อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิต การตลาด
การจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกหลายประเภท ในด้านการลงทุนประเทศไทยเป็นศูนย์รวม
ของผู้ผลิตยานยนต์ทั่วโลก ทั้งค่ายญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาเหนือ และเป็นฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพและรถจักรยานยนต์อันดับต้นของโลก ใน
ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ คือ การก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่
11 กันยายน 2544 ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้ส่งผลต่อตลาดยานยนต์ในอาเซียนรวมทั้งไทยด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากความตึงเครียดได้คลี่คลายลง
ผู้บริโภคเริ่มหายจากการตื่นตระหนก รวมทั้งความมั่นใจต่อการวางตัวและท่าทีของรัฐบาลไทยในเหตุดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตลาดยานยนต์ไทยยังคงมีศักยภาพที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ช่วงหลังจากนี้ไป อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะกลับมากระเตื้องและเติบโตขึ้น
ได้ต่อไปอีก
อุตสาหกรรมรถยนต์
จากการที่บริษัทรถยนต์ต่างๆ มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด และมีการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายทางการตลาดมาแข่งขัน
ทำให้ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 นี้ ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณการผลิตและ
การจำหน่ายเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.29 และ 13.34 ตามลำดับ ซึ่งรถยนต์นั่งเป็นกลุ่มที่มีปริมาณการผลิต
และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศ ความหลากหลายของรุ่นต่างๆ ในกลุ่มรถยนต์นั่ง และการส่งออก
ที่ยังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่รถยนต์ปิคอัพ 1 ตัน มีปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง
เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 จะเห็นว่า
ปริมาณการผลิตปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 8.19 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการส่งออกที่ยังคงมีการขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับปริมาณ
การจำหน่ายพบว่ามีเพียงรถยนต์นั่งเท่านั้นที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนของปี 2544 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU)
จำนวน 148,590 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 41.08 หรือมีปริมาณการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 60,611.26 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.44 ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 67,710 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2543 ร้อยละ 46.87 หรือมีปริมาณการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 22,308.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.51 โดยในไตรมาสที่ 3
ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.69 และคิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.94
สำหรับการนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนของปี 2544 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 6,796.50 ล้านบาท ลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 23.02 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 3,546.90 ล้านบาท ลดลงจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 30.16 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง
เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.89
คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 จะมีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศที่มากกว่าทุกไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจาก
เป็นไตรมาสสุดท้ายก่อนสิ้นปี ซึ่งที่ผ่านมา จะมีการแข่งขันกันเพื่อปิดยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ดังนั้น หลายค่ายรถยนต์จะมีการเร่งโหม
กิจกรรมส่งเสริมการขาย และทยอยเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยมีการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.28 แต่
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์กลับลดลงร้อยละ 11.06 ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงถึงร้อยละ
96.67 ทั้งนี้ รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ มีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 80.31 และเมื่อพิจารณาเฉพาะไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เทียบ
กับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายลดลงร้อยละ 14.84 และ 8.45 ตามลำดับ
ด้านการส่งออกในช่วง 9 เดือนของปี 2544 ตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยมีมูลค่า 6,621.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 20.77 โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่าการส่งออก 1,986.30 ล้านบาท ลดลงจาก
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ 7.91 และเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนจากปัจจัยภายใน
และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รวมทั้งเกิดปัญหารถจักรยานยนต์ลอกเลียนแบบจากประเทศจีน ที่มีคุณภาพต่ำ แต่จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า
