กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--กระทรวงต่างประเทศ
วันนี้ (23 มีนาคม) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีข่าวเรื่องบุคคลสัญชาติไทย 2 คน ถูกทางการสหรัฐอเมริกาจับกุมในข้อหาลักลอบซื้อน้ำมันจากอิรัก ซึ่งละเมิดข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ให้กำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรักจากกรณีที่อิรักส่งกำลังทหารบุกยึดคูเวตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐฯ จับกุมในข้อหาละเมิดกฏหมายและบทบัญญัติของฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ
2. ในการนี้ นายสุรินทร์ฯ ได้สังการไปยังสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตันและสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ดูแลเพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเป็นธรรมภายใต้กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ บุคคลทั้งสองยังมิได้ติดต่อสถานเอกอัครราชฑูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยแต่อย่างใด
3. ในชั้นนี้ กระทรวงการต่างประเทศอยู่ในระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดขอวกรณีดังกล่าว
4. กรณีนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อิรัก และไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อิรัก
อนึ่ง นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีการมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องข้างต้นว่า บุคคลทั้งสองดังกล่าวถูกจับกุมเมื่อ วันที่ 21 มีนาคม 2543 เวลา 20.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐฯ) สำหรับการพิจารณาในแง่ของกฎหมายนั้น ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-สหรัฐฯ ความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันจะต้องเป็นความผิดที่สามารถลงโทษทางอาญาตรมกฎหมายของทั้งสองประเทศ และจะต้องมีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปี สำหรับกรณีนี้ ประเทศไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายที่จะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นความผิดตามกฎหมายไทย ประเทศไทยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะขอให้ทางการสหรัฐฯ ส่งบุคคลดังกล่าวตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ดังนั้น การดำเนินคดีนั้คงต้องเป็นไปตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ตรมกฎหมายสหรัฐฯ การกระทำความผิดในลักษณะนี้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 12 ปี หรือปรับเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ--จบ--
วันนี้ (23 มีนาคม) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีข่าวเรื่องบุคคลสัญชาติไทย 2 คน ถูกทางการสหรัฐอเมริกาจับกุมในข้อหาลักลอบซื้อน้ำมันจากอิรัก ซึ่งละเมิดข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ให้กำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรักจากกรณีที่อิรักส่งกำลังทหารบุกยึดคูเวตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐฯ จับกุมในข้อหาละเมิดกฏหมายและบทบัญญัติของฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ
2. ในการนี้ นายสุรินทร์ฯ ได้สังการไปยังสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตันและสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ดูแลเพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเป็นธรรมภายใต้กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ บุคคลทั้งสองยังมิได้ติดต่อสถานเอกอัครราชฑูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยแต่อย่างใด
3. ในชั้นนี้ กระทรวงการต่างประเทศอยู่ในระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดขอวกรณีดังกล่าว
4. กรณีนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อิรัก และไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อิรัก
อนึ่ง นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีการมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเรื่องข้างต้นว่า บุคคลทั้งสองดังกล่าวถูกจับกุมเมื่อ วันที่ 21 มีนาคม 2543 เวลา 20.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐฯ) สำหรับการพิจารณาในแง่ของกฎหมายนั้น ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-สหรัฐฯ ความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันจะต้องเป็นความผิดที่สามารถลงโทษทางอาญาตรมกฎหมายของทั้งสองประเทศ และจะต้องมีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปี สำหรับกรณีนี้ ประเทศไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายที่จะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นความผิดตามกฎหมายไทย ประเทศไทยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะขอให้ทางการสหรัฐฯ ส่งบุคคลดังกล่าวตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ดังนั้น การดำเนินคดีนั้คงต้องเป็นไปตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ตรมกฎหมายสหรัฐฯ การกระทำความผิดในลักษณะนี้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 12 ปี หรือปรับเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หรือทั้งจำทั้งปรับ--จบ--