แท็ก
จังหวัดเชียงราย
เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ปี 2542 ขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว ลิ้นจี่ ลำไย เพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวย ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเกือบทุกสาขาการผลิต ภาคบริการ นักท่องเที่ยวลดลงเล็กน้อยจากภาวะความไม่สงบตามแนวชายแดนและการปิดด่านของพม่า ด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้หลายชนิดแสดงทิศทางปรับตัวดีขึ้น ส่วนทางด้านฐานะการคลังมีการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น โดยมีการขาดดุลเงินในงบประมาณมากขึ้น ขณะที่ดุลเงินสดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน การค้าชายแดนเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปจีน(ตอนใต้) เป็นสำคัญ มีเพียงสาขาการลงทุนเท่านั้นที่ยังไม่ฟื้นตัวแต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สำหรับภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย และ ฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 408,921 เมตริกตัน จากการขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ลิ้นจี่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว เป็น 16,168 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเพียงพอทำให้ติดผลเพิ่มขึ้นมากหลังจากลดลงเป็นประวัติการณ์เมื่อปีก่อนเช่นเดียวกับ ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่าตัว เป็น 11,116 เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,249 เมตริกตัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ หอมแดงและถั่วเหลือง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และร้อยละ 4.2 เป็น 3,823 เมตริกตัน และ 6,157 เมตริกตัน ตามลำดับ ขณะที่ขิงและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 45.9 และร้อยละ 1.4 เหลือ 40,197 เมตริกตัน และ 186,467 เมตริกตัน ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก
นอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขา ภาคเหมืองแร่ การผลิตบอลเคลย์ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 16,550 เมตริกตัน ตามความต้องการวัตถุดิบสำหรับการผลิตเซรามิกเพื่อการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก และการ ผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เป็น 578,610 เมตริกตัน ตามการผลิตปูนซีเมนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น ภาคบริการ แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดเชียงรายจะลดลงร้อยละ 1.4 เหลือ 6.3 แสนคน เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศบางส่วนไม่มั่นใจในสถานการณ์บริเวณชายแดน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงร้อยละ 3.2 แต่ นักท่องเที่ยวชาวไทยยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเชียงรายลดลงร้อยละ 1.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเป็นสำคัญ ส่วนธุรกิจโรงแรมมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 40.8 เทียบกับร้อยละ 40.9 ในปีก่อน โดยลดลงในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ แต่นักท่องเที่ยวชาวไทย เข้าพักเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปีซึ่งมีอากาศหนาวจัด อัตราการเข้าพักนักท่องเที่ยวชาวไทยสูงขึ้นมาก สามารถทดแทน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ลดลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งการจัดสัมมนาของภาครัฐและเอกชนก็มีมากขึ้นกว่าปีก่อน ทำให้โรงแรมต่างๆ มีรายได้จากการจัดประชุมสัมมนาเพิ่มขึ้น อีกทั้งภาคบริการในด้านอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาลและสถานบริการต่างๆ ก็มีภาวะดีขึ้นจากการเพิ่มการใช้จ่ายของประชาชนในจังหวัดที่สูงขึ้น
การใช้จ่ายภาคเอกชน การใช้จ่ายของประชาชนปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ การลดภาษี มูลค่าเพิ่ม และมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) การลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.0 เป็น 2,009 คัน ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 16.5 เหลือ 10,066 คัน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 46.6 ในปีก่อน และเริ่มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม แม้ว่าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลจะลดลงร้อยละ 9.0 เหลือ 3,697 ล้านบาท แต่มีธุรกิจเช่าซื้อให้บริการทดแทน เช่น ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.8 เหลือ 300 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 0.6 ปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชน ยังคงซบเซา การจดทะเบียนโรงงานมีเพียง 42 โรงงาน เงินลงทุน 220 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 58.4 และร้อยละ 81.6 ตามลำดับ การลงทุน/ก่อสร้าง ในปีนี้ไม่มีกิจการที่ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนเนื่องจากผู้ลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนเพื่อรอดูทิศทางเศรษฐกิจ การก่อสร้าง เริ่มฟื้นตัวขึ้น จากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.5 เป็น 62,011 ตารางเมตร จากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างในภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เป็น 1,327 ล้านบาท
