ข่าวในประเทศ
1. ธปท.จัดทำคู่มืออินเฟลชั่นทาร์เก็ตติ้ง รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) โดยผ่านอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะสั้น เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปและเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้นโยบายดังกล่าวให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และเข้าใจยาก ซึ่ง ธปท.ได้ประกาศใช้นโยบาย Inflation Targeting อย่างเป็นทางการเมื่อกลางปี 43 ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่มีผู้ว่าการ ธปท. ( ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล) เป็นประธาน โดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงานไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 และใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำที่ระดับร้อยละ 1.5 เพื่อดูแลเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธปท. ได้เผยแพร่รายงานภาวะเงินเฟ้อ เพื่อให้นักลงทุนนำไปวิเคราะห์ว่า ธปท.พยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจไปทิศทางใด โดยออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ก.ค.43 และครั้งที่ 2 เมื่อ 16 ต.ค.43 (เดลินิวส์ 15)
2. หอการค้าไทยเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค.43 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ต.ค.43 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 69.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 68.2 โดยประชาชนร้อยละ 47.1 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับปานกลาง, ร้อยละ 41.9 ระบุเศรษฐกิจแย่ และเห็นว่าดีขึ้นเพียงร้อยละ 11 สำหรับดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 60.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. ซึ่งเท่ากับ 58.8 โดยประชาชนร้อยละ 43.3 ระบุว่าโอกาสในการหางานอยู่ในระดับปานกลาง, ร้อยละ 48.2 ระบุว่าแย่ และร้อยละ 8.4 เห็นว่าดีขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 97.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. ซึ่งเท่ากับ 96.4 โดยร้อยละ 61.6 ระบุว่าไม่เปลี่ยนแปลง, ร้อยละ 20.3 ระบุว่าแย่ลง และร้อยละ 18.1 เห็นว่าดีขึ้น สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีฯ เพิ่มขึ้น ได้แก่ มูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกที่มีมูลค่าประมาณ 51,048 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินทั้งระบบลดลงจากร้อยละ 31.24 เหลือร้อยละ 22.78 และการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ ธปท. ส่วนปัจจัยลบได้แก่ ราคาน้ำมันสูงขึ้น, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลง, การแก้ปัญหาเอ็นพีแอลที่ยังล่าช้า, สินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับต่ำและไม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น. (ไทยโพสต์ 15)
3. ธ.กรุงเทพประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 44 ผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในปี 44 ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทและราคาน้ำมันเป็นหลัก หากราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 25 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้อัตราการเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.4 หากราคาน้ำมันสูงขึ้นอีก จะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.6-4.4 และถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นถึงบาร์เรลละ 40 ดอลลาร์ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.6 สำหรับค่าเงินบาทในปี 44 ไม่น่าจะอ่อนกว่าร้อยละ 45 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดจะส่งผลดีต่อการส่งออกและช่วยชดเชยผลกระทบจากการบริโภคภายในประเทศที่ลดน้อยลง สำหรับการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการนั้น นับว่าเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว (แนวหน้า 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. การขายปลีกของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 14 พ.ย.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า การขายปลีกปรับฤดูกาลของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 อยู่ที่มูลค่า 273.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ย.43 การเพิ่มขึ้นของการขายปลีกในเดือน ต.ค.นี้ ตรงกันข้ามกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 อย่างไรก็ตาม การขายปลีกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องมาจากการขายรถยนต์ใหม่ที่ลดลง โดยในเดือนดังกล่าว การขายรถยนต์ใหม่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของการขายปลีกรวมรายเดือน ลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่มูลค่า 67.2 พัน ล.ดอลลาร์ หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ย.43 เป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่ที่ลดลงในอัตราเดียวกันนี้ในเดือน เม.ย.43 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของผู้ผลิตรถยนต์ที่ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือน ต.ค.43 ลดลงมากที่สุดในปีนี้ ทั้งนี้ หากไม่รวมการขายรถยนต์ การขายปลีกในเดือน ต.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ย.43 เพิ่มขึ้นสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า ในภาพรวม การขายปลีกในเดือน ต.ค.นี้ ชี้ให้เห็นว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังชะลอตัว (รอยเตอร์ 14)
2. คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2.8 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 43 คณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.8 หลังจากที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 3 ในปี 43 ขณะที่ เงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภคจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2 ในปี 44 ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 43 และอัตราการว่างงานจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 9.6 และร้อยละ 9.1ในปี 43 และ 44 ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังคาดด้วยว่า เยอรมนีจะเกินดุล งปม. ในปี 43 ที่อัตราร้อยละ 1.4 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(GDP) เทียบกับปี 42 ที่ขาดดุลร้อยละ 1.3 ของ GDP ขณะเดียวกัน คาดว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร จะเติบโตร้อยละ 3.4 ในปี43 และร้อยละ 3.1 ในปี 44 ส่วนเศรษฐกิจของ สรอ. จะเติบโตร้อยละ 5.2 ในปี 43 ก่อนที่จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในปี 44 (รอยเตอร์ 14)
3. ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 43 ราคาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange ) ส่งมอบล่วงหน้าเดือน ธ.ค. 43 อยู่ที่บาร์เรลละ 34.87 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40 เซ็นต์ และได้ขึ้นไปสูงสุดที่บาร์เรลละ 34.98 ดอลลาร์ ในช่วงการซื้อขายระหว่างวัน นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 43 ขณะเดียวกัน น้ำมันที่ใช้ทำความร้อนก็มีราคาเพิ่มสูงสุดในรอบ 1 เดือน โดยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่แกลลอนละ 1.0570 ดอลลาร์ ทั้งนี้ การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นครั้งนี้ เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงอากาศหนาวเย็นใน สรอ. และความกังวลของตลาดที่เพิ่มขึ้นจากข้อสรุปของกลุ่มโอเปกเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 43 ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงการผลิตน้ำมันในขณะนี้ (รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ย. 43 43.595 (43.690)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ย. 43
ซื้อ 43.3653 (43.5290) ขาย 43.6756 (43.8288)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.28 (30.21)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.จัดทำคู่มืออินเฟลชั่นทาร์เก็ตติ้ง รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) โดยผ่านอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะสั้น เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปและเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้นโยบายดังกล่าวให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และเข้าใจยาก ซึ่ง ธปท.ได้ประกาศใช้นโยบาย Inflation Targeting อย่างเป็นทางการเมื่อกลางปี 43 ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่มีผู้ว่าการ ธปท. ( ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล) เป็นประธาน โดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงานไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 และใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำที่ระดับร้อยละ 1.5 เพื่อดูแลเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธปท. ได้เผยแพร่รายงานภาวะเงินเฟ้อ เพื่อให้นักลงทุนนำไปวิเคราะห์ว่า ธปท.พยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจไปทิศทางใด โดยออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ก.ค.43 และครั้งที่ 2 เมื่อ 16 ต.ค.43 (เดลินิวส์ 15)
2. หอการค้าไทยเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค.43 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ต.ค.43 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 69.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 68.2 โดยประชาชนร้อยละ 47.1 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับปานกลาง, ร้อยละ 41.9 ระบุเศรษฐกิจแย่ และเห็นว่าดีขึ้นเพียงร้อยละ 11 สำหรับดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 60.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. ซึ่งเท่ากับ 58.8 โดยประชาชนร้อยละ 43.3 ระบุว่าโอกาสในการหางานอยู่ในระดับปานกลาง, ร้อยละ 48.2 ระบุว่าแย่ และร้อยละ 8.4 เห็นว่าดีขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 97.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. ซึ่งเท่ากับ 96.4 โดยร้อยละ 61.6 ระบุว่าไม่เปลี่ยนแปลง, ร้อยละ 20.3 ระบุว่าแย่ลง และร้อยละ 18.1 เห็นว่าดีขึ้น สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีฯ เพิ่มขึ้น ได้แก่ มูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกที่มีมูลค่าประมาณ 51,048 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินทั้งระบบลดลงจากร้อยละ 31.24 เหลือร้อยละ 22.78 และการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ ธปท. ส่วนปัจจัยลบได้แก่ ราคาน้ำมันสูงขึ้น, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลง, การแก้ปัญหาเอ็นพีแอลที่ยังล่าช้า, สินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับต่ำและไม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น. (ไทยโพสต์ 15)
