กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เยือนสหพันธรัฐเยอรมนีระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2543 นั้นวันนี้ (7 มีนาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือระหว่างนายสุรินทร์กับนาย Joschka Fischer รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าพบนาย Joschka Fischer รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี ณ ที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเบอร์ลิน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค สถานการณ์ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์สองฝ่าย ดังนี้
1. บทบาทของไทยในภูมิภาค นาย Fischer แสดงความยินดีที่สถานการณ์ด้านเศษฐกิจของไทย รวมทั้งเศรษฐกิจของภูมิภาคมีความคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งเป็นผลดีต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค อีกทั้งชื่นชมบทบาทที่รัฐบาลไทยมีต่อภูมิภาค และถือว่าไทยมีบทบาทนำและเป็นตัวแปรที่มีผลต่อเสถียรภาพในภูมิภาค
2. ติมอร์ตะวันออก สหพันธ์ฯ แสดงความชื่นชมบทบาทของไทยในการช่วย คลี่คลายปัญหาติมอร์ตะวันออก ฝ่ายไทยขอบคุณที่สหพันธ์ฯ สนับสนุนนโยบายของไทยในเรื่องนี้ ไทยปรารถนาที่จะเห็นสหภาพยุโรปมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการให้ความช่วยเหลือติมอร์ตะวันออก เพราะดินแดนนี้ได้รับความเสียหายและถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันอาเซียนก็พยายามให้ความช่วยเหลือ แต่อาเซียนมีทรัพยากรจำกัด นาย Fischer ชี้แจงว่า สหพันธ์ฯ ตระหนักดีว่า ติมอร์ตะวันออกไม่ได้เป็นปัญหาของอาเซียน แต่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ และสหพันธ์ฯ ได้ร่วมกับโปรตุเกสให้ความช่วยเหลือติมอร์ตะวันออกหลายเรื่อง ซึ่งนายสุรินทร์ฯ ได้เสนอว่า ไทยมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านเกษตรกรรมและบริการสาธารณสุขชนบท ซึ่งอาจร่วมมือกับ สหภาพยุโรปในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแบบสามฝ่ายแก่ติมอร์ตะวันออกได้
3. ปัญหา Chechnya และตะวันออกกลาง นายสุรินทร์ฯ กล่าวแสดงความห่วงกังวลต่อปัญหา Chechnya ซึ่งยังคงตึงเครียดหนัก ซึ่งนาย Fischer กล่าวว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ของยุโรปที่จะเห็นรัสเซียแตกแยกออกเป็นหลายส่วน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ประสงค์จะเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นใน Chechnya แต่การลงมือกระทำสิ่งใดในขณะนี้จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี สหพันธ์ฯ เห็นว่า ควรจะรอหลังเลือกตั้งในรัสเซีย
4. การเชิญนาย Fischer เยือนไทย นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวเชิญนาย Fischer แวะเยือนไทยในช่วงระหว่างที่เดินทางไปประชุม G-8 ที่ญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม 2543 ซึ่งนาย Fischer รับว่าจะพยายามหาโอกาสแวะเยือนไทย เพราะตนเองมีความรู้สึกที่ดีกับประเทศไทยเสมอและตระหนักอยู่เสมอว่าไทยเป็นตัวแปรสำคัญของความมั่นคงในภูมิภาค
5. สถานการณ์ราคาน้ำมัน นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลัง ขยับขึ้นสูงมาก ซึ่งก็จะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเอเซียและในท้ายที่สุดก็จะกระทบต่อกลุ่มประเทศโอเปคซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วย ทั้งนี้ ตนก็ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นกับสมาชิกกลุ่มประเทศโอเปกในการพบปะกันที่กรุงเทพฯ และที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นาย Fischer กล่าวเห็นด้วย แต่ก็ได้ย้ำว่า ราคาน้ำมันไม่ควรจะถูกเกินไป และการใช้น้ำมันควรเป็นไปอย่างประหยัด ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. เรื่องอื่น ๆ นายสุรินทร์ฯ แจ้งว่า เลขาธิการสหประชาชาติได้เสนอในช่วงที่มีการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ว่า เอเชียน่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการช่วยเหลือแอฟริกา เพราะระดับการพัฒนาของเอเชีย เทคโนโลยี และการจัดการของเอเชียจะเหมาะสมกับแอฟริกา ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ดี ทั้งนี้ เอชียอาจร่วมกับฝ่ายยุโรปในการให้ความช่วยเหลือได้ ซึ่งนาย Fischer ได้กล่าวให้ความสนับสนุน นายสุรินทร์ฯ ได้เชิญชวนให้สหพันธ์ฯ พิจารณาจัดส่งทีมฟุตบอลมาแข่งขัน/สาธิตที่ประเทศไทยด้วย ซึ่งนาย Fischer รับจะให้ความสนับสนุน--จบ--
