1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยจากปลายปีก่อน โดย ในช่วงไตรมาสแรก สถาบันการเงินส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินบาทเพื่อ 1) สำรองเงินไว้เผื่อการเบิกถอนออกไปใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนและการเลือกตั้งส.ว. ในขณะเดียวกับที่เงินสดที่ภาคเอกชนเบิกถอนออกไปในช่วงปัญหา Y2K ยังไม่กลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 2) มีการส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศ (swap) ที่ครบกำหนดให้กับ ธปท. 3) สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซื้อ หลักทรัพย์ภาครัฐเพิ่มขึ้น 4) ประชาชนถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินเพื่อไปลงทุนใน ตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 5) ธนาคารไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ 6) ช่วงปลายไตรมาสแรกเป็นช่วง การปิดบัญชีประจำปีของญี่ปุ่น ทำให้มีการถอนเงินจากประเทศไทยส่งกลับไปยังบริษัทแม่ นอกจากนี้ ในไตรมาสแรกของปี มีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศมาก ส่งผลให้ขาดดุล การชำระเงิน สำหรับในช่วงไตรมาสที่สอง แม้ว่าจะมีเงินสดไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบัน การเงินหลังเทศกาลสงกรานต์เป็นบางส่วน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินมีสภาพคล่อง ตึงตัวช่วงสั้นๆ เมื่อต้องนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ตามลำดับ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่เกิด สภาพคล่องตึงตัวโดยส่วนใหญ่คือ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้นโน้มสูงขึ้นจากปลายปีก่อน ตามภาวะสภาพคล่องของระบบการเงินเป็นสำคัญ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2543 แต่ได้เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากในเดือนกรกฎาคม 2543 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Effective spread) ระหว่างเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเป็นผลจากที่รายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากยังคงมีแนวโน้มลดลง
สภาพคล่องของระบบการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยจากปลายปีก่อน โดยไตรมาสแรกประชาชนยังมีความต้องการถือเงินสดส่วนเกิน และสถาบันการเงินเพิ่มความต้องการถือพันธบัตร อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นไตรมาสที่สอง เริ่มมีเงินไหลกลับสู่ระบบมากขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ ก่อนที่สภาพคล่องจะลดลงในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมและปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีปัญหาสภาพคล่องคือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เคลื่อนไหวตามสภาพคล่องของระบบการเงิน โดยอัตราดอกเบี้ย interbank rate อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.23 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 2.07 1.98 และ 2.5 ในช่วงไตรมาสแรก ไตรมาสที่สอง และล่าสุด 20 ก.ค. 43 ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน เพิ่มจากร้อยละ 0.63 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็นร้อยละ 0.86 1.14 และ 1.13 ต่อปี ในช่วงไตรมาสแรก ไตรมาสที่สอง และ 20 ก.ค. 43 ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 14 วัน ค่อนข้างทรงตัวจาก ร้อยละ 1.48 เป็นร้อยละ 1.5 1.57 และ 1.5 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม ธปท.ได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน เป็น policy rate
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และเงินฝากประจำ 3 เดือนของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ปรับลดจากร้อยละ 8.25-8.5 และ 3.75 ต่อปี ณ สิ้นปี 2542 เป็นร้อยละ 8.0-8.25 และ 3.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2543 และ ทรงตัวต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ก่อนที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงเป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคม 2543
2. เงินฝาก/สินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี เนื่องจากเงินสดที่ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้ามาฝากที่ธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แต่กลับมียอดลดลงในช่วงเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน กันมาก ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ที่ออกหุ้นกู้ได้นำไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมตลอดช่วงครึ่งแรก เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 64 พันล้านบาท แนวโน้มเงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนยังคงชะลอลง โดยเป็นผลจากการลดลงของทั้งสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจและสินเชื่อที่มิใช่กิจการวิเทศธนกิจ ทั้งนี้ การลดลงของสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ขณะที่การลดลงของสินเชื่อที่มิใช่กิจการวิเทศธนกิจเป็นผลจากการที่ภาคเอกชนหันไประดมทุนโดยตรงด้วยการออกจำหน่ายหุ้นกู้และนำเงินมาคืนหนี้แก่ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเป็นผลจากการตัดหนี้สูญในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ประมาณ 246 พันล้านบาทด้วย