รถจักรยานยนต์ที่ผลิตในประเทศ และมีแนวโน้มที่อาจเข้ามาเจาะตลาดไทยได้ หลังจากที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาดของประเทศ
เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและเวียดนาม
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 514.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6,097.59 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ
67.16
ถึงแม้ว่าการผลิตรถจักรยานยนต์ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วแต่การผลิตมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่
ไตรมาศแรกของปี 2544 ในขณะที่ยอดขายค่อนข้างลดลง และเมื่อพิจารณาร่วมกับยอดการส่งออกที่ลดลงและยอดการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น
อย่างมากในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยกำลังถูกแย่งชิงตลาดทั้งภายในประเทศและ
ตลาดส่งออกจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์จากจีน ซึ่งหากภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่มีการปรับตัวการส่งออกและการผลิตในไตรมาสที่ 4
ของปี 2544 นี้ก็น่าจะปรับตัวลดลงในขณะที่ยอดการนำเข้าก็น่าจะเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มีมูลค่า 8,838.93 ล้านบาท และชิ้นส่วน
อะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 1,269.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 27.69 และ 47.11 ตามลำดับ เฉพาะในช่วง
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) เป็นมูลค่า 3,509.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ 29.05 และมีการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เป็นมูลค่า 573.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.61 สำหรับ
ชิ้นส่วนที่มีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดก็คือเครื่องยนต์ (โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล) เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิต
เครื่องยนต์ดีเซลที่สำคัญในภูมิภาคนี้ การที่มีการส่งออกเครื่องยนต์ที่มากขึ้นก็แสดงให้เห็นปริมาณความต้องการในตลาดรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ในภูมิภาคเอเซียนนี้
ในขณะเดียวกันจากการที่ปริมาณการผลิตในประเทศมากขึ้นก็ทำให้มูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทย
ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ทุกชิ้น ทำให้ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 ประเทศไทยมีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรวมทั้ง
โครงรถและตัวถัง 47,747.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.67 มีการนำเข้ายางรถยนต์ 1,617.60 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.75 และมีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ 2,323.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.73 เฉพาะ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรวมทั้งโครงรถและตัวถัง 17,249.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ 24.24 มีการนำเข้ายางรถยนต์ 574.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.97 และมีการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ 773.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.35
จากการที่ปริมาณความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ จึง
เป็นไปได้ว่าปริมาณการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 จะเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ปริมาณจำหน่ายรถยนต์ ที่จะ
เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายด้วยเช่นกัน
ตารางที่ 1: การผลิตยานยนต์
หน่วย: คัน
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์ 297866 331499 11.29 106453 115169 8.19 107099
รถยนต์นั่ง 74256 118720 59.88 39980 44982 12.51 25546
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 213163 205084 -3.79 63975 67422 5.39 77498
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10447 7695 -26.34 2498 2765 10.69 4055
รถจักรยานยนต์ 849942 945829 11.28 326828 278343 -14.84 249157
ครอบครัว 823897 904068 9.73 314199 261441 -16.79 241723
สปอร์ต 26045 41761 60.34 12629 16902 33.83 7434
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 2: การจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย: คัน
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์ 184522 209137 13.34 78281 69119 -11.70 62183
รถยนต์นั่ง 58613 73126 24.76 25929 26412 1.86 18378
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 106718 118507 11.05 45715 37010 -19.04 37175
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 19191 17504 -8.79 6637 5697 -14.16 6630
รถจักรยานยนต์ 595021 660841 11.06 232234 212600 -8.45 187654
ครอบครัว 570976 638649 11.85 225383 204533 -9.25 180502
สปอร์ต 24045 22192 -7.71 6851 8067 17.75 7152
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 3: การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน
หน่วย: ล้านบาท
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์(CBU) (คัน) 105323 148590 41.08 41876 67710 61.69 46101
รถยนต์ 42550.95 60611.2642.44 20109.18 22308.8910.94 19147.72
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) 6921.99 8838.93 27.69 2719.76 3509.90 29.05 2848.29