3. ธ.กรุงเทพประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 44 ผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในปี 44 ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทและราคาน้ำมันเป็นหลัก หากราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 25 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้อัตราการเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.4 หากราคาน้ำมันสูงขึ้นอีก จะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.6-4.4 และถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นถึงบาร์เรลละ 40 ดอลลาร์ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.6 สำหรับค่าเงินบาทในปี 44 ไม่น่าจะอ่อนกว่าร้อยละ 45 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดจะส่งผลดีต่อการส่งออกและช่วยชดเชยผลกระทบจากการบริโภคภายในประเทศที่ลดน้อยลง สำหรับการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการนั้น นับว่าเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว (แนวหน้า 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. การขายปลีกของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 14 พ.ย.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า การขายปลีกปรับฤดูกาลของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 อยู่ที่มูลค่า 273.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ย.43 การเพิ่มขึ้นของการขายปลีกในเดือน ต.ค.นี้ ตรงกันข้ามกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 อย่างไรก็ตาม การขายปลีกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องมาจากการขายรถยนต์ใหม่ที่ลดลง โดยในเดือนดังกล่าว การขายรถยนต์ใหม่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของการขายปลีกรวมรายเดือน ลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่มูลค่า 67.2 พัน ล.ดอลลาร์ หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ย.43 เป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่ที่ลดลงในอัตราเดียวกันนี้ในเดือน เม.ย.43 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของผู้ผลิตรถยนต์ที่ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือน ต.ค.43 ลดลงมากที่สุดในปีนี้ ทั้งนี้ หากไม่รวมการขายรถยนต์ การขายปลีกในเดือน ต.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ย.43 เพิ่มขึ้นสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า ในภาพรวม การขายปลีกในเดือน ต.ค.นี้ ชี้ให้เห็นว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังชะลอตัว (รอยเตอร์ 14)
2. คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2.8 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 43 คณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.8 หลังจากที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 3 ในปี 43 ขณะที่ เงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภคจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2 ในปี 44 ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 43 และอัตราการว่างงานจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 9.6 และร้อยละ 9.1ในปี 43 และ 44 ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังคาดด้วยว่า เยอรมนีจะเกินดุล งปม. ในปี 43 ที่อัตราร้อยละ 1.4 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(GDP) เทียบกับปี 42 ที่ขาดดุลร้อยละ 1.3 ของ GDP ขณะเดียวกัน คาดว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร จะเติบโตร้อยละ 3.4 ในปี43 และร้อยละ 3.1 ในปี 44 ส่วนเศรษฐกิจของ สรอ. จะเติบโตร้อยละ 5.2 ในปี 43 ก่อนที่จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในปี 44 (รอยเตอร์ 14)
3. ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 43 ราคาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange ) ส่งมอบล่วงหน้าเดือน ธ.ค. 43 อยู่ที่บาร์เรลละ 34.87 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40 เซ็นต์ และได้ขึ้นไปสูงสุดที่บาร์เรลละ 34.98 ดอลลาร์ ในช่วงการซื้อขายระหว่างวัน นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 43 ขณะเดียวกัน น้ำมันที่ใช้ทำความร้อนก็มีราคาเพิ่มสูงสุดในรอบ 1 เดือน โดยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่แกลลอนละ 1.0570 ดอลลาร์ ทั้งนี้ การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นครั้งนี้ เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงอากาศหนาวเย็นใน สรอ. และความกังวลของตลาดที่เพิ่มขึ้นจากข้อสรุปของกลุ่มโอเปกเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 43 ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงการผลิตน้ำมันในขณะนี้ (รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ย. 43 43.595 (43.690)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ย. 43
ซื้อ 43.3653 (43.5290) ขาย 43.6756 (43.8288)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.28 (30.21)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-