สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาสุกรยังคงอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ในขณะที่ผลผลิตยังเป็นไปตามปกติ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะสภาพอากาศที่เย็นลงในช่วงนี้ ส่งผลให้ราคาสุกรมีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 30.34 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.62 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ภาวะการซื้อขายไก่เนื้อโดยรวมยังทรงตัวอยู่ แม้ว่าราคาจะปรับลดลงในสัปดาห์นี้ แต่ผลจากการหวาดวิตกในเรื่องของการเกิดโรควัวบ้า จะทำให้การบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดไก่เนื้อและราคามีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.06 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.25 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 27.77 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.56 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.83 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.66
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวดีขึ้น ราคากระเตื้องขึ้นอีก เพราะผลจากการเลิกเลี้ยงของเกษตรกรที่ประสบภาวะขาดทุน ทำให้ผลผลิตไข่ไก่เริ่มลดปริมาณลง อย่างไรก็ตามจากราคาที่กระเตื้องขึ้นนี้ได้จูงใจผู้เลี้ยงให้นำลูกไก่เข้าเล้ามากขึ้น ทำให้ลูกไก่ไข่ในช่วงนี้เริ่มขาดตลาด ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าวจะส่งผลทำให้ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 144 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 139 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 139 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 139 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 150 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 9 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 156 บาทสูงขึ้นจากร้อยฟองละ 139 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.23
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 167 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 155 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 170 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 173 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 159 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.88 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.45 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาสุกรยังคงอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ในขณะที่ผลผลิตยังเป็นไปตามปกติ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะสภาพอากาศที่เย็นลงในช่วงนี้ ส่งผลให้ราคาสุกรมีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 30.34 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.62 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ภาวะการซื้อขายไก่เนื้อโดยรวมยังทรงตัวอยู่ แม้ว่าราคาจะปรับลดลงในสัปดาห์นี้ แต่ผลจากการหวาดวิตกในเรื่องของการเกิดโรควัวบ้า จะทำให้การบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดไก่เนื้อและราคามีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.06 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.25 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 27.77 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.56 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.83 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.66
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ยังคงปรับตัวดีขึ้น ราคากระเตื้องขึ้นอีก เพราะผลจากการเลิกเลี้ยงของเกษตรกรที่ประสบภาวะขาดทุน ทำให้ผลผลิตไข่ไก่เริ่มลดปริมาณลง อย่างไรก็ตามจากราคาที่กระเตื้องขึ้นนี้ได้จูงใจผู้เลี้ยงให้นำลูกไก่เข้าเล้ามากขึ้น ทำให้ลูกไก่ไข่ในช่วงนี้เริ่มขาดตลาด ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าวจะส่งผลทำให้ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 144 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 139 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 139 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 139 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 150 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 9 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 156 บาทสูงขึ้นจากร้อยฟองละ 139 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.23
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 167 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 155 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 170 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 173 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 159 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.88 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.45 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-