เครื่องยนต์ 5151.76 8840.40 71.60 1888.07 5045.75 167.24 1935.29
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 862.93 1269.44 47.11 363.59 573.04 57.61 341.40
รถจักรยานยนต์ (คัน) 207427 226777 9.33 70099 61019 -12.95 75829
รถจักรยานยนต์ 5483.01 6621.79 20.77 2156.83 1986.30 -7.91 2263.58
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) 1911.33 2451.15 28.24 653.41 1215.17 85.97 682.28
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 117.05 501.67 328.59 149.36 182.37 22.10 58.17
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 4: การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์และชิ้นส่วน 1684.8 1880.5 11.62 578 720.9 24.72 700.2
รถยนต์นั่ง 126 492.1 290.56 145 226.8 56.41 66.1
รถบรรทุกและรถปิกอัพ 975.8 785.4 -19.51 246.8 260.2 5.43 429
ชุดสายไฟในรถยนต์ 175.9 129.3 -26.49 35 57.1 63.14 57.4
ชิ้นส่วนรถยนต์ 407.1 473.8 16.38 151.3 176.8 16.85 147.7
รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน 215.8 187.5 -13.11 62.5 58.9 -5.76 74.5
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 250.3 222.3 -11.19 70.6 76.7 8.64 93.6
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์ 48.4 40.5 -16.32 11.1 17.3 55.86 16.6
และส่วนประกอบ
ยานยนต์และชิ้นส่วน 2233.7 2386.7 6.85 740 895.5 21.01 895.4
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ตารางที่ 5: การนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน
หน่วย: ล้านบาท
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์นั่ง 8828.70 6796.50 -23.02 2377.60 2476.10 4.14 4.14
รถยนต์โดยสารและ 5078.50 3546.90 -30.16 1066.60 1310.70 22.89 22.89
รถบรรทุก
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ 41638.60 47747.8014.67 13883.70 17249.4024.24 24.24
โครงรถและตัวถัง
ยางรถยนต์ 1117.50 1617.60 44.75 508.20 574.10 12.97 12.97
รถจักรยานยนต์ 8.30 514.40 6097.59 190.90 319.10 67.16 67.16
ส่วนประกอบและ 1990.10 2323.10 16.73 727.00 773.20 6.35 6.35
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 5. การนำเข้ายานยนต์
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
ยานยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน 1512 1405.1 -7.07 414.2 499.7 20.64 527.9
รถยนต์นั่ง 228 151.9 -33.38 52.3 54.4 4.02 70.2
รถปิกอัพและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 130.5 79.5 -39.08 23.5 28.8 22.55 45.7
ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ 1070.5 1071.7 0.11 306 765.7 150.23 385.3
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
การจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกหลายประเภท ในด้านการลงทุนประเทศไทยเป็นศูนย์รวม
ของผู้ผลิตยานยนต์ทั่วโลก ทั้งค่ายญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาเหนือ และเป็นฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพและรถจักรยานยนต์อันดับต้นของโลก ใน
ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ คือ การก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่
11 กันยายน 2544 ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้ส่งผลต่อตลาดยานยนต์ในอาเซียนรวมทั้งไทยด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากความตึงเครียดได้คลี่คลายลง
ผู้บริโภคเริ่มหายจากการตื่นตระหนก รวมทั้งความมั่นใจต่อการวางตัวและท่าทีของรัฐบาลไทยในเหตุดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตลาดยานยนต์ไทยยังคงมีศักยภาพที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ช่วงหลังจากนี้ไป อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะกลับมากระเตื้องและเติบโตขึ้น
ได้ต่อไปอีก
อุตสาหกรรมรถยนต์
จากการที่บริษัทรถยนต์ต่างๆ มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด และมีการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายทางการตลาดมาแข่งขัน
ทำให้ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 นี้ ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณการผลิตและ
การจำหน่ายเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.29 และ 13.34 ตามลำดับ ซึ่งรถยนต์นั่งเป็นกลุ่มที่มีปริมาณการผลิต
และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศ ความหลากหลายของรุ่นต่างๆ ในกลุ่มรถยนต์นั่ง และการส่งออก
ที่ยังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่รถยนต์ปิคอัพ 1 ตัน มีปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง
เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 จะเห็นว่า
ปริมาณการผลิตปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 8.19 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการส่งออกที่ยังคงมีการขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับปริมาณ
การจำหน่ายพบว่ามีเพียงรถยนต์นั่งเท่านั้นที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนของปี 2544 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU)
จำนวน 148,590 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 41.08 หรือมีปริมาณการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 60,611.26 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.44 ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 67,710 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2543 ร้อยละ 46.87 หรือมีปริมาณการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 22,308.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.51 โดยในไตรมาสที่ 3
ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.69 และคิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
10.94
สำหรับการนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนของปี 2544 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 6,796.50 ล้านบาท ลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 23.02 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 3,546.90 ล้านบาท ลดลงจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 30.16 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง
เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.89
คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 จะมีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศที่มากกว่าทุกไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจาก
เป็นไตรมาสสุดท้ายก่อนสิ้นปี ซึ่งที่ผ่านมา จะมีการแข่งขันกันเพื่อปิดยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ดังนั้น หลายค่ายรถยนต์จะมีการเร่งโหม
กิจกรรมส่งเสริมการขาย และทยอยเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยมีการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.28 แต่
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์กลับลดลงร้อยละ 11.06 ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงถึงร้อยละ
96.67 ทั้งนี้ รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ มีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 80.31 และเมื่อพิจารณาเฉพาะไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เทียบ
กับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายลดลงร้อยละ 14.84 และ 8.45 ตามลำดับ
ด้านการส่งออกในช่วง 9 เดือนของปี 2544 ตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยมีมูลค่า 6,621.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 20.77 โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่าการส่งออก 1,986.30 ล้านบาท ลดลงจาก
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ 7.91 และเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนจากปัจจัยภายใน
และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รวมทั้งเกิดปัญหารถจักรยานยนต์ลอกเลียนแบบจากประเทศจีน ที่มีคุณภาพต่ำ แต่จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า
รถจักรยานยนต์ที่ผลิตในประเทศ และมีแนวโน้มที่อาจเข้ามาเจาะตลาดไทยได้ หลังจากที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาดของประเทศ
เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและเวียดนาม
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 514.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6,097.59 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ
67.16
ถึงแม้ว่าการผลิตรถจักรยานยนต์ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วแต่การผลิตมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่
ไตรมาศแรกของปี 2544 ในขณะที่ยอดขายค่อนข้างลดลง และเมื่อพิจารณาร่วมกับยอดการส่งออกที่ลดลงและยอดการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น
อย่างมากในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยกำลังถูกแย่งชิงตลาดทั้งภายในประเทศและ
ตลาดส่งออกจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์จากจีน ซึ่งหากภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่มีการปรับตัวการส่งออกและการผลิตในไตรมาสที่ 4
ของปี 2544 นี้ก็น่าจะปรับตัวลดลงในขณะที่ยอดการนำเข้าก็น่าจะเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มีมูลค่า 8,838.93 ล้านบาท และชิ้นส่วน
อะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 1,269.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 27.69 และ 47.11 ตามลำดับ เฉพาะในช่วง
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) เป็นมูลค่า 3,509.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ 29.05 และมีการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เป็นมูลค่า 573.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.61 สำหรับ
ชิ้นส่วนที่มีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดก็คือเครื่องยนต์ (โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล) เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิต
เครื่องยนต์ดีเซลที่สำคัญในภูมิภาคนี้ การที่มีการส่งออกเครื่องยนต์ที่มากขึ้นก็แสดงให้เห็นปริมาณความต้องการในตลาดรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ในภูมิภาคเอเซียนนี้
ในขณะเดียวกันจากการที่ปริมาณการผลิตในประเทศมากขึ้นก็ทำให้มูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทย
ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ทุกชิ้น ทำให้ในช่วง 9 เดือนของปี 2544 ประเทศไทยมีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรวมทั้ง
