กรุงเทพ--11 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งข้อมูลจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดคณะสำรวจ เส้นทางถนนระหว่างนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญ-จังหวัดเสียมเรียบ และร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริม ลู่ทางการค้าการลงทุนร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ และนักธุรกิจไทยในกัมพูชา ระหว่างวันที่ 9-13 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เวียดนาม : ช่วงนครโฮจิมินห์-ด่านม็อก บาย (Moc Bai) จ. เตนินห์
(Tay Ninh)
คณะเริ่มออกเดินทางจากใจกลางนครโฮจิมินห์ บนถนนสาย 1A (หรือถนน Transasia highway ของเวียดนาม) ถึงด่านม็อก บาย (Moc Bai) จ.เตนินห์ (Tay Ninh) ซึ่งมีระยะทาง 80 กม. ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 15 นาที ทั้งนี้เป็นช่วงที่การจราจรไม่หนาแน่น เพราะเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล ตรุษจีน (Tet) ของเวียดนาม (ปกติใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 30 นาที)
ถนนเส้นดังกล่าวพัฒนาขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจของคณะเจ้าหน้าที่
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2546 โดยมีการขยายถนนเป็น 4 ช่องทางการจราจรในช่วง ที่อยู่นอกเมืองเป็นระยะทางประมาณ 40 กม. และกำลังขยายช่องทางเดินรถภายในตัวเมืองกว้าง ประมาณ 30 เมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และจะทำให้การจราจรคล่องตัวมากขึ้น
สภาพพื้นผิวถนนได้รับการดูแลอย่างดี มีการลาดยางมะตอยใหม่ และซ่อมแซม
พื้นผิวการจราจรที่เป็นหลุม มีการกั้นแบ่งช่องการจราจรให้รถจักรยานยนต์โดยเฉพาะในบางส่วน มีการตีเส้นแบ่งการจราจรเกือบตลอดสาย มีการเพิ่มสัญญาณไฟจราจรตามสี่แยกที่มีทางเลี้ยว เข้าชุมชนหมู่บ้าน และมีการสร้างและตกแต่งเกาะกลางถนนด้วยต้นไม้
นอกจากนี้ การจราจรบนเส้นทางถนนดังกล่าว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก
ขึ้น เช่น ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ส่วนใหญ่ขับขี่ในช่องทางการจราจรเฉพาะรถจักรยานยนต์มากกว่าบนช่องทางเดินรถยนต์และพบเห็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่สวมหมวกกันน็อกมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการในเชิงบวกของโครงการรณรงค์ปรับปรุงระบบการจราจรระหว่างเมืองของทางการ เวียดนาม
สำหรับพัฒนาการของชุมชนโดยรอบ พบว่า มีการก่อสร้างบ้านเรือน และอาคารพาณิชย์ขนาดเล็กจำนวนมากขึ้น แสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนอย่างชัดเจน สอดคล้องกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาของชุมชนชานเมืองนครโฮจิมินห์ และจังหวัดข้างเคียง
2. เวียดนาม : ด่านม็อก บาย จ. เต นินห์
เส้นทางถนนช่วงก่อนถึงด่านม็อก บาย จ.เต นินห์ ประมาณ 10 กม. ซึ่งในปี 2546 มีสภาพโรยกรวด ได้รับการเปลี่ยนเป็นลาดยางมะตอย มีการปรับปรุงสภาพไหล่ทาง มีป้ายการจราจร บอกทาง
เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล จึงไม่พบว่ามีการจราจรขาออกจากเวียดนามไปกัมพูชาที่ด่านม็อก บาย มากนัก นอกจากชาวเวียดนามหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 20-30 คน สำหรับการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำหรับศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมืองแห่งใหม่ แทนที่อาคาร ชั่วคราวของด่านม็อก บาย นั้น เสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ มีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และแผงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่เพิ่มเติม สอดคล้องกับทิศทางแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ม็อก บายของเวียดนาม ที่จะให้ม็อก บาย เป็นแหล่งพักและกระจายสินค้าระหว่างภาคใต้เวียดนามและกัมพูชา
กระบวนการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองใช้เวลาไม่นานนัก เนื่องจากเวียดนาม
ได้เริ่มผ่อนปรนเรื่องการตรวจเอกสารด้านศุลกากรของนักท่องเที่ยวขาออกมาตั้งแต่ปี 2547 แต่โดยที่เวียดนามยังไม่เปิดใช้อาคารทำการด่านแห่งใหม่ จึงยังมีจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราและศุลกากรไม่มากนัก
3. เวียดนาม —กัมพูชา : ด่านม๊อก บาย จ.เต นินห์ —ด่านบาเวต (Bavet)
กระบวนการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองฝั่งกัมพูชาใช้เวลาประมา15-20 นาที เนื่องจากคณะได้รับความอนุเคราะห์จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ที่กรุณาประสานงานให้ก่อนคณะเดินทางไปถึง
บริเวณพื้นที่ด่านบาเวต กำลังมีการก่อสร้างอาคารที่ทำการศุลกากรและการ
ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งดำเนินการไปแล้วประมาณร้อยละ 80 สำหรับบริเวณที่ผ่านอาคารศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองเข้ามาแล้วประมาณ 200 เมตร พบว่า มีร้านอาหาร โรงแรม และสถานบันเทิงหลายแห่ง รวมทั้ง บ่อนคาสิโน ที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยมีแนวโน้มที่จะสร้างเพิ่มขึ้นอีกเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวจากเวียดนามที่จะเดินทางไปกัมพูชาในอนาคต
4. กัมพูชา : ด่านบาเวท-อ.เนียก เลือง (Neak Luong) จ.กัน ดาล (Kandal)
เส้นทางถนนยาว 90 กม. มี 2 ช่องทางเดินรถ มีเส้นแบ่งกลางถนน สภาพพื้นผิวการจราจรลาดยางมะตอยเป็นบางช่วง และโรยกรวดเป็นบางช่วง ทั้ง 2 ฝั่งถนน ช่วงใกล้ฝั่งเวียดนามมีชุมชนที่อยู่อาศัยมากกว่า ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่สองข้างทางเป็นพื้นที่โล่งสำหรับทำการเกษตรขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการทำการเกษตรอย่างสมบูรณ์ พบชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งมีตลาดใจกลางชุมชนบ้าง แต่ไม่มาก
ปริมาณการจราจรบนถนนเส้นดังกล่าวมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นรถประจำทาง
ระหว่างเขตชุมชนของกัมพูชาที่มีการต่อเติมดัดแปลง นอกจากนี้ ยังมีรถบัสขนาด 25 ที่นั่ง รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล รถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ จักรยานยนต์และจักรยาน ระยะเวลาในการเดินทางช่วงนี้ประมาณ 1 ชม. 45 นาที
อ.เนียก เลือง เป็นจุดข้ามแม่น้ำ มีเรือรับส่งรถยนต์ข้ามฟาก ระยะเวลาในการรอและข้ามฟากประมาณ 30 นาที สภาพชุมชนที่อยู่อาศัยสองฝั่งมีความยากจน อ.เนียก เลือง มีท่าเทียบเรือข้ามฟากฝั่งขาเข้าสู่กรุงพนมเปญ 2 แห่ง สภาพไม่สมบูรณ์นัก ถูกน้ำท่วมเมื่อน้ำขึ้น ส่งผลให้เกิดความยากลำบากสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กที่ต้องเทียบท่า
5. กัมพูชา : อ.เนียก เลือง-กรุงพนมเปญ
เส้นทางถนนยาว 65 กม. มี 2 ช่องทางเดินรถ ส่วนใหญ่ไม่มีการแบ่งเส้นทางจราจร สภาพถนนเป็นหลุมบ่อบางช่วง รถวิ่งได้ช้าเพราะสภาพถนนไม่ดี เป็นคลื่นและมีหลุมมาก รวมทั้งปริมาณการจราจรและชุมชนหนาแน่นกว่าช่วงเส้นทางบาเวต-อ.เนียก เลือง มีโรงงานอุตสาหกรรมท้องถิ่น และต่างชาติสองข้างทาง เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเวียดนาม อย่างไรก็ดี ชุมชนส่วนใหญ่น่าจะยังคงมีอาชีพเกษตรกรรม ค้าขายปลีก หรือช่างฝีมือ การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 20 นาที
6. กัมพูชา: กรุงพนมเปญ-จ.เสียมเรียบ (Siem Riap)
เส้นทางถนนยาว 314 กม. มี 2 ช่องทางเดินรถ มีสภาพการจราจรหนาแน่นช่วงใกล้เมืองใหญ่ มีชุมชน ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมจำนวนมากช่วงเข้าสู่ตัวเมืองจ.เสียม เรียบ เส้นทางถนนช่วง 20 กม. ก่อนเข้าถึงตัวเมืองจ.เสียมเรียบ ถนนมีสภาพเป็นหลุมบ่อ มีดินลูกรัง 2 ข้างทาง การเดินทางช่วงนี้ ใช้เวลาประมาณ 5 ชม.
