ข่าวในประเทศ
1. ความคืบหน้าคดีปกป้องค่าเงินบาท นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งสำนวนเอาผิดบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องในความเสียหายจากการปกป้องค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.44 เพื่อให้เจ้าพนักงานอัยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการ ธปท. โดย ธปท.สรุปตัวเลขความเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.39 ถึง 30 มิ.ย.40 รวมเป็นเงิน 185,953.74 ล.บาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปอัยการจะสรุปสำนวนส่งฟ้องตามที่ ธปท.เสนอมาก่อนหมดอายุความในวันที่ 14 ธ.ค.44.. (ไทยโพสต์, 7)
2. รมว.คลังเปิดเผยถึงมาตรการดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันที่ 7 ธ.ค.44 จะเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการจูงใจนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย สาระสำคัญของมาตรการ คือ การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่นิติบุคคลฯ ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 11 ธ.ค.44 ต่อไป(แนวหน้า 7)
3. ปริมาณการใช้เช็คในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า ปริมาณการใช้เช็คในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือน ต.ค. 44 มีปริมาณทั้งสิ้น 5,088,000 ฉบับ หรือเพิ่มขึ้น 18.7% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 13.2% จากเดือน ก.ย. 44 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 5.7% และ 6.1% ตามลำดับ ส่วนปริมาณการใช้เช็คระหว่างธนาคารในต่างจังหวัดมีจำนวน 1,805,000 ฉบับ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงสุดในรอบ 4 ปี ตามการเพิ่มขึ้นในมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 44(ข่าวสด, คมชัดลึก 7)
4. ก.อุตสาหกรรมเตรียมทำหนังสือถึง ธปท. ขอปรับเพิ่มวงเงินแพ็กกิ้งเครดิตให้โรงงานน้ำตาล ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (กอน.) ว่า ก.อุตสาหกรรมเตรียมทำหนังสือถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอปรับวงเงินแพ็กกิ้งเครดิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องให้เพียงพอจ่ายค่าอ้อยฤดูการผลิตปี 44/45 (มติชน 7)
5. ธพ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจาก ธ.ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ทั้งในส่วนเงินกู้และเงินฝาก ทำให้ ธพ. ต่าง ๆ อาทิ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และ ธ.ทหารไทย เป็นต้น เริ่มทยอยปรับลดลงตาม โดยส่วนใหญ่ปรับลดลง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 44(บ้านเมือง, เดลินิวส์ 7)
6. ปรส. นำสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ 2 แห่งเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ประธานกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เปิดเผยว่า ปรส. ได้นำสถาบันการเงิน 2 แห่งคือ บง.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) และ บงล. ซิทก้า จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 44 ทั้งนี้ สถาบันการเงินทั้งสองแห่งได้จัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้กับ ปรส. เรียบร้อยแล้ว (โลกวันนี้ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 ธ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ที่ปรับฤดูกาลในเดือน ต.ค. 44 มีมูลค่า 333.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 6.5 ในเดือน ก.ย. 44 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 1 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 43 และเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.3 คำสั่งซื้อฯ ที่เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายครั้งนี้ เนื่องจากความต้องการเครื่องบินที่ใช้ในกองทัพ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 490.4 จากร้อยละ 38.9 ในเดือนก่อน และคอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 หลังจากลดลงร้อยละ 8.5 ในเดือนก่อน รายงานครั้งนี้ ยังบ่งชี้ถึงปัจจัยที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีก 2-3 ประการ ได้แก่สินค้าคงคลังได้ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อการส่งมอบ ลดลงเหลือ 1.4 เดือน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 44 และคำสั่งซื้อฯที่ยังไม่ส่งมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 นับเป็นครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ธ.ค. 43(รอยเตอร์6)
2. ประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคเกษตรของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 ธ.ค.44 ก.แรงงานเปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 ประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคเกษตรหลังปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี ซึ่งปรับลดจากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 44 โดยตัวเลขประสิทธิภาพการผลิตในไตรมาสที่ 3 ดังกล่าว ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 สำหรับจำนวนชั่วโมงทำงานของแรงงานนอกภาคเกษตรในไตรมาสที่ 3 ปี 44 ลดลงร้อยละ 3.4 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 34 ที่ชั่วโมงทำงานฯ ลดลงร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจ สรอ.อยู่ในภาวะถดถอย ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการลดลงของผลผลิตในภาคการผลิตหลังเหตุการณ์โจมตีใน สรอ. เมื่อ 11 ก.ย.44(รอยเตอร์ 6)
3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 7 ธ.ค.44 Cabinet Office รายงานว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 (ก.ค.-ก.ย.44) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 (ตามมูลค่าที่แท้จริง) จากไตรมาสที่ 2 ปี 44 ซึ่งต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 แต่เมื่อเทียบปีต่อปี จีดีพีในไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 2.2 สำหรับการใช้จ่ายส่วนบุคคลในไตรมาสที่ 3 ปี 44 ลดลงร้อยละ 1.7 จากไตรมาสก่อน รายจ่ายลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 การส่งออกและนำเข้าลดลงร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ เกินดุลบัญชีเดินสะพัด (หลังปรับตัวเลข) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ของจีดีพี (รอยเตอร์ 7)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ธ.ค.44 43.853 (44.035)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ธ.ค.44 ซื้อ 43.6489 (43.8431) ขาย 43.9370 (44.1419)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.03 (17.80)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.29)
