Q Mark หรือ Quality Mark เป็นตราสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผู้ประกอบการไทยทั้งในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ มีการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามที่แสดงบนฉลากสินค้า ซึ่งครอบคลุมทั้งมาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ตลอดจนมีการนำแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)มาใช้ในการดำเนินธุรกิจภายใต้การรับรองจาก 3 หน่วยงานหลัก คือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภครวมทั้งเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตของผู้ประกอบการไทย
ขั้นตอนการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ Q Mark มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
-การสมัครเพื่อขอรับการประเมิน แบ่งออกตามลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจ โดยผู้ประกอบการในภาคการค้าและภาคบริการติดต่อขอรับการประเมินที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการในภาคการผลิตทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมติดต่อที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในภาคการเงินและการธนาคารติดต่อที่สมาคมธนาคารไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์สมัครขอรับการประเมินต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนการค้าในประเทศไทยและเป็นสมาชิกของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังกล่าว
-การประเมินกิจการและทดสอบผลิตภัณฑ์ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐานของประเทศไทยหรือประเทศคู่ค้า การใช้หลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ และการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
-การใช้ตราสัญลักษณ์ ผู้ประกอบการสามารถนำสัญลักษณ์ Q Mark ไปติดบนผลิตภัณฑ์ตลอดจนใช้ในการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด อาทิ การประชาสัมพันธ์และโฆษณา หลังได้รับอนุญาตเป็นเวลา 2 ปี หากครบกำหนดผู้ประกอบการต้องเข้ารับการประเมินและทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อยืนยันคุณภาพผลิตภัณฑ์และความน่าเชื่อถือขององค์กร
ปัจจุบันผู้บริโภคต่างให้ความสำคัญกับคุณภาพผลิตภัณฑ์และมักเลือกซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำตลาดของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคเพียงเพราะข้อจำกัดของขนาดองค์กร ดังนั้น การได้รับการรับรองด้านคุณภาพภายใต้ตราสัญลักษณ์ Q Mark จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของ SMEs เพราะนอกจากจะช่วยสร้างภาพลักษณ็ที่ดีให้แก่สินค้าและบริการแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศพัฒนาแล้วในฐานะผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
ขั้นตอนการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ Q Mark มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
-การสมัครเพื่อขอรับการประเมิน แบ่งออกตามลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจ โดยผู้ประกอบการในภาคการค้าและภาคบริการติดต่อขอรับการประเมินที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการในภาคการผลิตทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมติดต่อที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในภาคการเงินและการธนาคารติดต่อที่สมาคมธนาคารไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์สมัครขอรับการประเมินต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนการค้าในประเทศไทยและเป็นสมาชิกของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังกล่าว
-การประเมินกิจการและทดสอบผลิตภัณฑ์ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐานของประเทศไทยหรือประเทศคู่ค้า การใช้หลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ และการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
-การใช้ตราสัญลักษณ์ ผู้ประกอบการสามารถนำสัญลักษณ์ Q Mark ไปติดบนผลิตภัณฑ์ตลอดจนใช้ในการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด อาทิ การประชาสัมพันธ์และโฆษณา หลังได้รับอนุญาตเป็นเวลา 2 ปี หากครบกำหนดผู้ประกอบการต้องเข้ารับการประเมินและทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อยืนยันคุณภาพผลิตภัณฑ์และความน่าเชื่อถือขององค์กร
ปัจจุบันผู้บริโภคต่างให้ความสำคัญกับคุณภาพผลิตภัณฑ์และมักเลือกซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำตลาดของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคเพียงเพราะข้อจำกัดของขนาดองค์กร ดังนั้น การได้รับการรับรองด้านคุณภาพภายใต้ตราสัญลักษณ์ Q Mark จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของ SMEs เพราะนอกจากจะช่วยสร้างภาพลักษณ็ที่ดีให้แก่สินค้าและบริการแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศพัฒนาแล้วในฐานะผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-