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นมากในช่วงต้นปี เนื่องจาก เงินฝากที่ ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อน เพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น ก่อนที่จะมียอดลดลงในเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ที่ออกหุ้นกู้ได้นำไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วง ไตรมาสที่สอง แนวโน้มเงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น โดยภาพรวมตลอดช่วงครึ่งแรก เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 64 พันล้านบาท
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ ในเดือนมิถุนายน 2543 ลดลงร้อยละ 5.5 ต่อปี จากระยะเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นยอดคงค้างที่ลดลงทั้งสิ้น 267 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน เนื่องจาก 1) ภาคเอกชนบางแห่งมีการออกหุ้นกู้เพื่อมาชำระคืนให้กับธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น และ 2) ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญจำนวนหนึ่ง สำหรับสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 (แปลงเป็นบาทด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ ณ 30 มิถุนายน 40) ลดลงร้อยละ 35 ต่อปี จากระยะเดียวกันปีก่อน อันเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ
โดยภาพรวมแล้ว สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ที่คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ลดลงร้อยละ 7.9 ต่อปี และที่คำนวณด้วยอัตราตลาด ลดลงร้อยละ 8.4 ต่อปี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 มียอดคงค้างลดลง เนื่องจากเงินสดส่วนเกินในมือภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อปลายปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ปรับลดลง นอกจากนี้ เงินฝากสถาบัน การเงินที่ธปท.ก็ได้ปรับลดลงเช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณฐานเงินลดลงในช่วงครึ่งแรก เนื่องจาก 1) การดูดซับสภาพคล่องเงินบาทของทางการ ผ่านธุรกรรมสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางการได้เสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับ Y2K จึงได้ทยอยดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบในเวลาต่อมา และ 2) การลดลงของสินเชื่อแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในมือธปท. ที่ครบกำหนดไถ่ถอน ปริมาณเงิน M2A ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ลดลง 46 พันล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ตามการลดลงของเงินสดในมือประชาชน ขณะที่เงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณเงิน M3 ในเดือนพฤษภาคม 2543 (ล่าสุด) ลดลงจากปลายปีก่อน ตามการลดลงของเงินสดในมือประชาชนเช่นกัน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นจำนวน 18 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน มียอด คงค้างลดลง 172 พันล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินสดในมือภาคเอกชนประมาณ 164 พันล้านบาท ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท. ลดลง 9 พันล้านบาท
สาเหตุที่ทำให้ฐานเงินลดลงเนื่องจาก 1) การที่ทางการทยอยดูดซับสภาพคล่องที่เคย ปล่อยออกไปตอนสิ้นปีเพื่อรองรับ Y2K กลับเข้ามาผ่านการส่งมอบเงินบาทของสถาบันการเงินให้กับธปท. ตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืน ทั้งนี้ ทางการยังคงดูแลและเสริมสภาพคล่องระหว่างเดือน ในช่วงที่เกิดภาวะเงินตึงตัวช่วงสั้นๆ และ 2) การลดลงของสินเชื่อสุทธิแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในมือธปท.ที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.2 ต่อปี
