กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2544 กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูตและ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของสถานเอกอัครราชทูต รวมทั้งผู้แทนองค์การระหว่างประเทศที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยทุกแห่ง ไปรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจไทย รวมทั้งแนวทางและความคืบหน้าของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะด้านการคลังและการลงทุนของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจให้แก่ชาวต่างชาติ โดยมีนายประดาป พิบูลสงคราม อธิบดีกรมเศรษฐกิจ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการบรรยาย
ในการบรรยายดังกล่าว ผู้บรรยายได้เน้นว่าขณะนี้รัฐบาลไทยมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการผลักดันนโยบายในด้านต่างๆ ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะมาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศฟื้นคืนสู่สภาวะปกติอย่างเร็วที่สุด รวมทั้งเพื่อวางรากฐานสำหรับ การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย โดยรัฐบาลจะเน้นการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ ทำงานร่วมกันให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังได้เน้นถึงประเด็นอื่นๆ ดังนี้
1. ไทยจะเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถของตน จากเดิมที่เคยพึ่งเม็ดเงินจากการลงทุนเพื่อการพัฒนาเพียงอย่างเดียว (Capital-driven) มาเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตของทรัพยากรมนุษย์และสังคม (Productivity-driven) ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ความสามารถระหว่างกัน อันจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเป็นเศรษฐกิจบนพื้นฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการลดผลกระทบของความผันผวนจากภายนอกด้วย โดยไทยจะมุ่งดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ประชาชนและวิสาหกิจของประเทศ เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและทัดเทียมกับประเทศอื่น ในการเปิดกว้างสู่เวทีโลก
2. รัฐบาลจะเน้นการใช้เครื่องมือทางด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการขยายฐานภาษีและการเร่งการใช้จ่ายตามโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น จะลดบทบาทของการใช้เครื่องมือด้านการเงิน เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ ที่ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาที่ยังอาจจะแก้ไขไม่เสร็จสิ้นในภาคการเงินและการธนาคาร (Banking and Financial Sectors) เช่น ปัญหากับดักสภาพคล่อง
3. รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจของไทยในช่วง 5 ปี (2545-2549) ดังนี้ (1) การให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี (2) การสร้างเสถียรภาพทางการคลัง (3) การทำให้ดุลเงินสดเกินดุลภายในปี 2549 (4) การเพิ่มฐานภาษีให้เป็นร้อยละ 16.7 (5) การรักษาสัดส่วนรายรับของรัฐบาลไม่ให้ต่ำกว่าร้อยละ 17 ของจีดีพี (6) การรักษาหนี้สาธารณะไม่ให้เกินร้อยละ 59 ของจีดีพี และ (7) การกำหนดให้ภาระหนี้ (Debt Service) ไม่เกินร้อยละ 16 ของจีดีพี
4. ตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 ไทยจะเน้นการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบายที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-centred Policies) ในการลดความยากจน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของแผนฯ นอกจากนั้น จะเน้นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและชุมชน การสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และการนำมาซึ่งธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ทั้งนี้ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมิได้หมายถึงการแยกประเทศไทยออกเป็นอิสระจากประเทศอื่นๆ หากแต่เป็นการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล
5. รัฐบาลจะเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้แก่สินค้าเกษตรที่ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น ยางและมันสำปะหลัง โดยจะเน้นการแปรรูปสินค้าเหล่านี้ให้มีมูลค่าและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกมากขึ้น มากกว่าที่จะส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตรเป็นหลักเช่นในอดีต
6. รัฐบาลจะเน้นการสร้างเครือข่ายระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ทั้งในภาคธุรกิจเดียวกันและระหว่างภาคธุรกิจ นอกจากนั้น จะเน้นการสร้างความชำนาญในแต่ละภาคอุตสาหกรรม และการสร้างอุปสงค์ภายในประเทศด้วย
7. การกระชับความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เมื่อคำนึงถึงว่าโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมที่จะเชื่อมโยงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จะเสร็จสิ้นภายใน 4-5 ปีข้างหน้า หรือเร็วกว่านั้น
