1. มาตรการ Local Content สินค้านม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขอขยายเวลามาตรการ Local Content สินค้านม เพื่อปกป้อง อุตสาหกรรมน้ำนมดิบในประเทศ (ซึ่งเดิมควรจะ ยกเลิกมาตรการนี้ตามข้อตกลง WTO ตั้งแต่ปี 2543) โดยขอปรับลดระยะเวลาที่ขอขยายมาตรการ Local Content สินค้านม จากเดิม 5 ปี (ปี 2543-2547) เป็นระยะเวลา 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี โดยขอขยายเวลา ครั้งสุดท้ายในปี 2545-2546 ทั้งนี้ เพื่อให้การเจรจา ขอขยายเวลาดังกล่าวมีความคล่องตัวมากขึ้น โดย มีแผนการดำเนินงานหลังจากการยกเลิกมาตรการ Local Content อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการพัฒนา ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด น้ำนมดิบและพัฒนาผลิตภัณฑ์นม และการวิจัย รูปแบบการบริหารจัดการองค์กร ให้ตอบสนองกับความต้องการภายในประเทศและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกต่อไป
2. การแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ให้ธนาคารพิจารณาวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ส่งออก จากความสามารถในการทำธุรกิจส่งออก ตั้งแต่เริ่มเสนอแผนธุรกิจที่จะทำให้ได้รับคำสั่งซื้อ และให้อนุมัติจ่ายเงิน สินเชื่อเต็มจำนวน เมื่อผู้ส่งออกนำเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ เช่น คำสั่งซื้อ สัญญาหรือ L/C มาแสดง ทั้งนี้ ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กับธนาคารศรีนครพิจารณาให้ความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ
2) การแก้ปัญหาความล่าช้าในการ คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรดำเนินการ ดังนี้
(1) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบภายในประเทศที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก ในทำนองเดียวกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก
(2) ให้ผู้ส่งออกสามารถใช้หนังสือค้ำประกันในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(3) พิจารณาจัดทำระบบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการควบคุมทางบัญชีแทนการชำระเป็น เงินสด หรืออาจจัดตั้งกองทุนเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ส่งออก และให้กรมสรรพากรจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกคืนแก่กองทุนฯ โดยตรงต่อไป
3) การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า โดยเฉพาะการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกต้องไม่สูงกว่าของประเทศคู่แข่งขัน เช่น ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
4) การบริการการส่งออกให้รวดเร็ว โดยให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตแก่ผู้ส่งออกสินค้าที่ต้องส่งมอบโดยเร่งด่วน เปิดบริการ 24 ชม. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้หน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ออก ใบอนุญาต กำหนดระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจนและรวดเร็ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขอขยายเวลามาตรการ Local Content สินค้านม เพื่อปกป้อง อุตสาหกรรมน้ำนมดิบในประเทศ (ซึ่งเดิมควรจะ ยกเลิกมาตรการนี้ตามข้อตกลง WTO ตั้งแต่ปี 2543) โดยขอปรับลดระยะเวลาที่ขอขยายมาตรการ Local Content สินค้านม จากเดิม 5 ปี (ปี 2543-2547) เป็นระยะเวลา 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี โดยขอขยายเวลา ครั้งสุดท้ายในปี 2545-2546 ทั้งนี้ เพื่อให้การเจรจา ขอขยายเวลาดังกล่าวมีความคล่องตัวมากขึ้น โดย มีแผนการดำเนินงานหลังจากการยกเลิกมาตรการ Local Content อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการพัฒนา ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด น้ำนมดิบและพัฒนาผลิตภัณฑ์นม และการวิจัย รูปแบบการบริหารจัดการองค์กร ให้ตอบสนองกับความต้องการภายในประเทศและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกต่อไป
2. การแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ให้ธนาคารพิจารณาวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ส่งออก จากความสามารถในการทำธุรกิจส่งออก ตั้งแต่เริ่มเสนอแผนธุรกิจที่จะทำให้ได้รับคำสั่งซื้อ และให้อนุมัติจ่ายเงิน สินเชื่อเต็มจำนวน เมื่อผู้ส่งออกนำเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ เช่น คำสั่งซื้อ สัญญาหรือ L/C มาแสดง ทั้งนี้ ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กับธนาคารศรีนครพิจารณาให้ความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ
2) การแก้ปัญหาความล่าช้าในการ คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรดำเนินการ ดังนี้
(1) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบภายในประเทศที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก ในทำนองเดียวกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก
(2) ให้ผู้ส่งออกสามารถใช้หนังสือค้ำประกันในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(3) พิจารณาจัดทำระบบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการควบคุมทางบัญชีแทนการชำระเป็น เงินสด หรืออาจจัดตั้งกองทุนเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ส่งออก และให้กรมสรรพากรจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกคืนแก่กองทุนฯ โดยตรงต่อไป
3) การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้า โดยเฉพาะการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกต้องไม่สูงกว่าของประเทศคู่แข่งขัน เช่น ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
4) การบริการการส่งออกให้รวดเร็ว โดยให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตแก่ผู้ส่งออกสินค้าที่ต้องส่งมอบโดยเร่งด่วน เปิดบริการ 24 ชม. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้หน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ออก ใบอนุญาต กำหนดระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจนและรวดเร็ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-