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์นำฝากผู้แทนธนาคาร แห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดเชียงราย) 33,229 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในปีก่อน และเงินที่ธนาคารพาณิชย์เบิกถอนจากผู้แทนธนาคารฯมีจำนวน 15,170 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.7 ลดลงมากเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในปีก่อน
เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 27,463 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในปีก่อน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำลดแรงจูงใจในการออม โดยลดลงในเขตอำเภอรอบนอก เป็นสำคัญ ร้อยละ 9.4 เหลือ 13,805 ล้านบาท โดยมีการถอนเงินฝากไปฝากที่สถาบันการเงินอื่นๆและบางส่วนผู้ฝากเงินนำไปซื้อสินค้าอุปโภค ขณะที่เงินฝากในเขตอำเภอเมืองเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 เป็น 13,658 ล้านบาท จากเงินโอนของส่วนราชการที่นำมาฝากพักไว้ สินเชื่อ ลดลงร้อยละ 5.3 เหลือ 19,934 ล้านบาท จากความระมัดระวังการให้สินเชื่อรายใหม่ของธนาคารพาณิชย์มากขึ้นและการเร่งชำระหนี้ สำหรับการใช้เช็ค เช็คเรียกเก็บมีจำนวนฉบับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เป็น 360,257 ฉบับ แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 13.3 เหลือ 24,481.6 ล้านบาท ทางด้านจำนวนฉบับและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากปีก่อนร้อยละ 38.8 และร้อยละ 48.7 เหลือ 6,145 ฉบับ และจำนวนเงิน 406.9 ล้านบาท ตามลำดับ สัดส่วนจำนวนฉบับและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.7 เทียบกับจำนวนร้อยละ 2.9 และร้อยละ 2.8 ในปีก่อน
ในปี 2542 มีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการ 56 สำนักงาน เท่ากับปีก่อน และปัจจุบันไม่มี สำนักงานอำนวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เปิดดำเนินการ (ปิดสำนักงานเมื่อปี 2541) อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เริ่มดีขึ้นทำให้มีบริษัทหลักทรัพย์เปิดดำเนินการใหม่ 3 แห่ง คือ บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง เคจีไอ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์แอ็ดคินซัน จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เอบีเอ็น แอมโร เอเชีย จำกัด
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 3,198 ราย วงเงิน 6,112.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,945 ราย วงเงิน 4,222.7 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 320 ราย วงเงิน 735 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จำนวน 2,878 ราย เป็นเงิน 5,377.7 ล้านบาท
ฐานะการคลัง ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 6,823 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 6,734 ล้านบาทปีก่อน จากการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ของจังหวัด เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 19,006 ล้านบาท ทำให้เกินดุลเงินสด 12,183 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 11,659 ล้านบาทปีก่อน ส่วนการลงทุนภาครัฐ รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะจาก โครงการมิยาซาวามีจำนวน 597.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้ในโครงการจ้างแรงงานโดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำ
การค้าชายแดน กับพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) ที่ด่านอำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ ซึ่งมีสินค้าส่งออกที่สำคัญคือสินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์ และน้ำมันเชื้อเพลิง มีมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.4 เป็น 2,819 ล้านบาท เทียบกับที่เคยลดลงร้อยละ 11.9 ในปีก่อน จากการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เนื่องจากสามารถ ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคเหนือ คือ ลำไยและลิ้นจี่ ซึ่งมีมากกว่าปีก่อน บางส่วนเพิ่มขึ้นจากการส่งออกยางรถยนต์ที่เร่งตัวมาก และส่วนหนึ่งเป็นสินค้าที่ส่งไปพม่าในช่วงที่มีการปิดด่าน ขณะที่การส่งออกไปพม่า ลดลงร้อยละ 5.5 เนื่องจากการปิดด่านแม่สายในช่วงปลายปีทำให้การส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าวหยุดชะงักลง แต่ก็มีสินค้าส่วนหนึ่งที่ทำพิธีการส่งออกไปประเทศอื่นแต่ถูกส่งต่อไปขายในพม่า และการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 2.3 เนื่องจากโครงการก่อสร้างบางอย่างแล้วเสร็จจึงลดการส่งออกยานยนต์และเครื่องจักรเพื่อไปทำงานในลาว ส่วนการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.9 เป็น 964 ล้านบาท จากการนำเข้าสินค้าจากลาวและจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าสินค้าจากลาวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เนื่องจากมีการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิต