ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 นี้ เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เห็นได้จากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์รถจักรยานยนต์ในภาค และยอดขายของห้างสรรพสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ตลอดจนเงินโอนของแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศส่งกลับภูมิลำเนายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงเป็นลำดับ และมาตรการการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ภาคเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น สอดคล้องกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า และจำนวนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นภาวะการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การขาดสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจเนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน และภาวะการว่างงานยังคงเป็นปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 520 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) มีเงินฝากคงค้าง 231,832.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมีนาคมของปีก่อนร้อยละ 2.3 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 3.9 ขณะที่สินเชื่อคงค้าง 236,941.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.7 ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 102.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 107.5 อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อย ทั้งเงินฝากและสินเชื่อ และคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีก เนื่องจากนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง
จังหวัดยโสธรยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 164.3 และจังหวัดหนองคายมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาค คิดเป็นร้อยละ 78.5
ชาวอีสานที่ไปทำงานในต่างประเทศโอนเงินกลับภูมิลำเนาผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสแรกปีนี้รวมทั้งสิ้น 7,535.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีก่อนถึงร้อยละ 32.2 เนื่องจากแรงงานเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนด้านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรายได้จากการทำงานในต่างประเทศจูงใจ
การจัดเก็บรายได้จากภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิตและอากรขาเข้าในภาคลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 28.9 แม้ด่านศุลกากรในภาคจัดเก็บอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.3
สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้โดยรวมมีปริมาณลดลงจากปีก่อนทั้งข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และปอ ยกเว้นข้าวโพดที่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคาพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชนกระเตื้องขึ้นทั้งภาคการผลิตและการก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
การจ้างงานมีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จำนวนผู้สมัครงานและผู้ที่ได้รับการบรรจุงานกลับลดลงร้อยละ 36.1 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ
ภาวะเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.6 แม้ดัชนีราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.1 แต่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.1
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคทั้งสิ้น 520 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) มีเงินฝากคงค้าง 231,832.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมีนาคมของปีก่อนร้อยละ 2.3 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 3.9 ขณะที่สินเชื่อคงค้าง 236,941.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 102.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 107.5 อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปปรับตัวลดลงทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 164.3 รองลงมาได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ร้อยละ 136.8 และจังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 133.9 ขณะที่จังหวัดหนองคายยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 78.5 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 80.9 และจังหวัดชัยภูมิ ร้อยละ 82.4
เงินฝากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
(ล้านบาท)
2542 2543 E
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินฝาก 231436.9 223081.1 231832
(-0.8) (-4.1) -2.3
สินเชื่อ 248701.4 235443.7 236941
(-9.2) (-6.5) (-4.7)
สินเชื่อ/เงินฝาก (%) 107.5 105.5 102.2
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือหมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน E : ตัวเลขประมาณการ
อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำลง ทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.25-4.50 ต่อปี เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ระหว่างร้อยละ 5.0-6.5 ต่อปี
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 11.25-13.25 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 12.75-17.75 ต่อปี MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.00-9.50 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปี เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของทางการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีอยู่สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ และคาดว่าจะยังทรงตัวในระดับนี้ต่อไป
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ร้อยละต่อปี)
2542 2543 E
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินฝาก
ประจำ 12 เดือน 5.00-5.75 3.50-5.00 3.25-4.50
ออมทรัพย์ 4.5 2.75-3.75 2.50-3.25
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 12.75-17.75 11.50-14.25 11.25-13.25
MLR 9.50-13.75 8.00-9.75 8.00-9.75
MRR 10.00-14.75 8.50-11.00 8.50-10.50
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ธนาคารออมสิน ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาค 131สำนักงาน รับฝากเงิน 13,960.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รับฝากเงิน 13,738.9 ล้านบาท ขณะที่มีการถอนเงิน 12,933.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 32,054.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 28,878.6 ล้านบาท
