EU รุกเจรจาสองฝ่ายเพื่อเปิดตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยได้ทำข้อตกลงสองฝ่ายกับศรีลังกา โครเอเชียและยูเครนแล้ว และได้ขอเข้าพบปลัดกระทรวงพาณิชย์เพื่อหารือเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าสิ่งทอสองฝ่ายระหว่าง EU กับไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งจะมีการหารือกันต่อไป
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 คณะมนตรีสหภาพยุโรปได้ตัดสินใจให้อำนาจคณะกรรมาธิการในการเจรจาสองฝ่ายเปิดตลาดสิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มกับสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยยึดหลักการตอบแทนซึ่งกันและกัน ศรีลังกาเป็นประเทศแรกที่ได้เจรจากับ EU เพื่อทำความตกลงยกเลิกโควตาสำหรับการนำเข้าสิ่งทอก่อนกำหนด โดยได้ลงนามกันเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ซึ่งศรีลังกาได้ตกลงยินยอมที่จะผูกพันอัตราภาษีสินค้าสิ่งทอประเภทวัตถุดิบที่ร้อยละ 0 เส้นด้าย เส้นใยที่ร้อยละ 5 ผ้าผืนที่ร้อยละ 10 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ร้อยละ 17.5 และลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทออื่นๆ รวมทั้งพรม จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 10 ทั้งนี้ ภาษีที่ศรีลังกาเรียกเก็บจริงมีอัตราที่ต่ำกว่าที่ได้แจ้งผูกพันไว้ ข้อตกลงระหว่าง EU กับศรีลังกาจะเป็นการประกันว่าศรีลังกาจะไม่เก็บภาษีมากกว่าที่ระบุในข้อตกลง ศรีลังกายังตกลงที่จะไม่ใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีใดๆ สำหรับการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจาก EU ขณะที่ EU จะยกเลิกการจำกัดโควตานำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป 4 รายการที่ EU ยังคงไว้สำหรับการนำเข้าจากศรีลังกาได้แก่ รายการ 6 (กางเกง), 7 (เสื้อสตรีทำด้วยฝ้าย), 8 (เสื้อเชิ้ตผ้าฝ้าย) และ 21 (anoraks)
นอกจากนั้น EU และศรีลังกายังได้ตกลงที่จะใช้ระบบ double-checking ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก สำหรับสินค้าประเภท เสื้อยืดคอกลม เสื้อสเวตเตอร์ กางเกงขายาว เสื้อสตรี และเสื้อกระโปรงชุดสตรี (รายการ 4, 5, 6, 7 และ 26 ตามลำดับ) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงการทุ่มตลาดจากประเทศที่สาม ทั้งนี้ หากคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลง ก็สามารถจะยกเลิกข้อผูกพันที่ได้ตกลงกันไว้
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 EU และยูเครนได้ลงนามข้อตกลงการค้าสิ่งทอสองฝ่ายโดย ตั้งแต่ปี 2544 ยูเครนจะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอจาก EU ให้เท่ากับระดับอัตราภาษีที่ EU ผูกพันไว้ใน WTO ในขณะที่ EU ตกลงจะยกเลิกการจำกัดโควตาสำหรับสินค้าสิ่งทอนำเข้าจากยูเครน โดยปี 2543 EU จะขยายปริมาณโควตานำเข้าสิ่งทอจากยูเครนสำหรับสินค้ารายการ 5 (เสื้อสเวตเตอร์ที่สวมทางศีรษะ), 6 (กางเกงขายาว), 7 (เสื้อสตรี/เด็กหญิง เสื้อเชิ้ต), 15 (เสื้อคลุมกันหนาวสตรี/เด็กหญิง), 16 (สูทบุรุษ/เด็กชาย), 26/27 (ชุดสตรี/เด็กหญิง กระโปรง) และ 29 (สูทและชุดสตรี/เด็กหญิง) และตั้งแต่ปี 2544 จะยกเลิกโควตานำเข้าสำหรับสินค้ารายการ 1 (เส้นด้ายฝ้าย), 2 (ผ้าทอด้วยฝ้าย), 3 (ผ้าทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์), 9 (ผ้าทอแบบผ้าขนหนู ใช้ในห้องน้ำ ห้องครัว, 12 (ถุงน่องเสื้อกางเกงยืดแนบเนื้อ ถุงน่องกางเกง), 20 (ผ้าที่ใช้กับเตียง) และ 39 (ผ้าที่ใช้กับโต๊ะ ห้องน้ำและห้องครัว) โดยรายการ 2 และ 12 กำหนดให้ใช้ระบบ surveillance หรือ double-checking และเมื่อ EU ได้รับการยืนยันจากยูเครนว่าได้มีการดำเนินการลดอัตราภาษีนำเข้าสิ่งทอจาก EU ลงจนเท่ากับระดับอัตราภาษีของ EU แล้ว EU ก็จะยกเลิกการจำกัดโควตาสำหรับสินค้าที่เหลือทั้งหมดทันที