7. การประเมินผล
คณะเห็นว่า ในภาพรวมเส้นทางถนนนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญ-จ.เสียมเรียบ มีสภาพดีใช้งานได้ ยกเว้นช่วงอ.เนียก เลือง-กรุงพนมเปญ เท่านั้น
ตลอดเส้นทางจากเวียดนามผ่านด่านชายแดนม็อก บาย ถึงจ.เสียม เรียบ มีรถ
บรรทุกขนส่งสินค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม โดยมีการพักรถที่ด่านบาเวต แต่มีรถนักท่องเที่ยวระหว่างเส้นทางนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญบ้าง แต่ไม่มากเท่ากับเส้นทางกรุงพนมเปญ-
จ.เสียมเรียบ อย่างไรก็ดี เป็นที่สังเกตว่า ฝั่งกัมพูชามีจำนวนสถานีน้ำมันมากกว่าฝั่งเวียดนาม
ได้แก่สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งน่าจะรองรับการท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนตัวในอนาคตระหว่าง
เวียดนามและกัมพูชาในอนาคตได้ดี พื้นที่ฝั่งเวียดนามอุดมสมบูรณ์ด้วยนาข้าวและพืชผักผลไม้โดยเฉพาะในช่วงก่อนข้ามแดน แต่ฝั่งกัมพูชาบริเวณชายแดนกลับดูไม่สมบูรณ์เท่า ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ฝั่งกัมพูชาไม่มีการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ดังเช่นฝั่งเวียดนาม
สภาพชุมชนสองข้างถนนฝั่งเวียดนามมีศักยภาพและลู่ทางในการกระจายสินค้าสูงกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดชุมชนที่ใหญ่และเจริญ มีธุรกิจร้านค้าจำนวนมาก ในขณะที่ฝั่งกัมพูชาชุมชนส่วนใหญ่ขนาดยังมีไม่ใหญ่มากนัก และตลาดร้านค้ายังมีลักษณะเป็นธุรกิจของ ชาวบ้าน
ในด้านการลงทุน พบว่า ในกัมพูชา ช่วงด่านบาเวต-กรุงพนมเปญ มีการลงทุนของธุรกิจต่างชาติหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงการลงทุนจากนักลงทุนเวียดนามด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเวียดนามประสบความสำเร็จพอสมควร ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในการผลักดันให้ธุรกิจเวียดนามเริ่มลงทุนในกัมพูชา เพื่อเจาะตลาดกัมพูชาและเชื่อมโยงการค้าไปสู่ประเทศอื่นๆ
เส้นทางถนนนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญ-จ.เสียมเรียบ น่าจะพัฒนาเป็นเส้นทาง การท่องเที่ยวได้ในอนาคต หากการอำนวยความสะดวกเรื่องการขับรถข้ามแดน และการพัฒนา ปรับปรุงถนนช่วงระหว่างกรุงพนมเปญ-อ.เนียก เลือง จ.กันดาล และช่วงระหว่างกรุงพนมเปญ- จ.เสียมเรียบ เสร็จสมบูรณ์
กล่าวโดยรวม เส้นทางกทม.-กรุงพนมเปญ-นครโฮจิมินห์ เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูง และน่าจับตามองอย่างยิ่งในฐานะเส้นทางที่จะสร้างโอกาสการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวให้แก่ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนี้ สอดคล้องกับแนวคิด ACMECS ที่ส่งเสริมให้ไทย และประเทศเพื่อนบ้านบูรณาการเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน และเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตด้วยกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งข้อมูลจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดคณะสำรวจ เส้นทางถนนระหว่างนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญ-จังหวัดเสียมเรียบ และร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริม ลู่ทางการค้าการลงทุนร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ และนักธุรกิจไทยในกัมพูชา ระหว่างวันที่ 9-13 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เวียดนาม : ช่วงนครโฮจิมินห์-ด่านม็อก บาย (Moc Bai) จ. เตนินห์
(Tay Ninh)
