กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ เรื่องมาตรฐานสับปะรดโรงงานของประเทศไทย 2543 โดยมีรายละเอียด ดั้งนี้.-
ข้อ 1 นิยาม (Definition)
สับปะรดโรงงานซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "สับปะรด" ในมาตรฐานนี้หมายถึงผลไม้ที่มีชื่อทางการค้าและมีชื่อสามัญว่า "สับปะรด" (Pineapple) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas Comosus (L.) Merr. อยู่ในวงศ์ Bromeliaceae เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานนี้มีดังต่อไปนี้ .-
สุก หมายถึง สับปะรดแก่ เนื้อมีสีเหลือง
ดิบ หมายถึง สับปะรดอ่อน เนื้อเป็นโพรงสีขาว
เสีย หมายถึง สับปะรดเน่า สุกเกินไป เนื้อมีสีเหลืองใส มีกลิ่นโอ่หรือมีกลิ่นบูดเหม็นเปรี้ยว ขั้วขึ้นรา แดดเผาจนเนื้อเป็นสีดา หรือมีรอยสัตว์กัดแทะ รวมทั้งบาดแผลจากของมีคม
แดดเผา หมายถึง สับปะรดที่มีรอยไหม้ที่ผิวเปลือกชัดเจน เมื่อปาดดูจะเห็นสีซีดเป็นโพรง
ช้ำ หมายถึง สับปะรดที่มีรอยช้ำเมื่อใช้มือกดเนื้อจะยุบลง
ผลแกน หมายถึง เนื้อสับปะรดแข็งกระด้าง มีสีขาวหรือน้ำตาลถึงดำ
ข้อ 2 ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ (Provisions Concerning Quality)
2.1 คุณภาพขั้นต่ำ
ทุกชั้นคุณภาพตามมาตรฐานนี้ สับปะรดต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้.-
-เป็นสับปะรดสดทั้งผล ไม่มีจุกและก้าน
-เป็นสับปะรดที่สุกได้ที่
-มีลักษณะคุณภาพที่ดีปราศจากผลแกน ไม่ช้ำ ไม่มีตำหนิที่เห็นเด่นชัด และไม่เน่าเสีย
-สะอาดปราศจากสิ่งแปลกปลอม และปนเปื้น เช่น ทรายหรือน้ำมัน
-ไม่มีกลิ่นและรสผิดปรกติ
-ไม่มีการแคะจุกหรือเดาะจุก
-ไม่มีเชื้อราที่ขั้ว
-ปลอดจากศัตรูพืชและความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืช รวมทั้งบาดแผลที่เกิดจากรอยมีดหรือของมีคมโดยการตรวจสอบด้วยสายตา
สับปะรดต้องผ่านการเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตามกระบวนการเก็บเกี่ยวและการดูแลภายหลังจากเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง
2.2 การแบ่งชั้นคุณภาพ (Classification) แบ่งเป็น 2 ชั้นคุณภาพ ดังนี้.-
(1) ชั้นหนึ่ง (Class I)
(2) ชั้นสอง (Class II)
2.2.1 สภาพความสมบูรณ์ภายนอก ในทุกชั้นคุณภาพสับปะรดต้องมีคุณภาพดี ตรงตามพันธุ์ ปลอดจากศัตรูพืช ผลปลอดจากตำหนิ หรือมีตำหนิที่ผิวได้เล็กน้อย โดยไม่มีผลต่อรูปลักษณ์ คุณภาพ และคุณภาพการเก็บรักษาและมีขนาดตามข้อกำหนดเฉพาะเรื่องขนาด
2.2.2 สภาพความสมบูรณ์ภายใน ในทุกชั้นคุณภาพเนื้อสับปะรดต้องมีลักษณะปกติ และมีความสุกไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือไม่สุกมากเกินไป (เนื้อมีสีเหลือง มีกลิ่นโอ่) และมีไนเตรทในเนื้อสับปะรดไม่เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ข้อ 3 ข้อกำหนดเฉพาะเรื่องขนาด (Size Specification)
สับปะรดในแต่ละชั้นคุณภาพต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ ดังนี้.-
ชั้นคุณภาพ เส้นผ่าศูนย์กลางผล *1/ (เซนติเมตร) ความยาวผล (เซนติเมตร)
ชั้นหนึ่ง (Class I) 10.5 - 15.5 ไม่น้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางผล
ชั้นสอง (Class II) 9.0 - 10.4 ไม่น้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางผล
*1/ เส้นผ่าศูนย์กลางผลวัดที่บริเวณที่กว้างที่สุดของผล
ข้อ 4 ข้อกำหนดเรื่องการจัดเรียง (Provisions Concerning Presentation)
