การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 24-28 พฤศจิกายน 2542 ----------------- การประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 โดยมีการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ - วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2542 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนอย่าง ไม่เป็นทางการ โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นายการุณ กิตติสถาพร) เป็นหัวหน้าคณะ - วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่าง 2542 ไม่เป็นทางการ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นหัวหน้าคณะ - วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 การประชุมรัฐมนตรีร่วม 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และ กระทรวงการต่างประเทศ -วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2542 การประชุมสุดยอดอาเซียน ASEAN + 3 และ ASEAN+1 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) ประเด็นสำคัญในการหารือในด้านเศรษฐกิจ ประเด็นหารือที่สำคัญ มีดังนี้ การโอนย้ายสินค้ายกเว้นลดภาษีชั่วคราว (TEL) เข้าสู่บัญชีลดภาษี (IL) ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาปัญหาการชะลอการโอนย้ายสินค้า TEL เข้ามาลด ภาษีตามกำหนดเวลาในวันที่ 1 มกราคม 2543 ซึ่งได้เคยตกลงกันแล้วว่าหากจะมีการชะลอ ก็จะจำกัดเฉพาะสินค้ารถยนต์ (CKD และ CBU) ปิโตรเคมี และน้ำมันปาล์ม รวมทั้งจะกำหนด แนวทางในการชะลอโอนย้ายสินค้าทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ในการนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่า ด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้มีมติให้ไทยโอนย้ายสินค้า TEL ทุกรายการเข้ามาลด ภาษีตามกำหนด เวลา และให้ผลักดันประเทศอาเซียนอื่น ไม่ให้ชะลอสินค้า TEL อย่างไรก็ตาม หากอาเซียน ตกลงว่าจะชะลอสินค้าดังกล่าว ไทยก็จะเสนอวิธีการในการชะลอ โดยเฉพาะจะเสนอให้ ประเทศที่ไม่ชะลอสามารถไม่ให้ข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้าในสินค้า TEL แก่ประเทศที่ขอ ชะลอได้ อัตราภาษีข้าวของฟิลิปปินส์ จากการประชุม AEM ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนตุลาคม 2542 AEM ได้ร่วมกันลงนามใน พิธีสารว่า ด้วยมาตรการพิเศษสำหรับสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูงซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ประเทศสมาชิก จะนำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว (Sensitive) เข้ามาเริ่มลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2001-2003 และลดภาษีลงเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 พร้อมทั้งยกเลิก มาตรการ จำกัดปริมาณและมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นสำหรับสินค้าดังกล่าว สำหรับสินค้าอ่อนไหวสูง มีข้อ กำหนดพิเศษกว่าคือ ให้นำเข้ามาลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2001-2005 และมีอัตราภาษี สุดท้ายสูงกว่า 0-5% ได้ ซึ่งมีเพียงสินค้าชนิดเดียว คือข้าว โดยประเทศอินโดนีเซีย และ มาเลเซียได้เสนออัตราภาษี สุดท้ายที่ร้อยละ 20 ในขณะที่ฟิลิปปินส์เสนอร้อยละ 70 ซึ่งประเทศ สมาชิกอาเซียนเห็นว่า อัตราภาษีสุดท้ายของฟิลิปปินส์สูงเกินไปและไม่สอดคล้องกับหลักการ เปิดการค้าเสรี ในการประชุมครั้งนี้ไทยจึงจะหาโอกาสผลักดันให้ฟิลิปปินส์กำหนดอัตราภาษี สุดท้ายสำหรับข้าวไม่เกินร้อยละ 20 ทั้งในการประชุมอาเซียนและการหารือสองฝ่าย ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (Goods in Transit) โดยที่ขณะนี้ได้มีการลงนามในพิธีสารแนบท้ายความตกลงฯ ไปแล้ว 2 ฉบับ จากจำนวน 9 ฉบับ และจะต้องมีการลงนามในพิธีสารให้ครบทั้ง 9 ฉบับ ความตกลงฯ จึงจะมีผลใช้บังคับ โดยเฉพาะยังไม่สามารถหาข้อยุติในพิธีสารฉบับที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องจุดผ่านแดนระหว่าง