คณะเริ่มออกเดินทางจากใจกลางนครโฮจิมินห์ บนถนนสาย 1A (หรือถนน Transasia highway ของเวียดนาม) ถึงด่านม็อก บาย (Moc Bai) จ.เตนินห์ (Tay Ninh) ซึ่งมีระยะทาง 80 กม. ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 15 นาที ทั้งนี้เป็นช่วงที่การจราจรไม่หนาแน่น เพราะเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล ตรุษจีน (Tet) ของเวียดนาม (ปกติใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 30 นาที)
ถนนเส้นดังกล่าวพัฒนาขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจของคณะเจ้าหน้าที่
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2546 โดยมีการขยายถนนเป็น 4 ช่องทางการจราจรในช่วง ที่อยู่นอกเมืองเป็นระยะทางประมาณ 40 กม. และกำลังขยายช่องทางเดินรถภายในตัวเมืองกว้าง ประมาณ 30 เมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และจะทำให้การจราจรคล่องตัวมากขึ้น
สภาพพื้นผิวถนนได้รับการดูแลอย่างดี มีการลาดยางมะตอยใหม่ และซ่อมแซม
พื้นผิวการจราจรที่เป็นหลุม มีการกั้นแบ่งช่องการจราจรให้รถจักรยานยนต์โดยเฉพาะในบางส่วน มีการตีเส้นแบ่งการจราจรเกือบตลอดสาย มีการเพิ่มสัญญาณไฟจราจรตามสี่แยกที่มีทางเลี้ยว เข้าชุมชนหมู่บ้าน และมีการสร้างและตกแต่งเกาะกลางถนนด้วยต้นไม้
นอกจากนี้ การจราจรบนเส้นทางถนนดังกล่าว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก
ขึ้น เช่น ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ส่วนใหญ่ขับขี่ในช่องทางการจราจรเฉพาะรถจักรยานยนต์มากกว่าบนช่องทางเดินรถยนต์และพบเห็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่สวมหมวกกันน็อกมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการในเชิงบวกของโครงการรณรงค์ปรับปรุงระบบการจราจรระหว่างเมืองของทางการ เวียดนาม
สำหรับพัฒนาการของชุมชนโดยรอบ พบว่า มีการก่อสร้างบ้านเรือน และอาคารพาณิชย์ขนาดเล็กจำนวนมากขึ้น แสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนอย่างชัดเจน สอดคล้องกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาของชุมชนชานเมืองนครโฮจิมินห์ และจังหวัดข้างเคียง
2. เวียดนาม : ด่านม็อก บาย จ. เต นินห์
เส้นทางถนนช่วงก่อนถึงด่านม็อก บาย จ.เต นินห์ ประมาณ 10 กม. ซึ่งในปี 2546 มีสภาพโรยกรวด ได้รับการเปลี่ยนเป็นลาดยางมะตอย มีการปรับปรุงสภาพไหล่ทาง มีป้ายการจราจร บอกทาง
เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล จึงไม่พบว่ามีการจราจรขาออกจากเวียดนามไปกัมพูชาที่ด่านม็อก บาย มากนัก นอกจากชาวเวียดนามหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 20-30 คน สำหรับการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำหรับศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมืองแห่งใหม่ แทนที่อาคาร ชั่วคราวของด่านม็อก บาย นั้น เสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ มีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และแผงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่เพิ่มเติม สอดคล้องกับทิศทางแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ม็อก บายของเวียดนาม ที่จะให้ม็อก บาย เป็นแหล่งพักและกระจายสินค้าระหว่างภาคใต้เวียดนามและกัมพูชา
กระบวนการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองใช้เวลาไม่นานนัก เนื่องจากเวียดนาม
ได้เริ่มผ่อนปรนเรื่องการตรวจเอกสารด้านศุลกากรของนักท่องเที่ยวขาออกมาตั้งแต่ปี 2547 แต่โดยที่เวียดนามยังไม่เปิดใช้อาคารทำการด่านแห่งใหม่ จึงยังมีจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราและศุลกากรไม่มากนัก
