12/11/44 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยผลการหารือกับประเทศต่างๆในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี WTO ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 10 และ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ได้พบกับนาย Heraldo Munoz รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของชิลี (วันที่ 10 พย.)โดยหยิบยกรื่องการจัดตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและชิลี ความร่วมมือในการเป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาค
“เราขอให้ชิลีใช้ไทยเป็นเมืองหน้าด่านในการส่งสินค้ามาขายในเอเชีย ซึ่งตรงกับความต้องการของชิลีที่ต้องการเป็นเมืองหน้าด่านให้ไทยขยายการค้าเข้าสู่ภูมิภาคอเมริกาด้วย หากแนวความคิดนี้ประสบความสำเร็จจะส่งผลให้การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อจีนทำความตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนในอนาคต ชิลียิ่งจะได้ประโยชน์จากการเป็นเมืองหน้าด่าน”
นายอดิศัยกล่าวว่า ไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทยกับชิลีครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งชิลีจะนำนักธุรกิจมาเยือนไทยในการประชุมครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังได้พบกับนาย Mar Roxas รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (วันที่ 11 พย.)เพื่อหารือถึงปัญหาต่างๆ คือ ยา ข้าวและการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียน ซึ่งเรื่องยานั้นฟิลิปปินส์ต้องการที่จะซื้อจากไทย เพราะปัจจุบันฟิลิปปินส์ต้องนำเข้ายาจากอินเดียที่มีราคาแพงกว่าของไทย แต่ติดปัญหาเรื่องฉลากยา จึงขอให้ไทยจัดทำฉลากยาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกันนี้ได้เสนอขายปุ๋ยและทองแดงให้ไทย ในขณะที่ไทยเสนอขายข้าวโดยให้ฟิลิปปินส์ทำความตกลงซื้อข้าวจากไทยทุกปี “การซื้อขายสินค้าที่เสนอกันมานี้ เราแนะให้ใช้ระบบการค้าแบบหักบัญชี โดยชำระเงินภายใน 1-2 ปี ส่วนเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวนั้น ขณะนี้ไทยร่วมกับลาวและกัมพูชาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเป็นชุดอยู่แล้ว หากฟิลิปปินส์เข้าร่วมด้วย คาดว่าจะสามารถดึงดูดให้ประเทศอื่นๆเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น”
ทางด้านความคืบหน้าของการใช้ระบบการค้าแบบหักบัญชีในขณะนี้ นายอดิศัยกล่าวว่า มีการลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ(MOU)เพิ่มขึ้นอีก 3 ประเทศ คือ ฟิลิบปินส์ ปากีสถาน และอินโดนีเซีย หลังจากที่ได้ลงนาม MOU ไปแล้ว 3 ประเทศคือ ลาว พม่า และมาเลเซีย ส่วนชิลีอยู่ในขั้นพิจารณา
นอกจากนั้นไทยยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับประเทศบาห์เรน ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีของประเทศบาห์เรนเดินทางมาเยือนไทยเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าทางการค้า โดยให้ทั้งสองประเทศเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การเป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคทั้งสอง นั่นคือ กลุ่มประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียรอบๆ บาห์เรน และประเทศเพื่อนบ้านของไทยในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งทางบาห์เรนยังได้เชิญทั้งภาครัฐและเอกชนไทยเดินทางไปสำรวจลู่ทางในการขยายการค้าในบาห์เรนประมาณต้นปี 2545 ด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
“เราขอให้ชิลีใช้ไทยเป็นเมืองหน้าด่านในการส่งสินค้ามาขายในเอเชีย ซึ่งตรงกับความต้องการของชิลีที่ต้องการเป็นเมืองหน้าด่านให้ไทยขยายการค้าเข้าสู่ภูมิภาคอเมริกาด้วย หากแนวความคิดนี้ประสบความสำเร็จจะส่งผลให้การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อจีนทำความตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนในอนาคต ชิลียิ่งจะได้ประโยชน์จากการเป็นเมืองหน้าด่าน”
นายอดิศัยกล่าวว่า ไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทยกับชิลีครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งชิลีจะนำนักธุรกิจมาเยือนไทยในการประชุมครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังได้พบกับนาย Mar Roxas รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (วันที่ 11 พย.)เพื่อหารือถึงปัญหาต่างๆ คือ ยา ข้าวและการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียน ซึ่งเรื่องยานั้นฟิลิปปินส์ต้องการที่จะซื้อจากไทย เพราะปัจจุบันฟิลิปปินส์ต้องนำเข้ายาจากอินเดียที่มีราคาแพงกว่าของไทย แต่ติดปัญหาเรื่องฉลากยา จึงขอให้ไทยจัดทำฉลากยาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกันนี้ได้เสนอขายปุ๋ยและทองแดงให้ไทย ในขณะที่ไทยเสนอขายข้าวโดยให้ฟิลิปปินส์ทำความตกลงซื้อข้าวจากไทยทุกปี “การซื้อขายสินค้าที่เสนอกันมานี้ เราแนะให้ใช้ระบบการค้าแบบหักบัญชี โดยชำระเงินภายใน 1-2 ปี ส่วนเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวนั้น ขณะนี้ไทยร่วมกับลาวและกัมพูชาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเป็นชุดอยู่แล้ว หากฟิลิปปินส์เข้าร่วมด้วย คาดว่าจะสามารถดึงดูดให้ประเทศอื่นๆเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น”
ทางด้านความคืบหน้าของการใช้ระบบการค้าแบบหักบัญชีในขณะนี้ นายอดิศัยกล่าวว่า มีการลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ(MOU)เพิ่มขึ้นอีก 3 ประเทศ คือ ฟิลิบปินส์ ปากีสถาน และอินโดนีเซีย หลังจากที่ได้ลงนาม MOU ไปแล้ว 3 ประเทศคือ ลาว พม่า และมาเลเซีย ส่วนชิลีอยู่ในขั้นพิจารณา
นอกจากนั้นไทยยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับประเทศบาห์เรน ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีของประเทศบาห์เรนเดินทางมาเยือนไทยเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าทางการค้า โดยให้ทั้งสองประเทศเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การเป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคทั้งสอง นั่นคือ กลุ่มประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียรอบๆ บาห์เรน และประเทศเพื่อนบ้านของไทยในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งทางบาห์เรนยังได้เชิญทั้งภาครัฐและเอกชนไทยเดินทางไปสำรวจลู่ทางในการขยายการค้าในบาห์เรนประมาณต้นปี 2545 ด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-