ภายหลังการบรรยาย ผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตและองค์การระหว่างประเทศได้สอบถามเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ของไทยอย่างละเอียด รวมทั้งได้แสดงความพึงพอใจต่อความกระจ่างเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของไทยที่ได้รับการอธิบายจากผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการไทย และได้แสดงความหวังว่าจะมีการบรรยายเช่นนี้อีก เมื่อมีหัวข้อเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงและแม่นยำเพื่อรายงานกลับประเทศของตน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2544 กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูตและ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของสถานเอกอัครราชทูต รวมทั้งผู้แทนองค์การระหว่างประเทศที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยทุกแห่ง ไปรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจไทย รวมทั้งแนวทางและความคืบหน้าของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะด้านการคลังและการลงทุนของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจให้แก่ชาวต่างชาติ โดยมีนายประดาป พิบูลสงคราม อธิบดีกรมเศรษฐกิจ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการบรรยาย
ในการบรรยายดังกล่าว ผู้บรรยายได้เน้นว่าขณะนี้รัฐบาลไทยมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการผลักดันนโยบายในด้านต่างๆ ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะมาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศฟื้นคืนสู่สภาวะปกติอย่างเร็วที่สุด รวมทั้งเพื่อวางรากฐานสำหรับ การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย โดยรัฐบาลจะเน้นการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ ทำงานร่วมกันให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังได้เน้นถึงประเด็นอื่นๆ ดังนี้
1. ไทยจะเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถของตน จากเดิมที่เคยพึ่งเม็ดเงินจากการลงทุนเพื่อการพัฒนาเพียงอย่างเดียว (Capital-driven) มาเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตของทรัพยากรมนุษย์และสังคม (Productivity-driven) ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ความสามารถระหว่างกัน อันจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเป็นเศรษฐกิจบนพื้นฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการลดผลกระทบของความผันผวนจากภายนอกด้วย โดยไทยจะมุ่งดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ประชาชนและวิสาหกิจของประเทศ เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและทัดเทียมกับประเทศอื่น ในการเปิดกว้างสู่เวทีโลก
2. รัฐบาลจะเน้นการใช้เครื่องมือทางด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการขยายฐานภาษีและการเร่งการใช้จ่ายตามโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น จะลดบทบาทของการใช้เครื่องมือด้านการเงิน เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ ที่ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาที่ยังอาจจะแก้ไขไม่เสร็จสิ้นในภาคการเงินและการธนาคาร (Banking and Financial Sectors) เช่น ปัญหากับดักสภาพคล่อง
3. รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจของไทยในช่วง 5 ปี (2545-2549) ดังนี้ (1) การให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี (2) การสร้างเสถียรภาพทางการคลัง (3) การทำให้ดุลเงินสดเกินดุลภายในปี 2549 (4) การเพิ่มฐานภาษีให้เป็นร้อยละ 16.7 (5) การรักษาสัดส่วนรายรับของรัฐบาลไม่ให้ต่ำกว่าร้อยละ 17 ของจีดีพี (6) การรักษาหนี้สาธารณะไม่ให้เกินร้อยละ 59 ของจีดีพี และ (7) การกำหนดให้ภาระหนี้ (Debt Service) ไม่เกินร้อยละ 16 ของจีดีพี
4. ตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 ไทยจะเน้นการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบายที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-centred Policies) ในการลดความยากจน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของแผนฯ นอกจากนั้น จะเน้นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและชุมชน การสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และการนำมาซึ่งธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ทั้งนี้ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมิได้หมายถึงการแยกประเทศไทยออกเป็นอิสระจากประเทศอื่นๆ หากแต่เป็นการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล
5. รัฐบาลจะเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้แก่สินค้าเกษตรที่ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น ยางและมันสำปะหลัง โดยจะเน้นการแปรรูปสินค้าเหล่านี้ให้มีมูลค่าและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกมากขึ้น มากกว่าที่จะส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตรเป็นหลักเช่นในอดีต
6. รัฐบาลจะเน้นการสร้างเครือข่ายระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ทั้งในภาคธุรกิจเดียวกันและระหว่างภาคธุรกิจ นอกจากนั้น จะเน้นการสร้างความชำนาญในแต่ละภาคอุตสาหกรรม และการสร้างอุปสงค์ภายในประเทศด้วย
7. การกระชับความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เมื่อคำนึงถึงว่าโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมที่จะเชื่อมโยงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จะเสร็จสิ้นภายใน 4-5 ปีข้างหน้า หรือเร็วกว่านั้น
ภายหลังการบรรยาย ผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตและองค์การระหว่างประเทศได้สอบถามเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ของไทยอย่างละเอียด รวมทั้งได้แสดงความพึงพอใจต่อความกระจ่างเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของไทยที่ได้รับการอธิบายจากผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการไทย และได้แสดงความหวังว่าจะมีการบรรยายเช่นนี้อีก เมื่อมีหัวข้อเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงและแม่นยำเพื่อรายงานกลับประเทศของตน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-