นอกจากนั้น EU ยังได้ทำข้อตกลงการค้าสิ่งทอฉบับใหม่กับประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 เพื่อแก้ไขข้อตกลงเดิมของปี 2535 โดย EU ได้ขยายโควตานำเข้าให้เวียดนามเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 23 จากข้อตกลงฉบับเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนกับการขอให้เวียดนามลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอของ EU จำนวน 186 รายการ และ EU ได้ทำข้อตกลงกับโครเอเชีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 EU จะยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปทุกรายการที่นำเข้าจากโครเอเชีย แลกเปลี่ยนกับการที่โครเอเชียลดอัตราภาษีสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าจาก EU
การยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าสิ่งทอที่ EU ทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปยัง EU หากสินค้าของไทยยังถูกจำกัดโควตา โดยสินค้าที่ไทยอาจได้รับผลกระทบ ได้แก่ เสื้อสตรีและเสื้อเชิ้ตบุรุษ เสื้อเชิ้ตทำด้วยผ้าฝ้าย และกางเกง ซึ่ง EU ยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าจากศรีลังกา และเสื้อผ้าประเภทถักและทอ ซึ่ง EU ยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าจากยูเครน
การดำเนินการของ EU ในการเปิดตลาดเป็นการดำเนินการโดยใช้หลักการต่างตอบแทน แม้ว่าประเทศคู่ค้าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม โดยหากประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอไม่ยอมเปิดตลาดให้ EU ก็จะไม่ยอมขยายหรือยกเลิกโควตาให้เช่นกัน หรือเมื่อทำความตกลงกันแล้ว ประเทศผู้ส่งออกสิ่งทอไป EU ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ตกลงกันไว้ EU ก็จะยกเลิกการเปิดตลาดให้ อันเป็นการสร้างเงื่อนไขในการเปิดตลาดของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอได้ต่อต้านการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนั้น EU ยังได้ติดต่อกับผู้แทนของประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งไทย เพื่อชักชวนให้เจรจาเปิดตลาดสิ่งทอ แต่ยังไม่สามารถทำความตกลงกับประเทศใดได้ในขณะนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอจะต่อต้านการดำเนินการของประเทศพัฒนาแล้วที่สร้างเงื่อนไขในการเปิดตลาด แต่สมาชิกเช่นศรีลังกาได้ทำข้อตกลงกับ EU นอกจากนั้น ยังมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า มาเลเซียและฟิลิปปินส์กำลังพิจารณาที่จะขอเปิดเจรจากับ EU เช่นกัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 คณะมนตรีสหภาพยุโรปได้ตัดสินใจให้อำนาจคณะกรรมาธิการในการเจรจาสองฝ่ายเปิดตลาดสิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มกับสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยยึดหลักการตอบแทนซึ่งกันและกัน ศรีลังกาเป็นประเทศแรกที่ได้เจรจากับ EU เพื่อทำความตกลงยกเลิกโควตาสำหรับการนำเข้าสิ่งทอก่อนกำหนด โดยได้ลงนามกันเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ซึ่งศรีลังกาได้ตกลงยินยอมที่จะผูกพันอัตราภาษีสินค้าสิ่งทอประเภทวัตถุดิบที่ร้อยละ 0 เส้นด้าย เส้นใยที่ร้อยละ 5 ผ้าผืนที่ร้อยละ 10 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ร้อยละ 17.5 และลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทออื่นๆ รวมทั้งพรม จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 10 ทั้งนี้ ภาษีที่ศรีลังกาเรียกเก็บจริงมีอัตราที่ต่ำกว่าที่ได้แจ้งผูกพันไว้ ข้อตกลงระหว่าง EU กับศรีลังกาจะเป็นการประกันว่าศรีลังกาจะไม่เก็บภาษีมากกว่าที่ระบุในข้อตกลง ศรีลังกายังตกลงที่จะไม่ใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีใดๆ สำหรับการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจาก EU ขณะที่ EU จะยกเลิกการจำกัดโควตานำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป 4 รายการที่ EU ยังคงไว้สำหรับการนำเข้าจากศรีลังกาได้แก่ รายการ 6 (กางเกง), 7 (เสื้อสตรีทำด้วยฝ้าย), 8 (เสื้อเชิ้ตผ้าฝ้าย) และ 21 (anoraks)
นอกจากนั้น EU และศรีลังกายังได้ตกลงที่จะใช้ระบบ double-checking ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก สำหรับสินค้าประเภท เสื้อยืดคอกลม เสื้อสเวตเตอร์ กางเกงขายาว เสื้อสตรี และเสื้อกระโปรงชุดสตรี (รายการ 4, 5, 6, 7 และ 26 ตามลำดับ) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงการทุ่มตลาดจากประเทศที่สาม ทั้งนี้ หากคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลง ก็สามารถจะยกเลิกข้อผูกพันที่ได้ตกลงกันไว้