ตามที่ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เยือนสหพันธรัฐเยอรมนีระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2543 นั้นวันนี้ (7 มีนาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการหารือระหว่างนายสุรินทร์กับนาย Joschka Fischer รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าพบนาย Joschka Fischer รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี ณ ที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเบอร์ลิน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค สถานการณ์ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์สองฝ่าย ดังนี้
1. บทบาทของไทยในภูมิภาค นาย Fischer แสดงความยินดีที่สถานการณ์ด้านเศษฐกิจของไทย รวมทั้งเศรษฐกิจของภูมิภาคมีความคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งเป็นผลดีต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค อีกทั้งชื่นชมบทบาทที่รัฐบาลไทยมีต่อภูมิภาค และถือว่าไทยมีบทบาทนำและเป็นตัวแปรที่มีผลต่อเสถียรภาพในภูมิภาค
2. ติมอร์ตะวันออก สหพันธ์ฯ แสดงความชื่นชมบทบาทของไทยในการช่วย คลี่คลายปัญหาติมอร์ตะวันออก ฝ่ายไทยขอบคุณที่สหพันธ์ฯ สนับสนุนนโยบายของไทยในเรื่องนี้ ไทยปรารถนาที่จะเห็นสหภาพยุโรปมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการให้ความช่วยเหลือติมอร์ตะวันออก เพราะดินแดนนี้ได้รับความเสียหายและถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันอาเซียนก็พยายามให้ความช่วยเหลือ แต่อาเซียนมีทรัพยากรจำกัด นาย Fischer ชี้แจงว่า สหพันธ์ฯ ตระหนักดีว่า ติมอร์ตะวันออกไม่ได้เป็นปัญหาของอาเซียน แต่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ และสหพันธ์ฯ ได้ร่วมกับโปรตุเกสให้ความช่วยเหลือติมอร์ตะวันออกหลายเรื่อง ซึ่งนายสุรินทร์ฯ ได้เสนอว่า ไทยมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านเกษตรกรรมและบริการสาธารณสุขชนบท ซึ่งอาจร่วมมือกับ สหภาพยุโรปในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแบบสามฝ่ายแก่ติมอร์ตะวันออกได้
3. ปัญหา Chechnya และตะวันออกกลาง นายสุรินทร์ฯ กล่าวแสดงความห่วงกังวลต่อปัญหา Chechnya ซึ่งยังคงตึงเครียดหนัก ซึ่งนาย Fischer กล่าวว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ของยุโรปที่จะเห็นรัสเซียแตกแยกออกเป็นหลายส่วน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ประสงค์จะเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นใน Chechnya แต่การลงมือกระทำสิ่งใดในขณะนี้จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี สหพันธ์ฯ เห็นว่า ควรจะรอหลังเลือกตั้งในรัสเซีย
4. การเชิญนาย Fischer เยือนไทย นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวเชิญนาย Fischer แวะเยือนไทยในช่วงระหว่างที่เดินทางไปประชุม G-8 ที่ญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม 2543 ซึ่งนาย Fischer รับว่าจะพยายามหาโอกาสแวะเยือนไทย เพราะตนเองมีความรู้สึกที่ดีกับประเทศไทยเสมอและตระหนักอยู่เสมอว่าไทยเป็นตัวแปรสำคัญของความมั่นคงในภูมิภาค
5. สถานการณ์ราคาน้ำมัน นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลัง ขยับขึ้นสูงมาก ซึ่งก็จะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเอเซียและในท้ายที่สุดก็จะกระทบต่อกลุ่มประเทศโอเปคซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วย ทั้งนี้ ตนก็ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นกับสมาชิกกลุ่มประเทศโอเปกในการพบปะกันที่กรุงเทพฯ และที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นาย Fischer กล่าวเห็นด้วย แต่ก็ได้ย้ำว่า ราคาน้ำมันไม่ควรจะถูกเกินไป และการใช้น้ำมันควรเป็นไปอย่างประหยัด ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. เรื่องอื่น ๆ นายสุรินทร์ฯ แจ้งว่า เลขาธิการสหประชาชาติได้เสนอในช่วงที่มีการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ว่า เอเชียน่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการช่วยเหลือแอฟริกา เพราะระดับการพัฒนาของเอเชีย เทคโนโลยี และการจัดการของเอเชียจะเหมาะสมกับแอฟริกา ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ดี ทั้งนี้ เอชียอาจร่วมกับฝ่ายยุโรปในการให้ความช่วยเหลือได้ ซึ่งนาย Fischer ได้กล่าวให้ความสนับสนุน นายสุรินทร์ฯ ได้เชิญชวนให้สหพันธ์ฯ พิจารณาจัดส่งทีมฟุตบอลมาแข่งขัน/สาธิตที่ประเทศไทยด้วย ซึ่งนาย Fischer รับจะให้ความสนับสนุน--จบ--