เงินฝากธนาคารออมสิน
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543 P
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินรับฝาก 13,738.90 11,742.90 13,960.50
-33.7 (-20.2) -1.6
เงินถอน 12,365.50 11,996.10 12,933.30
-24.7 -3.4 -4.5
เงินฝากคงค้าง 28,878.60 29,461.70 32,054.90
-27.3 -7.1 -11
ที่มา : ธนาคารออมสินหมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 520 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) มีเงินฝากคงค้าง 231,832.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมีนาคมของปีก่อนร้อยละ 2.3 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 3.9 ขณะที่สินเชื่อคงค้าง 236,941.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.7 ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 102.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 107.5 อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อย ทั้งเงินฝากและสินเชื่อ และคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีก เนื่องจากนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง
จังหวัดยโสธรยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 164.3 และจังหวัดหนองคายมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาค คิดเป็นร้อยละ 78.5
ชาวอีสานที่ไปทำงานในต่างประเทศโอนเงินกลับภูมิลำเนาผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสแรกปีนี้รวมทั้งสิ้น 7,535.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีก่อนถึงร้อยละ 32.2 เนื่องจากแรงงานเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนด้านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรายได้จากการทำงานในต่างประเทศจูงใจ
การจัดเก็บรายได้จากภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิตและอากรขาเข้าในภาคลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 28.9 แม้ด่านศุลกากรในภาคจัดเก็บอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.3
สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้โดยรวมมีปริมาณลดลงจากปีก่อนทั้งข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และปอ ยกเว้นข้าวโพดที่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคาพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชนกระเตื้องขึ้นทั้งภาคการผลิตและการก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
การจ้างงานมีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จำนวนผู้สมัครงานและผู้ที่ได้รับการบรรจุงานกลับลดลงร้อยละ 36.1 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ
ภาวะเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.6 แม้ดัชนีราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.1 แต่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.1
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคทั้งสิ้น 520 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) มีเงินฝากคงค้าง 231,832.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมีนาคมของปีก่อนร้อยละ 2.3 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 3.9 ขณะที่สินเชื่อคงค้าง 236,941.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 102.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 107.5 อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปปรับตัวลดลงทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 164.3 รองลงมาได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ร้อยละ 136.8 และจังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 133.9 ขณะที่จังหวัดหนองคายยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 78.5 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 80.9 และจังหวัดชัยภูมิ ร้อยละ 82.4
เงินฝากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
(ล้านบาท)
2542 2543 E
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินฝาก 231436.9 223081.1 231832
(-0.8) (-4.1) -2.3
สินเชื่อ 248701.4 235443.7 236941
(-9.2) (-6.5) (-4.7)
สินเชื่อ/เงินฝาก (%) 107.5 105.5 102.2
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือหมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน E : ตัวเลขประมาณการ
อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำลง ทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.25-4.50 ต่อปี เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ระหว่างร้อยละ 5.0-6.5 ต่อปี
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 11.25-13.25 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 12.75-17.75 ต่อปี MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.00-9.50 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปี เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของทางการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีอยู่สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ และคาดว่าจะยังทรงตัวในระดับนี้ต่อไป
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ร้อยละต่อปี)
2542 2543 E
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินฝาก
ประจำ 12 เดือน 5.00-5.75 3.50-5.00 3.25-4.50
ออมทรัพย์ 4.5 2.75-3.75 2.50-3.25
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 12.75-17.75 11.50-14.25 11.25-13.25
MLR 9.50-13.75 8.00-9.75 8.00-9.75
MRR 10.00-14.75 8.50-11.00 8.50-10.50
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ธนาคารออมสิน ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาค 131สำนักงาน รับฝากเงิน 13,960.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รับฝากเงิน 13,738.9 ล้านบาท ขณะที่มีการถอนเงิน 12,933.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 32,054.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 28,878.6 ล้านบาท
เงินฝากธนาคารออมสิน
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543 P
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินรับฝาก 13,738.90 11,742.90 13,960.50
-33.7 (-20.2) -1.6
เงินถอน 12,365.50 11,996.10 12,933.30
-24.7 -3.4 -4.5
เงินฝากคงค้าง 28,878.60 29,461.70 32,054.90
-27.3 -7.1 -11
ที่มา : ธนาคารออมสินหมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-