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 EU และยูเครนได้ลงนามข้อตกลงการค้าสิ่งทอสองฝ่ายโดย ตั้งแต่ปี 2544 ยูเครนจะลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอจาก EU ให้เท่ากับระดับอัตราภาษีที่ EU ผูกพันไว้ใน WTO ในขณะที่ EU ตกลงจะยกเลิกการจำกัดโควตาสำหรับสินค้าสิ่งทอนำเข้าจากยูเครน โดยปี 2543 EU จะขยายปริมาณโควตานำเข้าสิ่งทอจากยูเครนสำหรับสินค้ารายการ 5 (เสื้อสเวตเตอร์ที่สวมทางศีรษะ), 6 (กางเกงขายาว), 7 (เสื้อสตรี/เด็กหญิง เสื้อเชิ้ต), 15 (เสื้อคลุมกันหนาวสตรี/เด็กหญิง), 16 (สูทบุรุษ/เด็กชาย), 26/27 (ชุดสตรี/เด็กหญิง กระโปรง) และ 29 (สูทและชุดสตรี/เด็กหญิง) และตั้งแต่ปี 2544 จะยกเลิกโควตานำเข้าสำหรับสินค้ารายการ 1 (เส้นด้ายฝ้าย), 2 (ผ้าทอด้วยฝ้าย), 3 (ผ้าทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์), 9 (ผ้าทอแบบผ้าขนหนู ใช้ในห้องน้ำ ห้องครัว, 12 (ถุงน่องเสื้อกางเกงยืดแนบเนื้อ ถุงน่องกางเกง), 20 (ผ้าที่ใช้กับเตียง) และ 39 (ผ้าที่ใช้กับโต๊ะ ห้องน้ำและห้องครัว) โดยรายการ 2 และ 12 กำหนดให้ใช้ระบบ surveillance หรือ double-checking และเมื่อ EU ได้รับการยืนยันจากยูเครนว่าได้มีการดำเนินการลดอัตราภาษีนำเข้าสิ่งทอจาก EU ลงจนเท่ากับระดับอัตราภาษีของ EU แล้ว EU ก็จะยกเลิกการจำกัดโควตาสำหรับสินค้าที่เหลือทั้งหมดทันที
นอกจากนั้น EU ยังได้ทำข้อตกลงการค้าสิ่งทอฉบับใหม่กับประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 เพื่อแก้ไขข้อตกลงเดิมของปี 2535 โดย EU ได้ขยายโควตานำเข้าให้เวียดนามเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 23 จากข้อตกลงฉบับเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนกับการขอให้เวียดนามลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอของ EU จำนวน 186 รายการ และ EU ได้ทำข้อตกลงกับโครเอเชีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 EU จะยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปทุกรายการที่นำเข้าจากโครเอเชีย แลกเปลี่ยนกับการที่โครเอเชียลดอัตราภาษีสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าจาก EU
การยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าสิ่งทอที่ EU ทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปยัง EU หากสินค้าของไทยยังถูกจำกัดโควตา โดยสินค้าที่ไทยอาจได้รับผลกระทบ ได้แก่ เสื้อสตรีและเสื้อเชิ้ตบุรุษ เสื้อเชิ้ตทำด้วยผ้าฝ้าย และกางเกง ซึ่ง EU ยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าจากศรีลังกา และเสื้อผ้าประเภทถักและทอ ซึ่ง EU ยกเลิกการจำกัดโควตาสินค้าจากยูเครน
การดำเนินการของ EU ในการเปิดตลาดเป็นการดำเนินการโดยใช้หลักการต่างตอบแทน แม้ว่าประเทศคู่ค้าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม โดยหากประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอไม่ยอมเปิดตลาดให้ EU ก็จะไม่ยอมขยายหรือยกเลิกโควตาให้เช่นกัน หรือเมื่อทำความตกลงกันแล้ว ประเทศผู้ส่งออกสิ่งทอไป EU ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ตกลงกันไว้ EU ก็จะยกเลิกการเปิดตลาดให้ อันเป็นการสร้างเงื่อนไขในการเปิดตลาดของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอได้ต่อต้านการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนั้น EU ยังได้ติดต่อกับผู้แทนของประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งไทย เพื่อชักชวนให้เจรจาเปิดตลาดสิ่งทอ แต่ยังไม่สามารถทำความตกลงกับประเทศใดได้ในขณะนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอจะต่อต้านการดำเนินการของประเทศพัฒนาแล้วที่สร้างเงื่อนไขในการเปิดตลาด แต่สมาชิกเช่นศรีลังกาได้ทำข้อตกลงกับ EU นอกจากนั้น ยังมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า มาเลเซียและฟิลิปปินส์กำลังพิจารณาที่จะขอเปิดเจรจากับ EU เช่นกัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-