- รายได้
รายได้รัฐบาลเท่ากับ 55.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 คิดเป็น 51.0 พันล้านบาท ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 34.2) โดยเฉพาะในส่วนของภาษีสุรา ภาษีรถยนต์ และภาษีเบียร์ นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของอากรขาเข้า (ร้อยละ 21.1) และภาษีธุรกิจเฉพาะ (ร้อยละ 26.0) อย่างไรก็ดี รายได้ส่วนหนึ่งจากอากรขาเข้าและภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นการเลื่อนการนำส่งจากเดือนกันยายน
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 19.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน คิดเป็น 4.4 พันล้านบาท ตามการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลง โดยในเดือนตุลาคม สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่ง รายได้จำนวน 318.7 พันล้านบาท
- รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลเบิกจ่ายได้ 101.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายก้อนใหญ่ ตาม นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ได้แก่ รายจ่ายเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ และรายจ่ายชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ ธกส. ตามโครงการพักชำระหนี้จำนวน 22.0 และ 5.6 พันล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ รัฐบาลมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร 8.6 พันล้านบาท
- ดุลเงินสด
รัฐบาลขาดดุลเงินในงบประมาณ 46.5 พันล้านบาทและเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 16.8 พันล้านบาท ทำให้มีการขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 29.7 พันล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลใช้คืนเงินกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 6.7 พันล้านบาท โดยเป็นการลดวงเงินกู้ระยะสั้น (ตั๋วเงินคลัง) 6.0 พันล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศ 0.53 พันล้านบาท ทำให้ต้องมีการใช้เงินคงคลัง 36.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคมลดลงเป็น 35.4 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายได้รัฐบาลเท่ากับ 55.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 คิดเป็น 51.0 พันล้านบาท ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 34.2) โดยเฉพาะในส่วนของภาษีสุรา ภาษีรถยนต์ และภาษีเบียร์ นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของอากรขาเข้า (ร้อยละ 21.1) และภาษีธุรกิจเฉพาะ (ร้อยละ 26.0) อย่างไรก็ดี รายได้ส่วนหนึ่งจากอากรขาเข้าและภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นการเลื่อนการนำส่งจากเดือนกันยายน
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 19.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน คิดเป็น 4.4 พันล้านบาท ตามการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลง โดยในเดือนตุลาคม สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่ง รายได้จำนวน 318.7 พันล้านบาท
- รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลเบิกจ่ายได้ 101.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายก้อนใหญ่ ตาม นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ได้แก่ รายจ่ายเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ และรายจ่ายชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ ธกส. ตามโครงการพักชำระหนี้จำนวน 22.0 และ 5.6 พันล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ รัฐบาลมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร 8.6 พันล้านบาท
- ดุลเงินสด
รัฐบาลขาดดุลเงินในงบประมาณ 46.5 พันล้านบาทและเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 16.8 พันล้านบาท ทำให้มีการขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 29.7 พันล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลใช้คืนเงินกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 6.7 พันล้านบาท โดยเป็นการลดวงเงินกู้ระยะสั้น (ตั๋วเงินคลัง) 6.0 พันล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศ 0.53 พันล้านบาท ทำให้ต้องมีการใช้เงินคงคลัง 36.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคมลดลงเป็น 35.4 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-