โครงรถและตัวถัง 47,747.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.67 มีการนำเข้ายางรถยนต์ 1,617.60 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.75 และมีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ 2,323.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.73 เฉพาะ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรวมทั้งโครงรถและตัวถัง 17,249.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ร้อยละ 24.24 มีการนำเข้ายางรถยนต์ 574.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.97 และมีการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ 773.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.35
จากการที่ปริมาณความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ จึง
เป็นไปได้ว่าปริมาณการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 จะเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ปริมาณจำหน่ายรถยนต์ ที่จะ
เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายด้วยเช่นกัน
ตารางที่ 1: การผลิตยานยนต์
หน่วย: คัน
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์ 297866 331499 11.29 106453 115169 8.19 107099
รถยนต์นั่ง 74256 118720 59.88 39980 44982 12.51 25546
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 213163 205084 -3.79 63975 67422 5.39 77498
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10447 7695 -26.34 2498 2765 10.69 4055
รถจักรยานยนต์ 849942 945829 11.28 326828 278343 -14.84 249157
ครอบครัว 823897 904068 9.73 314199 261441 -16.79 241723
สปอร์ต 26045 41761 60.34 12629 16902 33.83 7434
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 2: การจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย: คัน
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์ 184522 209137 13.34 78281 69119 -11.70 62183
รถยนต์นั่ง 58613 73126 24.76 25929 26412 1.86 18378
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 106718 118507 11.05 45715 37010 -19.04 37175
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 19191 17504 -8.79 6637 5697 -14.16 6630
รถจักรยานยนต์ 595021 660841 11.06 232234 212600 -8.45 187654
ครอบครัว 570976 638649 11.85 225383 204533 -9.25 180502
สปอร์ต 24045 22192 -7.71 6851 8067 17.75 7152
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 3: การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน
หน่วย: ล้านบาท
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์(CBU) (คัน) 105323 148590 41.08 41876 67710 61.69 46101
รถยนต์ 42550.95 60611.2642.44 20109.18 22308.8910.94 19147.72
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) 6921.99 8838.93 27.69 2719.76 3509.90 29.05 2848.29
เครื่องยนต์ 5151.76 8840.40 71.60 1888.07 5045.75 167.24 1935.29
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 862.93 1269.44 47.11 363.59 573.04 57.61 341.40
รถจักรยานยนต์ (คัน) 207427 226777 9.33 70099 61019 -12.95 75829
รถจักรยานยนต์ 5483.01 6621.79 20.77 2156.83 1986.30 -7.91 2263.58
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) 1911.33 2451.15 28.24 653.41 1215.17 85.97 682.28
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 117.05 501.67 328.59 149.36 182.37 22.10 58.17
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 4: การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์และชิ้นส่วน 1684.8 1880.5 11.62 578 720.9 24.72 700.2
รถยนต์นั่ง 126 492.1 290.56 145 226.8 56.41 66.1
รถบรรทุกและรถปิกอัพ 975.8 785.4 -19.51 246.8 260.2 5.43 429
ชุดสายไฟในรถยนต์ 175.9 129.3 -26.49 35 57.1 63.14 57.4
ชิ้นส่วนรถยนต์ 407.1 473.8 16.38 151.3 176.8 16.85 147.7
รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน 215.8 187.5 -13.11 62.5 58.9 -5.76 74.5
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 250.3 222.3 -11.19 70.6 76.7 8.64 93.6
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์ 48.4 40.5 -16.32 11.1 17.3 55.86 16.6
และส่วนประกอบ
ยานยนต์และชิ้นส่วน 2233.7 2386.7 6.85 740 895.5 21.01 895.4
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ตารางที่ 5: การนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน
หน่วย: ล้านบาท
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
รถยนต์นั่ง 8828.70 6796.50 -23.02 2377.60 2476.10 4.14 4.14
รถยนต์โดยสารและ 5078.50 3546.90 -30.16 1066.60 1310.70 22.89 22.89
รถบรรทุก
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ 41638.60 47747.8014.67 13883.70 17249.4024.24 24.24
โครงรถและตัวถัง
ยางรถยนต์ 1117.50 1617.60 44.75 508.20 574.10 12.97 12.97
รถจักรยานยนต์ 8.30 514.40 6097.59 190.90 319.10 67.16 67.16
ส่วนประกอบและ 1990.10 2323.10 16.73 727.00 773.20 6.35 6.35
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 5. การนำเข้ายานยนต์
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง% 2544 2544 เปลี่ยนแปลง% 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) (ก.ค.-ก.ย.)
ยานยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน 1512 1405.1 -7.07 414.2 499.7 20.64 527.9
รถยนต์นั่ง 228 151.9 -33.38 52.3 54.4 4.02 70.2
รถปิกอัพและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 130.5 79.5 -39.08 23.5 28.8 22.55 45.7
ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ 1070.5 1071.7 0.11 306 765.7 150.23 385.3
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--