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 63 พันล้านบาท แต่ลดลงตลอดช่วงครึ่งแรกประมาณ 46 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงินลดลง คือ 1) เงินสดในมือ ประชาชน เนื่องจากความต้องการถือเงินสดส่วนเกินของประชาชนเริ่มโน้มลงภายหลัง Y2K และ 2) เงินฝากที่บริษัทเงินทุนในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินมียอดลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคง เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากปลายปีก่อน ตามการลดลงของเงินสดเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องโดยรวมในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยจากปลายปีก่อน โดย ในช่วงไตรมาสแรก สถาบันการเงินส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินบาทเพื่อ 1) สำรองเงินไว้เผื่อการเบิกถอนออกไปใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนและการเลือกตั้งส.ว. ในขณะเดียวกับที่เงินสดที่ภาคเอกชนเบิกถอนออกไปในช่วงปัญหา Y2K ยังไม่กลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 2) มีการส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศ (swap) ที่ครบกำหนดให้กับ ธปท. 3) สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซื้อ หลักทรัพย์ภาครัฐเพิ่มขึ้น 4) ประชาชนถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินเพื่อไปลงทุนใน ตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 5) ธนาคารไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ 6) ช่วงปลายไตรมาสแรกเป็นช่วง การปิดบัญชีประจำปีของญี่ปุ่น ทำให้มีการถอนเงินจากประเทศไทยส่งกลับไปยังบริษัทแม่ นอกจากนี้ ในไตรมาสแรกของปี มีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศมาก ส่งผลให้ขาดดุล การชำระเงิน สำหรับในช่วงไตรมาสที่สอง แม้ว่าจะมีเงินสดไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบัน การเงินหลังเทศกาลสงกรานต์เป็นบางส่วน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินมีสภาพคล่อง ตึงตัวช่วงสั้นๆ เมื่อต้องนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ตามลำดับ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่เกิด สภาพคล่องตึงตัวโดยส่วนใหญ่คือ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้นโน้มสูงขึ้นจากปลายปีก่อน ตามภาวะสภาพคล่องของระบบการเงินเป็นสำคัญ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2543 แต่ได้เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากในเดือนกรกฎาคม 2543 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Effective spread) ระหว่างเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเป็นผลจากที่รายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากยังคงมีแนวโน้มลดลง
สภาพคล่องของระบบการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ตึงตัวขึ้นเล็กน้อยจากปลายปีก่อน โดยไตรมาสแรกประชาชนยังมีความต้องการถือเงินสดส่วนเกิน และสถาบันการเงินเพิ่มความต้องการถือพันธบัตร อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นไตรมาสที่สอง เริ่มมีเงินไหลกลับสู่ระบบมากขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ ก่อนที่สภาพคล่องจะลดลงในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมและปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีปัญหาสภาพคล่องคือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เคลื่อนไหวตามสภาพคล่องของระบบการเงิน โดยอัตราดอกเบี้ย interbank rate อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.23 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 2.07 1.98 และ 2.5 ในช่วงไตรมาสแรก ไตรมาสที่สอง และล่าสุด 20 ก.ค. 43 ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน เพิ่มจากร้อยละ 0.63 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็นร้อยละ 0.86 1.14 และ 1.13 ต่อปี ในช่วงไตรมาสแรก ไตรมาสที่สอง และ 20 ก.ค. 43 ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 14 วัน ค่อนข้างทรงตัวจาก ร้อยละ 1.48 เป็นร้อยละ 1.5 1.57 และ 1.5 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม ธปท.ได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน เป็น policy rate
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และเงินฝากประจำ 3 เดือนของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ปรับลดจากร้อยละ 8.25-8.5 และ 3.75 ต่อปี ณ สิ้นปี 2542 เป็นร้อยละ 8.0-8.25 และ 3.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2543 และ ทรงตัวต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ก่อนที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงเป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคม 2543
2. เงินฝาก/สินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี เนื่องจากเงินสดที่ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้ามาฝากที่ธนาคารพาณิชย์มากขึ้น แต่กลับมียอดลดลงในช่วงเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน กันมาก ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ที่ออกหุ้นกู้ได้นำไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมตลอดช่วงครึ่งแรก เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 64 พันล้านบาท แนวโน้มเงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนยังคงชะลอลง โดยเป็นผลจากการลดลงของทั้งสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจและสินเชื่อที่มิใช่กิจการวิเทศธนกิจ ทั้งนี้ การลดลงของสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ขณะที่การลดลงของสินเชื่อที่มิใช่กิจการวิเทศธนกิจเป็นผลจากการที่ภาคเอกชนหันไประดมทุนโดยตรงด้วยการออกจำหน่ายหุ้นกู้และนำเงินมาคืนหนี้แก่ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเป็นผลจากการตัดหนี้สูญในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ประมาณ 246 พันล้านบาทด้วย
