หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยถึงผลการดำเนิน
งานในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ว่า ธสน. กลับมามีกำไรสุทธิ อีกครั้ง หลังจากที่ขาดทุน สุทธิติดต่อกันมา 2 งวดในปี 2542 เนื่องจากปริมาณธุรกิจที่
ธสน. ปล่อยกู้โดยตรงแก่ผู้ส่งออกยังคงขยายตัวดี ประกอบกับการสำรองหนี้สูญและค่าใช้จ่ายรายการพิเศษอื่นๆ ที่ต่ำกว่าปี 2542 มาก
กรรมการผู้จัดการ ธสน. ชี้แจงผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ธสน. มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จาก 51,968 ล้านบาท
เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2542 เป็น 57,485 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 โดยสินเชื่อที่ ธสน. ปล่อยกู้ตรงแก่ผู้ส่งออกยังคงขยายตัวในอัตรา
ร้อยละ17 จากสิ้นเดือนมิถุนายน 2542 ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยผ่านธนาคาร พาณิชย์ยังลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วน
เกินเป็นจำนวนมาก จึงใช้เงิน ของธนาคารพาณิชย์เองในการปล่อยกู้ให้แก่ผู้ส่งออก และใช้เงินจาก ธสน. น้อยลง ภาวะสินเชื่อดังกล่าวนี้ ประกอบกับ
กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่ลดลงตามภาวะตลาดเงินภายในประเทศ ทำให้กำไรก่อนหักรายการพิเศษ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 อยู่ใน
ระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2542 คือ 637 ล้านบาท
แม้ว่ากำไรก่อนหักรายการพิเศษจะใกล้เคียงกับงวดครึ่งแรกของปีก่อน แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายรายการพิเศษลดต่ำลงจาก 786 ล้านบาทใน
งวดแรกของปี 2542 เหลือ 538 ล้านบาทในงวดแรกปี 2543 ทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมของ ธสน. ในงวดครึ่งแรกของปี 2543 นี้ มีผลกำไรสุทธิ
เป็นจำนวน 99 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งขาดทุน 148 ล้านบาท
ในปี 2543 ธสน. ให้ความสำคัญกับการติดตามและควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้ปัญหา NPL ของ ธสน. ดีขึ้นเป็นลำดับ
จากยอดหนี้ NPL จำนวน 6,137.4 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 มีหนี้ NPL เพิ่มขึ้นใหม่ จำนวน 764 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 แต่ขณะเดียว
กันก็สามารถทวงหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็น NPL อยู่เดิม ให้เป็นหนี้ปกติได้ 1,656.9 ล้านบาท จึงมีผลให้ NPL ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2543 ลดลง
เหลือ 5,245 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 12 ของยอดสินเชื่อรวมทั้งหมด หรือร้อยละ 17 ของยอด สินเชื่อที่ ธสน. ปล่อยกู้โดยตรง
ผลการดำเนินงาน
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ สิ้น มิ.ย. 2542 ณ สิ้น ธ.ค. 2542 ณ สิ้น มิ.ย. 2543 สินทรัพย์รวม 51,967.8 53,092.2 57,485.4 สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ 4,444.0 4,408.1 3,142.5 สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อโดยตรงแก่ผู้ส่งออกในประเทศ 25,819.7 29,368.6 30,306.3 สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อแก่นักลงทุนไทยที่ไปทำธุรกิจ 8,008.1 8,153.4 8,186.5 ในต่างประเทศ
รายการ 2542 2542 2543 กำไร กำไรก่อนรายการพิเศษ 638.3 615.4 637.4 หัก - ค่าธรรมเนียมจากการกู้ยืมเงิน ADB 342.9 86.1 -
- สำรองหนี้สงสัยจะสูญ 360.0 1,259.6 481.0
- ขาดทุนจากการตีราคาลูกหนี้ 83.2 - -
- ขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินรอการขาย - - 84.3
บวก - กำไรจากการตีราคาลูกหนี้ - 41.1 27.4
กำไร (ขาดทุน) หลังหักรายการพิเศษ (147.8) (689.2) 99.5
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) หนี้ NPL ณ สิ้นปี 2542 6,137.4 ล้านบาท
บวก หนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้นระหว่างเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2543 764.0 ล้านบาท
หัก หนี้ NPL ที่ลดลงระหว่างเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2543 1,656.9 ล้านบาท
หนี้ NPL ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2543 5,244.5 ล้านบาท
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145--จบ--
