กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้มีการออกประกาศห้ามซ๊อสและซ๊อสปรุงรสวางจำหน่ายในมาเลเซียถ้าตรวจพบว่าสินค้าดังกล่าวมีส่วนผสมของสาร 3-MCPD ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในระดับที่สูงกว่าปริมาณที่รัฐบาลอนุญาต โดยกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้ยึดถือมาตรฐานตามสหภาพยุโรปที่อนุญาตให้มีส่วนผสมของสารดังกล่าวในสินค้า ในปริมาณไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน (20 ppb) หากพบว่าสินค้าใดมีส่วนผสมของสารดังกล่าวเกินปริมาณที่อนุญาตก็จะถูกห้ามจำหน่ายและจะถูกทำลายทันที
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้แจ้งอย่างเป็นทางการไปยังองค์การการค้าโลกถึงการตัดสินใจในการกำหนดระดับปริมาณสาร 3-MCPD ในสินค้าดังกล่าวแล้ว และ รมว. กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย (Datuk Chua Jui Meng) ได้ออกมาแถลงว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป สินค้าอาหารที่จะนำเข้าไปยังประเทศมาเลเซียจะต้องได้รับการรับรองปลอดจากสารดังกล่าว โดยต้องมี Health Certificate แสดงด้วย จึงจะสามารถนำเข้าและวางจำหน่ายในตลาดมาเลเซียได้
อนึ่ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสาร 3-MCPD เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตอาหารที่เรียกว่า Hydrolyzed Vegetable Protein (HVP) ซึ่งรวมถึงการผลิตซ๊อสและซ๊อสปรุงรสจากถั่วเหลือง หอยนางรม และปลา ตลอดจนการผลิตย้ำซุปด้วย
สำหรับสาเหตุที่กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียออกมาประกาศใช้มาตรการห้ามนำเข้าและห้ามวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากรัฐบาลได้รับความกดดันมาจากสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคที่เรียกร้องให้มีการตรวจสอบสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด โดยก่อนหน้านี้ Datuk Yik Phooi Hong สมาชิกสภาแห่งรัฐเปรักได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ภาษาจีนในมาเลเซียเรียกร้องให้ผู้บริโภคดำเนินมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียที่ปล่อยปละละเลยอนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีสาร 3-MCPD ดังกล่าวเข้าไปวางจำหน่ายในตลาดมาเลเซียได้
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้สุ่มตัวอย่างสินค้าที่ผลิตในประเทศมาเลเซียจำนวนกว่า 200 ตัวอย่าง จากตลาดและนำไปทำการตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์มาเลเซีย (University Sains Malaysia) ที่เมืองปีนังด้วยแล้ว
สำหรับประเทศมาเลเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกซ๊อสและซ๊อสปรุงรสมากกว่านำเข้า โดยส่งออกในปี 2543 ที่ผ่านมา มูลค่า 123.31 ล้านริงกิต หรือ 1,479.72 ล้านบาท และนำเข้าในปีที่ผ่านมา มูลค่า 70.74 ล้านริงกิต หรือ 848.88 ล้านบาท สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ คือ ซ๊อสหอยนางรม น้ำปลา และซ๊อสถั่วเหลือง โดยนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์มากที่สุด และนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับสาม มูลค่า 8.08 ล้านริงกิต หรือ 98.16 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
ความเห็นสำนักงานฯ
1. การประกาศมาตรการดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียน่าจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเข้าไปยังมาเลเซียมากขึ้น และอาจจะลุกลามไปยังสินค้าอาหารชนิดอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น ภาคเอกชนควรจะรับทราบเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
2. กรณีที่ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะต้องจัดเตรียม Health Certificate เพื่อเป็นเอกสารประกอบการส่งออกสินค้าอาหารไปยังมาเลเซีย หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองดังกล่าวมีความพร้อมเพียงใด
3. สำหรับสินค้าอาหารประเภทเดียวกันของผู้ส่งออกไทยรายใดที่ยังไม่ได้ประสบกับปัญหานี้ควรที่จะเร่งดำเนินการเพื่อขอรับ Health Certificate จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยด่วน เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศให้เริ่มใช้เอกสารดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
4. จากสถิติในปีที่ผ่านมา แม้ว่ามาเลเซียจะนำเข้าสินค้าประเภทนี้จากประเทศไทยเพียง98.16 ล้านบาท แต่โดยทั่วไปมีสินค้าจากประเทศไทยจำนวนมากที่มาเลเซียนำเข้าต่อจากสิงคโปร์อีกทีหนึ่ง ซึ่งในกรณีดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกสินค้าประเภทซ๊อสและซ๊อสปรุงรสของไทยที่ส่งออกไปยังสิงคโปร์อย่างแน่นอน ผู้ส่งออกไทยจึงควรเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้านหนึ่งของตลาดให้พร้อม