เพิ่มขึ้นมาก ส่วนการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.6 จากการนำเข้าแอ๊ปเปิ้ลในช่วงปลายปีเนื่องจากในปีนี้จีนมี ผลผลิตออกมากและราคาถูก ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากพม่าลดลงร้อยละ 40.5 เนื่องจากในช่วง ที่มีการปิดด่าน ทำให้การนำเข้าหยุดชะงักลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย และ ฝนที่ตกมากอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 408,921 เมตริกตัน จากการขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ลิ้นจี่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว เป็น 16,168 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเพียงพอทำให้ติดผลเพิ่มขึ้นมากหลังจากลดลงเป็นประวัติการณ์เมื่อปีก่อนเช่นเดียวกับ ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่าตัว เป็น 11,116 เมตริกตัน กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,249 เมตริกตัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ หอมแดงและถั่วเหลือง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และร้อยละ 4.2 เป็น 3,823 เมตริกตัน และ 6,157 เมตริกตัน ตามลำดับ ขณะที่ขิงและข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 45.9 และร้อยละ 1.4 เหลือ 40,197 เมตริกตัน และ 186,467 เมตริกตัน ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก
นอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขา ภาคเหมืองแร่ การผลิตบอลเคลย์ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 16,550 เมตริกตัน ตามความต้องการวัตถุดิบสำหรับการผลิตเซรามิกเพื่อการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก และการ ผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เป็น 578,610 เมตริกตัน ตามการผลิตปูนซีเมนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น ภาคบริการ แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดเชียงรายจะลดลงร้อยละ 1.4 เหลือ 6.3 แสนคน เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศบางส่วนไม่มั่นใจในสถานการณ์บริเวณชายแดน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงร้อยละ 3.2 แต่ นักท่องเที่ยวชาวไทยยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเชียงรายลดลงร้อยละ 1.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเป็นสำคัญ ส่วนธุรกิจโรงแรมมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 40.8 เทียบกับร้อยละ 40.9 ในปีก่อน โดยลดลงในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ แต่นักท่องเที่ยวชาวไทย เข้าพักเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปีซึ่งมีอากาศหนาวจัด อัตราการเข้าพักนักท่องเที่ยวชาวไทยสูงขึ้นมาก สามารถทดแทน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ลดลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งการจัดสัมมนาของภาครัฐและเอกชนก็มีมากขึ้นกว่าปีก่อน ทำให้โรงแรมต่างๆ มีรายได้จากการจัดประชุมสัมมนาเพิ่มขึ้น อีกทั้งภาคบริการในด้านอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาลและสถานบริการต่างๆ ก็มีภาวะดีขึ้นจากการเพิ่มการใช้จ่ายของประชาชนในจังหวัดที่สูงขึ้น
การใช้จ่ายภาคเอกชน การใช้จ่ายของประชาชนปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ การลดภาษี มูลค่าเพิ่ม และมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) การลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.0 เป็น 2,009 คัน ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 16.5 เหลือ 10,066 คัน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 46.6 ในปีก่อน และเริ่มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม แม้ว่าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลจะลดลงร้อยละ 9.0 เหลือ 3,697 ล้านบาท แต่มีธุรกิจเช่าซื้อให้บริการทดแทน เช่น ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.8 เหลือ 300 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 0.6 ปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชน ยังคงซบเซา การจดทะเบียนโรงงานมีเพียง 42 โรงงาน เงินลงทุน 220 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 58.4 และร้อยละ 81.6 ตามลำดับ การลงทุน/ก่อสร้าง ในปีนี้ไม่มีกิจการที่ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนเนื่องจากผู้ลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนเพื่อรอดูทิศทางเศรษฐกิจ การก่อสร้าง เริ่มฟื้นตัวขึ้น จากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.5 เป็น 62,011 ตารางเมตร จากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างในภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เป็น 1,327 ล้านบาท
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์นำฝากผู้แทนธนาคาร แห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดเชียงราย) 33,229 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในปีก่อน และเงินที่ธนาคารพาณิชย์เบิกถอนจากผู้แทนธนาคารฯมีจำนวน 15,170 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.7 ลดลงมากเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในปีก่อน
เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 27,463 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในปีก่อน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำลดแรงจูงใจในการออม โดยลดลงในเขตอำเภอรอบนอก เป็นสำคัญ ร้อยละ 9.4 เหลือ 13,805 ล้านบาท โดยมีการถอนเงินฝากไปฝากที่สถาบันการเงินอื่นๆและบางส่วนผู้ฝากเงินนำไปซื้อสินค้าอุปโภค ขณะที่เงินฝากในเขตอำเภอเมืองเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 เป็น 13,658 ล้านบาท จากเงินโอนของส่วนราชการที่นำมาฝากพักไว้ สินเชื่อ ลดลงร้อยละ 5.3 เหลือ 19,934 ล้านบาท จากความระมัดระวังการให้สินเชื่อรายใหม่ของธนาคารพาณิชย์มากขึ้นและการเร่งชำระหนี้ สำหรับการใช้เช็ค เช็คเรียกเก็บมีจำนวนฉบับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เป็น 360,257 ฉบับ แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 13.3 เหลือ 24,481.6 ล้านบาท ทางด้านจำนวนฉบับและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากปีก่อนร้อยละ 38.8 และร้อยละ 48.7 เหลือ 6,145 ฉบับ และจำนวนเงิน 406.9 ล้านบาท ตามลำดับ สัดส่วนจำนวนฉบับและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.7 เทียบกับจำนวนร้อยละ 2.9 และร้อยละ 2.8 ในปีก่อน
ในปี 2542 มีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการ 56 สำนักงาน เท่ากับปีก่อน และปัจจุบันไม่มี สำนักงานอำนวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เปิดดำเนินการ (ปิดสำนักงานเมื่อปี 2541) อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เริ่มดีขึ้นทำให้มีบริษัทหลักทรัพย์เปิดดำเนินการใหม่ 3 แห่ง คือ บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง เคจีไอ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์แอ็ดคินซัน จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เอบีเอ็น แอมโร เอเชีย จำกัด
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 3,198 ราย วงเงิน 6,112.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,945 ราย วงเงิน 4,222.7 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 320 ราย วงเงิน 735 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จำนวน 2,878 ราย เป็นเงิน 5,377.7 ล้านบาท
ฐานะการคลัง ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 6,823 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 6,734 ล้านบาทปีก่อน จากการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ของจังหวัด เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 19,006 ล้านบาท ทำให้เกินดุลเงินสด 12,183 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 11,659 ล้านบาทปีก่อน ส่วนการลงทุนภาครัฐ รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะจาก โครงการมิยาซาวามีจำนวน 597.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้ในโครงการจ้างแรงงานโดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำ
การค้าชายแดน กับพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) ที่ด่านอำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ ซึ่งมีสินค้าส่งออกที่สำคัญคือสินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์ และน้ำมันเชื้อเพลิง มีมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.4 เป็น 2,819 ล้านบาท เทียบกับที่เคยลดลงร้อยละ 11.9 ในปีก่อน จากการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เนื่องจากสามารถ ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคเหนือ คือ ลำไยและลิ้นจี่ ซึ่งมีมากกว่าปีก่อน บางส่วนเพิ่มขึ้นจากการส่งออกยางรถยนต์ที่เร่งตัวมาก และส่วนหนึ่งเป็นสินค้าที่ส่งไปพม่าในช่วงที่มีการปิดด่าน ขณะที่การส่งออกไปพม่า ลดลงร้อยละ 5.5 เนื่องจากการปิดด่านแม่สายในช่วงปลายปีทำให้การส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าวหยุดชะงักลง แต่ก็มีสินค้าส่วนหนึ่งที่ทำพิธีการส่งออกไปประเทศอื่นแต่ถูกส่งต่อไปขายในพม่า และการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 2.3 เนื่องจากโครงการก่อสร้างบางอย่างแล้วเสร็จจึงลดการส่งออกยานยนต์และเครื่องจักรเพื่อไปทำงานในลาว ส่วนการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.9 เป็น 964 ล้านบาท จากการนำเข้าสินค้าจากลาวและจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าสินค้าจากลาวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เนื่องจากมีการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิต เพิ่มขึ้นมาก ส่วนการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.6 จากการนำเข้าแอ๊ปเปิ้ลในช่วงปลายปีเนื่องจากในปีนี้จีนมี ผลผลิตออกมากและราคาถูก ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากพม่าลดลงร้อยละ 40.5 เนื่องจากในช่วง ที่มีการปิดด่าน ทำให้การนำเข้าหยุดชะงักลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-