ดีเซลหมุนเร็ว 11.29 (11.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ความคืบหน้าคดีปกป้องค่าเงินบาท นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งสำนวนเอาผิดบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องในความเสียหายจากการปกป้องค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.44 เพื่อให้เจ้าพนักงานอัยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการ ธปท. โดย ธปท.สรุปตัวเลขความเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.39 ถึง 30 มิ.ย.40 รวมเป็นเงิน 185,953.74 ล.บาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปอัยการจะสรุปสำนวนส่งฟ้องตามที่ ธปท.เสนอมาก่อนหมดอายุความในวันที่ 14 ธ.ค.44.. (ไทยโพสต์, 7)
2. รมว.คลังเปิดเผยถึงมาตรการดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันที่ 7 ธ.ค.44 จะเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการจูงใจนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย สาระสำคัญของมาตรการ คือ การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่นิติบุคคลฯ ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 11 ธ.ค.44 ต่อไป(แนวหน้า 7)
3. ปริมาณการใช้เช็คในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า ปริมาณการใช้เช็คในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือน ต.ค. 44 มีปริมาณทั้งสิ้น 5,088,000 ฉบับ หรือเพิ่มขึ้น 18.7% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 13.2% จากเดือน ก.ย. 44 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 5.7% และ 6.1% ตามลำดับ ส่วนปริมาณการใช้เช็คระหว่างธนาคารในต่างจังหวัดมีจำนวน 1,805,000 ฉบับ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงสุดในรอบ 4 ปี ตามการเพิ่มขึ้นในมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 44(ข่าวสด, คมชัดลึก 7)
4. ก.อุตสาหกรรมเตรียมทำหนังสือถึง ธปท. ขอปรับเพิ่มวงเงินแพ็กกิ้งเครดิตให้โรงงานน้ำตาล ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (กอน.) ว่า ก.อุตสาหกรรมเตรียมทำหนังสือถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอปรับวงเงินแพ็กกิ้งเครดิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องให้เพียงพอจ่ายค่าอ้อยฤดูการผลิตปี 44/45 (มติชน 7)
5. ธพ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจาก ธ.ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ทั้งในส่วนเงินกู้และเงินฝาก ทำให้ ธพ. ต่าง ๆ อาทิ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และ ธ.ทหารไทย เป็นต้น เริ่มทยอยปรับลดลงตาม โดยส่วนใหญ่ปรับลดลง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 44(บ้านเมือง, เดลินิวส์ 7)
6. ปรส. นำสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ 2 แห่งเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ประธานกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เปิดเผยว่า ปรส. ได้นำสถาบันการเงิน 2 แห่งคือ บง.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) และ บงล. ซิทก้า จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 44 ทั้งนี้ สถาบันการเงินทั้งสองแห่งได้จัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้กับ ปรส. เรียบร้อยแล้ว (โลกวันนี้ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 ธ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ที่ปรับฤดูกาลในเดือน ต.ค. 44 มีมูลค่า 333.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 6.5 ในเดือน ก.ย. 44 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 1 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 43 และเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.3 คำสั่งซื้อฯ ที่เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายครั้งนี้ เนื่องจากความต้องการเครื่องบินที่ใช้ในกองทัพ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 490.4 จากร้อยละ 38.9 ในเดือนก่อน และคอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 หลังจากลดลงร้อยละ 8.5 ในเดือนก่อน รายงานครั้งนี้ ยังบ่งชี้ถึงปัจจัยที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีก 2-3 ประการ ได้แก่สินค้าคงคลังได้ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อการส่งมอบ ลดลงเหลือ 1.4 เดือน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 44 และคำสั่งซื้อฯที่ยังไม่ส่งมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 นับเป็นครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ธ.ค. 43(รอยเตอร์6)
2. ประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคเกษตรของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 ธ.ค.44 ก.แรงงานเปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 ประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคเกษตรหลังปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี ซึ่งปรับลดจากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 44 โดยตัวเลขประสิทธิภาพการผลิตในไตรมาสที่ 3 ดังกล่าว ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 สำหรับจำนวนชั่วโมงทำงานของแรงงานนอกภาคเกษตรในไตรมาสที่ 3 ปี 44 ลดลงร้อยละ 3.4 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 34 ที่ชั่วโมงทำงานฯ ลดลงร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจ สรอ.อยู่ในภาวะถดถอย ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการลดลงของผลผลิตในภาคการผลิตหลังเหตุการณ์โจมตีใน สรอ. เมื่อ 11 ก.ย.44(รอยเตอร์ 6)
3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 7 ธ.ค.44 Cabinet Office รายงานว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 (ก.ค.-ก.ย.44) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 (ตามมูลค่าที่แท้จริง) จากไตรมาสที่ 2 ปี 44 ซึ่งต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 แต่เมื่อเทียบปีต่อปี จีดีพีในไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 2.2 สำหรับการใช้จ่ายส่วนบุคคลในไตรมาสที่ 3 ปี 44 ลดลงร้อยละ 1.7 จากไตรมาสก่อน รายจ่ายลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 การส่งออกและนำเข้าลดลงร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ เกินดุลบัญชีเดินสะพัด (หลังปรับตัวเลข) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ของจีดีพี (รอยเตอร์ 7)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ธ.ค.44 43.853 (44.035)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ธ.ค.44 ซื้อ 43.6489 (43.8431) ขาย 43.9370 (44.1419)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.03 (17.80)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.29)
ดีเซลหมุนเร็ว 11.29 (11.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-