การบรรจุและขนส่ง (Packing and Transportation) ต้องจัดเรียงสับปะรดในพาหนะขนส่งให้เป็นระเบียบและแน่น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการกระแทก อันจะมีผลต่อคุณภาพสับปะรด พาหนะขนส่งต้องสะอาดปราศจากกลิ่นแปลกปลอม และต้องควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนที่มีผลต่อคุณภาพสับปะรดระหว่างการขนส่ง
ข้อ 5 เอกสารประกอบการขาย (Sales Document)
5.1 ข้อมูลผู้ขาย (Identification) : ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ขาย
5.2 ข้อมูลแหล่งผลิต (Origin of Produce) : ต้องระบุจังหวัดแหล่งผลิตในประเทศไทย
ข้อ 6 สารปนเปื้อน (Contaminants)
ห้ามใช้สารเคมีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่อนุญาตและห้ามใช้สารเร่งให้สับปะรดสุกโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอันขาด
ข้อ 7 สุขลักษณะ (Hygiene)
ผลิตผลในมาตรฐานนี้ ให้ดำเนินการไปตามหลักการทั่วไปของการปฏิบัติที่ถูกต้องทางการเกษตร (Good Agricultural Practice : GAP)
ข้อ 8 เกณฑ์การชักตัวอย่างและการวิเคราะห์ (Sampling and Analysis Procedures)
8.1 เกณฑ์การชักตัวอย่าง
8.1.1 รถบรรทุกขนาดเล็ก เช่น รถปิคอัพ สุ่มหยิบไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 20 ผล หรือตามน้ำหนักบรรทุกตันละไม่น้อยกว่า 16 ผล
8.1.2 รถบรรทุกขนาดใหญ่ เช่น รถ 6 ล้อ และ 10 ล้อ สุ่มหยิบไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ๆ ละไม่น้อยกว่า 20 ผล หรือตามน้ำหนักบรรทุกตันละไม่น้อยกว่า 10 ผล
8.2 เกณฑ์การวิเคราะห์
ไนเตรท
วิเคราะห์ไนเตรทด้วยวิธีรวดเร็วที่กึ่งกลางผลความลึก 2.5-3.75 เซนติเมตร จากผิวเปลือก โดยใช้ไนเตรทสตริป (Nitrate Strip) และเทียบสีกับค่ามาตรฐาน--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8/2543 วันที่ 30 เมษายน 2543--
-อน-
ข้อ 1 นิยาม (Definition)
สับปะรดโรงงานซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "สับปะรด" ในมาตรฐานนี้หมายถึงผลไม้ที่มีชื่อทางการค้าและมีชื่อสามัญว่า "สับปะรด" (Pineapple) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas Comosus (L.) Merr. อยู่ในวงศ์ Bromeliaceae เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานนี้มีดังต่อไปนี้ .-
สุก หมายถึง สับปะรดแก่ เนื้อมีสีเหลือง
ดิบ หมายถึง สับปะรดอ่อน เนื้อเป็นโพรงสีขาว
เสีย หมายถึง สับปะรดเน่า สุกเกินไป เนื้อมีสีเหลืองใส มีกลิ่นโอ่หรือมีกลิ่นบูดเหม็นเปรี้ยว ขั้วขึ้นรา แดดเผาจนเนื้อเป็นสีดา หรือมีรอยสัตว์กัดแทะ รวมทั้งบาดแผลจากของมีคม
แดดเผา หมายถึง สับปะรดที่มีรอยไหม้ที่ผิวเปลือกชัดเจน เมื่อปาดดูจะเห็นสีซีดเป็นโพรง
ช้ำ หมายถึง สับปะรดที่มีรอยช้ำเมื่อใช้มือกดเนื้อจะยุบลง
ผลแกน หมายถึง เนื้อสับปะรดแข็งกระด้าง มีสีขาวหรือน้ำตาลถึงดำ
ข้อ 2 ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ (Provisions Concerning Quality)
2.1 คุณภาพขั้นต่ำ
ทุกชั้นคุณภาพตามมาตรฐานนี้ สับปะรดต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้.-
-เป็นสับปะรดสดทั้งผล ไม่มีจุกและก้าน
-เป็นสับปะรดที่สุกได้ที่
-มีลักษณะคุณภาพที่ดีปราศจากผลแกน ไม่ช้ำ ไม่มีตำหนิที่เห็นเด่นชัด และไม่เน่าเสีย
-สะอาดปราศจากสิ่งแปลกปลอม และปนเปื้น เช่น ทรายหรือน้ำมัน
-ไม่มีกลิ่นและรสผิดปรกติ
-ไม่มีการแคะจุกหรือเดาะจุก
-ไม่มีเชื้อราที่ขั้ว
-ปลอดจากศัตรูพืชและความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืช รวมทั้งบาดแผลที่เกิดจากรอยมีดหรือของมีคมโดยการตรวจสอบด้วยสายตา
