ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ได้รับการจัดอันดับเป็นหน่วยงานให้ข้อมูลดีเด่น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) ได้มาตรวจเยี่ยมการทำงานและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ธปท. และเห็นว่าระบบงานของ ธปท. อยู่ในกลุ่มชั้นนำ 5 แห่งแรกของส่วนราชการทั้งหมด ทั้งนี้ การขอข้อมูลข่าวสารเฉพาะรายตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีเพียง 17 ราย ส่วนใหญ่เป็นสื่อสารมวลชน และได้ให้ข้อมูลไปแล้ว 13 ราย ส่วนอีก 4 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะเห็นว่ามีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่น เนื่องจาก ธปท.ได้เปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ทำให้สามารถค้นหาได้ด้วยตนเอง ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.43 มีผู้ขอใช้บริการฯ จำนวน 1,467 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 35 คนต่อวันทำการ โดยเป็นข้อมูลเศรษฐกิจ การเงิน การผลิต และกฎหมายฟอกเงิน (วัฏจักร,ผู้จัดการรายวัน 23)
2. ธปท.แถลงตัวเลขบีไอบีเอฟ ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.เปิดเผยว่า ยอดคงค้างการให้กู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 มีจำนวน 4.695 แสน ล.บาท ลดลงร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปี 42 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.776 แสน ล.บาท บีไอบีเอฟดังกล่าวแยกเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในประเทศ (เอาต์-อิน) 4.139 แสน ล.บาท ให้กู้ยืมแก่ลูกค้านอกประเทศ (เอาต์-เอาต์) 5.56 หมื่น ล.บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.5 และ 23.6 ตามลำดับ ยอดการให้กู้ยืมของบีไอบีเอฟยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลัก คือ ดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคธุรกิจเอกชนกู้ยืมในประเทศมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน (แนวหน้า 23)
3. ผลการดำเนินงานของบริษัทการเงินในปี 43 รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) 11 แห่ง ณ สิ้นปี 43 มีกำไรสุทธิจำนวน 1,180 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.99 จากปี 42 โดยบริษัทฯ ที่เปลี่ยนแปลงดีขึ้นสูงสุด คือ บงล.กรุงเทพธนาทร มีกำไร 77 ล.บาท เทียบกับจำนวน 14.55 ล.บาท ในปี 42 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 427.62 สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของบริษัทการเงิน 10 แห่ง ยกเว้น บง.บุคคลัภย์ ในเดือน ธ.ค.43 มีจำนวน 32,386 ล.บาท ลดลง 20,110 ล.บาท โดย บง.เกียรตินาคิน ปรับลดเอ็นพีแอลได้สูงสุดจำนวน 9,013 ล.บาท (ไทยโพสต์ 23)
4. การจัดเก็บรายได้ของ ก.คลังยังต่ำกว่าเป้าหมาย ปลัด ก.คลังกล่าวว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร สรรพสามิต และศุลกากร ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 44 ยังต่ำกว่าประมาณการ 5,698 ล.บาท หรือร้อยละ 3.3 แต่ ก.คลังยังยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงประมาณการเดิม โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ และขยายฐานภาษีให้มากขึ้น ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 10 เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ประชาชนลดการบริโภคลง ขณะที่กรมศุลกากรได้รับผลกระทบจากการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าตามข้อผูกพันเขตการค้าเสรีอาเซียน และองค์การการค้าโลก สำหรับกรณีที่ ก.คลังออกหนังสือเวียนให้ส่วนราชการนำเงินนอกงบประมาณหรือเงินหมุนเวียนส่วนเกินที่ฝากไว้กับ ธพ.ย้ายมาฝากที่ ก.คลังในสัดส่วนร้อยละ 50 นั้น ก็เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการคลัง ช่วยให้รัฐมีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1 หมื่น ล.บาท (ไทยโพสต์ 23)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ. ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 22 ม.ค.44 The Conference Board รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Index of leading indicators) ของ สรอ. ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงเดือนที่กำลังจะมาถึง ลดลงร้อยละ 0.6 มาอยู่ที่ระดับ 108.3 ลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ย.และ ต.ค.43 นอกจากนั้น ดัชนีฯ ในเดือน ธ.ค.43 ยังลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี นับแต่ที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ม.ค.39 การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าว แสดงสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ดัชนีฯ สะสมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ลดลงเพียงร้อยละ 3.2 ซึ่งยังลดลงไม่มากถึงระดับร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นระดับที่ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ทางด้าน Coincident index ในเดือน ธ.ค.43 ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 116.6 ส่วน Lagging index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 107.4 อย่างไรก็ตาม The Conference Board กล่าวว่า การที่ดัชนีฯ ในเดือน ธ.ค.43 ลดลงมาก (รอยเตอร์ 22)
2. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 22 ม.ค.44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 96.5 จากระดับ 97.0 ในเดือน พ.ย.43 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับแต่เดือน ต.ค.42 ที่ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 96.0 ทั้งนี้ การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าวส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีได้รับผลกระทบในทางลบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. และการที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้น มากกว่าการได้รับผลดีจากราคาน้ำมันที่ลดลงและการขยายตัวของการความต้องการของผู้บริโภคอันเป็นผลจากมาตรการลดภาษี (รอยเตอร์ 22)
3. เงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มยูโรลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากบรัสส์เซล เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรปรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 เงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มยูโร 11 ประเทศ ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน พ.ย. 43 โดยอัตราเฉลี่ยทั้งปี 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 สอดคล้องกับความคาดหมายของนักวิเคราะห์จากการสำรวจของรอยเตอร์ นอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังให้ความเห็นว่า ถ้าหากเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรในช่วงเดือนที่กำลังมาถึงลดลง ธ.กลางแห่งยุโรป (ECB) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว (รอยเตอร์ 22)
4. สรอ. เกินดุล งปม.ลดลงเหลือ 32.67 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 22 ม.ค.43 ก.คลัง สรอ. รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 สรอ.เกินดุล งปม.ลดลงเหลือ 32.67 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 ที่เกินดุลจำนวน 33.08 พัน ล.ดอลลาร์ สำหรับทั้งปี งปม.44 รัฐบาลประมาณการว่า จะเกินดุล งปม.จำนวน 228 พัน ล.ดอลลาร์ ลดลงจากที่เกินดุลฯ 237 พัน ล.ดอลลาร์ในปี งปม.43 (รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 ม.ค.44 42.998 (43.134)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 ม.ค.44
ซื้อ 42.7984 (42.9778) ขาย 43.1010 (43.2828)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.67 (24.27)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ได้รับการจัดอันดับเป็นหน่วยงานให้ข้อมูลดีเด่น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) ได้มาตรวจเยี่ยมการทำงานและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ธปท. และเห็นว่าระบบงานของ ธปท. อยู่ในกลุ่มชั้นนำ 5 แห่งแรกของส่วนราชการทั้งหมด ทั้งนี้ การขอข้อมูลข่าวสารเฉพาะรายตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีเพียง 17 ราย ส่วนใหญ่เป็นสื่อสารมวลชน และได้ให้ข้อมูลไปแล้ว 13 ราย ส่วนอีก 4 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะเห็นว่ามีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่น เนื่องจาก ธปท.ได้เปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ทำให้สามารถค้นหาได้ด้วยตนเอง ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.43 มีผู้ขอใช้บริการฯ จำนวน 1,467 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 35 คนต่อวันทำการ โดยเป็นข้อมูลเศรษฐกิจ การเงิน การผลิต และกฎหมายฟอกเงิน (วัฏจักร,ผู้จัดการรายวัน 23)
2. ธปท.แถลงตัวเลขบีไอบีเอฟ ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.เปิดเผยว่า ยอดคงค้างการให้กู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 มีจำนวน 4.695 แสน ล.บาท ลดลงร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปี 42 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.776 แสน ล.บาท บีไอบีเอฟดังกล่าวแยกเป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าในประเทศ (เอาต์-อิน) 4.139 แสน ล.บาท ให้กู้ยืมแก่ลูกค้านอกประเทศ (เอาต์-เอาต์) 5.56 หมื่น ล.บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.5 และ 23.6 ตามลำดับ ยอดการให้กู้ยืมของบีไอบีเอฟยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลัก คือ ดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคธุรกิจเอกชนกู้ยืมในประเทศมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน (แนวหน้า 23)
3. ผลการดำเนินงานของบริษัทการเงินในปี 43 รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) 11 แห่ง ณ สิ้นปี 43 มีกำไรสุทธิจำนวน 1,180 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.99 จากปี 42 โดยบริษัทฯ ที่เปลี่ยนแปลงดีขึ้นสูงสุด คือ บงล.กรุงเทพธนาทร มีกำไร 77 ล.บาท เทียบกับจำนวน 14.55 ล.บาท ในปี 42 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 427.62 สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของบริษัทการเงิน 10 แห่ง ยกเว้น บง.บุคคลัภย์ ในเดือน ธ.ค.43 มีจำนวน 32,386 ล.บาท ลดลง 20,110 ล.บาท โดย บง.เกียรตินาคิน ปรับลดเอ็นพีแอลได้สูงสุดจำนวน 9,013 ล.บาท (ไทยโพสต์ 23)
