ในการประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรในประเทศ ครั้งที่ 3/2544 ณ กระทรวงการคลัง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 คณะทำงานฯได้พิจารณาหลักเกณฑ์ในการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชน รุ่นที่ 1 ซึ่งได้มีการพิจารณาทบทวนหลายครั้ง และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชน รุ่นที่ 1 อายุ 3 ปี และ 5 ปี ในวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 ล้านบาท โดยจะเปิดให้จองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 14 - 16 สิงหาคม 2544 โดยผ่านสาขาธนาคารออมสินทั่วประเทศ และสาขาของธนาคารแห่งประเทศไทยในต่างจังหวัดทั้ง 4 สาขา
พันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนนี้ การคิดอัตราดอกเบี้ยจะยึดถืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพันธบัตรอายุ 3 และ 5 ปีในตลาด (Yield Curve) ในช่วง 11-15 วันทำการก่อนวันออก บวกด้วยอัตรา Liquidity Premium ร้อยละ 0.15 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปี และร้อยละ 0.25 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.40 - 4.50 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปี และประมาณร้อยละ 5.15 - 5.25 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี
พันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าว จะจัดจำหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดา สหกรณ์ มูลนิธิ และนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน ทั้งนี้ ปรากฏตามรายละเอียดที่แนบ
เงื่อนไขพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนรุ่นที่ 1
1. วัตถุประสงค์
- เพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้มีเงินออม
- ขยายฐานนักลงทุนสำหรับภาครัฐ
2. ประเภทพันธบัตร
(1) พันธบัตรอายุ 3 ปี
วงเงิน 12,000 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 ปี ณ สิ้นวันทำการ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 2544 บวกร้อยละ 0.15 ต่อปี
(2) พันธบัตรอายุ 5 ปี
วงเงิน 8,000 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรอายุ 5 ปี ณ สิ้นวันทำการ ระหว่างวันที่ 2 - 8
สิงหาคม 2544 บวกร้อยละ 0.25 ต่อปี
3. ผู้มีสิทธิ์ซื้อ
- บุคคลธรรมดา
- สหกรณ์
- มูลนิธิ
- นิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลป วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน
4. วงเงินในการซื้อ
- ผู้ซื้อสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทั้ง 2 ประเภทรวมกันสูงสุด ไม่เกิน 4,000,000 บาท และผู้ซื้อจะต้องซื้อพันธบัตรแต่ละประเภทขั้นต่ำจำนวน 10,000 บาท ทั้งนี้พันธบัตรออมทรัพย์แต่ละประเภทมีราคาตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละ 10,000 บาท โดยผู้ซื้อสามารถซื้อได้เพิ่มเป็นค่าทวีคูณของราคาตราต่อหน่วย
5. การไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด
- ไม่สามารถกระทำได้
6. การโอนเปลี่ยนมือ
ห้ามมิให้โอนเปลี่ยนมือ ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้
- การค้ำประกันหนี้สาธารณูปโภค
- การตกทอดทางมรดก
- การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า
- การนำไปเป็นหลักทรัพย์ เพื่อประกันตนเองและหรือผู้อื่นอันเนื่องมาจากการถูกดำเนินคดีทางอาญา
- การล้มละลาย
- การชำระบัญชี
7. ประเภทพันธบัตร
- พันธบัตรชนิดผู้ถือ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกพันธบัตรฉบับแรกเท่ากับมูลค่าที่จองซื้อ โดยจะสามารถมารับด้วยตัวเองที่สาขาที่จองซื้อ หรือให้ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ 24 สิงหาคม 2544
- หากผู้ถือต้องการแตกออกเป็นฉบับย่อยในลำดับต่อ ๆ ไป จะคิดค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อ 1 ฉบับย่อย
- ผู้ถือแจ้งความจำนงขอแตกพันธบัตรเป็นฉบับย่อยได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ
- ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดส่งพันธบัตรฉบับย่อยให้แก่ผู้ถือทางไปรษณีย์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้งความจำนง
8. การจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้น
- จ่ายทุก 3 เดือน โดยใช้ จำนวนวันจริง/365
- หากวันครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเลื่อนเป็นวันทำการถัดไป
9. สถานที่จัดจำหน่าย
- ธนาคารออมสินทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศ
- ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉพาะสาขาลำปาง สาขาขอนแก่น สาขาเชียงใหม่ และสาขาหาดใหญ่เท่านั้น
10. นายทะเบียน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
11. วิธีการจองซื้อ
- เปิดจองซื้อล่วงหน้าระหว่างวันที่ 14 - 16 สิงหาคม 2544
- จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ซื้อ และรายชื่อสำรอง ร้อยละ 20 ของวงเงินพันธบัตรแต่ละประเภทในวันที่ 20 สิงหาคม 2544
12. การชำระเงิน มี 2 ทางเลือก คือ
(1) ชำระด้วยเช็ค ณ วันจองซื้อโดยขีดคร่อมและสั่งจ่ายธนาคารออมสินในกรณีจองซื้อที่ ธนาคารออมสิน และสั่งจ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีที่จองซื้อที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเขียนเช็คลงวันที่ 22 สิงหาคม 2544 และเช็คนั้นจะต้องเป็นเช็คในท้องถิ่นเดียวกับสถานที่จองซื้อ
(2) ชำระภายหลังการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ซื้อพันธบัตร โดยชำระเงินได้ 2 วิธี คือ
(2.1) ชำระด้วยเช็คขีดคร่อมเช่นเดียวกับกรณีที่ 1 ในวันที่ 21-22 สิงหาคม 2544 ภายใน 14.00 น.