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2544 วันที่ 31 กรกฎาคม 2544--
-อน-
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้แจ้งอย่างเป็นทางการไปยังองค์การการค้าโลกถึงการตัดสินใจในการกำหนดระดับปริมาณสาร 3-MCPD ในสินค้าดังกล่าวแล้ว และ รมว. กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย (Datuk Chua Jui Meng) ได้ออกมาแถลงว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป สินค้าอาหารที่จะนำเข้าไปยังประเทศมาเลเซียจะต้องได้รับการรับรองปลอดจากสารดังกล่าว โดยต้องมี Health Certificate แสดงด้วย จึงจะสามารถนำเข้าและวางจำหน่ายในตลาดมาเลเซียได้
อนึ่ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสาร 3-MCPD เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตอาหารที่เรียกว่า Hydrolyzed Vegetable Protein (HVP) ซึ่งรวมถึงการผลิตซ๊อสและซ๊อสปรุงรสจากถั่วเหลือง หอยนางรม และปลา ตลอดจนการผลิตย้ำซุปด้วย
สำหรับสาเหตุที่กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียออกมาประกาศใช้มาตรการห้ามนำเข้าและห้ามวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากรัฐบาลได้รับความกดดันมาจากสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคที่เรียกร้องให้มีการตรวจสอบสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด โดยก่อนหน้านี้ Datuk Yik Phooi Hong สมาชิกสภาแห่งรัฐเปรักได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ภาษาจีนในมาเลเซียเรียกร้องให้ผู้บริโภคดำเนินมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียที่ปล่อยปละละเลยอนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีสาร 3-MCPD ดังกล่าวเข้าไปวางจำหน่ายในตลาดมาเลเซียได้
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้สุ่มตัวอย่างสินค้าที่ผลิตในประเทศมาเลเซียจำนวนกว่า 200 ตัวอย่าง จากตลาดและนำไปทำการตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์มาเลเซีย (University Sains Malaysia) ที่เมืองปีนังด้วยแล้ว
สำหรับประเทศมาเลเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกซ๊อสและซ๊อสปรุงรสมากกว่านำเข้า โดยส่งออกในปี 2543 ที่ผ่านมา มูลค่า 123.31 ล้านริงกิต หรือ 1,479.72 ล้านบาท และนำเข้าในปีที่ผ่านมา มูลค่า 70.74 ล้านริงกิต หรือ 848.88 ล้านบาท สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ คือ ซ๊อสหอยนางรม น้ำปลา และซ๊อสถั่วเหลือง โดยนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์มากที่สุด และนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับสาม มูลค่า 8.08 ล้านริงกิต หรือ 98.16 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
ความเห็นสำนักงานฯ
1. การประกาศมาตรการดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียน่าจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเข้าไปยังมาเลเซียมากขึ้น และอาจจะลุกลามไปยังสินค้าอาหารชนิดอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น ภาคเอกชนควรจะรับทราบเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
2. กรณีที่ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะต้องจัดเตรียม Health Certificate เพื่อเป็นเอกสารประกอบการส่งออกสินค้าอาหารไปยังมาเลเซีย หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองดังกล่าวมีความพร้อมเพียงใด
3. สำหรับสินค้าอาหารประเภทเดียวกันของผู้ส่งออกไทยรายใดที่ยังไม่ได้ประสบกับปัญหานี้ควรที่จะเร่งดำเนินการเพื่อขอรับ Health Certificate จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยด่วน เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศให้เริ่มใช้เอกสารดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
4. จากสถิติในปีที่ผ่านมา แม้ว่ามาเลเซียจะนำเข้าสินค้าประเภทนี้จากประเทศไทยเพียง98.16 ล้านบาท แต่โดยทั่วไปมีสินค้าจากประเทศไทยจำนวนมากที่มาเลเซียนำเข้าต่อจากสิงคโปร์อีกทีหนึ่ง ซึ่งในกรณีดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกสินค้าประเภทซ๊อสและซ๊อสปรุงรสของไทยที่ส่งออกไปยังสิงคโปร์อย่างแน่นอน ผู้ส่งออกไทยจึงควรเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้านหนึ่งของตลาดให้พร้อม
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2544 วันที่ 31 กรกฎาคม 2544--
-อน-