4. การจัดเก็บรายได้ของ ก.คลังยังต่ำกว่าเป้าหมาย ปลัด ก.คลังกล่าวว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร สรรพสามิต และศุลกากร ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 44 ยังต่ำกว่าประมาณการ 5,698 ล.บาท หรือร้อยละ 3.3 แต่ ก.คลังยังยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงประมาณการเดิม โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ และขยายฐานภาษีให้มากขึ้น ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 10 เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ประชาชนลดการบริโภคลง ขณะที่กรมศุลกากรได้รับผลกระทบจากการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าตามข้อผูกพันเขตการค้าเสรีอาเซียน และองค์การการค้าโลก สำหรับกรณีที่ ก.คลังออกหนังสือเวียนให้ส่วนราชการนำเงินนอกงบประมาณหรือเงินหมุนเวียนส่วนเกินที่ฝากไว้กับ ธพ.ย้ายมาฝากที่ ก.คลังในสัดส่วนร้อยละ 50 นั้น ก็เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการคลัง ช่วยให้รัฐมีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1 หมื่น ล.บาท (ไทยโพสต์ 23)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ. ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 22 ม.ค.44 The Conference Board รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Index of leading indicators) ของ สรอ. ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงเดือนที่กำลังจะมาถึง ลดลงร้อยละ 0.6 มาอยู่ที่ระดับ 108.3 ลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ย.และ ต.ค.43 นอกจากนั้น ดัชนีฯ ในเดือน ธ.ค.43 ยังลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี นับแต่ที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ม.ค.39 การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าว แสดงสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ดัชนีฯ สะสมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ลดลงเพียงร้อยละ 3.2 ซึ่งยังลดลงไม่มากถึงระดับร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นระดับที่ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ทางด้าน Coincident index ในเดือน ธ.ค.43 ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 116.6 ส่วน Lagging index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 107.4 อย่างไรก็ตาม The Conference Board กล่าวว่า การที่ดัชนีฯ ในเดือน ธ.ค.43 ลดลงมาก (รอยเตอร์ 22)
2. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 22 ม.ค.44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 96.5 จากระดับ 97.0 ในเดือน พ.ย.43 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับแต่เดือน ต.ค.42 ที่ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 96.0 ทั้งนี้ การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าวส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีได้รับผลกระทบในทางลบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. และการที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้น มากกว่าการได้รับผลดีจากราคาน้ำมันที่ลดลงและการขยายตัวของการความต้องการของผู้บริโภคอันเป็นผลจากมาตรการลดภาษี (รอยเตอร์ 22)
3. เงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มยูโรลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากบรัสส์เซล เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรปรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 เงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มยูโร 11 ประเทศ ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน พ.ย. 43 โดยอัตราเฉลี่ยทั้งปี 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 สอดคล้องกับความคาดหมายของนักวิเคราะห์จากการสำรวจของรอยเตอร์ นอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังให้ความเห็นว่า ถ้าหากเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรในช่วงเดือนที่กำลังมาถึงลดลง ธ.กลางแห่งยุโรป (ECB) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว (รอยเตอร์ 22)
4. สรอ. เกินดุล งปม.ลดลงเหลือ 32.67 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 22 ม.ค.43 ก.คลัง สรอ. รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 สรอ.เกินดุล งปม.ลดลงเหลือ 32.67 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 ที่เกินดุลจำนวน 33.08 พัน ล.ดอลลาร์ สำหรับทั้งปี งปม.44 รัฐบาลประมาณการว่า จะเกินดุล งปม.จำนวน 228 พัน ล.ดอลลาร์ ลดลงจากที่เกินดุลฯ 237 พัน ล.ดอลลาร์ในปี งปม.43 (รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 ม.ค.44 42.998 (43.134)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 ม.ค.44
ซื้อ 42.7984 (42.9778) ขาย 43.1010 (43.2828)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.67 (24.27)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-