ก. มาตรการภาษี
1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเรือยอชท์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ
วันที่ 16 ตุลาคม 2544 อนุมัติให้ลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับ เรือยอชท์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 5 เนื่องจากเห็นว่าอัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเรือ ธุรกิจท่องเที่ยว และการหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต
2. การปรับปรุงค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2542
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 เห็นชอบอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ปรับปรุงใหม่ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกกฏกระทรวงให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เท่า
ทั้งนี้ คาดว่า จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 ในการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ เบื้องต้นสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสาขาต่างๆ จำนวน 58,000 ล้านบาท ดังนี้
ล้านบาท
- เกษตร 23,000
- อุตสาหกรรม / SMEs 8,000
- ท่องเที่ยว 6,000
- ชุมชน 8,500
- ฝึกอบรม 12,500
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติอนุมัติโครงการที่จะได้รับการจัดสรรจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 โครงการ วงเงินรวม 7,077 ล้านบาท คือ
1) โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทยของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ขนาดย่อม จำนวน 3,000 กิจการ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 ตุลาคม 2544)
2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติวงเงิน 5,077 ล้านบาท (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 ตุลาคม 2544)
2. มาตรการเร่งรัดติดตามการใช้เงินภาครัฐใน ปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 เห็นชอบให้มีการเร่งรัดติดตามการใช้เงิน ภาครัฐ โดยกำหนดมาตรการและแนวทางดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
1) ให้ทุกส่วนราชการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ทั้งนี้ ให้ใช้อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จอย่างหนึ่งในการบริหารองค์กร
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนส่งสำเนาแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง และแผนการเบิกจ่ายเงินให้กรมบัญชีกลางเป็นข้อมูลในการติดตามผลการดำเนินงาน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ค. มาตรการรัฐวิสาหกิจ
1. การเพิ่มทุนจดทะเบียนและการขายหุ้นเดิมของบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2544 อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 850 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าทุนจดทะเบียน 8,500 ล้านบาท และให้มีการขาย หุ้นเดิมที่กระทรวงการคลังถืออยู่ควบคู่ไปด้วยในจำนวนไม่เกิน 100 ล้านหุ้น
2. การกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิมของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ 2545 จำนวน 24,368.69 ล้านบาท ดังนี้
ล้านบาท
- การประปานครหลวง 1,650
- การเคหะแห่งชาติ 3,775.5
- การประปาส่วนภูมิภาค 2,000
- การทางพิเศษฯ 13,443.19
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ 3,500
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติใน หลักการให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง กู้เงินระยะสั้น (Bridge Loan) ได้ในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหา เงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินตลอดจนการค้ำประกัน เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ง. มาตรการก่อหนี้
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลประจำปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในปีงบประมาณ 2545 วงเงินกู้ 200,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามอัตราตลาด หรือตามอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่จะ Re-open อายุตราสารไม่เกิน 20 ปี ทั้งนี้ ในการกู้เงินแต่ละครั้ง ให้กระทรวงการคลังกำหนดวิธีการ วงเงินกู้ และตราสารเงินกู้ประเภทต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไขรายละเอียดของตราสารเงินกู้ภายใต้หลักการต่างๆ ได้ตามความจำเป็น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเรือยอชท์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ
วันที่ 16 ตุลาคม 2544 อนุมัติให้ลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับ เรือยอชท์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 5 เนื่องจากเห็นว่าอัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเรือ ธุรกิจท่องเที่ยว และการหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต
2. การปรับปรุงค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2542
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 เห็นชอบอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ปรับปรุงใหม่ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกกฏกระทรวงให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เท่า
ทั้งนี้ คาดว่า จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 ในการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ เบื้องต้นสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสาขาต่างๆ จำนวน 58,000 ล้านบาท ดังนี้
ล้านบาท
- เกษตร 23,000
- อุตสาหกรรม / SMEs 8,000
- ท่องเที่ยว 6,000
- ชุมชน 8,500
- ฝึกอบรม 12,500
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติอนุมัติโครงการที่จะได้รับการจัดสรรจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 โครงการ วงเงินรวม 7,077 ล้านบาท คือ
1) โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทยของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ขนาดย่อม จำนวน 3,000 กิจการ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 ตุลาคม 2544)
2) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติวงเงิน 5,077 ล้านบาท (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 ตุลาคม 2544)
2. มาตรการเร่งรัดติดตามการใช้เงินภาครัฐใน ปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 เห็นชอบให้มีการเร่งรัดติดตามการใช้เงิน ภาครัฐ โดยกำหนดมาตรการและแนวทางดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
1) ให้ทุกส่วนราชการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ทั้งนี้ ให้ใช้อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จอย่างหนึ่งในการบริหารองค์กร
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนส่งสำเนาแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง และแผนการเบิกจ่ายเงินให้กรมบัญชีกลางเป็นข้อมูลในการติดตามผลการดำเนินงาน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ค. มาตรการรัฐวิสาหกิจ
1. การเพิ่มทุนจดทะเบียนและการขายหุ้นเดิมของบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2544 อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 850 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าทุนจดทะเบียน 8,500 ล้านบาท และให้มีการขาย หุ้นเดิมที่กระทรวงการคลังถืออยู่ควบคู่ไปด้วยในจำนวนไม่เกิน 100 ล้านหุ้น
2. การกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้เดิมของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ 2545 จำนวน 24,368.69 ล้านบาท ดังนี้
ล้านบาท
- การประปานครหลวง 1,650
- การเคหะแห่งชาติ 3,775.5
- การประปาส่วนภูมิภาค 2,000
- การทางพิเศษฯ 13,443.19
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ 3,500
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติใน หลักการให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง กู้เงินระยะสั้น (Bridge Loan) ได้ในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหา เงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินตลอดจนการค้ำประกัน เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ง. มาตรการก่อหนี้
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลประจำปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในปีงบประมาณ 2545 วงเงินกู้ 200,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามอัตราตลาด หรือตามอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่จะ Re-open อายุตราสารไม่เกิน 20 ปี ทั้งนี้ ในการกู้เงินแต่ละครั้ง ให้กระทรวงการคลังกำหนดวิธีการ วงเงินกู้ และตราสารเงินกู้ประเภทต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไขรายละเอียดของตราสารเงินกู้ภายใต้หลักการต่างๆ ได้ตามความจำเป็น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-