มาเลเซีย กับสิงคโปร์ จึงควรผลักดันในระดับผู้นำเพื่อให้สามารถลงนามได้โดยเร็ว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Initiative) คณะทำงานศึกษาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบผลการศึกษา ของบริษัท Singapore Computer System เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงโครงข่าย โครงสร้าง พื้นฐานข้อมูลอาเซียน และการพัฒนามาตรฐานการติดต่อสื่อสารของอิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน และจะเสนอผลการศึกษาในลักษณะแถลงการณ์ร่วม เพื่อขอความเห็นชอบจากผู้นำเพื่อให้ สามารถดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ต่อไป การประชุมผู้นำอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN +3) เรื่องที่จะมีการหารือกันได้แก่ ความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออก โดยวางกรอบและ แนวทางของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้นระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในอนาคต ซึ่งผู้นำได้เคยมอบให้กลุ่มวิสัยทัศน์เอเซียนตะวันออก (East Asia Vision Group: EAVG) ทำการศึกษา ทั้งนี้จะมีการหารือในประเด็นสำคัญๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง และโครงข่าย รองรับทางสังคม เพื่อลดผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นต้น การประชุม ASEAN + 1 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) เรื่องที่ประเทศต่างๆ สนใจจะหยิบยกได้แก่ จีน สนใจเรื่องแผนปฏิบัติการฮานอย และความร่วมมือด้านการเงินการคลัง เกษตร และ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อาเซียนจะย้ำประเด็นความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งผลักดัน ให้จีนเปิดตลาดแก่สินค้าอาเซียน (รวมทั้งไทย) มากขึ้น โดยเฉพาะขอให้จีนยืดหยุ่นต่อ ข้อเสนอของอาเซียน เพื่อการเจรจาสองฝ่ายด้านการเข้าสู่ตลาดระหว่างอาเซียนและจีน ในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนสามารถสรุปผลได้โดยเร็ว ญี่ปุ่น สนใจเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจเอเซียโดยเฉพาะเศรษฐกิจในอาเซียน ญี่ปุ่นจะนำเสนอ กรอบแผนปฏิบัติงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ภายใต้กรอบงานคณะกรรมการ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Joint Action Plan under AMEICC) ซึ่ง อาเซียนได้ผลักดันให้ญี่ปุ่นเพิ่มความช่วยเหลือในด้านพัฒนาขีดความสามารถด้าน การตลาด โดยใช้เครือข่ายของญี่ปุ่น นอกเหนือจากการพัฒนาขีดความสามารถด้าน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาธารณรัฐเกาหลี สนใจเรื่องความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน โดยให้ความ สำคัญต่อบทบาทของภาคเอกชน ในการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ด้าน การตลาด การวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม โดยอาเซียนต้องการผลักดันให้ สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง เพิ่มการลงทุนใน อาเซียนโดยใช้ประโยชน์จากโครงการ AFTA, AICO และ AIA ของอาเซียน รวมทั้ง ประเด็นการเปิดตลาดสาธารณรัฐเกาหลีให้แก่สินค้าไทยและอาเซียน เป็นต้น 7. การเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำจะได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามมาตรการเข้มข้น (Bold Measures) ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นการลงทุนระยะสั้นของอาเซียน ที่ผู้นำได้ประกาศ ไว้ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการที่เกี่ยวกับการเร่งรัดอาฟต้า ซึ่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ตกลงกำหนด เป้าหมายให้อาเซียนบรรลุการเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยให้ลดภาษีเป็น 0% ทุกรายการในปี 2015 สำหรับสมาชิกเดิม และ ปี 2018 สำหรับสมาชิกใหม่
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-