รายได้ เดือนสิงหาคม รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการจัดเก็บรายได้ภาษีอากร (ร้อยละ 17.3) โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล (ร้อยละ 39.9) เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิงวดกลางปี และการเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 15.3)
ภาษีการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 20.8) โดยเฉพาะภาษีเบียร์ แสตมป์ยาสูบ และภาษีแสตมป์สุราเป็นสำคัญ
ภาษีที่ลดลง ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ลดลงร้อยละ 14.8
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 38.2 จากระยะ เดียวกันปีก่อน เป็นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 4.3 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ โรงงานยาสูบ 1.2 พันล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 1.0 พันล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 0.7 พันล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 0.6 พันล้านบาท การสื่อสารแห่งประเทศไทย 0.5 พันล้านบาท
รายจ่าย รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ย FIDF จำนวน 1.6 พันล้านบาท และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ จำนวน 0.7 พันล้านบาท
รายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม) ที่จัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานคร. 2.2 พันล้านบาท
ดุลเงินสด รัฐบาลเกินดุลเงินสด 0.32 พันล้านบาท โดยมีการกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 15.6 พันล้านบาท เป็นการออกตั๋วเงินคลัง 34.0 พันล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 25.0 พันล้านบาท การออกพันธบัตรออมทรัพย์ 12.1 พันล้านบาท และไถ่ถอน พันธบัตร 2.4 พันล้านบาท และชำระเงินกู้ต่างประเทศ 0.35 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นเป็น 58.4 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาษีการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 20.8) โดยเฉพาะภาษีเบียร์ แสตมป์ยาสูบ และภาษีแสตมป์สุราเป็นสำคัญ
ภาษีที่ลดลง ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ลดลงร้อยละ 14.8
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 38.2 จากระยะ เดียวกันปีก่อน เป็นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 4.3 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ โรงงานยาสูบ 1.2 พันล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 1.0 พันล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 0.7 พันล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 0.6 พันล้านบาท การสื่อสารแห่งประเทศไทย 0.5 พันล้านบาท
รายจ่าย รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ย FIDF จำนวน 1.6 พันล้านบาท และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ จำนวน 0.7 พันล้านบาท
รายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม) ที่จัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานคร. 2.2 พันล้านบาท
ดุลเงินสด รัฐบาลเกินดุลเงินสด 0.32 พันล้านบาท โดยมีการกู้ยืมภายในประเทศสุทธิ 15.6 พันล้านบาท เป็นการออกตั๋วเงินคลัง 34.0 พันล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 25.0 พันล้านบาท การออกพันธบัตรออมทรัพย์ 12.1 พันล้านบาท และไถ่ถอน พันธบัตร 2.4 พันล้านบาท และชำระเงินกู้ต่างประเทศ 0.35 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นเป็น 58.4 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-