3. เวียดนาม —กัมพูชา : ด่านม๊อก บาย จ.เต นินห์ —ด่านบาเวต (Bavet)
กระบวนการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองฝั่งกัมพูชาใช้เวลาประมา15-20 นาที เนื่องจากคณะได้รับความอนุเคราะห์จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ที่กรุณาประสานงานให้ก่อนคณะเดินทางไปถึง
บริเวณพื้นที่ด่านบาเวต กำลังมีการก่อสร้างอาคารที่ทำการศุลกากรและการ
ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งดำเนินการไปแล้วประมาณร้อยละ 80 สำหรับบริเวณที่ผ่านอาคารศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองเข้ามาแล้วประมาณ 200 เมตร พบว่า มีร้านอาหาร โรงแรม และสถานบันเทิงหลายแห่ง รวมทั้ง บ่อนคาสิโน ที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยมีแนวโน้มที่จะสร้างเพิ่มขึ้นอีกเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวจากเวียดนามที่จะเดินทางไปกัมพูชาในอนาคต
4. กัมพูชา : ด่านบาเวท-อ.เนียก เลือง (Neak Luong) จ.กัน ดาล (Kandal)
เส้นทางถนนยาว 90 กม. มี 2 ช่องทางเดินรถ มีเส้นแบ่งกลางถนน สภาพพื้นผิวการจราจรลาดยางมะตอยเป็นบางช่วง และโรยกรวดเป็นบางช่วง ทั้ง 2 ฝั่งถนน ช่วงใกล้ฝั่งเวียดนามมีชุมชนที่อยู่อาศัยมากกว่า ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่สองข้างทางเป็นพื้นที่โล่งสำหรับทำการเกษตรขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการทำการเกษตรอย่างสมบูรณ์ พบชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งมีตลาดใจกลางชุมชนบ้าง แต่ไม่มาก
ปริมาณการจราจรบนถนนเส้นดังกล่าวมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นรถประจำทาง
ระหว่างเขตชุมชนของกัมพูชาที่มีการต่อเติมดัดแปลง นอกจากนี้ ยังมีรถบัสขนาด 25 ที่นั่ง รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล รถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ จักรยานยนต์และจักรยาน ระยะเวลาในการเดินทางช่วงนี้ประมาณ 1 ชม. 45 นาที
อ.เนียก เลือง เป็นจุดข้ามแม่น้ำ มีเรือรับส่งรถยนต์ข้ามฟาก ระยะเวลาในการรอและข้ามฟากประมาณ 30 นาที สภาพชุมชนที่อยู่อาศัยสองฝั่งมีความยากจน อ.เนียก เลือง มีท่าเทียบเรือข้ามฟากฝั่งขาเข้าสู่กรุงพนมเปญ 2 แห่ง สภาพไม่สมบูรณ์นัก ถูกน้ำท่วมเมื่อน้ำขึ้น ส่งผลให้เกิดความยากลำบากสำหรับรถยนต์ขนาดเล็กที่ต้องเทียบท่า
5. กัมพูชา : อ.เนียก เลือง-กรุงพนมเปญ
เส้นทางถนนยาว 65 กม. มี 2 ช่องทางเดินรถ ส่วนใหญ่ไม่มีการแบ่งเส้นทางจราจร สภาพถนนเป็นหลุมบ่อบางช่วง รถวิ่งได้ช้าเพราะสภาพถนนไม่ดี เป็นคลื่นและมีหลุมมาก รวมทั้งปริมาณการจราจรและชุมชนหนาแน่นกว่าช่วงเส้นทางบาเวต-อ.เนียก เลือง มีโรงงานอุตสาหกรรมท้องถิ่น และต่างชาติสองข้างทาง เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเวียดนาม อย่างไรก็ดี ชุมชนส่วนใหญ่น่าจะยังคงมีอาชีพเกษตรกรรม ค้าขายปลีก หรือช่างฝีมือ การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 20 นาที
6. กัมพูชา: กรุงพนมเปญ-จ.เสียมเรียบ (Siem Riap)
เส้นทางถนนยาว 314 กม. มี 2 ช่องทางเดินรถ มีสภาพการจราจรหนาแน่นช่วงใกล้เมืองใหญ่ มีชุมชน ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมจำนวนมากช่วงเข้าสู่ตัวเมืองจ.เสียม เรียบ เส้นทางถนนช่วง 20 กม. ก่อนเข้าถึงตัวเมืองจ.เสียมเรียบ ถนนมีสภาพเป็นหลุมบ่อ มีดินลูกรัง 2 ข้างทาง การเดินทางช่วงนี้ ใช้เวลาประมาณ 5 ชม.