(2.2) ชำระด้วยเงินสด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุพันธบัตร
13. การซื้อและชำระเงินของผู้มีสิทธิ์สำรอง
- หากผู้มีสิทธิ์ซื้อกลุ่มแรกไม่ชำระเงินตามกำหนด จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รอบสองจากรายชื่อสำรอง ร้อยละ 20 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2544
- รายชื่อสำรองต้องชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 - 31 สิงหาคม 2544 โดยจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ได้รับการชำระเงินเรียบร้อย
- การชำระราคาของผู้มีสิทธิ์สำรองมี 2 วิธี
1. ชำระด้วยเงินสด ภายในวันที่ 27 - 31 สิงหาคม 2544
2. ชำระด้วยเช็คขีดคร่อม ซึ่งเป็นเช็คในท้องถิ่นเดียวกับสถานที่จองซื้อ โดยต้องนำส่งเช็คให้ธนาคารภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2544 เวลา 14.00 น.
14. เอกสารประกอบการจองซื้อ
(1) บุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน โดยลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
(2) สหกรณ์
- สำเนาใบจดทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตราสหกรณ์
- ใบมอบอำนาจ
(3) มูลนิธิ
- สำเนาใบจดทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตรามูลนิธิ
- ใบมอบอำนาจ
(4) นิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน
- สำเนาใบจดทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตรา
- ใบมอบอำนาจ
สำนักบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง
20 กรกฎาคม 2544--จบ--
-อน-
พันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนนี้ การคิดอัตราดอกเบี้ยจะยึดถืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพันธบัตรอายุ 3 และ 5 ปีในตลาด (Yield Curve) ในช่วง 11-15 วันทำการก่อนวันออก บวกด้วยอัตรา Liquidity Premium ร้อยละ 0.15 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปี และร้อยละ 0.25 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.40 - 4.50 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปี และประมาณร้อยละ 5.15 - 5.25 ต่อปีสำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี
พันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าว จะจัดจำหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดา สหกรณ์ มูลนิธิ และนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน ทั้งนี้ ปรากฏตามรายละเอียดที่แนบ
เงื่อนไขพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนรุ่นที่ 1
1. วัตถุประสงค์
- เพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้มีเงินออม
- ขยายฐานนักลงทุนสำหรับภาครัฐ
2. ประเภทพันธบัตร
(1) พันธบัตรอายุ 3 ปี
วงเงิน 12,000 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 ปี ณ สิ้นวันทำการ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 2544 บวกร้อยละ 0.15 ต่อปี
(2) พันธบัตรอายุ 5 ปี
วงเงิน 8,000 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรอายุ 5 ปี ณ สิ้นวันทำการ ระหว่างวันที่ 2 - 8
สิงหาคม 2544 บวกร้อยละ 0.25 ต่อปี
3. ผู้มีสิทธิ์ซื้อ
- บุคคลธรรมดา
- สหกรณ์
- มูลนิธิ
- นิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลป วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน
4. วงเงินในการซื้อ
- ผู้ซื้อสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทั้ง 2 ประเภทรวมกันสูงสุด ไม่เกิน 4,000,000 บาท และผู้ซื้อจะต้องซื้อพันธบัตรแต่ละประเภทขั้นต่ำจำนวน 10,000 บาท ทั้งนี้พันธบัตรออมทรัพย์แต่ละประเภทมีราคาตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละ 10,000 บาท โดยผู้ซื้อสามารถซื้อได้เพิ่มเป็นค่าทวีคูณของราคาตราต่อหน่วย
5. การไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด
- ไม่สามารถกระทำได้
6. การโอนเปลี่ยนมือ
ห้ามมิให้โอนเปลี่ยนมือ ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้
- การค้ำประกันหนี้สาธารณูปโภค