สับปะรดต้องผ่านการเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตามกระบวนการเก็บเกี่ยวและการดูแลภายหลังจากเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง
2.2 การแบ่งชั้นคุณภาพ (Classification) แบ่งเป็น 2 ชั้นคุณภาพ ดังนี้.-
(1) ชั้นหนึ่ง (Class I)
(2) ชั้นสอง (Class II)
2.2.1 สภาพความสมบูรณ์ภายนอก ในทุกชั้นคุณภาพสับปะรดต้องมีคุณภาพดี ตรงตามพันธุ์ ปลอดจากศัตรูพืช ผลปลอดจากตำหนิ หรือมีตำหนิที่ผิวได้เล็กน้อย โดยไม่มีผลต่อรูปลักษณ์ คุณภาพ และคุณภาพการเก็บรักษาและมีขนาดตามข้อกำหนดเฉพาะเรื่องขนาด
2.2.2 สภาพความสมบูรณ์ภายใน ในทุกชั้นคุณภาพเนื้อสับปะรดต้องมีลักษณะปกติ และมีความสุกไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือไม่สุกมากเกินไป (เนื้อมีสีเหลือง มีกลิ่นโอ่) และมีไนเตรทในเนื้อสับปะรดไม่เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ข้อ 3 ข้อกำหนดเฉพาะเรื่องขนาด (Size Specification)
สับปะรดในแต่ละชั้นคุณภาพต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ ดังนี้.-
ชั้นคุณภาพ เส้นผ่าศูนย์กลางผล *1/ (เซนติเมตร) ความยาวผล (เซนติเมตร)
ชั้นหนึ่ง (Class I) 10.5 - 15.5 ไม่น้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางผล
ชั้นสอง (Class II) 9.0 - 10.4 ไม่น้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางผล
*1/ เส้นผ่าศูนย์กลางผลวัดที่บริเวณที่กว้างที่สุดของผล
ข้อ 4 ข้อกำหนดเรื่องการจัดเรียง (Provisions Concerning Presentation)
การบรรจุและขนส่ง (Packing and Transportation) ต้องจัดเรียงสับปะรดในพาหนะขนส่งให้เป็นระเบียบและแน่น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการกระแทก อันจะมีผลต่อคุณภาพสับปะรด พาหนะขนส่งต้องสะอาดปราศจากกลิ่นแปลกปลอม และต้องควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนที่มีผลต่อคุณภาพสับปะรดระหว่างการขนส่ง
ข้อ 5 เอกสารประกอบการขาย (Sales Document)
5.1 ข้อมูลผู้ขาย (Identification) : ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ขาย
5.2 ข้อมูลแหล่งผลิต (Origin of Produce) : ต้องระบุจังหวัดแหล่งผลิตในประเทศไทย
ข้อ 6 สารปนเปื้อน (Contaminants)
ห้ามใช้สารเคมีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่อนุญาตและห้ามใช้สารเร่งให้สับปะรดสุกโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอันขาด
ข้อ 7 สุขลักษณะ (Hygiene)
ผลิตผลในมาตรฐานนี้ ให้ดำเนินการไปตามหลักการทั่วไปของการปฏิบัติที่ถูกต้องทางการเกษตร (Good Agricultural Practice : GAP)
ข้อ 8 เกณฑ์การชักตัวอย่างและการวิเคราะห์ (Sampling and Analysis Procedures)
8.1 เกณฑ์การชักตัวอย่าง
8.1.1 รถบรรทุกขนาดเล็ก เช่น รถปิคอัพ สุ่มหยิบไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 20 ผล หรือตามน้ำหนักบรรทุกตันละไม่น้อยกว่า 16 ผล
8.1.2 รถบรรทุกขนาดใหญ่ เช่น รถ 6 ล้อ และ 10 ล้อ สุ่มหยิบไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ๆ ละไม่น้อยกว่า 20 ผล หรือตามน้ำหนักบรรทุกตันละไม่น้อยกว่า 10 ผล
8.2 เกณฑ์การวิเคราะห์
ไนเตรท
วิเคราะห์ไนเตรทด้วยวิธีรวดเร็วที่กึ่งกลางผลความลึก 2.5-3.75 เซนติเมตร จากผิวเปลือก โดยใช้ไนเตรทสตริป (Nitrate Strip) และเทียบสีกับค่ามาตรฐาน--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8/2543 วันที่ 30 เมษายน 2543--
-อน-