7. การประเมินผล
คณะเห็นว่า ในภาพรวมเส้นทางถนนนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญ-จ.เสียมเรียบ มีสภาพดีใช้งานได้ ยกเว้นช่วงอ.เนียก เลือง-กรุงพนมเปญ เท่านั้น
ตลอดเส้นทางจากเวียดนามผ่านด่านชายแดนม็อก บาย ถึงจ.เสียม เรียบ มีรถ
บรรทุกขนส่งสินค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม โดยมีการพักรถที่ด่านบาเวต แต่มีรถนักท่องเที่ยวระหว่างเส้นทางนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญบ้าง แต่ไม่มากเท่ากับเส้นทางกรุงพนมเปญ-
จ.เสียมเรียบ อย่างไรก็ดี เป็นที่สังเกตว่า ฝั่งกัมพูชามีจำนวนสถานีน้ำมันมากกว่าฝั่งเวียดนาม
ได้แก่สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งน่าจะรองรับการท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนตัวในอนาคตระหว่าง
เวียดนามและกัมพูชาในอนาคตได้ดี พื้นที่ฝั่งเวียดนามอุดมสมบูรณ์ด้วยนาข้าวและพืชผักผลไม้โดยเฉพาะในช่วงก่อนข้ามแดน แต่ฝั่งกัมพูชาบริเวณชายแดนกลับดูไม่สมบูรณ์เท่า ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ฝั่งกัมพูชาไม่มีการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ดังเช่นฝั่งเวียดนาม
สภาพชุมชนสองข้างถนนฝั่งเวียดนามมีศักยภาพและลู่ทางในการกระจายสินค้าสูงกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดชุมชนที่ใหญ่และเจริญ มีธุรกิจร้านค้าจำนวนมาก ในขณะที่ฝั่งกัมพูชาชุมชนส่วนใหญ่ขนาดยังมีไม่ใหญ่มากนัก และตลาดร้านค้ายังมีลักษณะเป็นธุรกิจของ ชาวบ้าน
ในด้านการลงทุน พบว่า ในกัมพูชา ช่วงด่านบาเวต-กรุงพนมเปญ มีการลงทุนของธุรกิจต่างชาติหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงการลงทุนจากนักลงทุนเวียดนามด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเวียดนามประสบความสำเร็จพอสมควร ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในการผลักดันให้ธุรกิจเวียดนามเริ่มลงทุนในกัมพูชา เพื่อเจาะตลาดกัมพูชาและเชื่อมโยงการค้าไปสู่ประเทศอื่นๆ
เส้นทางถนนนครโฮจิมินห์-กรุงพนมเปญ-จ.เสียมเรียบ น่าจะพัฒนาเป็นเส้นทาง การท่องเที่ยวได้ในอนาคต หากการอำนวยความสะดวกเรื่องการขับรถข้ามแดน และการพัฒนา ปรับปรุงถนนช่วงระหว่างกรุงพนมเปญ-อ.เนียก เลือง จ.กันดาล และช่วงระหว่างกรุงพนมเปญ- จ.เสียมเรียบ เสร็จสมบูรณ์
กล่าวโดยรวม เส้นทางกทม.-กรุงพนมเปญ-นครโฮจิมินห์ เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูง และน่าจับตามองอย่างยิ่งในฐานะเส้นทางที่จะสร้างโอกาสการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวให้แก่ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนี้ สอดคล้องกับแนวคิด ACMECS ที่ส่งเสริมให้ไทย และประเทศเพื่อนบ้านบูรณาการเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน และเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตด้วยกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-