ในโอกาสที่ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางไป ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 6 (AEM Retreat) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศ พม่า ได้เข้าพบหารือสองฝ่ายกับพลจัตวาพี โซน (Brig-Gen Pyi Sone) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ของพม่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2543 ณ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศพม่า ในโอกาสนี้ได้มีการหารือ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาการค้าสองฝ่าย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า ความเชื่อมั่นในภูมิภาค และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์การการค้าโลก สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาการค้าสองฝ่ายและการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee)
1.1 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถึงการค้าของสองประเทศ ว่าการนำเข้าของไทยจากพม่าได้เพิ่มสูงขึ้นมากในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา และต้องการเห็นการค้าทั้ง การนำเข้า-ส่งออกจากทั้งสองประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งสองฝ่าย แต่ขณะนี้ พม่าได้กำหนดข้อจำกัด การนำเข้าสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก จึงขอให้พม่าทบทวนข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้ เห็นควรมีการประชุม คณะกรรมการร่วมทางการค้าโดยเร็ว ภายใน 2-3 เดือน เพื่อหารือร่วมกัน และอาจจะมีการพิจารณา ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดการค้าในแต่ละด้าน เช่น คณะกรรมการ ศุลกากร ทำนองเดียวกับที่ประเทศไทยดำเนินการร่วมกับลาวและกัมพูชา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์พม่า ชี้แจงว่า ข้อจำกัดการนำเข้า สินค้าดังกล่าวนั้น เป็นเพียงแต่มาตรการระยะสั้น และจะมีการพิจารณายกเลิกในระยะเวลาที่เหมาะสมและเห็นด้วยว่าควรมีการประชุมคณะกรรมการร่วม ทางการค้า โดยพม่าพร้อมที่จะจัดประชุมตามเวลาที่ฝ่ายไทยสะดวก เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการค้าระหว่าง กันต่อไป จึงขอให้ฝ่ายไทยแจ้งกำหนดเวลาด้วย
1.2 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ได้กล่าวถึงปัญหาการค้าชายแดน ซึ่งที่ผ่านมา ภาค เอกชนทั้งสองฝ่ายนิยมค้าขายด้วยเงินตราสกุลท้องถิ่น ต่อมาได้มีความตกลงเขตการค้าชายแดนไทย-พม่า ได้ตกลงให้ค้าขายด้วยเงินสกุลที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมทั้งกำหนด ธนาคารฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าที่ให้บริการการค้าชายแดน (ธนาคารไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคาร กรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย และธนาคารนครหลวงไทย) แต่ ปัจจุบันนี้ ก็ยังคงมีการค้าโดยใช้เงินสกุลท้องถิ่นอยู่มาก และธนาคารไทยบางแห่งไม่สู้จะกระตือรือร้น ในเรื่องนี้มากนัก จึงขอให้ฝ่ายไทยดูแลเรื่องนี้ด้วยฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ชี้แจงว่าที่ผ่านมา ธนาคารไทยอาจจะมีปัญหาในการดำเนินการสืบเนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจใน ประเทศและรับที่จะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาต่อไป
2. ความร่วมมือภายใน ASEAN
2.1 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สอบถามฝ่ายพม่าว่า หลังจากเข้าเป็นสมาชิก ASEAN และ AFTA พม่ามีปัญหาหรือขัดข้องในการดำเนินการตามข้อตกลง AFTA ประการใดหรือไม่ และต้องการความช่วยเหลือด้านใดหรือไม่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่าชี้แจงว่า ขณะนี้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดในการดำเนินการตาม AFTA
2.2 นอกจากนี้ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญชวนให้พม่า เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ของ อาเซียนในการปรับตัวทางเศรษฐกิจการค้าได้เร็วขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่ายินดีที่ ประเทศไทยมีโครงการดังกล่าวและพม่าได้เข้าร่วมงานที่ผ่านมาแล้ว และกำลังพิจารณาที่จะเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าอาหารครั้งต่อไปด้วย
3. ความร่วมมือพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอให้พม่าให้การสนับสนุนการดำเนิน การโครงการภายใต้ความร่วมมือพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะโครงการนำร่อง East-West Corridor (เวียดนาม-ลาว-ไทย และต่อไปยังพม่า) ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของกลุ่มประเทศดังกล่าว ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ชี้แจงว่า รัฐบาลพม่าให้การสนับสนุนโครงการความร่วมมือ พัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงดังกล่าวเช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่นๆ
4. องค์การการค้าโลก
4.1 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การสนับสนุนกรณีที่พม่าขอ ขยายเวลาในการปฏิบัติตามข้อตกลง Custom Valuation ของ WTO ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอบคุณที่ฝ่ายพม่าให้การสนับสนุนในการเลือกตั้งตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก
4.2 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ คงจะไม่สามารถเริ่มต้นได้ในเร็วๆ นี้ หลังจากที่การประชุมรัฐมนตรีที่ Seattle ล้มเหลว และหวังว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ที่จะมีขึ้น ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกคนต่อไป คงจะช่วยให้ประเทศเล็กๆ คงจะมีสิทธิมีเสียง มากขึ้นในองค์การการค้าโลก ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความ เห็นว่าประเทศเล็กๆ จะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและกำหนดวาระหรือประเด็นการประชุม ที่จะเป็นประโยชน์ของประเทศต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2543--
-ปส-
1. ปัญหาการค้าสองฝ่ายและการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee)
1.1 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถึงการค้าของสองประเทศ ว่าการนำเข้าของไทยจากพม่าได้เพิ่มสูงขึ้นมากในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา และต้องการเห็นการค้าทั้ง การนำเข้า-ส่งออกจากทั้งสองประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งสองฝ่าย แต่ขณะนี้ พม่าได้กำหนดข้อจำกัด การนำเข้าสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก จึงขอให้พม่าทบทวนข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้ เห็นควรมีการประชุม คณะกรรมการร่วมทางการค้าโดยเร็ว ภายใน 2-3 เดือน เพื่อหารือร่วมกัน และอาจจะมีการพิจารณา ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดการค้าในแต่ละด้าน เช่น คณะกรรมการ ศุลกากร ทำนองเดียวกับที่ประเทศไทยดำเนินการร่วมกับลาวและกัมพูชา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์พม่า ชี้แจงว่า ข้อจำกัดการนำเข้า สินค้าดังกล่าวนั้น เป็นเพียงแต่มาตรการระยะสั้น และจะมีการพิจารณายกเลิกในระยะเวลาที่เหมาะสมและเห็นด้วยว่าควรมีการประชุมคณะกรรมการร่วม ทางการค้า โดยพม่าพร้อมที่จะจัดประชุมตามเวลาที่ฝ่ายไทยสะดวก เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการค้าระหว่าง กันต่อไป จึงขอให้ฝ่ายไทยแจ้งกำหนดเวลาด้วย
1.2 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ได้กล่าวถึงปัญหาการค้าชายแดน ซึ่งที่ผ่านมา ภาค เอกชนทั้งสองฝ่ายนิยมค้าขายด้วยเงินตราสกุลท้องถิ่น ต่อมาได้มีความตกลงเขตการค้าชายแดนไทย-พม่า ได้ตกลงให้ค้าขายด้วยเงินสกุลที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมทั้งกำหนด ธนาคารฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าที่ให้บริการการค้าชายแดน (ธนาคารไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคาร กรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย และธนาคารนครหลวงไทย) แต่ ปัจจุบันนี้ ก็ยังคงมีการค้าโดยใช้เงินสกุลท้องถิ่นอยู่มาก และธนาคารไทยบางแห่งไม่สู้จะกระตือรือร้น ในเรื่องนี้มากนัก จึงขอให้ฝ่ายไทยดูแลเรื่องนี้ด้วยฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ชี้แจงว่าที่ผ่านมา ธนาคารไทยอาจจะมีปัญหาในการดำเนินการสืบเนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจใน ประเทศและรับที่จะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาต่อไป
2. ความร่วมมือภายใน ASEAN
2.1 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สอบถามฝ่ายพม่าว่า หลังจากเข้าเป็นสมาชิก ASEAN และ AFTA พม่ามีปัญหาหรือขัดข้องในการดำเนินการตามข้อตกลง AFTA ประการใดหรือไม่ และต้องการความช่วยเหลือด้านใดหรือไม่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่าชี้แจงว่า ขณะนี้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดในการดำเนินการตาม AFTA
2.2 นอกจากนี้ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญชวนให้พม่า เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ของ อาเซียนในการปรับตัวทางเศรษฐกิจการค้าได้เร็วขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่ายินดีที่ ประเทศไทยมีโครงการดังกล่าวและพม่าได้เข้าร่วมงานที่ผ่านมาแล้ว และกำลังพิจารณาที่จะเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าอาหารครั้งต่อไปด้วย
3. ความร่วมมือพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอให้พม่าให้การสนับสนุนการดำเนิน การโครงการภายใต้ความร่วมมือพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะโครงการนำร่อง East-West Corridor (เวียดนาม-ลาว-ไทย และต่อไปยังพม่า) ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของกลุ่มประเทศดังกล่าว ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ชี้แจงว่า รัฐบาลพม่าให้การสนับสนุนโครงการความร่วมมือ พัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงดังกล่าวเช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่นๆ
4. องค์การการค้าโลก
4.1 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การสนับสนุนกรณีที่พม่าขอ ขยายเวลาในการปฏิบัติตามข้อตกลง Custom Valuation ของ WTO ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอบคุณที่ฝ่ายพม่าให้การสนับสนุนในการเลือกตั้งตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก
4.2 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ คงจะไม่สามารถเริ่มต้นได้ในเร็วๆ นี้ หลังจากที่การประชุมรัฐมนตรีที่ Seattle ล้มเหลว และหวังว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ที่จะมีขึ้น ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกคนต่อไป คงจะช่วยให้ประเทศเล็กๆ คงจะมีสิทธิมีเสียง มากขึ้นในองค์การการค้าโลก ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความ เห็นว่าประเทศเล็กๆ จะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและกำหนดวาระหรือประเด็นการประชุม ที่จะเป็นประโยชน์ของประเทศต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2543--
-ปส-