ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของ บง.เพื่อกระทรวง ทบวง กรม และทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยัง บง.ทุกแห่ง เพื่ออนุญาตให้ บง.สามารถปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน รับอาวัลตั๋วเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงินค้ำประกันการขาย ขายลด ขายช่วงลดตั๋วเงิน หรือก่อภาระผูกพันอื่นใด เพื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า โดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับอัตราส่วนต่อเงินกองทุนซึ่งกำหนดไม่ให้ปล่อยสินเชื่อเกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนของ บง.ต่อการให้กู้เงิน 1 ราย รวมทั้งอนุญาตให้ดำเนินการได้เป็นการทั่วไปสำหรับการปล่อยสินเชื่อในโครงการลงทุนของส่วนราชการ การรับเหมาช่วงงาน และรับสัมปทาน จากเดิมที่หากโครงการใดวงเงินกู้เกินอัตราส่วนของเงินกองทุนจะต้องขออนุญาตจาก ธปท.เป็นรายๆ(แนวหน้า,ไทยรัฐ 7)
2. ผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้ภาครัฐประจำเดือน ก.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท .) รายงานผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้ภาครัฐประจำเดือน ก.ค.44 ซึ่งมีการประมูล พธบ.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และตั๋วเงินคลัง รวมมูลค่าทั้งสิ้น 40,000 ล.บาท โดยมีการเปิดประมูล พธบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ ก.คลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย 3 ครั้ง วงเงินรวม 4,000 ล.บาท เปิดประมูลตั๋วเงินคลัง 10 ครั้ง วงรวม 36,000 ล.บาท และรับเป็นนายทะเบียน พธบ.รัฐวิสาหกิจให้กับการไฟฟ้านครหลวง 1 รุ่น การรถไฟแห่งประเทศไทย 1 รุ่น และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 รุ่น วงเงินรวม 4,000 ล.บาท (โลกวันนี้ 7)
3. มีแนวโน้มดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ธ.ค. 44 กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. 44 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ ธพ. ในระบบจะปรับสูงขึ้น โดยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนจะปรับขึ้นร้อยละ 1-2 หรือปรับจากร้อยละ 4 เป็น 5-6 เนื่องจากสภาพคล่องในระบบได้ปรับตัวลดลงภายหลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ออก พธบ. 3.2 แสน ล.บาท ประกอบกับ ธพ.ของรัฐจะปล่อยกู้ผ่านระบบทำให้การดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกไปได้มากกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวขึ้นได้ (แนวหน้า 7)
4. ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจเร่งให้ดำเนินมาตรการ 28 ข้อให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด รายงานจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมฯ กำหนดให้เร่งรัดการดำเนินมาตรการ 28 ข้อตามกรอบยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่ได้ประกาศไว้ในการประชุมที่เชียงใหม่ให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะ 5 เดือนข้างหน้าว่าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) โดยในไตรมาสแรกเศรษฐกิจขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 และไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 นอกจากนี้ รมว.พาณิชย์ คาดว่าการส่งออกในปี 44 จะติดลบร้อยละ 0.6 แต่จะติดลบสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปี 43 โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 6.9 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. (เดลินิวส์, โลกวันนี้ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 2.5 ในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 6 ส.ค.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมหลังปรับฤดูกาลของเยอรมนีรวมลดลงร้อยละ 2.5 เทียบต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในเดือน พ.ค.44 และลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย.43 และเมื่อเทียบต่อปี คำสั่งซื้อฯ ลดลงร้อยละ 2.4 หลังจากลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค. และเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 13 ในเดือน มิ.ย.43 โดยเดือน พ.ค.44 นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าคำสั่งซื้อฯ จะลดลงร้อยละ 2.7 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี การที่คำสั่งซื้อฯ ในเดือน มิ.ย.44 ลดลงนั้น เนื่องจากคำสั่งซื้อฯ ในประเทศโดยรวมลดลงร้อยละ 4.5 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน พ.ค. ส่วนคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 9.4 ในเดือน พ.ค. สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 44 คำสั่งซื้อฯ โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากระยะเดียวกันปี 43 (รอยเตอร์ 6)
2. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.44 ลดลงอยู่ที่ระดับ 37.5 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 6 ส.ค.44 Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Leading Index) ในเดือน มิ.ย.44 ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นอยู่ที่ระดับ 37.5 ลดลงจากเดือน พ.ค.44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 70.0 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ที่ดัชนีชี้นำฯ ลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ขณะที่ดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) อยู่ที่ระดับ 31.3 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 30.0 และดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (Lagging Index) อยู่ที่ระดับ 33.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 28.6 ในเดือน พ.ค.44 ซึ่งการปรับลดลงอย่างมากของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจนี้ เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจหดตัวลงในเดือนต่อ ๆ ไป (รอยเตอร์ 6)
3. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ย สรอ.ในวันที่ 21 ส.ค.จะเป็นครั้งสุดท้ายในปีนี้ รายงานจากนิวยอร์คเมื่อ 6 ส.ค.44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทต่างคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 3.50 เป็นครั้งสุดท้ายในปี 44 ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจากตัวเลขการจ้างงานหลังปรับฤดูกาลในเดือน ก.ค.44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 ซึ่งทำให้การคาดหมายว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในปีนี้บรรเทาลง (รอยเตอร์ 6)
4. บริษัทหลายแห่งของ สรอ.เลิกจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค.44 รายงานจากนิวยอร์คเมื่อ 6 ส.ค.44 Challenger, Gray & Chrismas, Inc. กล่าวว่า เดือน ก.ค.44 บริษัท สรอ.ประกาศเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 จากเดือน มิ.ย.44 ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่ได้มีการสำรวจในปี 36 โดยบริษัทโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่เลิกจ้างมากที่สุด (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ส.ค. 44 45.347 (45.507)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ส.ค. 44ซื้อ 45.1545 (45.3935) ขาย 45.4492 (45.6986)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,750) ขาย 5,800 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.23 (- )
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.09 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของ บง.เพื่อกระทรวง ทบวง กรม และทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยัง บง.ทุกแห่ง เพื่ออนุญาตให้ บง.สามารถปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน รับอาวัลตั๋วเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงินค้ำประกันการขาย ขายลด ขายช่วงลดตั๋วเงิน หรือก่อภาระผูกพันอื่นใด เพื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า โดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับอัตราส่วนต่อเงินกองทุนซึ่งกำหนดไม่ให้ปล่อยสินเชื่อเกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนของ บง.ต่อการให้กู้เงิน 1 ราย รวมทั้งอนุญาตให้ดำเนินการได้เป็นการทั่วไปสำหรับการปล่อยสินเชื่อในโครงการลงทุนของส่วนราชการ การรับเหมาช่วงงาน และรับสัมปทาน จากเดิมที่หากโครงการใดวงเงินกู้เกินอัตราส่วนของเงินกองทุนจะต้องขออนุญาตจาก ธปท.เป็นรายๆ(แนวหน้า,ไทยรัฐ 7)
2. ผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้ภาครัฐประจำเดือน ก.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท .) รายงานผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้ภาครัฐประจำเดือน ก.ค.44 ซึ่งมีการประมูล พธบ.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และตั๋วเงินคลัง รวมมูลค่าทั้งสิ้น 40,000 ล.บาท โดยมีการเปิดประมูล พธบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ ก.คลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย 3 ครั้ง วงเงินรวม 4,000 ล.บาท เปิดประมูลตั๋วเงินคลัง 10 ครั้ง วงรวม 36,000 ล.บาท และรับเป็นนายทะเบียน พธบ.รัฐวิสาหกิจให้กับการไฟฟ้านครหลวง 1 รุ่น การรถไฟแห่งประเทศไทย 1 รุ่น และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 รุ่น วงเงินรวม 4,000 ล.บาท (โลกวันนี้ 7)
3. มีแนวโน้มดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ธ.ค. 44 กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. 44 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ ธพ. ในระบบจะปรับสูงขึ้น โดยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนจะปรับขึ้นร้อยละ 1-2 หรือปรับจากร้อยละ 4 เป็น 5-6 เนื่องจากสภาพคล่องในระบบได้ปรับตัวลดลงภายหลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ออก พธบ. 3.2 แสน ล.บาท ประกอบกับ ธพ.ของรัฐจะปล่อยกู้ผ่านระบบทำให้การดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกไปได้มากกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวขึ้นได้ (แนวหน้า 7)
4. ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจเร่งให้ดำเนินมาตรการ 28 ข้อให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด รายงานจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมฯ กำหนดให้เร่งรัดการดำเนินมาตรการ 28 ข้อตามกรอบยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่ได้ประกาศไว้ในการประชุมที่เชียงใหม่ให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะ 5 เดือนข้างหน้าว่าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) โดยในไตรมาสแรกเศรษฐกิจขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 และไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 นอกจากนี้ รมว.พาณิชย์ คาดว่าการส่งออกในปี 44 จะติดลบร้อยละ 0.6 แต่จะติดลบสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปี 43 โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 6.9 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. (เดลินิวส์, โลกวันนี้ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 2.5 ในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 6 ส.ค.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมหลังปรับฤดูกาลของเยอรมนีรวมลดลงร้อยละ 2.5 เทียบต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในเดือน พ.ค.44 และลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย.43 และเมื่อเทียบต่อปี คำสั่งซื้อฯ ลดลงร้อยละ 2.4 หลังจากลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค. และเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 13 ในเดือน มิ.ย.43 โดยเดือน พ.ค.44 นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าคำสั่งซื้อฯ จะลดลงร้อยละ 2.7 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี การที่คำสั่งซื้อฯ ในเดือน มิ.ย.44 ลดลงนั้น เนื่องจากคำสั่งซื้อฯ ในประเทศโดยรวมลดลงร้อยละ 4.5 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน พ.ค. ส่วนคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 9.4 ในเดือน พ.ค. สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 44 คำสั่งซื้อฯ โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากระยะเดียวกันปี 43 (รอยเตอร์ 6)
2. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.44 ลดลงอยู่ที่ระดับ 37.5 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 6 ส.ค.44 Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Leading Index) ในเดือน มิ.ย.44 ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นอยู่ที่ระดับ 37.5 ลดลงจากเดือน พ.ค.44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 70.0 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ที่ดัชนีชี้นำฯ ลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ขณะที่ดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) อยู่ที่ระดับ 31.3 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 30.0 และดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (Lagging Index) อยู่ที่ระดับ 33.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 28.6 ในเดือน พ.ค.44 ซึ่งการปรับลดลงอย่างมากของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจนี้ เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจหดตัวลงในเดือนต่อ ๆ ไป (รอยเตอร์ 6)
3. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ย สรอ.ในวันที่ 21 ส.ค.จะเป็นครั้งสุดท้ายในปีนี้ รายงานจากนิวยอร์คเมื่อ 6 ส.ค.44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทต่างคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 3.50 เป็นครั้งสุดท้ายในปี 44 ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจากตัวเลขการจ้างงานหลังปรับฤดูกาลในเดือน ก.ค.44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 ซึ่งทำให้การคาดหมายว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในปีนี้บรรเทาลง (รอยเตอร์ 6)
4. บริษัทหลายแห่งของ สรอ.เลิกจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค.44 รายงานจากนิวยอร์คเมื่อ 6 ส.ค.44 Challenger, Gray & Chrismas, Inc. กล่าวว่า เดือน ก.ค.44 บริษัท สรอ.ประกาศเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 จากเดือน มิ.ย.44 ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่ได้มีการสำรวจในปี 36 โดยบริษัทโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่เลิกจ้างมากที่สุด (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ส.ค. 44 45.347 (45.507)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ส.ค. 44ซื้อ 45.1545 (45.3935) ขาย 45.4492 (45.6986)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,750) ขาย 5,800 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.23 (- )
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.09 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-