- การตกทอดทางมรดก
- การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า
- การนำไปเป็นหลักทรัพย์ เพื่อประกันตนเองและหรือผู้อื่นอันเนื่องมาจากการถูกดำเนินคดีทางอาญา
- การล้มละลาย
- การชำระบัญชี
7. ประเภทพันธบัตร
- พันธบัตรชนิดผู้ถือ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกพันธบัตรฉบับแรกเท่ากับมูลค่าที่จองซื้อ โดยจะสามารถมารับด้วยตัวเองที่สาขาที่จองซื้อ หรือให้ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ 24 สิงหาคม 2544
- หากผู้ถือต้องการแตกออกเป็นฉบับย่อยในลำดับต่อ ๆ ไป จะคิดค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อ 1 ฉบับย่อย
- ผู้ถือแจ้งความจำนงขอแตกพันธบัตรเป็นฉบับย่อยได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ
- ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดส่งพันธบัตรฉบับย่อยให้แก่ผู้ถือทางไปรษณีย์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้งความจำนง
8. การจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้น
- จ่ายทุก 3 เดือน โดยใช้ จำนวนวันจริง/365
- หากวันครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเลื่อนเป็นวันทำการถัดไป
9. สถานที่จัดจำหน่าย
- ธนาคารออมสินทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศ
- ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉพาะสาขาลำปาง สาขาขอนแก่น สาขาเชียงใหม่ และสาขาหาดใหญ่เท่านั้น
10. นายทะเบียน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
11. วิธีการจองซื้อ
- เปิดจองซื้อล่วงหน้าระหว่างวันที่ 14 - 16 สิงหาคม 2544
- จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ซื้อ และรายชื่อสำรอง ร้อยละ 20 ของวงเงินพันธบัตรแต่ละประเภทในวันที่ 20 สิงหาคม 2544
12. การชำระเงิน มี 2 ทางเลือก คือ
(1) ชำระด้วยเช็ค ณ วันจองซื้อโดยขีดคร่อมและสั่งจ่ายธนาคารออมสินในกรณีจองซื้อที่ ธนาคารออมสิน และสั่งจ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีที่จองซื้อที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเขียนเช็คลงวันที่ 22 สิงหาคม 2544 และเช็คนั้นจะต้องเป็นเช็คในท้องถิ่นเดียวกับสถานที่จองซื้อ
(2) ชำระภายหลังการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ซื้อพันธบัตร โดยชำระเงินได้ 2 วิธี คือ
(2.1) ชำระด้วยเช็คขีดคร่อมเช่นเดียวกับกรณีที่ 1 ในวันที่ 21-22 สิงหาคม 2544 ภายใน 14.00 น.
(2.2) ชำระด้วยเงินสด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุพันธบัตร
13. การซื้อและชำระเงินของผู้มีสิทธิ์สำรอง
- หากผู้มีสิทธิ์ซื้อกลุ่มแรกไม่ชำระเงินตามกำหนด จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รอบสองจากรายชื่อสำรอง ร้อยละ 20 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2544
- รายชื่อสำรองต้องชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 - 31 สิงหาคม 2544 โดยจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ได้รับการชำระเงินเรียบร้อย
- การชำระราคาของผู้มีสิทธิ์สำรองมี 2 วิธี
1. ชำระด้วยเงินสด ภายในวันที่ 27 - 31 สิงหาคม 2544
2. ชำระด้วยเช็คขีดคร่อม ซึ่งเป็นเช็คในท้องถิ่นเดียวกับสถานที่จองซื้อ โดยต้องนำส่งเช็คให้ธนาคารภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2544 เวลา 14.00 น.
14. เอกสารประกอบการจองซื้อ
(1) บุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน โดยลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
(2) สหกรณ์
- สำเนาใบจดทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตราสหกรณ์
- ใบมอบอำนาจ
(3) มูลนิธิ
- สำเนาใบจดทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตรามูลนิธิ
- ใบมอบอำนาจ
(4) นิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน
- สำเนาใบจดทะเบียนพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตรา
- ใบมอบอำนาจ
สำนักบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง
20 กรกฎาคม 2544--จบ--
-อน-