กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปารากวัย ฟิลิปปินส์ อุรุกวัย แอฟริกาใต้ และไทย ซึ่งสนับสนุนการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-