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นมากในช่วงต้นปี เนื่องจาก เงินฝากที่ ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อน เพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น ก่อนที่จะมียอดลดลงในเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ที่ออกหุ้นกู้ได้นำไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วง ไตรมาสที่สอง แนวโน้มเงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น โดยภาพรวมตลอดช่วงครึ่งแรก เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 64 พันล้านบาท
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ ในเดือนมิถุนายน 2543 ลดลงร้อยละ 5.5 ต่อปี จากระยะเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นยอดคงค้างที่ลดลงทั้งสิ้น 267 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน เนื่องจาก 1) ภาคเอกชนบางแห่งมีการออกหุ้นกู้เพื่อมาชำระคืนให้กับธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น และ 2) ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญจำนวนหนึ่ง สำหรับสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 (แปลงเป็นบาทด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ ณ 30 มิถุนายน 40) ลดลงร้อยละ 35 ต่อปี จากระยะเดียวกันปีก่อน อันเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ
โดยภาพรวมแล้ว สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ที่คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ลดลงร้อยละ 7.9 ต่อปี และที่คำนวณด้วยอัตราตลาด ลดลงร้อยละ 8.4 ต่อปี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 มียอดคงค้างลดลง เนื่องจากเงินสดส่วนเกินในมือภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อปลายปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ปรับลดลง นอกจากนี้ เงินฝากสถาบัน การเงินที่ธปท.ก็ได้ปรับลดลงเช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณฐานเงินลดลงในช่วงครึ่งแรก เนื่องจาก 1) การดูดซับสภาพคล่องเงินบาทของทางการ ผ่านธุรกรรมสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางการได้เสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับ Y2K จึงได้ทยอยดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบในเวลาต่อมา และ 2) การลดลงของสินเชื่อแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในมือธปท. ที่ครบกำหนดไถ่ถอน ปริมาณเงิน M2A ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ลดลง 46 พันล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ตามการลดลงของเงินสดในมือประชาชน ขณะที่เงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณเงิน M3 ในเดือนพฤษภาคม 2543 (ล่าสุด) ลดลงจากปลายปีก่อน ตามการลดลงของเงินสดในมือประชาชนเช่นกัน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นจำนวน 18 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน มียอด คงค้างลดลง 172 พันล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินสดในมือภาคเอกชนประมาณ 164 พันล้านบาท ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท. ลดลง 9 พันล้านบาท
สาเหตุที่ทำให้ฐานเงินลดลงเนื่องจาก 1) การที่ทางการทยอยดูดซับสภาพคล่องที่เคย ปล่อยออกไปตอนสิ้นปีเพื่อรองรับ Y2K กลับเข้ามาผ่านการส่งมอบเงินบาทของสถาบันการเงินให้กับธปท. ตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืน ทั้งนี้ ทางการยังคงดูแลและเสริมสภาพคล่องระหว่างเดือน ในช่วงที่เกิดภาวะเงินตึงตัวช่วงสั้นๆ และ 2) การลดลงของสินเชื่อสุทธิแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในมือธปท.ที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.2 ต่อปี
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 63 พันล้านบาท แต่ลดลงตลอดช่วงครึ่งแรกประมาณ 46 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงินลดลง คือ 1) เงินสดในมือ ประชาชน เนื่องจากความต้องการถือเงินสดส่วนเกินของประชาชนเริ่มโน้มลงภายหลัง Y2K และ 2) เงินฝากที่บริษัทเงินทุนในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินมียอดลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคง เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากปลายปีก่อน ตามการลดลงของเงินสดเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-