-อน-
งานในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ว่า ธสน. กลับมามีกำไรสุทธิ อีกครั้ง หลังจากที่ขาดทุน สุทธิติดต่อกันมา 2 งวดในปี 2542 เนื่องจากปริมาณธุรกิจที่
ธสน. ปล่อยกู้โดยตรงแก่ผู้ส่งออกยังคงขยายตัวดี ประกอบกับการสำรองหนี้สูญและค่าใช้จ่ายรายการพิเศษอื่นๆ ที่ต่ำกว่าปี 2542 มาก
กรรมการผู้จัดการ ธสน. ชี้แจงผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ธสน. มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จาก 51,968 ล้านบาท
เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2542 เป็น 57,485 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 โดยสินเชื่อที่ ธสน. ปล่อยกู้ตรงแก่ผู้ส่งออกยังคงขยายตัวในอัตรา
ร้อยละ17 จากสิ้นเดือนมิถุนายน 2542 ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยผ่านธนาคาร พาณิชย์ยังลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วน
เกินเป็นจำนวนมาก จึงใช้เงิน ของธนาคารพาณิชย์เองในการปล่อยกู้ให้แก่ผู้ส่งออก และใช้เงินจาก ธสน. น้อยลง ภาวะสินเชื่อดังกล่าวนี้ ประกอบกับ
กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่ลดลงตามภาวะตลาดเงินภายในประเทศ ทำให้กำไรก่อนหักรายการพิเศษ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 อยู่ใน
ระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2542 คือ 637 ล้านบาท
แม้ว่ากำไรก่อนหักรายการพิเศษจะใกล้เคียงกับงวดครึ่งแรกของปีก่อน แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายรายการพิเศษลดต่ำลงจาก 786 ล้านบาทใน
งวดแรกของปี 2542 เหลือ 538 ล้านบาทในงวดแรกปี 2543 ทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมของ ธสน. ในงวดครึ่งแรกของปี 2543 นี้ มีผลกำไรสุทธิ
เป็นจำนวน 99 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งขาดทุน 148 ล้านบาท
ในปี 2543 ธสน. ให้ความสำคัญกับการติดตามและควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้ปัญหา NPL ของ ธสน. ดีขึ้นเป็นลำดับ
จากยอดหนี้ NPL จำนวน 6,137.4 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 มีหนี้ NPL เพิ่มขึ้นใหม่ จำนวน 764 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 แต่ขณะเดียว
กันก็สามารถทวงหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็น NPL อยู่เดิม ให้เป็นหนี้ปกติได้ 1,656.9 ล้านบาท จึงมีผลให้ NPL ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2543 ลดลง
เหลือ 5,245 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 12 ของยอดสินเชื่อรวมทั้งหมด หรือร้อยละ 17 ของยอด สินเชื่อที่ ธสน. ปล่อยกู้โดยตรง
ผลการดำเนินงาน
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ สิ้น มิ.ย. 2542 ณ สิ้น ธ.ค. 2542 ณ สิ้น มิ.ย. 2543 สินทรัพย์รวม 51,967.8 53,092.2 57,485.4 สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ 4,444.0 4,408.1 3,142.5 สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อโดยตรงแก่ผู้ส่งออกในประเทศ 25,819.7 29,368.6 30,306.3 สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อแก่นักลงทุนไทยที่ไปทำธุรกิจ 8,008.1 8,153.4 8,186.5 ในต่างประเทศ
รายการ 2542 2542 2543 กำไร กำไรก่อนรายการพิเศษ 638.3 615.4 637.4 หัก - ค่าธรรมเนียมจากการกู้ยืมเงิน ADB 342.9 86.1 -
- สำรองหนี้สงสัยจะสูญ 360.0 1,259.6 481.0
- ขาดทุนจากการตีราคาลูกหนี้ 83.2 - -
- ขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินรอการขาย - - 84.3
บวก - กำไรจากการตีราคาลูกหนี้ - 41.1 27.4
กำไร (ขาดทุน) หลังหักรายการพิเศษ (147.8) (689.2) 99.5
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) หนี้ NPL ณ สิ้นปี 2542 6,137.4 ล้านบาท
บวก หนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้นระหว่างเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2543 764.0 ล้านบาท
หัก หนี้ NPL ที่ลดลงระหว่างเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2543 1,656.9 ล้านบาท
หนี้ NPL ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2543 5,244.5 ล้านบาท
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145--จบ--
-อน-